แท็ก
บัญชี
เมื่อพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ . 2543 มีผลบังคับใช้ในวันที่ 10 สิงหาคม 2543 ทำให้การจัด ทำบัญชีของธุรกิจมีมาตรฐานยิ่งขึ้นด้วยข้อกำหนดของกฎหมายที่กำหนดให้การจัดทำบัญชีต้องเป็นไปตาม มาตรฐานการบัญชี และผู้ทำบัญชี ต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่กำหนด แต่อย่างไรก็ตาม กฎหมายฉบับนี้ยังให้สิทธิ ผู้ทำบัญชีที่ขาดคุณสมบัติเป็นผู้ทำบัญชีต่อไปได้ ถึง วันที่ 9 สิงหาคม 2551 โดยมีเงื่อนไขว่าผู้นั้นจะต้องเป็น ผู้ทำบัญชีของบริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ที่ประกอบธุรกิจในประเทศ กิจการร่วมค้า ก่อนวันที่ 10 สิงหาคม 2543 ไม่น้อยกว่า 5 ปี และเข้ารับการอบรม ตามหลักเกณฑ์ที่กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์กำหนด
ข้อปฏิบัติของผู้ทำบัญชีในเบื้องต้น
1. ตรวจสอบว่าตนเองเป็นผู้มีคุณวุฒิเป็นผู้ทำบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 หรือไม่ขณะนี้ ได้มีการกำหนดคุณวุฒิผู้ทำบัญชีตามประเภท และขนาดของธุรกิจ ดังนี้
กลุ่ม 1 ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน และบริษัทจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ณ วันปิดบัญชีในรอบปี ที่ผ่านมา มีทุนจดทะเบียน ไม่เกิน 5 ล้านบาท สินทรัพย์รวม ไม่เกิน 30 ล้านบาท และรายได้รวม ไม่เกิน 30 ล้านบาท
ผู้ทำบัญชี ต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการ บัญชีหรือเทียบเท่าจากสถานบันการศึกษาซึ่งทางทบวงมหาวิทยาลัย คณะกรรมการ ข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) หรือกระทรวงศึกษาธิการ เทียบว่าไม่ต่ำกว่าอนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชี
กลุ่ม 2 ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน และบริษัทจำกัด ที่มีทุนจดทะเบียน สินทรัพย์รวม หรือรายได้รวม รายการใด รายการหนึ่ง เกินกว่าที่กำหนดในกลุ่ม 1 และธุรกิจที่มีความสำคัญคือ บริษัทมหาชน ที่จัดตั้งขึ้นตาม กฎหมายไทย นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศ กิจการร่วมค้า ตามประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบธุรกิจธนาคาร เงินทุน หลักทรัพย์ เครดิตฟองซิเอร์ ประกันชีวิต ประกันวินาศภัย และผู้ประกอบธุรกิจซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริม การลงทุน
ผู้ทำบัญชี ต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชี หรือเทียบเท่า จากสถาบันการศึกษาซึ่ง ทบวงมหาวิทยาลัย หรือคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) หรือกระทรวงศึกษาธิการ เทียบว่า ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชี
2. เมื่อตรวจสอบแล้ว พบว่าตนเองเป็นผู้ขาดคุณวุฒิตามข้อ 1. ต้องปฏิบัติ ดังนี้
ช่วงระยะเวลา 10 สิงหาคม - 9 ตุลาคม 2543
- แจ้งอธิบดี ตามแบบแจ้งเป็นผู้ทำบัญชี มาตรา 42 วรรคสอง (ส.บช. 5ก) จำนวน 1 ชุด และแนบหลักฐาน ดังนี้
สำเนาหลักฐานการศึกษา 1 ฉบับ
สำเนาทะเบียนบ้าน และ บัตรประชาชน หรือ บัตรที่ทางราชการออกให้ อย่างละ 1 ฉบับ
หนังสือรับรองการทำงาน
รูปถ่าย ขนาด 1" จำนวน 2 รูป
โดยยื่นด้วยตนเอง หรือ ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับกรณี มีที่อยู่ หรือที่ทำงานในกรุงเทพ ฯ และ จังหวัดนนทบุรี ให้ยื่น ณ สำนักกำกับดูแลธุรกิจ กรมทะเบียนการค้า นอกนั้น ให้ยื่น ณ สำนักงานทะเบียนการค้าจังหวัดที่มีที่อยู่ หรือ สถานที่ทำงานตั้งอยู่ พร้อมสำเนา 1 ชุด
ช่วงระยะเวลา เดือน มกราคม - พฤษภาคม 2544
- เข้ารับการอบรมตามหลักสูตรที่กำหนด ณ สถาบันการศึกษา หรือ หน่วยงานที่กรมทะเบียนการค้าให้ ความเห็นชอบ และ ต้องมีเวลาเข้า อบรมทั้งหลักสูตร ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของระยะเวลาอบรม 60 ชั่วโมง รวมทั้ง ต้องผ่านการทดสอบด้วยทั้งนี้ การอบรมมีจำนวน 6 รุ่น คือ
รุ่นที่ 1 - 2 อบรมเดือน มกราคม
รุ่นที่ 3 - 4 อบรมเดือน มีนาคม
รุ่นที่ 5 - 6 อบรมเดือน พฤษภาคม
ดังนั้น ผู้ทำบัญชีที่ขาดคุณสมบัติ หากไม่แจ้งต่ออธิบดีภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดจะทำให้ผู้นั้น เสียสิทธิ ไม่สามารถเป็นผู้ทำบัญชี ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ หากท่านมีข้อสงสัยประการใด สอบถามได้ที่
โทร. 5474406, 5474404-7, 5474394-96
โทรสาร 5474398, 5474414, 5474416
--กรมทะเบียนการค้า สิงหาคม 2543--
-อน-
ข้อปฏิบัติของผู้ทำบัญชีในเบื้องต้น
1. ตรวจสอบว่าตนเองเป็นผู้มีคุณวุฒิเป็นผู้ทำบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 หรือไม่ขณะนี้ ได้มีการกำหนดคุณวุฒิผู้ทำบัญชีตามประเภท และขนาดของธุรกิจ ดังนี้
กลุ่ม 1 ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน และบริษัทจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ณ วันปิดบัญชีในรอบปี ที่ผ่านมา มีทุนจดทะเบียน ไม่เกิน 5 ล้านบาท สินทรัพย์รวม ไม่เกิน 30 ล้านบาท และรายได้รวม ไม่เกิน 30 ล้านบาท
ผู้ทำบัญชี ต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการ บัญชีหรือเทียบเท่าจากสถานบันการศึกษาซึ่งทางทบวงมหาวิทยาลัย คณะกรรมการ ข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) หรือกระทรวงศึกษาธิการ เทียบว่าไม่ต่ำกว่าอนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชี
กลุ่ม 2 ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน และบริษัทจำกัด ที่มีทุนจดทะเบียน สินทรัพย์รวม หรือรายได้รวม รายการใด รายการหนึ่ง เกินกว่าที่กำหนดในกลุ่ม 1 และธุรกิจที่มีความสำคัญคือ บริษัทมหาชน ที่จัดตั้งขึ้นตาม กฎหมายไทย นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศ กิจการร่วมค้า ตามประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบธุรกิจธนาคาร เงินทุน หลักทรัพย์ เครดิตฟองซิเอร์ ประกันชีวิต ประกันวินาศภัย และผู้ประกอบธุรกิจซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริม การลงทุน
ผู้ทำบัญชี ต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชี หรือเทียบเท่า จากสถาบันการศึกษาซึ่ง ทบวงมหาวิทยาลัย หรือคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) หรือกระทรวงศึกษาธิการ เทียบว่า ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชี
2. เมื่อตรวจสอบแล้ว พบว่าตนเองเป็นผู้ขาดคุณวุฒิตามข้อ 1. ต้องปฏิบัติ ดังนี้
ช่วงระยะเวลา 10 สิงหาคม - 9 ตุลาคม 2543
- แจ้งอธิบดี ตามแบบแจ้งเป็นผู้ทำบัญชี มาตรา 42 วรรคสอง (ส.บช. 5ก) จำนวน 1 ชุด และแนบหลักฐาน ดังนี้
สำเนาหลักฐานการศึกษา 1 ฉบับ
สำเนาทะเบียนบ้าน และ บัตรประชาชน หรือ บัตรที่ทางราชการออกให้ อย่างละ 1 ฉบับ
หนังสือรับรองการทำงาน
รูปถ่าย ขนาด 1" จำนวน 2 รูป
โดยยื่นด้วยตนเอง หรือ ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับกรณี มีที่อยู่ หรือที่ทำงานในกรุงเทพ ฯ และ จังหวัดนนทบุรี ให้ยื่น ณ สำนักกำกับดูแลธุรกิจ กรมทะเบียนการค้า นอกนั้น ให้ยื่น ณ สำนักงานทะเบียนการค้าจังหวัดที่มีที่อยู่ หรือ สถานที่ทำงานตั้งอยู่ พร้อมสำเนา 1 ชุด
ช่วงระยะเวลา เดือน มกราคม - พฤษภาคม 2544
- เข้ารับการอบรมตามหลักสูตรที่กำหนด ณ สถาบันการศึกษา หรือ หน่วยงานที่กรมทะเบียนการค้าให้ ความเห็นชอบ และ ต้องมีเวลาเข้า อบรมทั้งหลักสูตร ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของระยะเวลาอบรม 60 ชั่วโมง รวมทั้ง ต้องผ่านการทดสอบด้วยทั้งนี้ การอบรมมีจำนวน 6 รุ่น คือ
รุ่นที่ 1 - 2 อบรมเดือน มกราคม
รุ่นที่ 3 - 4 อบรมเดือน มีนาคม
รุ่นที่ 5 - 6 อบรมเดือน พฤษภาคม
ดังนั้น ผู้ทำบัญชีที่ขาดคุณสมบัติ หากไม่แจ้งต่ออธิบดีภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดจะทำให้ผู้นั้น เสียสิทธิ ไม่สามารถเป็นผู้ทำบัญชี ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ หากท่านมีข้อสงสัยประการใด สอบถามได้ที่
โทร. 5474406, 5474404-7, 5474394-96
โทรสาร 5474398, 5474414, 5474416
--กรมทะเบียนการค้า สิงหาคม 2543--
-อน-