1. สถานการณ์การผลิต
อียูตรวจโรงงานผลิตสินค้าประมงไทย
รายงานข่าวจากกรมประมง โดยนายธำมรงค์ ประกอบบุญ อธิบดีกรม-ประมง กล่าวว่า ขณะนี้ผู้แทนสหภาพยุโรป (อียู) ได้เดินทางมาตรวจขบวนการผลิตสินค้าสัตว์น้ำของไทยทุกประเภทที่ส่งไปขายในอียู โดยจะทำการตรวจสอบระหว่างวันที่ 26 กรกฎาคม จนถึงวันที่ 6 สิงหาคม 2543 นี้ ซึ่งการตรวจสอบจะเน้นขบวนการผลิตใน 4 เรื่องหลัก ๆ คือ
1. ห้องปฏิบัติการควบคุมคุณภาพของกรมประมง ทั้งที่ในกรุงเทพฯ และ ที่ตั้งอยู่ตามภูมิภาค 2. ตรวจสอบโรงงานผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำจำนวน 6 โรงงาน ใน จ. สมุทรปราการ สมุทรสงคราม ชุมพร สตูล และสงขลา 3. การตรวจสอบการควบคุมและการจัดการขนถ่ายสัตว์น้ำที่ท่าเทียบเรือขององค์การสะพานปลา จ.ภูเก็ต และ 4. การดูระบบการจัดการคุณภาพกุ้งกุลาดำจากการเพาะเลี้ยงของสมาคมผู้เพาะเลี้ยงกุ้งทะเลไทย รวมทั้งการตรวจสอบการปฏิบัติงานของฟาร์มเลี้ยงกุ้งใน จ.สุราษฎร์ธานี การตรวจสอบ ดังกล่าวจะครอบคลุมถึงผลิตภัณฑ์หอยสองฝาด้วย ซึ่งหากผลการตรวจเป็นไปตามกฎระเบียบของอียู อียูก็จะอนุญาตให้ไทย ส่งหอยดังกล่าวไปขายในอียูได้อย่างถาวร จากเดิมอียูจะอนุญาตให้เป็นการชั่วคราว
การส่งสินค้าและผลิตภัณฑ์ประมงของไทยไปอียูที่ผ่านมา แม้กรมประมง จะเป็นผู้ตรวจสอบและออกใบรับรองให้กับผู้ส่งออก แต่อียูจะส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบ ประสิทธิภาพในการทำงานของกรมประมงทุกปี
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ( 18-25 กค.2543) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,605.46 ตัน แยกเป็นสัตว์ น้ำเค็ม 672.84 ตัน สัตว์น้ำจืด 932.62 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่ 1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 6.98 ตัน 1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 9.01 ตัน 1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 95.51 ตัน 1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 35.79 ตัน 1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 83.42 ตัน
2. สถานการณ์การตลาด
ปลาป่นราคาปรับตัวลดลง
ขณะนี้ความต้องการใช้ปลาป่นในประเทศมีไม่มากนัก เนื่องจากปริมาณปลาป่นที่ใช้ในการเลี้ยงสัตว์บกยังคงมีน้อยเช่นเดิม เพราะฟาร์มหมู ไก่ มีปัญหาต้นทุนสูง ราคาขายถูก ได้ทยอยปิดกิจการไปหลายราย ประกอบกับ ขณะนี้ยังคงมีการนำเข้าปลาป่นจากต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคาปลาป่นในประเทศปรับตัวลดลง คือ ปลาป่นเกรดเบอร์สาม กิโลกรัมละ 13.60 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 14.20 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.60 บาท ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.11 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 26.93 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.18 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 35.25 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.25 บาท
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.18 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 47.64 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.54 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 82.25 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.25 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ย กิโลกรัมละ 387.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 352.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 35.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 419.37 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 402.50 บาท ของสัปดาห์ 16.87 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.80 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 17.09 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.71 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.67 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 50.67 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.00 บาท สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.25 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 3.18 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.60 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นเกรดเบอร์สาม (ระหว่างวันที่ 31 กค.-6 สค.43) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.60 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 14.20 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.60 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 30 ประจำวันที่ 31 ก.ค. - 6 ส.ค. 2543--
-สส-
อียูตรวจโรงงานผลิตสินค้าประมงไทย
รายงานข่าวจากกรมประมง โดยนายธำมรงค์ ประกอบบุญ อธิบดีกรม-ประมง กล่าวว่า ขณะนี้ผู้แทนสหภาพยุโรป (อียู) ได้เดินทางมาตรวจขบวนการผลิตสินค้าสัตว์น้ำของไทยทุกประเภทที่ส่งไปขายในอียู โดยจะทำการตรวจสอบระหว่างวันที่ 26 กรกฎาคม จนถึงวันที่ 6 สิงหาคม 2543 นี้ ซึ่งการตรวจสอบจะเน้นขบวนการผลิตใน 4 เรื่องหลัก ๆ คือ
1. ห้องปฏิบัติการควบคุมคุณภาพของกรมประมง ทั้งที่ในกรุงเทพฯ และ ที่ตั้งอยู่ตามภูมิภาค 2. ตรวจสอบโรงงานผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำจำนวน 6 โรงงาน ใน จ. สมุทรปราการ สมุทรสงคราม ชุมพร สตูล และสงขลา 3. การตรวจสอบการควบคุมและการจัดการขนถ่ายสัตว์น้ำที่ท่าเทียบเรือขององค์การสะพานปลา จ.ภูเก็ต และ 4. การดูระบบการจัดการคุณภาพกุ้งกุลาดำจากการเพาะเลี้ยงของสมาคมผู้เพาะเลี้ยงกุ้งทะเลไทย รวมทั้งการตรวจสอบการปฏิบัติงานของฟาร์มเลี้ยงกุ้งใน จ.สุราษฎร์ธานี การตรวจสอบ ดังกล่าวจะครอบคลุมถึงผลิตภัณฑ์หอยสองฝาด้วย ซึ่งหากผลการตรวจเป็นไปตามกฎระเบียบของอียู อียูก็จะอนุญาตให้ไทย ส่งหอยดังกล่าวไปขายในอียูได้อย่างถาวร จากเดิมอียูจะอนุญาตให้เป็นการชั่วคราว
การส่งสินค้าและผลิตภัณฑ์ประมงของไทยไปอียูที่ผ่านมา แม้กรมประมง จะเป็นผู้ตรวจสอบและออกใบรับรองให้กับผู้ส่งออก แต่อียูจะส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบ ประสิทธิภาพในการทำงานของกรมประมงทุกปี
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ( 18-25 กค.2543) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,605.46 ตัน แยกเป็นสัตว์ น้ำเค็ม 672.84 ตัน สัตว์น้ำจืด 932.62 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่ 1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 6.98 ตัน 1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 9.01 ตัน 1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 95.51 ตัน 1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 35.79 ตัน 1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 83.42 ตัน
2. สถานการณ์การตลาด
ปลาป่นราคาปรับตัวลดลง
ขณะนี้ความต้องการใช้ปลาป่นในประเทศมีไม่มากนัก เนื่องจากปริมาณปลาป่นที่ใช้ในการเลี้ยงสัตว์บกยังคงมีน้อยเช่นเดิม เพราะฟาร์มหมู ไก่ มีปัญหาต้นทุนสูง ราคาขายถูก ได้ทยอยปิดกิจการไปหลายราย ประกอบกับ ขณะนี้ยังคงมีการนำเข้าปลาป่นจากต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคาปลาป่นในประเทศปรับตัวลดลง คือ ปลาป่นเกรดเบอร์สาม กิโลกรัมละ 13.60 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 14.20 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.60 บาท ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.11 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 26.93 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.18 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 35.25 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.25 บาท
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.18 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 47.64 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.54 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 82.25 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.25 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ย กิโลกรัมละ 387.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 352.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 35.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 419.37 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 402.50 บาท ของสัปดาห์ 16.87 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.80 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 17.09 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.71 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.67 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 50.67 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.00 บาท สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.25 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 3.18 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.60 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นเกรดเบอร์สาม (ระหว่างวันที่ 31 กค.-6 สค.43) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.60 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 14.20 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.60 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 30 ประจำวันที่ 31 ก.ค. - 6 ส.ค. 2543--
-สส-