อุตสาหกรรมในภาคเหนือส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมที่พึ่งพิงฐานทรัพยากร (Resource base) และมีประเภทอุตสาหกรรมไม่มากนัก แต่ก็เริ่มมีความสำคัญมากขึ้นเป็นลำดับ สัดส่วนอุตสาหกรรมต่อผลิตภัณฑ์ภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 6.5 เมื่อปี 2529 เป็นร้อยละ 11.9 และร้อยละ 13.5 เมื่อปี 2535 และ 2539 ตามลำดับ เนื่องจากมีการลงทุนในอุตสาหกรรมประเภทใหม่ๆ มากขึ้นและเป็นกิจการที่ใช้เงินลงทุนสูง เช่น อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหาร อุตสาหกรรมถลุงแร่สังกะสี และอุตสาหกรรมปูนซิเมนต์ เป็นต้น จากรายงานการสำรวจสำมะโนอุตสาหกรรมเมื่อปี 2540 พบว่า ผลผลิตของอุตสาหกรรมในภาคเหนือมีมูลค่ารวม 111.0 พันล้านบาท อุตสาหกรรมสำคัญได้แก่ อุตสาหกรรมหมวดผลิตอาหาร เครื่องดื่มและยาสูบ ที่สำคัญได้แก่ อุตสาหกรรมน้ำตาล และอุตสาหกรรมหมวดผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักร และอุปกรณ์ ที่สำคัญได้แก่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ โดยผลผลิตทั้ง 2 หมวดมีมูลค่า 51.1 พันล้านบาท และ 30.1 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 46.0 และร้อยละ 27.1 ของ ผลผลิตอุตสาหกรรมภาคเหนือ โดยโรงงานส่วนใหญ่กระจุกตัวในจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง นครสวรรค์ พิษณุโลก และเชียงราย เมื่อจำแนกอุตสาหกรรมเป็นตลาดในประเทศและส่งออกพบว่ามีอุตสาหกรรมเพียง 367 โรงงานหรือร้อยละ 17.3 ของจำนวนโรงงานรวมในภาคเหนือที่ส่งผลิตภัณฑ์ออกไปจำหน่ายต่างประเทศ ในจำนวนดังกล่าว 99 โรงงานเป็นอุตสาหกรรมในหมวดอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่มและยาสูบ
การส่งสินค้าอุตสาหกรรมออกของภาคเหนือกระทำผ่าน 2 ช่องทางสำคัญ คือ ผ่านด่านศุลกากรท่าอากาศยาน เชียงใหม่ ส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่น้ำหนักน้อยแต่มูลค่าสูง ที่สำคัญ ได้แก่ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และการส่งออกผ่านท่าเรือกรุงเทพฯ และแหลมฉบังซึ่งเป็นการดำเนินการส่งออกโดยทั้งผู้ส่งออกในส่วนกลาง ที่รับซื้อสินค้าจากผู้ผลิตในภาคเหนือและจากอุตสาหกรรมส่งออกของภาคเหนือโดยตรง อุตสาหกรรมส่งออกที่สำคัญของภาคเหนือได้แก่
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือจังหวัดลำพูนเมื่อปี 2528 โดยกำหนดส่วนหนึ่งเป็นเขตอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก ประกอบกับความพร้อม ด้านโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะการขนส่งทางอากาศและสภาพอากาศที่มีความชื้นต่ำ และแรงงานที่เหมาะกับงานที่ประณีต ทำให้สามารถดึงดูดอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ประเภทชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของญี่ปุ่นเข้ามาลงทุน และมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจภาคเหนือในแง่ของการจ้างงานภายในท้องถิ่นมาก ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา มีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและขยายกิจการอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งเป็นอุตสาหกรรมส่งออกสำคัญของภาคเหนือ เมื่อปี 2542 มีบริษัทผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในนิคม อุตสาหกรรมภาคเหนือรวม 22 บริษัท มูลค่าการส่งออกประมาณ 22.0 พันล้านบาท ตลาดส่งออกสำคัญคือ สหรัฐอเมริกา กลุ่ม ประเทศสหภาพยุโรป กลุ่มประเทศอาเซียน ไต้หวันและญี่ปุ่น
อุตสาหกรรมผลิตโลหะสังกะสี
โลหะสังกะสีเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น การเคลือบโลหะเพื่อกันสนิมของ อุตสาหกรรมผลิตเหล็ก อุตสาหกรรมหล่อขึ้นรูปโลหะ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องใช้ในครัวเรือน เป็นต้น การผลิตโลหะสังกะสีของไทยดำเนินการโดยผู้ผลิตรายเดียวคือ บริษัท ผาแดงอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) เป็นอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นจากการที่ภาคเหนือมีแหล่งแร่สังกะสีที่อำเภอแม่สอด จังหวัด ตาก โดยมีโรงถลุงแร่สังกะสีที่อำเภอเมือง จังหวัดตาก ปัจจุบันมีการนำเข้าแร่สังกะสีบางส่วนจากต่างประเทศ เนื่องจากปริมาณแร่คงค้างของไทยเริ่มจำกัด ผลิตภัณฑ์หลักของอุตสาหกรรมคือโลหะสังกะสี แท่งและโลหะสังกะสีผสม ในช่วงปี 2540-2542 การส่งออกโลหะสังกะสีมีมูลค่าเฉลี่ยปีละ 2.0 พันล้านบาท และกว่าร้อยละ 80 เป็นการส่งออกโลหะสังกะสีแท่ง ตลาดส่งออกคือ ประเทศไต้หวัน ญี่ปุ่น ฮ่องกง อินเดียและกลุ่มประเทศอาเซียน
อุตสาหกรรมผลิตน้ำตาลทราย
โรงงานผลิตน้ำตาลทรายในภาคเหนือมีจำนวน 10 แห่ง ส่วนใหญ่กระจุกตัวในภาคเหนือตอนล่าง เช่น จังหวัด นครสวรรค์ อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร พิษณุโลก อุทัยธานีและ เพชรบูรณ์ เนื่องจากภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มใหญ่เหมาะแก่การปลูกอ้อยป้อนโรงงาน ความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งน้ำและความสะดวก ในการคนนาคมขนส่งไปยังท่าเรือเพื่อการส่งออก ในช่วงฤดูการผลิตปี 2537/2538-2541/42 ผลผลิตน้ำตาลทรายของภาคเหนือเฉลี่ยปีละ 1.2 ล้านเมตริกตัน หรือ ประมาณร้อยละ 22.1 ของผลผลิตทั้งประเทศ จำแนกเป็นผลผลิตน้ำตาลทรายดิบ น้ำตาลทรายขาวธรรมดาและน้ำตาล ทรายขาวบริสุทธิ์ 0.6 , 0.4 และ 0.2 ล้านเมตริกตัน ตามลำดับ ในปี 2541 ไทยส่งออกน้ำตาลทรายรวม 2.3 ล้านเมตริกตัน มูลค่า 26.6 พันล้านบาท ในจำนวนดังกล่าวเป็นการส่งออกของอุตสาหกรรมน้ำตาล ในภาคเหนือประมาณ 0.4 ล้านเมตริกตัน มูลค่า 5.0 พันล้านบาท สำหรับปีการผลิต 2541/42 โรงงานน้ำตาลในภาคเหนือได้รับการจัดสรรโควตาการส่งออกประมาณร้อยละ 19 หรือ 0.5 ล้านเมตริกตัน
อุตสาหกรรมแปรรูปผลไม้และผัก
เป็นอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากภาคการเกษตรซึ่งเป็นภาคเศรษฐกิจหลักของภาคเหนือ โรงงานส่วนใหญ่กระจุกตัว ในภาคเหนือตอนบนโดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ตาก เชียงรายและลำพูน เนื่องจากอยู่ใกล้แหล่งเพาะปลูกและโครงสร้างพื้นฐานเอื้ออำนวย อุตสาหกรรมสำคัญได้แก่ อุตสาหกรรมลำไย ลิ้นจี่และสับปะรดบรรจุกระป๋อง ผักบรรจุ กระป๋อง ผักและผลไม้แช่แข็ง ลำไยและลิ้นจี่อบแห้ง น้ำผลไม้ และน้ำผัก เป็นต้น จากรายงานสำมะโนอุตสาหกรรม ปี 2540 พบว่าผลผลิตอุตสาหกรรมแปรรูปผลไม้ และผักในภาคเหนือมีมูลค่ารวม 9.3 พันล้านบาท โดยโรงงานร้อยละ 40 ส่งออกผลิตภัณฑ์ไปจำหน่ายต่างประเทศ ตลาดส่งออกผลไม้และ ผักแปรรูปที่สำคัญคือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น กลุ่มสหภาพยุโรป กลุ่มตะวันออกกลางและแคนาดา
อุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป
เป็นอุตสาหกรรมส่งออกที่ย้ายฐานการผลิตจาก กรุงเทพฯ และปริมณฑลเข้ามาตั้งโรงงานในเขตภาคเหนือ โดยเฉพาะในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เพื่อใช้แรงงานจากต่างด้าว โดยเฉพาะพม่าซึ่งค่าแรงต่ำกว่าแรงงานไทยเพื่อให้สามารถแข่งขันทางด้านราคากับต่างประเทศ จากการสำรวจของหอการค้า จังหวัดตากเมื่อเดือนตุลาคม 2542 พบว่าที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก มีโรงงานผลิตเพื่อส่งออกรวม 64 แห่ง เงินลงทุน รวม 1.8 พันล้านบาท มูลค่าการผลิต 6.5 พันล้านบาท มูลค่าส่งออกรวม 6.3 พันล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นโรงงานผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป อย่างไรก็ดีมาตรการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวผิดกฏหมายอาจมีผลกระทบต่อ ความได้เปรียบทางด้านค่าจ้าง และเป็นข้อจำกัดของอุตสาหกรรมนี้
อุตสาหกรรมเซรามิก
อุตสาหกรรมเซรามิกกระจุกตัวในจังหวัดลำปาง เนื่องจากเป็นแหล่งดินขาวสำคัญของประเทศ เมื่อสิ้นปี 2542 จังหวัดลำปางมีโรงงานทั้งสิ้น 188 แห่ง เงินลงทุน 1,300 ล้านบาท จ้างแรงงานประมาณ 5,500 คน ผลิตภัณฑ์ที่ผลิต ได้แก่ ของชำร่วย เครื่องประดับ เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร รวมทั้งลูกถ้วยไฟฟ้า การส่งออกของภาคเหนือกระทำผ่านท่าเรือที่ส่วนกลาง ในปี 2542 ไทยส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกรวม 12.5 พันล้านบาท ศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรม เครื่องเคลือบดินเผาภาคเหนือ คาดว่าอุตสาหกรรมเซรามิกในจังหวัดลำปางส่งออกได้ไม่ต่ำกว่า 2.0 พันล้านบาทต่อปี ตลาดส่งออกสำคัญคือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่นและยุโรป
อุตสาหกรรมอื่น ๆ
1.อุตสาหกรรมบ่มใบยาสูบ มีโรงงานตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็นแหล่งผลิตใบยาสูบเวอร์จิเนีย เช่น จังหวัดแพร่ น่าน ลำปาง ลำพูน เชียงรายและเชียงใหม่ เป็นต้น การส่งออกส่วนใหญ่กระทำผ่านผู้ส่งออก ในปี 2542 ไทยส่งออกใบยาสูบเวอร์จิเนียและใบยาเบอร์เลย์ซึ่งเกือบทั้งหมดผลิตจากภาคเหนือรวม 1.6 พันล้านบาท
2.อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ แหล่งผลิต สำคัญคือ จังหวัดเชียงใหม่
3.อุตสาหกรรมหัตถกรรมพื้นบ้าน ที่เกี่ยวเนื่องกับ การท่องเที่ยว เช่น เครื่องเขิน ร่ม เครื่องเงิน หัตถกรรม เลียนแบบของเก่า แหล่งผลิตสำคัญคือ จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง
4.อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ แหล่งผลิตสำคัญคือ จังหวัดลำปาง เชียงใหม่
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
การส่งสินค้าอุตสาหกรรมออกของภาคเหนือกระทำผ่าน 2 ช่องทางสำคัญ คือ ผ่านด่านศุลกากรท่าอากาศยาน เชียงใหม่ ส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่น้ำหนักน้อยแต่มูลค่าสูง ที่สำคัญ ได้แก่ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และการส่งออกผ่านท่าเรือกรุงเทพฯ และแหลมฉบังซึ่งเป็นการดำเนินการส่งออกโดยทั้งผู้ส่งออกในส่วนกลาง ที่รับซื้อสินค้าจากผู้ผลิตในภาคเหนือและจากอุตสาหกรรมส่งออกของภาคเหนือโดยตรง อุตสาหกรรมส่งออกที่สำคัญของภาคเหนือได้แก่
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือจังหวัดลำพูนเมื่อปี 2528 โดยกำหนดส่วนหนึ่งเป็นเขตอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก ประกอบกับความพร้อม ด้านโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะการขนส่งทางอากาศและสภาพอากาศที่มีความชื้นต่ำ และแรงงานที่เหมาะกับงานที่ประณีต ทำให้สามารถดึงดูดอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ประเภทชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของญี่ปุ่นเข้ามาลงทุน และมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจภาคเหนือในแง่ของการจ้างงานภายในท้องถิ่นมาก ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา มีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและขยายกิจการอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งเป็นอุตสาหกรรมส่งออกสำคัญของภาคเหนือ เมื่อปี 2542 มีบริษัทผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในนิคม อุตสาหกรรมภาคเหนือรวม 22 บริษัท มูลค่าการส่งออกประมาณ 22.0 พันล้านบาท ตลาดส่งออกสำคัญคือ สหรัฐอเมริกา กลุ่ม ประเทศสหภาพยุโรป กลุ่มประเทศอาเซียน ไต้หวันและญี่ปุ่น
อุตสาหกรรมผลิตโลหะสังกะสี
โลหะสังกะสีเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น การเคลือบโลหะเพื่อกันสนิมของ อุตสาหกรรมผลิตเหล็ก อุตสาหกรรมหล่อขึ้นรูปโลหะ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องใช้ในครัวเรือน เป็นต้น การผลิตโลหะสังกะสีของไทยดำเนินการโดยผู้ผลิตรายเดียวคือ บริษัท ผาแดงอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) เป็นอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นจากการที่ภาคเหนือมีแหล่งแร่สังกะสีที่อำเภอแม่สอด จังหวัด ตาก โดยมีโรงถลุงแร่สังกะสีที่อำเภอเมือง จังหวัดตาก ปัจจุบันมีการนำเข้าแร่สังกะสีบางส่วนจากต่างประเทศ เนื่องจากปริมาณแร่คงค้างของไทยเริ่มจำกัด ผลิตภัณฑ์หลักของอุตสาหกรรมคือโลหะสังกะสี แท่งและโลหะสังกะสีผสม ในช่วงปี 2540-2542 การส่งออกโลหะสังกะสีมีมูลค่าเฉลี่ยปีละ 2.0 พันล้านบาท และกว่าร้อยละ 80 เป็นการส่งออกโลหะสังกะสีแท่ง ตลาดส่งออกคือ ประเทศไต้หวัน ญี่ปุ่น ฮ่องกง อินเดียและกลุ่มประเทศอาเซียน
อุตสาหกรรมผลิตน้ำตาลทราย
โรงงานผลิตน้ำตาลทรายในภาคเหนือมีจำนวน 10 แห่ง ส่วนใหญ่กระจุกตัวในภาคเหนือตอนล่าง เช่น จังหวัด นครสวรรค์ อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร พิษณุโลก อุทัยธานีและ เพชรบูรณ์ เนื่องจากภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มใหญ่เหมาะแก่การปลูกอ้อยป้อนโรงงาน ความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งน้ำและความสะดวก ในการคนนาคมขนส่งไปยังท่าเรือเพื่อการส่งออก ในช่วงฤดูการผลิตปี 2537/2538-2541/42 ผลผลิตน้ำตาลทรายของภาคเหนือเฉลี่ยปีละ 1.2 ล้านเมตริกตัน หรือ ประมาณร้อยละ 22.1 ของผลผลิตทั้งประเทศ จำแนกเป็นผลผลิตน้ำตาลทรายดิบ น้ำตาลทรายขาวธรรมดาและน้ำตาล ทรายขาวบริสุทธิ์ 0.6 , 0.4 และ 0.2 ล้านเมตริกตัน ตามลำดับ ในปี 2541 ไทยส่งออกน้ำตาลทรายรวม 2.3 ล้านเมตริกตัน มูลค่า 26.6 พันล้านบาท ในจำนวนดังกล่าวเป็นการส่งออกของอุตสาหกรรมน้ำตาล ในภาคเหนือประมาณ 0.4 ล้านเมตริกตัน มูลค่า 5.0 พันล้านบาท สำหรับปีการผลิต 2541/42 โรงงานน้ำตาลในภาคเหนือได้รับการจัดสรรโควตาการส่งออกประมาณร้อยละ 19 หรือ 0.5 ล้านเมตริกตัน
อุตสาหกรรมแปรรูปผลไม้และผัก
เป็นอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากภาคการเกษตรซึ่งเป็นภาคเศรษฐกิจหลักของภาคเหนือ โรงงานส่วนใหญ่กระจุกตัว ในภาคเหนือตอนบนโดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ตาก เชียงรายและลำพูน เนื่องจากอยู่ใกล้แหล่งเพาะปลูกและโครงสร้างพื้นฐานเอื้ออำนวย อุตสาหกรรมสำคัญได้แก่ อุตสาหกรรมลำไย ลิ้นจี่และสับปะรดบรรจุกระป๋อง ผักบรรจุ กระป๋อง ผักและผลไม้แช่แข็ง ลำไยและลิ้นจี่อบแห้ง น้ำผลไม้ และน้ำผัก เป็นต้น จากรายงานสำมะโนอุตสาหกรรม ปี 2540 พบว่าผลผลิตอุตสาหกรรมแปรรูปผลไม้ และผักในภาคเหนือมีมูลค่ารวม 9.3 พันล้านบาท โดยโรงงานร้อยละ 40 ส่งออกผลิตภัณฑ์ไปจำหน่ายต่างประเทศ ตลาดส่งออกผลไม้และ ผักแปรรูปที่สำคัญคือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น กลุ่มสหภาพยุโรป กลุ่มตะวันออกกลางและแคนาดา
อุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป
เป็นอุตสาหกรรมส่งออกที่ย้ายฐานการผลิตจาก กรุงเทพฯ และปริมณฑลเข้ามาตั้งโรงงานในเขตภาคเหนือ โดยเฉพาะในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เพื่อใช้แรงงานจากต่างด้าว โดยเฉพาะพม่าซึ่งค่าแรงต่ำกว่าแรงงานไทยเพื่อให้สามารถแข่งขันทางด้านราคากับต่างประเทศ จากการสำรวจของหอการค้า จังหวัดตากเมื่อเดือนตุลาคม 2542 พบว่าที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก มีโรงงานผลิตเพื่อส่งออกรวม 64 แห่ง เงินลงทุน รวม 1.8 พันล้านบาท มูลค่าการผลิต 6.5 พันล้านบาท มูลค่าส่งออกรวม 6.3 พันล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นโรงงานผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป อย่างไรก็ดีมาตรการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวผิดกฏหมายอาจมีผลกระทบต่อ ความได้เปรียบทางด้านค่าจ้าง และเป็นข้อจำกัดของอุตสาหกรรมนี้
อุตสาหกรรมเซรามิก
อุตสาหกรรมเซรามิกกระจุกตัวในจังหวัดลำปาง เนื่องจากเป็นแหล่งดินขาวสำคัญของประเทศ เมื่อสิ้นปี 2542 จังหวัดลำปางมีโรงงานทั้งสิ้น 188 แห่ง เงินลงทุน 1,300 ล้านบาท จ้างแรงงานประมาณ 5,500 คน ผลิตภัณฑ์ที่ผลิต ได้แก่ ของชำร่วย เครื่องประดับ เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร รวมทั้งลูกถ้วยไฟฟ้า การส่งออกของภาคเหนือกระทำผ่านท่าเรือที่ส่วนกลาง ในปี 2542 ไทยส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกรวม 12.5 พันล้านบาท ศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรม เครื่องเคลือบดินเผาภาคเหนือ คาดว่าอุตสาหกรรมเซรามิกในจังหวัดลำปางส่งออกได้ไม่ต่ำกว่า 2.0 พันล้านบาทต่อปี ตลาดส่งออกสำคัญคือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่นและยุโรป
อุตสาหกรรมอื่น ๆ
1.อุตสาหกรรมบ่มใบยาสูบ มีโรงงานตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็นแหล่งผลิตใบยาสูบเวอร์จิเนีย เช่น จังหวัดแพร่ น่าน ลำปาง ลำพูน เชียงรายและเชียงใหม่ เป็นต้น การส่งออกส่วนใหญ่กระทำผ่านผู้ส่งออก ในปี 2542 ไทยส่งออกใบยาสูบเวอร์จิเนียและใบยาเบอร์เลย์ซึ่งเกือบทั้งหมดผลิตจากภาคเหนือรวม 1.6 พันล้านบาท
2.อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ แหล่งผลิต สำคัญคือ จังหวัดเชียงใหม่
3.อุตสาหกรรมหัตถกรรมพื้นบ้าน ที่เกี่ยวเนื่องกับ การท่องเที่ยว เช่น เครื่องเขิน ร่ม เครื่องเงิน หัตถกรรม เลียนแบบของเก่า แหล่งผลิตสำคัญคือ จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง
4.อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ แหล่งผลิตสำคัญคือ จังหวัดลำปาง เชียงใหม่
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-