แท็ก
องค์การการค้าโลก
"ผลกระทบของไทยจากการที่จีนสมัครเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก นั้น จากการศึกษาวิเคราะห์พบว่า จะเกิดโอกาสในการขยายตลาดในจีน ซึ่งเป็นตลาดการค้าขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของโลก ทั้งในด้านการค้าสินค้าและการค้าบริการ อันเป็นผลจากการเจรจาสองฝ่ายระหว่างไทย-จีน และผลพลอยได้ที่เกิดขึ้นจากการเจรจาระหว่างจีนกับประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลกอื่นๆ
สำหรับผลกระทบในทางลบ เช่น สินค้าราคาถูกจากจีนจะเข้ามาตีตลาดในไทยตลอดจนการแข่งขันกับไทยในตลาดที่สามนั้น ในระยะสั้นแทบจะไม่มีผลใดๆ เนื่องจาก ปัจจุบันจีนได้รับสิทธิ MFN จากประเทศต่างๆอยู่แล้ว โดยเฉพาะตลาดสำคัญๆ เช่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น ฯลฯ แต่ในอนาคต สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ การที่จีนจะเป็นแหล่งดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศและผลิตสินค้าออกมาจำหน่ายแข่งขันกับไทยได้มากกว่าปัจจุบัน"
ในการสมัครเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก จีนจะต้องเจรจาสองฝ่ายกับประเทศสมาชิกที่ยื่นขอเจรจาไว้รวม 38 ประเทศ ซึ่งในปัจจุบันจีนสามารถบรรลุข้อตกลงกับประเทศต่างๆได้แล้วรวม 36 ประเทศ (คงเหลือเพียงประเทศเม็กซิโกและปานามาเท่านั้น) สำหรับขั้นตอนนี้ไม่น่าจะเป็นอุปสรรคต่อการเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกของจีน ขณะนี้ยังคงเหลือขั้นตอนในการจัดทำ Protocol of Accession ซึ่งเป็นกรอบข้อผูกพันที่จีนจะต้องดำเนินการปรับปรุงกฎระเบียบของตนให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ขององค์การการค้าโลก จึงคาดว่า จีนคงจะสามารถเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกได้ภายในปี 2544 นี้
ในส่วนของการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบต่อประเทศไทยโดยสรุปประกอบด้วย
ประโยชน์ที่ประเทศไทยได้รับ
- ไทย-จีน สามารถบรรลุข้อตกลงในการเจรจาสองฝ่ายระหว่างกันได้เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2543 โดยไทยจะได้รับผลดีจากการเปิดตลาดของจีนด้วยการลดภาษีสินค้านำเข้ารวมกว่า 100 รายการ ประกอบด้วย สินค้าเกษตร (39 รายการ) สินค้าประมง (12 รายการ) สินค้าอุตสาหกรรม (85 รายการ) และการเปิดตลาดในด้านการค้าบริการ โดยเปิดให้มีการร่วมลงทุนในธุรกิจโรงแรม การบริการท่องเที่ยวและภัตตาคาร
- โดยหลักการไม่เลือกประติบัติระหว่างประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก ดังนั้น ผลประโยชน์จากการเจรจาลดภาษีสินค้า หรือเปิดตลาดในด้านการค้าบริการให้ประเทศสมาชิกประเทศใดประเทศหนึ่ง
ก็จะตกเป็นสิทธิประโยชน์ของประเทศอื่นๆรวมทั้งไทยด้วย เช่น
: การยกเลิกการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นรายการที่ไทยมิได้ ยื่นขอเจรจากับจีน เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องมือในการสื่อสารโทรคมนาคม เซมิคอนดักเตอร์ ชิ้นส่วนรถยนต์ ฯลฯ
: การเปิดเสรีการค้าบริการในสาขาต่างๆ อาทิ การจัดจำหน่าย การเงินการธนาคาร ธุรกิจประกันภัย โทรคมนาคม และการบริการสาขาวิชาชีพ เช่น วิศวกร สถาปัตยกรรม แพทย์และทันตแพทย์ เป็นต้น
- นอกเหนือจากผลประโยชน์ดังกล่าวข้างต้นแล้ว ไทย (และประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลกอื่นๆ) ก็จะได้รับประโยชน์จากการที่จีนต้องปฏิบัติตามกฎ กติกา ภายใต้กรอบองค์การการค้าโลกต่างๆ อาทิ การยกเลิกมาตรการที่มิใช่ภาษี( NTBS) โดยเฉพาะเรื่องการขออนุญาตนำเข้า การให้ rebate เกิน การยกเลิกมาตรการด้านสุขอนามัยที่ไม่สอดคล้องกับความตกลงภายใต้องค์การการค้าโลก ตลอดจนเคารพในกฎ ระเบียบภายใต้ความตกลงการค้าบริการและทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น
ผลกระทบในระยะสั้น
สำหรับข้อกังวลในประเด็นที่ว่า เมื่อจีนเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกแล้วจีนจะได้รับสิทธิ์ในการลดหย่อนภาษีจากประเทศต่างๆ ซึ่งจะสามารถสร้างผลกระทบต่อการค้าของไทยได้ ทั้งในด้านการแข่งขันกับไทยในประเทศที่สามและการขยายตัวของสินค้าราคาถูกจากจีนจะเข้ามาในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น นั้น ในระยะแรกคาดว่าจะไม่มีผลกระทบมากนัก เนื่องจากก่อนหน้าที่จีนจะสมัครเข้าเป็นสมาชิก WTO จีนก็ได้รับสถานะ MFN จากประเทศต่าง ๆ อยู่แล้ว ดังนั้น สถานะการแข่งขันของจีนในตลาดสำคัญจึงไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเท่าใดนัก
ผลกระทบในระยะยาว
การที่จีนต้องปฏิบัติตามพันธกรณี และปรับปรุงกลไกตลาดมากขึ้น จะมีผลดีในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศและจะเกิดการขยายตัวทางการค้ากับประเทศที่เข้าไปลงทุนในจีน ซึ่งไทยจะหลีกเลี่ยงการแข่งขันกับจีนในสินค้าชนิดเดียวกันได้ยาก
อย่างไรก็ตาม ผลการเจรจาสองฝ่ายระหว่างจีน-สหรัฐอเมริกา ได้ก่อให้เกิดความกังวลให้แก่นักลงทุนต่างชาติหลายประเด็น จากการที่จีนยอมให้ประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลกทุกประเทศสามารถได้รับสิทธิเท่าเทียมกับสหรัฐฯ ในการดำเนินมาตรการต่างๆ กับจีน เช่นการใช้มาตรการปกป้อง(Safeguard) มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด( โดยใช้หลักเกณฑ์ว่าจีนเป็น non-market economy) ตลอดจนการที่จีนจะไม่ได้รับการพิจารณาสถานะให้เป็นประเทศกำลังพัฒนาในองค์การการค้าโลก นอกจากนี้สหรัฐฯ ยังสามารถใช้มาตรการจำกัดการนำเข้าโดยสมัครใจ และสามารถคงโควตาสิ่งทอของจีนไว้ได้ถึงปี คศ. 2008
ข้อสังเกต
ปัจจุบันจีนกำลังอยู่ในระหว่างการปรับตัวเพื่อเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก จึงนับเป็นโอกาสอันดีที่ภาครัฐและภาคเอกชนของไทยจะเร่งรัดขยายความสัมพันธ์กับจีนเพื่อชดเชยกับตลาดหลักของไทย(สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น) ที่กำลังเข้าสู่ภาวะชะลอตัวทางเศรษฐกิจอยู่ในขณะนี้
สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมในเรื่องนี้ ผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามได้ที่กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ โทร. 2826171-9
นอกจากนี้ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ยังมีแผนการจัดสัมมนาเพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับจีนแก่ผู้เกี่ยวข้องในช่วงเดือนมิถุนายน นี้ ซึ่งจะแจ้งรายละเอียดให้ทราบต่อไป
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-
สำหรับผลกระทบในทางลบ เช่น สินค้าราคาถูกจากจีนจะเข้ามาตีตลาดในไทยตลอดจนการแข่งขันกับไทยในตลาดที่สามนั้น ในระยะสั้นแทบจะไม่มีผลใดๆ เนื่องจาก ปัจจุบันจีนได้รับสิทธิ MFN จากประเทศต่างๆอยู่แล้ว โดยเฉพาะตลาดสำคัญๆ เช่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น ฯลฯ แต่ในอนาคต สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ การที่จีนจะเป็นแหล่งดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศและผลิตสินค้าออกมาจำหน่ายแข่งขันกับไทยได้มากกว่าปัจจุบัน"
ในการสมัครเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก จีนจะต้องเจรจาสองฝ่ายกับประเทศสมาชิกที่ยื่นขอเจรจาไว้รวม 38 ประเทศ ซึ่งในปัจจุบันจีนสามารถบรรลุข้อตกลงกับประเทศต่างๆได้แล้วรวม 36 ประเทศ (คงเหลือเพียงประเทศเม็กซิโกและปานามาเท่านั้น) สำหรับขั้นตอนนี้ไม่น่าจะเป็นอุปสรรคต่อการเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกของจีน ขณะนี้ยังคงเหลือขั้นตอนในการจัดทำ Protocol of Accession ซึ่งเป็นกรอบข้อผูกพันที่จีนจะต้องดำเนินการปรับปรุงกฎระเบียบของตนให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ขององค์การการค้าโลก จึงคาดว่า จีนคงจะสามารถเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกได้ภายในปี 2544 นี้
ในส่วนของการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบต่อประเทศไทยโดยสรุปประกอบด้วย
ประโยชน์ที่ประเทศไทยได้รับ
- ไทย-จีน สามารถบรรลุข้อตกลงในการเจรจาสองฝ่ายระหว่างกันได้เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2543 โดยไทยจะได้รับผลดีจากการเปิดตลาดของจีนด้วยการลดภาษีสินค้านำเข้ารวมกว่า 100 รายการ ประกอบด้วย สินค้าเกษตร (39 รายการ) สินค้าประมง (12 รายการ) สินค้าอุตสาหกรรม (85 รายการ) และการเปิดตลาดในด้านการค้าบริการ โดยเปิดให้มีการร่วมลงทุนในธุรกิจโรงแรม การบริการท่องเที่ยวและภัตตาคาร
- โดยหลักการไม่เลือกประติบัติระหว่างประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก ดังนั้น ผลประโยชน์จากการเจรจาลดภาษีสินค้า หรือเปิดตลาดในด้านการค้าบริการให้ประเทศสมาชิกประเทศใดประเทศหนึ่ง
ก็จะตกเป็นสิทธิประโยชน์ของประเทศอื่นๆรวมทั้งไทยด้วย เช่น
: การยกเลิกการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นรายการที่ไทยมิได้ ยื่นขอเจรจากับจีน เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องมือในการสื่อสารโทรคมนาคม เซมิคอนดักเตอร์ ชิ้นส่วนรถยนต์ ฯลฯ
: การเปิดเสรีการค้าบริการในสาขาต่างๆ อาทิ การจัดจำหน่าย การเงินการธนาคาร ธุรกิจประกันภัย โทรคมนาคม และการบริการสาขาวิชาชีพ เช่น วิศวกร สถาปัตยกรรม แพทย์และทันตแพทย์ เป็นต้น
- นอกเหนือจากผลประโยชน์ดังกล่าวข้างต้นแล้ว ไทย (และประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลกอื่นๆ) ก็จะได้รับประโยชน์จากการที่จีนต้องปฏิบัติตามกฎ กติกา ภายใต้กรอบองค์การการค้าโลกต่างๆ อาทิ การยกเลิกมาตรการที่มิใช่ภาษี( NTBS) โดยเฉพาะเรื่องการขออนุญาตนำเข้า การให้ rebate เกิน การยกเลิกมาตรการด้านสุขอนามัยที่ไม่สอดคล้องกับความตกลงภายใต้องค์การการค้าโลก ตลอดจนเคารพในกฎ ระเบียบภายใต้ความตกลงการค้าบริการและทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น
ผลกระทบในระยะสั้น
สำหรับข้อกังวลในประเด็นที่ว่า เมื่อจีนเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกแล้วจีนจะได้รับสิทธิ์ในการลดหย่อนภาษีจากประเทศต่างๆ ซึ่งจะสามารถสร้างผลกระทบต่อการค้าของไทยได้ ทั้งในด้านการแข่งขันกับไทยในประเทศที่สามและการขยายตัวของสินค้าราคาถูกจากจีนจะเข้ามาในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น นั้น ในระยะแรกคาดว่าจะไม่มีผลกระทบมากนัก เนื่องจากก่อนหน้าที่จีนจะสมัครเข้าเป็นสมาชิก WTO จีนก็ได้รับสถานะ MFN จากประเทศต่าง ๆ อยู่แล้ว ดังนั้น สถานะการแข่งขันของจีนในตลาดสำคัญจึงไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเท่าใดนัก
ผลกระทบในระยะยาว
การที่จีนต้องปฏิบัติตามพันธกรณี และปรับปรุงกลไกตลาดมากขึ้น จะมีผลดีในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศและจะเกิดการขยายตัวทางการค้ากับประเทศที่เข้าไปลงทุนในจีน ซึ่งไทยจะหลีกเลี่ยงการแข่งขันกับจีนในสินค้าชนิดเดียวกันได้ยาก
อย่างไรก็ตาม ผลการเจรจาสองฝ่ายระหว่างจีน-สหรัฐอเมริกา ได้ก่อให้เกิดความกังวลให้แก่นักลงทุนต่างชาติหลายประเด็น จากการที่จีนยอมให้ประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลกทุกประเทศสามารถได้รับสิทธิเท่าเทียมกับสหรัฐฯ ในการดำเนินมาตรการต่างๆ กับจีน เช่นการใช้มาตรการปกป้อง(Safeguard) มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด( โดยใช้หลักเกณฑ์ว่าจีนเป็น non-market economy) ตลอดจนการที่จีนจะไม่ได้รับการพิจารณาสถานะให้เป็นประเทศกำลังพัฒนาในองค์การการค้าโลก นอกจากนี้สหรัฐฯ ยังสามารถใช้มาตรการจำกัดการนำเข้าโดยสมัครใจ และสามารถคงโควตาสิ่งทอของจีนไว้ได้ถึงปี คศ. 2008
ข้อสังเกต
ปัจจุบันจีนกำลังอยู่ในระหว่างการปรับตัวเพื่อเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก จึงนับเป็นโอกาสอันดีที่ภาครัฐและภาคเอกชนของไทยจะเร่งรัดขยายความสัมพันธ์กับจีนเพื่อชดเชยกับตลาดหลักของไทย(สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น) ที่กำลังเข้าสู่ภาวะชะลอตัวทางเศรษฐกิจอยู่ในขณะนี้
สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมในเรื่องนี้ ผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามได้ที่กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ โทร. 2826171-9
นอกจากนี้ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ยังมีแผนการจัดสัมมนาเพื่อเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับจีนแก่ผู้เกี่ยวข้องในช่วงเดือนมิถุนายน นี้ ซึ่งจะแจ้งรายละเอียดให้ทราบต่อไป
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-