แท็ก
gmo
ประเด็นปัญหาการค้าสินค้า GMOs ของโลกที่สำคัญ ส่วนหนึ่งเกิดมาจากการที่ไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะจากองค์การระหว่างประเทศ และการกำหนดกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนเกี่ยวกับการค้าสินค้าเทคโนโลยีชีวภาพ ทำให้แต่ละประเทศใช้หลักเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นเองเพื่อดูแลการค้าสินค้า GMOs ของตน เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว Codex (โครงการมาตรฐานอาหารของ FAO/WHO) ซึ่งเป็นองค์การกำหนดมาตรฐานสินค้าระหว่างประเทศ ได้มีการจัดตั้งคณะทำงาน (task force) ซึ่งประกอบไปด้วยผู้แทนจากรัฐบาลประเทศต่างๆ พิจารณากฏเกณฑ์ มาตรฐาน และหลักการต่างๆ สำหรับอาหารที่ผลิตโดยเทคโนโลยีชีวภาพ อย่างไรก็ดี ในส่วนของหลักการวิเคราะห์ความเสี่ยงของอาหารที่ได้จากเทคโนโลยีชีวภาพ (Proposed draft General Principles for the Risk Analysis of Foods derived from Modern Biotechnology) ในขณะนี้ได้มีความพยายามจากประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปที่จะนำ post market monitoring รวมไว้ใน Proposed draft Principles และเพิ่มเติมเรื่อง การตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) * ในหัวข้อของ Risk management ซึ่งนับเป็นข้อมูลเตือนล่วงหน้า (early waning) โดยมีข้อสังเกตดังนี้ คือ
สหภาพยุโรปกำลังพยายามที่ผลักดันหลักการควบคุมระบบการผลิตแบบครบวงจร (Farm to Table) ซึ่งระบุในนโยบายสมุดปกขาวความปลอดภัยอาหารยุโรป (The European White Paper on Food Safety) ซึ่งจะประกาศใช้ภายในสหภาพยุโรป มาใช้เป็นมาตรฐานระหว่างประเทศ
หลักการวิเคราะห์ความเสี่ยงของอาหารที่ได้จากเทคโนโลยีชีวภาพ โดยนัยแล้ว จะครอบคลุมทั้งสินค้าอาหารที่เป็น GMOs และมิใช่ GMOs เนื่องจาก หากผู้ซื้อต้องการให้ระบุว่าเป็นสินค้าที่ปลอด GMOs ผู้ผลิตก็จำเป็นต้องระบุข้อมูลย้อนหลังนั้นด้วยว่าปลอด GMOs
จะเพิ่มภาระให้แก่ผู้ผลิต กลายเป็นมาตรการที่มิใช่ภาษี ทั้งในแง่การเพิ่มต้นทุน และการกำหนดมาตรฐานที่สูงขึ้นต่อประเทศกำลังพัฒนาที่ผู้ผลิตยังขาดความพร้อม (สำหรับผู้ผลิตไทยที่แปรรูปวัตถุดิบนำเข้าน่าจะได้รับประโยชน์จากการนำเข้าวัตถุดิบ โดยสามารถเลือกวัตถุดิบให้เป็นไปตามที่ผู้บริโภคต้องการ ซึ่งแตกต่างจากผู้ผลิตสินค้าโดยตรง โดยเฉพาะเกษตรกรจะได้รับผลกระทบในการปรับตัว และต้นทุนที่สูงขึ้น)
การนำ post market monitoring มาใช้ ถึงแม้จะเป็นการช่วยตอบปัญหาที่มีมานานต่อความปลอดภัยของสินค้า GMOs (ซึ่งต้องใช้เวลานานในการติดตาม และเฝ้าระวัง ผลกระทบของการใช้สินค้า GMOs) หากแต่คำถามต่อภาระที่จะเกิดขึ้นควรจะอยู่ที่ใคร เจ้าของเทคโนโลยี หรือผู้บริโภค ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจน
ประเทศไทยในฐานะที่เป็นผู้ส่งออกอาหารรายใหญ่ของโลก โดยเป็นทั้งผู้ผลิตโดยตรง และผู้ผลิตที่แปรรูปวัตถุดิบนำเข้า ผู้ผลิตและส่งออกควรจะได้มีการเตรียมพร้อม โดยเฉพาะการปรับปรุงการผลิตตามมาตรฐาน GMP และ HACCP จะช่วยให้ไทยสามารถรักษาส่วนแบ่งตลาดและเป็นผู้นำในการส่งออกสินค้าอาหารของโลกต่อไป
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-
สหภาพยุโรปกำลังพยายามที่ผลักดันหลักการควบคุมระบบการผลิตแบบครบวงจร (Farm to Table) ซึ่งระบุในนโยบายสมุดปกขาวความปลอดภัยอาหารยุโรป (The European White Paper on Food Safety) ซึ่งจะประกาศใช้ภายในสหภาพยุโรป มาใช้เป็นมาตรฐานระหว่างประเทศ
หลักการวิเคราะห์ความเสี่ยงของอาหารที่ได้จากเทคโนโลยีชีวภาพ โดยนัยแล้ว จะครอบคลุมทั้งสินค้าอาหารที่เป็น GMOs และมิใช่ GMOs เนื่องจาก หากผู้ซื้อต้องการให้ระบุว่าเป็นสินค้าที่ปลอด GMOs ผู้ผลิตก็จำเป็นต้องระบุข้อมูลย้อนหลังนั้นด้วยว่าปลอด GMOs
จะเพิ่มภาระให้แก่ผู้ผลิต กลายเป็นมาตรการที่มิใช่ภาษี ทั้งในแง่การเพิ่มต้นทุน และการกำหนดมาตรฐานที่สูงขึ้นต่อประเทศกำลังพัฒนาที่ผู้ผลิตยังขาดความพร้อม (สำหรับผู้ผลิตไทยที่แปรรูปวัตถุดิบนำเข้าน่าจะได้รับประโยชน์จากการนำเข้าวัตถุดิบ โดยสามารถเลือกวัตถุดิบให้เป็นไปตามที่ผู้บริโภคต้องการ ซึ่งแตกต่างจากผู้ผลิตสินค้าโดยตรง โดยเฉพาะเกษตรกรจะได้รับผลกระทบในการปรับตัว และต้นทุนที่สูงขึ้น)
การนำ post market monitoring มาใช้ ถึงแม้จะเป็นการช่วยตอบปัญหาที่มีมานานต่อความปลอดภัยของสินค้า GMOs (ซึ่งต้องใช้เวลานานในการติดตาม และเฝ้าระวัง ผลกระทบของการใช้สินค้า GMOs) หากแต่คำถามต่อภาระที่จะเกิดขึ้นควรจะอยู่ที่ใคร เจ้าของเทคโนโลยี หรือผู้บริโภค ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจน
ประเทศไทยในฐานะที่เป็นผู้ส่งออกอาหารรายใหญ่ของโลก โดยเป็นทั้งผู้ผลิตโดยตรง และผู้ผลิตที่แปรรูปวัตถุดิบนำเข้า ผู้ผลิตและส่งออกควรจะได้มีการเตรียมพร้อม โดยเฉพาะการปรับปรุงการผลิตตามมาตรฐาน GMP และ HACCP จะช่วยให้ไทยสามารถรักษาส่วนแบ่งตลาดและเป็นผู้นำในการส่งออกสินค้าอาหารของโลกต่อไป
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-