บันทึกการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๑
ครั้งที่ ๑๐ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันพฤหัสบดีที่ ๒๙ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๔๔
ณ ตึกรัฐสภา
---------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมสำหรับการพิจารณาระเบียบวาระกระทู้ถามแล้ว
นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทนราษฎร และนายบุญชง วีสมหมาย
รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สอง ขึ้นบัลลังก์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร
กล่าวเปิดประชุม และดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระกระทู้ถาม ตามลำดับ คือ
๑. กระทู้ถามสด
๑.๑ กระทู้ถาม ของ นางสาวชรินรัตน์ พุทธปวน เรื่อง การแก้
ปัญหาราคาลำไยตกต่ำ ถาม นายกรัฐมนตรี ซึ่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง
พาณิชย์ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบ โดยในระหว่างการพิจารณากระทู้ถามเรื่องนี้
รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สองได้ดำเนินการประชุมต่อ
๑.๒ กระทู้ถาม ของ นายประชาธิปไตย คำสิงห์นอก เรื่อง
การประกาศและการให้สัมภาษณ์กรณีการโยกย้ายข้าราชการประจำและพนักงาน
รัฐวิสาหกิจ ถาม นายกรัฐมนตรี ซึ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้รับ
มอบหมายให้เป็นผู้ตอบ
๑.๓ กระทู้ถาม ของ นายสุพัฒน์ ธรรมเพชร เรื่อง ความจริงจัง
และเด็ดขาดของรัฐบาลที่มีต่อการปราบปรามคอรัปชัน ถาม นายกรัฐมนตรี ซึ่ง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบ
ต่อมา รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่งได้มาปฏิบัติหน้าที่ต่อ
และได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณากระทู้ถามทั่วไป
๒. กระทู้ถามทั่วไป
๒.๑ กระทู้ถาม ของ นายเสกสรรค์ แสนภูมิ เรื่อง การใช้สาร
เคมีภัณฑ์ผสมในการผลิตอาหารสุกร ถาม นายกรัฐมนตรี เนื่องจากรัฐมนตรี
ช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์)
ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบติดราชการสำคัญ จึงขอเลื่อนการตอบกระทู้ถาม
นี้ไปในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร วันพฤหัสบดีที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๔๔
ตามข้อบังคับฯ ข้อ ๑๒๕
๒.๒ กระทู้ถาม ของ นายวิชาญ มีนชัยนันท์ เรื่อง การขาดแคลน
น้ำประปา ถาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง
มหาดไทย (นายสมบัติ อุทัยสาง) ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบ
๒.๓ กระทู้ถาม ของ นายเปรมศักดิ์ เพียยุระ เรื่อง การบรรจุ
บุคลากรทางการแพทย์ พยาบาลและสาธารณสุข เป็นพนักงานของรัฐ ถาม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ซึ่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบ
จากนั้น ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้แจ้งให้
ที่ประชุมทราบเรื่อง สำนักงานศาลปกครองส่งระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการ
ในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๔
เพื่อให้สมาชิกได้พิจารณาตรวจสอบ ตามมาตรา ๖ ของพระราชบัญญัติจัดตั้ง
ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
ที่ประชุมรับทราบ ภายหลังการอภิปรายของสมาชิกฯ เพื่อตั้งข้อสังเกต
ในระเบียบดังกล่าว
ต่อมา ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้มาปฏิบัติหน้าที่ต่อ และก่อนที่
ที่ประชุมจะพิจารณาเรื่องตามระเบียบวาระการประชุมต่อไป ได้มีสมาชิกฯ เสนอ
ญัตติให้ปรึกษาหรือพิจารณาปัญหาราคาพืชผลทางเกษตรตกต่ำ และญัตติด่วน
เกี่ยวกับการตรวจสอบทรัพย์สินของอดีตประธานสภารักษาความสงบเรียบร้อย
แห่งชาติเป็นเรื่องด่วน ตามลำดับ โดยอาศัยข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
ข้อ ๔๐ (๑) ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
ประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาญัตติ เรื่อง
ขอให้สภาฯ ตั้งกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาหามาตรการแก้ไขปัญหาราคา
ข้าวเปลือกตกต่ำ ซึ่ง นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ กับคณะ เป็นผู้เสนอ (ซึ่งยัง
มิได้บรรจุระเบียบวาระ) ทั้งนี้ที่ประชุมเห็นชอบให้นำญัตติทำนองเดียวกันอีก
จำนวน ๑๗ ฉบับ ขึ้นมาพิจารณารวมกันไป
ประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุมรวมพิจารณาญัตติ
เกี่ยวกับราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ จำนวน ๑๘ ฉบับ ดังนี้
(๑) ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาฯ ตั้งกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณา
หามาตรการแก้ไขปัญหาราคาข้าวเปลือกตกต่ำ ซึ่ง นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ
กับคณะ เป็นผู้เสนอ (ซึ่งยังมิได้บรรจุระเบียบวาระ)
(๒) ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาฯ ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณา
หามาตรการแก้ไขปัญหาราคามันสำปะหลังตกต่ำ ซึ่ง นายนิยม วรปัญญา และ
นายอำนวย คลังผา เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๕.๔)
(๓) ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาฯ ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณา
หามาตรการแก้ไขปัญหาราคาข้าวเปลือกตกต่ำ ซึ่ง นายนิยม วรปัญญา และ
นายอำนวย คลังผา เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๕.๖)
(๔) ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาฯ ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณา
แก้ไขราคาอ้อยตกต่ำ ซึ่ง นายนิยม วรปัญญา เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๕.๑๘)
(๕) ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาฯ ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณา
แก้ไขราคาน้ำมัน ซึ่ง นายนิยม วรปัญญา เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๕.๑๙)
(๖) ญัตติ เรื่อง การแก้ไขปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ
ซึ่ง นายอำนวย คลังผา เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๕.๒๔)
(๗) ญัตติ เรื่อง ราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ ซึ่ง นายโสภณ
เพชรสว่าง กับคณะ เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๕.๒๕)
(๘) ญัตติ เรื่อง ปัญหาปุ๋ยเคมีราคาสูง ซึ่ง นายโสภณ เพชรสว่าง
กับคณะ เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๕.๒๘)
(๙) ญัตติ เรื่อง ขอให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษา
ราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ ซึ่ง นายสุวโรช พะลัง กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(ในระเบียบวาระที่ ๖.๑๒)
(๑๐) ญัตติ เรื่อง ปัญหาราคายางพารา ปาล์มน้ำมัน กาแฟ และมะพร้าวราคาตกต่ำ
ซึ่ง นายตรีพล เจาะจิตต์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๖.๑๓)
(๑๑) ญัตติ เรื่อง ยาปราบศัตรูพืชราคาแพง ซึ่ง นายพูลสวัสดิ์
โหตระไวศยะ กับคณะ เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๖.๑๔)
(๑๒) ญัตติ เรื่อง ปัญหาราคาข้าวเปลือกตกต่ำ ซึ่ง นายพูลสวัสดิ์
โหตระไวศยะ กับคณะ เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๖.๑๕)
(๑๓) ญัตติ เรื่อง แก้ไขปัญหาปุ๋ยมีราคาแพง ซึ่ง นายพูลสวัสดิ์
โหตระไวศยะ กับคณะ เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๖.๑๖)
(๑๔) ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรร่วมกันพิจารณาตั้ง
คณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาแนวทางการแก้ไขปัญหาราคาผลผลิตทาง
การเกษตรตกต่ำ ซึ่ง นายพงษ์พิช รุ่งเป้า และนายศรคม ฦาชา เป็นผู้เสนอ
(ในระเบียบวาระที่ ๖.๑๘)
(๑๕) ญัตติ เรื่อง สินค้าอุปโภคบริโภคมีราคาแพง ซึ่ง นายพูลสวัสดิ์
โหตระไวศยะ กับคณะ เป็นผู้เสนอ (ซึ่งยังมิได้บรรจุระเบียบวาระ)
(๑๖) ญัตติ เรื่อง ขอให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษา
แก้ไขปัญหาราคาผลผลิตการเกษตรตกต่ำ ซึ่ง นายศุภชัย โพธิ์สุ กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(ซึ่งยังมิได้บรรจุระเบียบวาระ)
(๑๗) ญัตติ เรื่อง ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาและหา
มาตรการแก้ไขปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ โดยโครงการแปรรูปผลผลิต
เกษตรเป็นน้ำมันเอทานอลและไบโอดีเซล ซึ่ง นายอลงกรณ์ พลบุตร เป็นผู้เสนอ
(ซึ่งยังมิได้บรรจุระเบียบวาระ)
(๑๘) ญัตติ เรื่อง ขอให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษา
ปัญหาราคาพืชผลตกต่ำ ซึ่ง นายบัวสอน ประชามอญ เป็นผู้เสนอ (ซึ่งยังมิได้
บรรจุระเบียบวาระ)
เมื่อผู้เสนอทั้ง ๑๘ ฉบับ ได้แถลงเหตุผลตามลำดับแล้ว มีสมาชิกฯ
อภิปราย โดยมีประธานสภาผู้แทนราษฎร รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง
และรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สอง ได้ผลัดเปลี่ยนกันดำเนินการประชุม
ภายหลังสมาชิกฯ อภิปราย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุม
ได้ลงมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ เพื่อพิจารณาศึกษาเรื่องดังกล่าวตาม
ข้อเสนอของญัตติตามลำดับที่ (๑), (๒), (๓), (๔), (๕), (๙), (๑๔), (๑๖), (๑๗)
และ (๑๘) และให้ส่งญัตติในลำดับที่ (๖), (๗), (๘), (๑๐), (๑๑), (๑๒), (๑๓)
และ (๑๕) ให้คณะรัฐมนตรีรับไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ซึ่งคณะกรรมาธิการ
วิสามัญฯ จำนวน ๔๕ คน เพื่อพิจารณาเรื่องดังกล่าว ประกอบด้วย
๑. นายอภิชาติ พงษ์ศรีหดุลชัย ๒. นายเดชา ศุภวันต์
๓. นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ๔. นายพิศิษฐ เศรษฐวงศ์
๕. นางอรสา มั่งคงขันติวงศ์ ๖. นายเสกสรรค์ แสนภูมิ
๗. นายวีระพล อดิเรกสาร ๘. นายภูมิ สาระผล
๙. นายศิริ หวังบุญเกิด ๑๐. นายชูวิทย์ พิทักษ์พรพัลลภ
๑๑. นายสุรพล เกียรติไชยากร ๑๒. นายนพคุณ รัฐผไท
๑๓. นายพงษ์ศักดิ์ วรปัญญา ๑๔. นายพ้อง ชีวานันท์
๑๕. นายเทวฤทธิ์ นิกรเทศ ๑๖. นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์
๑๗. นายธีระชัย แสนแก้ว ๑๘. นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์
๑๙. นายระวัง เนตรโพธิ์แก้ว ๒๐. นางสลิลทิพย์ ชัยสดมภ์
๒๑. นายประเสริฐ เด่นนภาลัย ๒๒. นายวิทยา บุรณศิริ
๒๓. ว่าที่ร้อยตรี สุเมธ ฤทธาคนี ๒๔. พันเอก อภิวันท์ วิริยะชัย
๒๕. นายอนุชา นาคาศัย ๒๖. นายตรีพล เจาะจิตต์
๒๗. นายประกอบ รัตนพันธ์ ๒๘. นายสุวโรช พะลัง
๒๙. นางคมคาย พลบุตร ๓๐. นายนิพนธ์ วงษ์ตระหง่าน
๓๑. นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ ๓๒. นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน
๓๓. นายอภิชาติ สุภาแพ่ง ๓๔. นายเอกพจน์ ปานแย้ม
๓๕. นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ๓๖. นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ
๓๗. นางผ่องศรี แซ่จึง ๓๘. นายนิโรธ สุนทรเลขา
๓๙. นายวิวัฒชัย โหตระไวศยะ ๔๐. นายศุภชัย โพธิ์สุ
๔๑. นายนิสิต สินธุไพร ๔๒. นายพิทยา บุญเฉลียว
๔๓. นายพงษ์พิช รุ่งเป้า ๔๔. นายศรคม ฦาชา
๔๕. นายสมศักดิ์ คุณเงิน
ที่ประชุมได้ลงมติให้คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเรื่องดังกล่าว
ให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลา ๙๐ วัน
เลิกประชุมเวลา ๒๒.๒๕ นาฬิกา
(นายพิทูร พุ่มหิรัญ)
รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ฝ่ายรายงานการประชุม
กองการประชุม
โทร. ๒๔๔๑๑๑๕-๖
โทรสาร ๒๔๔๑๑๑๕-๖
ครั้งที่ ๑๐ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันพฤหัสบดีที่ ๒๙ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๔๔
ณ ตึกรัฐสภา
---------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมสำหรับการพิจารณาระเบียบวาระกระทู้ถามแล้ว
นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทนราษฎร และนายบุญชง วีสมหมาย
รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สอง ขึ้นบัลลังก์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร
กล่าวเปิดประชุม และดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระกระทู้ถาม ตามลำดับ คือ
๑. กระทู้ถามสด
๑.๑ กระทู้ถาม ของ นางสาวชรินรัตน์ พุทธปวน เรื่อง การแก้
ปัญหาราคาลำไยตกต่ำ ถาม นายกรัฐมนตรี ซึ่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง
พาณิชย์ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบ โดยในระหว่างการพิจารณากระทู้ถามเรื่องนี้
รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สองได้ดำเนินการประชุมต่อ
๑.๒ กระทู้ถาม ของ นายประชาธิปไตย คำสิงห์นอก เรื่อง
การประกาศและการให้สัมภาษณ์กรณีการโยกย้ายข้าราชการประจำและพนักงาน
รัฐวิสาหกิจ ถาม นายกรัฐมนตรี ซึ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้รับ
มอบหมายให้เป็นผู้ตอบ
๑.๓ กระทู้ถาม ของ นายสุพัฒน์ ธรรมเพชร เรื่อง ความจริงจัง
และเด็ดขาดของรัฐบาลที่มีต่อการปราบปรามคอรัปชัน ถาม นายกรัฐมนตรี ซึ่ง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบ
ต่อมา รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่งได้มาปฏิบัติหน้าที่ต่อ
และได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณากระทู้ถามทั่วไป
๒. กระทู้ถามทั่วไป
๒.๑ กระทู้ถาม ของ นายเสกสรรค์ แสนภูมิ เรื่อง การใช้สาร
เคมีภัณฑ์ผสมในการผลิตอาหารสุกร ถาม นายกรัฐมนตรี เนื่องจากรัฐมนตรี
ช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์)
ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบติดราชการสำคัญ จึงขอเลื่อนการตอบกระทู้ถาม
นี้ไปในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร วันพฤหัสบดีที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๔๔
ตามข้อบังคับฯ ข้อ ๑๒๕
๒.๒ กระทู้ถาม ของ นายวิชาญ มีนชัยนันท์ เรื่อง การขาดแคลน
น้ำประปา ถาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง
มหาดไทย (นายสมบัติ อุทัยสาง) ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบ
๒.๓ กระทู้ถาม ของ นายเปรมศักดิ์ เพียยุระ เรื่อง การบรรจุ
บุคลากรทางการแพทย์ พยาบาลและสาธารณสุข เป็นพนักงานของรัฐ ถาม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ซึ่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบ
จากนั้น ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรได้แจ้งให้
ที่ประชุมทราบเรื่อง สำนักงานศาลปกครองส่งระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการ
ในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๔
เพื่อให้สมาชิกได้พิจารณาตรวจสอบ ตามมาตรา ๖ ของพระราชบัญญัติจัดตั้ง
ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
ที่ประชุมรับทราบ ภายหลังการอภิปรายของสมาชิกฯ เพื่อตั้งข้อสังเกต
ในระเบียบดังกล่าว
ต่อมา ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้มาปฏิบัติหน้าที่ต่อ และก่อนที่
ที่ประชุมจะพิจารณาเรื่องตามระเบียบวาระการประชุมต่อไป ได้มีสมาชิกฯ เสนอ
ญัตติให้ปรึกษาหรือพิจารณาปัญหาราคาพืชผลทางเกษตรตกต่ำ และญัตติด่วน
เกี่ยวกับการตรวจสอบทรัพย์สินของอดีตประธานสภารักษาความสงบเรียบร้อย
แห่งชาติเป็นเรื่องด่วน ตามลำดับ โดยอาศัยข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
ข้อ ๔๐ (๑) ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
ประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาญัตติ เรื่อง
ขอให้สภาฯ ตั้งกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาหามาตรการแก้ไขปัญหาราคา
ข้าวเปลือกตกต่ำ ซึ่ง นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ กับคณะ เป็นผู้เสนอ (ซึ่งยัง
มิได้บรรจุระเบียบวาระ) ทั้งนี้ที่ประชุมเห็นชอบให้นำญัตติทำนองเดียวกันอีก
จำนวน ๑๗ ฉบับ ขึ้นมาพิจารณารวมกันไป
ประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุมรวมพิจารณาญัตติ
เกี่ยวกับราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ จำนวน ๑๘ ฉบับ ดังนี้
(๑) ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาฯ ตั้งกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณา
หามาตรการแก้ไขปัญหาราคาข้าวเปลือกตกต่ำ ซึ่ง นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ
กับคณะ เป็นผู้เสนอ (ซึ่งยังมิได้บรรจุระเบียบวาระ)
(๒) ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาฯ ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณา
หามาตรการแก้ไขปัญหาราคามันสำปะหลังตกต่ำ ซึ่ง นายนิยม วรปัญญา และ
นายอำนวย คลังผา เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๕.๔)
(๓) ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาฯ ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณา
หามาตรการแก้ไขปัญหาราคาข้าวเปลือกตกต่ำ ซึ่ง นายนิยม วรปัญญา และ
นายอำนวย คลังผา เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๕.๖)
(๔) ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาฯ ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณา
แก้ไขราคาอ้อยตกต่ำ ซึ่ง นายนิยม วรปัญญา เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๕.๑๘)
(๕) ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาฯ ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณา
แก้ไขราคาน้ำมัน ซึ่ง นายนิยม วรปัญญา เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๕.๑๙)
(๖) ญัตติ เรื่อง การแก้ไขปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ
ซึ่ง นายอำนวย คลังผา เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๕.๒๔)
(๗) ญัตติ เรื่อง ราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ ซึ่ง นายโสภณ
เพชรสว่าง กับคณะ เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๕.๒๕)
(๘) ญัตติ เรื่อง ปัญหาปุ๋ยเคมีราคาสูง ซึ่ง นายโสภณ เพชรสว่าง
กับคณะ เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๕.๒๘)
(๙) ญัตติ เรื่อง ขอให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษา
ราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ ซึ่ง นายสุวโรช พะลัง กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(ในระเบียบวาระที่ ๖.๑๒)
(๑๐) ญัตติ เรื่อง ปัญหาราคายางพารา ปาล์มน้ำมัน กาแฟ และมะพร้าวราคาตกต่ำ
ซึ่ง นายตรีพล เจาะจิตต์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๖.๑๓)
(๑๑) ญัตติ เรื่อง ยาปราบศัตรูพืชราคาแพง ซึ่ง นายพูลสวัสดิ์
โหตระไวศยะ กับคณะ เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๖.๑๔)
(๑๒) ญัตติ เรื่อง ปัญหาราคาข้าวเปลือกตกต่ำ ซึ่ง นายพูลสวัสดิ์
โหตระไวศยะ กับคณะ เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๖.๑๕)
(๑๓) ญัตติ เรื่อง แก้ไขปัญหาปุ๋ยมีราคาแพง ซึ่ง นายพูลสวัสดิ์
โหตระไวศยะ กับคณะ เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๖.๑๖)
(๑๔) ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรร่วมกันพิจารณาตั้ง
คณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาแนวทางการแก้ไขปัญหาราคาผลผลิตทาง
การเกษตรตกต่ำ ซึ่ง นายพงษ์พิช รุ่งเป้า และนายศรคม ฦาชา เป็นผู้เสนอ
(ในระเบียบวาระที่ ๖.๑๘)
(๑๕) ญัตติ เรื่อง สินค้าอุปโภคบริโภคมีราคาแพง ซึ่ง นายพูลสวัสดิ์
โหตระไวศยะ กับคณะ เป็นผู้เสนอ (ซึ่งยังมิได้บรรจุระเบียบวาระ)
(๑๖) ญัตติ เรื่อง ขอให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษา
แก้ไขปัญหาราคาผลผลิตการเกษตรตกต่ำ ซึ่ง นายศุภชัย โพธิ์สุ กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(ซึ่งยังมิได้บรรจุระเบียบวาระ)
(๑๗) ญัตติ เรื่อง ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาและหา
มาตรการแก้ไขปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ โดยโครงการแปรรูปผลผลิต
เกษตรเป็นน้ำมันเอทานอลและไบโอดีเซล ซึ่ง นายอลงกรณ์ พลบุตร เป็นผู้เสนอ
(ซึ่งยังมิได้บรรจุระเบียบวาระ)
(๑๘) ญัตติ เรื่อง ขอให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษา
ปัญหาราคาพืชผลตกต่ำ ซึ่ง นายบัวสอน ประชามอญ เป็นผู้เสนอ (ซึ่งยังมิได้
บรรจุระเบียบวาระ)
เมื่อผู้เสนอทั้ง ๑๘ ฉบับ ได้แถลงเหตุผลตามลำดับแล้ว มีสมาชิกฯ
อภิปราย โดยมีประธานสภาผู้แทนราษฎร รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง
และรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สอง ได้ผลัดเปลี่ยนกันดำเนินการประชุม
ภายหลังสมาชิกฯ อภิปราย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุม
ได้ลงมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ เพื่อพิจารณาศึกษาเรื่องดังกล่าวตาม
ข้อเสนอของญัตติตามลำดับที่ (๑), (๒), (๓), (๔), (๕), (๙), (๑๔), (๑๖), (๑๗)
และ (๑๘) และให้ส่งญัตติในลำดับที่ (๖), (๗), (๘), (๑๐), (๑๑), (๑๒), (๑๓)
และ (๑๕) ให้คณะรัฐมนตรีรับไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ซึ่งคณะกรรมาธิการ
วิสามัญฯ จำนวน ๔๕ คน เพื่อพิจารณาเรื่องดังกล่าว ประกอบด้วย
๑. นายอภิชาติ พงษ์ศรีหดุลชัย ๒. นายเดชา ศุภวันต์
๓. นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ๔. นายพิศิษฐ เศรษฐวงศ์
๕. นางอรสา มั่งคงขันติวงศ์ ๖. นายเสกสรรค์ แสนภูมิ
๗. นายวีระพล อดิเรกสาร ๘. นายภูมิ สาระผล
๙. นายศิริ หวังบุญเกิด ๑๐. นายชูวิทย์ พิทักษ์พรพัลลภ
๑๑. นายสุรพล เกียรติไชยากร ๑๒. นายนพคุณ รัฐผไท
๑๓. นายพงษ์ศักดิ์ วรปัญญา ๑๔. นายพ้อง ชีวานันท์
๑๕. นายเทวฤทธิ์ นิกรเทศ ๑๖. นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์
๑๗. นายธีระชัย แสนแก้ว ๑๘. นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์
๑๙. นายระวัง เนตรโพธิ์แก้ว ๒๐. นางสลิลทิพย์ ชัยสดมภ์
๒๑. นายประเสริฐ เด่นนภาลัย ๒๒. นายวิทยา บุรณศิริ
๒๓. ว่าที่ร้อยตรี สุเมธ ฤทธาคนี ๒๔. พันเอก อภิวันท์ วิริยะชัย
๒๕. นายอนุชา นาคาศัย ๒๖. นายตรีพล เจาะจิตต์
๒๗. นายประกอบ รัตนพันธ์ ๒๘. นายสุวโรช พะลัง
๒๙. นางคมคาย พลบุตร ๓๐. นายนิพนธ์ วงษ์ตระหง่าน
๓๑. นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ ๓๒. นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน
๓๓. นายอภิชาติ สุภาแพ่ง ๓๔. นายเอกพจน์ ปานแย้ม
๓๕. นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ๓๖. นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ
๓๗. นางผ่องศรี แซ่จึง ๓๘. นายนิโรธ สุนทรเลขา
๓๙. นายวิวัฒชัย โหตระไวศยะ ๔๐. นายศุภชัย โพธิ์สุ
๔๑. นายนิสิต สินธุไพร ๔๒. นายพิทยา บุญเฉลียว
๔๓. นายพงษ์พิช รุ่งเป้า ๔๔. นายศรคม ฦาชา
๔๕. นายสมศักดิ์ คุณเงิน
ที่ประชุมได้ลงมติให้คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเรื่องดังกล่าว
ให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลา ๙๐ วัน
เลิกประชุมเวลา ๒๒.๒๕ นาฬิกา
(นายพิทูร พุ่มหิรัญ)
รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติราชการแทน
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ฝ่ายรายงานการประชุม
กองการประชุม
โทร. ๒๔๔๑๑๑๕-๖
โทรสาร ๒๔๔๑๑๑๕-๖