1. การผลิต
ภาวะอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2548 มีปริมาณการผลิต 237,257.0 ตัน เมื่อ
เทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 13.2 และ 0.4 ตามลำดับเนื่องจากมีการ
ขยายการผลิตเพื่อรองรับความต้องการภายในประเทศในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 6 กุมภาพันธ์
2548 งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ/นานาชาติ ระหว่างวันที่ 25 มีนาคม ถึงวันที่ 6เมษายน 2548 และการผลิตสมุด
ตำราแบบเรียนเพื่อรองรับการเปิดเทอมของนักเรียนนักศึกษาทั่วประเทศ ในเดือนพฤษภาคมและเดือนมิถุนายนนี้
ส่วนภาวะอุตสาหกรรมกระดาษ ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2548 มีปริมาณการผลิตรวม 675,584.2 ตัน
เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลงเล็กน้อย คิดเป็นร้อยละ 1.6 และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นเล็ก
น้อย คิดเป็นร้อยละ 1.5 เนื่องจากโรงงานกระดาษบางโรงหยุดซ่อมแซมบำรุงรักษาเครื่องจักร จึงส่งผลกระทบต่อ
ปริมาณการผลิตกระดาษโดยรวมเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่หากพิจารณาเป็นรายผลิตภัณฑ์ พบว่า ปริมาณการผลิตกระดาษ
ที่สำคัญ เช่น กระดาษพิมพ์เขียน กระดาษแข็ง ยังคงมีการผลิตเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับความต้องการภายในประเทศและส่ง
ออก
ตารางที่ 1 ปริมาณการผลิตเยื่อกระดาษ และกระดาษ
ปริมาณการผลิต ไตรมาส ไตรมาส ไตรมาส ไตรมาส 1/2548 ไตรมาส 1/2548
1/2547 4/2547 1/2548 เทียบไตรมาส 4/2547 เทียบไตรมาส 1/2547
เยื่อกระดาษ 236,332.70 209,561.70 237,257.00 13.2 0.4
กระดาษ 665,862.70 686,554.10 675,584.20 -1.6 1.5
กระดาษพิมพ์เขียน 113,107.10 119,395.70 119,808.80 0.3 5.9
กระดาษแข็ง 51,440.70 48,906.40 52,571.90 7.5 2.2
กระดาษคราฟท์ 392,015.20 409,303.20 402,023.60 -1.7 2.5
กระดาษลูกฟูก 81,601.90 83,919.80 83,628.60 -0.3 2.4
อื่นๆ1/ 27,697.80 25,029.00 17,551.30 -29.9 -36.6
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงานอุตสาหกรรมกระดาษ จำนวน 75 โรงงาน
1/ อื่นๆ เช่น กระดาษอนามัย กระดาษเช็ดหน้า กระดาษต่อเนื่อง กระดาษไหว้เจ้า
2. การนำเข้าและการส่งออก
2.1 การนำเข้า
ภาวะการนำเข้าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2548 มีมูลค่า 97.6 ล้านเหรียญ
สหรัฐ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 9.5 เป็นผลมาจากหลายปัจจัยอาทิ การ
เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ/นานาชาติระหว่างวันที่ 25
มีนาคม ถึงวันที่ 6 เมษายน 2548 และการผลิตสมุด ตำราแบบเรียนเพื่อรองรับ การเปิดเทอมของนักเรียนนัก
ศึกษาทั่วประเทศในเดือนพฤษภาคมและเดือนมิถุนายน ราคาเยื่อกระดาษ เศษกระดาษ และราคาน้ำมันในตลาดโลกสูง
ขึ้น โดยแหล่งนำเข้าที่สำคัญได้แก่ สหรัฐอเมริกา แคนาดา และสวีเดน แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนมี
อัตราการขยายตัวลดลงเล็กน้อย คิดเป็นร้อยละ 4.3 เนื่องจากในไตรมาสนี้มีการผลิตเยื่อกระดาษและมีปริมาณเศษ
กระดาษในประเทศเพิ่มขึ้น
ภาวะการนำเข้ากระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2548 มีมูลค่า 222.0 ล้านเหรียญ
สหรัฐ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 13.1
และ 18.6 ตามลำดับ เนื่องจากปัจจัยต่างๆ ดังได้กล่าวแล้วในภาวะการนำเข้าเยื่อกระดาษข้างต้น ประกอบกับ
กระดาษในประเทศขาดแคลน อันเนื่องมาจากราคากระดาษในตลาดโลกสูงขึ้น ผู้ผลิตกระดาษจึงส่งออกมากขึ้น อีกทั้งมี
การนำเข้ากระดาษพิเศษหรือกระดาษที่มีคุณภาพสูงเพิ่มขึ้น ซึ่งกระดาษประเภทดังกล่าวผู้ผลิตในประเทศยังไม่สามารถ
ผลิตได้และมีราคาแพง โดยแหล่งนำเข้าที่สำคัญได้แก่ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย
ภาวะการนำเข้าสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2548 มีมูลค่า 29.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับไตร
มาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 10.0 และ 29.7 ตามลำดับ เนื่อง
จากในปัจจุบันเป็นยุคโลกาภิวัฒน์ผู้บริโภคต้องการข้อมูลข่าวสารจากทั่วโลก ภาครัฐและภาคเอกชนส่งเสริมให้สังคมไทย
เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ การจัดงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ/นานาชาติ ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการนำเข้า
สิ่งพิมพ์จากต่างประเทศเพิ่มขึ้น ประกอบกับมีการจ้างจีนผลิต สมุดโทรศัพท์หน้าเหลืองฉบับภาษาอังกฤษ เนื่องจาก
มีต้นทุนการผลิตถูกกว่าในประเทศ
ตารางที่ 2 การนำเข้าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ สิ่งพิมพ์
ไตรมาส อัตราการขยายตัว (ร้อยละ)
ผลิตภัณฑ์ 1/2547 4/2547 1/2548 ไตรมาส 1/2548 ไตรมาส 1/2548
เทียบไตรมาส 4/2547 เทียบไตรมาส 1/2547
เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ 102 89.1 97.6 9.5 -4.3
กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ 187.2 196.2 222 13.1 18.6
สิ่งพิมพ์ 22.9 27 29.7 10 29.7
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
2.2 การส่งออก
ภาวะการส่งออกกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2548 มีมูลค่า 210.8 ล้าน
เหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ
12.2 และ 5.3 ตามลำดับ เป็นผลมาจากหลายปัจจัยไม่ว่าจะเป็นปัจจัยด้านราคาเยื่อกระดาษ และราคาน้ำมันใน
ตลาดโลกสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตกระดาษสูงขึ้นทำให้ราคาส่งออกสูงขึ้น ปัจจัยด้านราคากระดาษในตลาด
โลกสูงกว่าตลาดในประเทศส่งผลให้ผู้ผลิตกระดาษส่งออกมากขึ้น โดยมีการส่งออกกระดาษพิมพ์เขียนมากที่สุด แหล่งส่ง
ออกที่สำคัญได้แก่ มาเลเซีย เบลเยี่ยม และฮ่องกง
ภาวะการส่งออกหนังสือและสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2548 มีมูลค่า 30.6 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อ
เทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นมาก คิดเป็นร้อยละ 81.1 และ
85.4 ตามลำดับ เนื่องจากในไตรมาสก่อนเกิดภาวะขาดแคลนกระดาษภายในประเทศซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตสิ่ง
พิมพ์ ส่งผลให้ผู้ประกอบการโรงพิมพ์ขนาดกลางต้องยกเลิกคำสั่งจ้างผลิตหนังสือและสิ่งพิมพ์จากต่างประเทศไปบาง
ส่วน และมาผลิตในไตรมาสนี้แทนจึงเป็นเหตุให้อัตราการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยแหล่งส่ง
ออกที่สำคัญได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และญี่ปุ่น
ตารางที่ 3 การส่งออกกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ หนังสือและสิ่งพิมพ์
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
ไตรมาส อัตราการขยายตัว (ร้อยละ)
ผลิตภัณฑ์ 1/2547 4/2547 1/2548 ไตรมาส 1/2548 ไตรมาส 1/2548
เทียบไตรมาส 4/2547 เทียบไตรมาส 1/2547
กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ 200.2 187.9 210.8 12.2 5.3
หนังสือและสิ่งพิมพ์ 16.5 16.9 30.6 81.1 85.4
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์ โดยความมือของกรมศุลกากร
3. สรุป
ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ ในไตรมาสนี้มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่ภาวะการผลิตกระดาษมี
การปรับตัวลดลงเล็กน้อย เนื่องจากโรงงานกระดาษบางโรงหยุดซ่อมแซมบำรุงเครื่องจักร
ภาวะการนำเข้าและการส่งออกเยื่อกระดาษ กระดาษ หนังสือและสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสนี้มีการปรับตัวเพิ่ม
ขึ้นโดยเฉพาะการส่งออกหนังสือและสิ่งพิมพ์ เนื่องจากไตรมาสก่อนเกิดภาวะการขาดแคลนกระดาษในประเทศซึ่งเป็น
วัตถุดิบหลักในการผลิตหนังสือและสิ่งพิมพ์ จึงส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการ โรงพิมพ์ขนาดกลางต้องยกเลิกคำสั่งจ้าง
ผลิตจากต่างประเทศบางส่วน และเริ่มดำเนินการผลิตในไตรมาสนี้แทน
4. แนวโน้มไตรมาสที่ 2 ปี 2548
แนวโน้มของภาวะอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษและสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสหน้าคาดว่าจะขยายตัวเพิ่ม
ขึ้นต่อเนื่อง เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศน่าจะดีขึ้นหลังจากที่รัฐบาลมีมาตรการ เชิงรุกด้านการส่งออก
ประกอบกับมีนโยบายในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์กลุ่มอุตสาหกรรม ตามกรอบการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคม
ของประเทศในระยะ 4 ปี (2548-2551) โดยอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ต้องจัดทำแผน
ยุทธศาสตร์ดังกล่าวเพื่อการเป็นศูนย์กลางการพิมพ์ (Printing Hub) ในภูมิภาคอาเซียนภายในปี 2557 อีกทั้งภาค
รัฐและภาคเอกชนมีการส่งเสริมให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้น่าจะส่งผลให้มีการอ่านหนังสือเพิ่มขึ้น ส่งผล
กระทบต่อการผลิตเยื่อกระดาษ กระดาษหนังสือและสิ่งพิมพ์เพิ่มขึ้น
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ภาวะอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2548 มีปริมาณการผลิต 237,257.0 ตัน เมื่อ
เทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 13.2 และ 0.4 ตามลำดับเนื่องจากมีการ
ขยายการผลิตเพื่อรองรับความต้องการภายในประเทศในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 6 กุมภาพันธ์
2548 งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ/นานาชาติ ระหว่างวันที่ 25 มีนาคม ถึงวันที่ 6เมษายน 2548 และการผลิตสมุด
ตำราแบบเรียนเพื่อรองรับการเปิดเทอมของนักเรียนนักศึกษาทั่วประเทศ ในเดือนพฤษภาคมและเดือนมิถุนายนนี้
ส่วนภาวะอุตสาหกรรมกระดาษ ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2548 มีปริมาณการผลิตรวม 675,584.2 ตัน
เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลงเล็กน้อย คิดเป็นร้อยละ 1.6 และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นเล็ก
น้อย คิดเป็นร้อยละ 1.5 เนื่องจากโรงงานกระดาษบางโรงหยุดซ่อมแซมบำรุงรักษาเครื่องจักร จึงส่งผลกระทบต่อ
ปริมาณการผลิตกระดาษโดยรวมเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่หากพิจารณาเป็นรายผลิตภัณฑ์ พบว่า ปริมาณการผลิตกระดาษ
ที่สำคัญ เช่น กระดาษพิมพ์เขียน กระดาษแข็ง ยังคงมีการผลิตเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับความต้องการภายในประเทศและส่ง
ออก
ตารางที่ 1 ปริมาณการผลิตเยื่อกระดาษ และกระดาษ
ปริมาณการผลิต ไตรมาส ไตรมาส ไตรมาส ไตรมาส 1/2548 ไตรมาส 1/2548
1/2547 4/2547 1/2548 เทียบไตรมาส 4/2547 เทียบไตรมาส 1/2547
เยื่อกระดาษ 236,332.70 209,561.70 237,257.00 13.2 0.4
กระดาษ 665,862.70 686,554.10 675,584.20 -1.6 1.5
กระดาษพิมพ์เขียน 113,107.10 119,395.70 119,808.80 0.3 5.9
กระดาษแข็ง 51,440.70 48,906.40 52,571.90 7.5 2.2
กระดาษคราฟท์ 392,015.20 409,303.20 402,023.60 -1.7 2.5
กระดาษลูกฟูก 81,601.90 83,919.80 83,628.60 -0.3 2.4
อื่นๆ1/ 27,697.80 25,029.00 17,551.30 -29.9 -36.6
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จากการสำรวจโรงงานอุตสาหกรรมกระดาษ จำนวน 75 โรงงาน
1/ อื่นๆ เช่น กระดาษอนามัย กระดาษเช็ดหน้า กระดาษต่อเนื่อง กระดาษไหว้เจ้า
2. การนำเข้าและการส่งออก
2.1 การนำเข้า
ภาวะการนำเข้าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2548 มีมูลค่า 97.6 ล้านเหรียญ
สหรัฐ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 9.5 เป็นผลมาจากหลายปัจจัยอาทิ การ
เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ/นานาชาติระหว่างวันที่ 25
มีนาคม ถึงวันที่ 6 เมษายน 2548 และการผลิตสมุด ตำราแบบเรียนเพื่อรองรับ การเปิดเทอมของนักเรียนนัก
ศึกษาทั่วประเทศในเดือนพฤษภาคมและเดือนมิถุนายน ราคาเยื่อกระดาษ เศษกระดาษ และราคาน้ำมันในตลาดโลกสูง
ขึ้น โดยแหล่งนำเข้าที่สำคัญได้แก่ สหรัฐอเมริกา แคนาดา และสวีเดน แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนมี
อัตราการขยายตัวลดลงเล็กน้อย คิดเป็นร้อยละ 4.3 เนื่องจากในไตรมาสนี้มีการผลิตเยื่อกระดาษและมีปริมาณเศษ
กระดาษในประเทศเพิ่มขึ้น
ภาวะการนำเข้ากระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2548 มีมูลค่า 222.0 ล้านเหรียญ
สหรัฐ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 13.1
และ 18.6 ตามลำดับ เนื่องจากปัจจัยต่างๆ ดังได้กล่าวแล้วในภาวะการนำเข้าเยื่อกระดาษข้างต้น ประกอบกับ
กระดาษในประเทศขาดแคลน อันเนื่องมาจากราคากระดาษในตลาดโลกสูงขึ้น ผู้ผลิตกระดาษจึงส่งออกมากขึ้น อีกทั้งมี
การนำเข้ากระดาษพิเศษหรือกระดาษที่มีคุณภาพสูงเพิ่มขึ้น ซึ่งกระดาษประเภทดังกล่าวผู้ผลิตในประเทศยังไม่สามารถ
ผลิตได้และมีราคาแพง โดยแหล่งนำเข้าที่สำคัญได้แก่ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย
ภาวะการนำเข้าสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2548 มีมูลค่า 29.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับไตร
มาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 10.0 และ 29.7 ตามลำดับ เนื่อง
จากในปัจจุบันเป็นยุคโลกาภิวัฒน์ผู้บริโภคต้องการข้อมูลข่าวสารจากทั่วโลก ภาครัฐและภาคเอกชนส่งเสริมให้สังคมไทย
เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ การจัดงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ/นานาชาติ ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการนำเข้า
สิ่งพิมพ์จากต่างประเทศเพิ่มขึ้น ประกอบกับมีการจ้างจีนผลิต สมุดโทรศัพท์หน้าเหลืองฉบับภาษาอังกฤษ เนื่องจาก
มีต้นทุนการผลิตถูกกว่าในประเทศ
ตารางที่ 2 การนำเข้าเยื่อกระดาษและเศษกระดาษ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ สิ่งพิมพ์
ไตรมาส อัตราการขยายตัว (ร้อยละ)
ผลิตภัณฑ์ 1/2547 4/2547 1/2548 ไตรมาส 1/2548 ไตรมาส 1/2548
เทียบไตรมาส 4/2547 เทียบไตรมาส 1/2547
เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ 102 89.1 97.6 9.5 -4.3
กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ 187.2 196.2 222 13.1 18.6
สิ่งพิมพ์ 22.9 27 29.7 10 29.7
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
2.2 การส่งออก
ภาวะการส่งออกกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2548 มีมูลค่า 210.8 ล้าน
เหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ
12.2 และ 5.3 ตามลำดับ เป็นผลมาจากหลายปัจจัยไม่ว่าจะเป็นปัจจัยด้านราคาเยื่อกระดาษ และราคาน้ำมันใน
ตลาดโลกสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตกระดาษสูงขึ้นทำให้ราคาส่งออกสูงขึ้น ปัจจัยด้านราคากระดาษในตลาด
โลกสูงกว่าตลาดในประเทศส่งผลให้ผู้ผลิตกระดาษส่งออกมากขึ้น โดยมีการส่งออกกระดาษพิมพ์เขียนมากที่สุด แหล่งส่ง
ออกที่สำคัญได้แก่ มาเลเซีย เบลเยี่ยม และฮ่องกง
ภาวะการส่งออกหนังสือและสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2548 มีมูลค่า 30.6 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อ
เทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นมาก คิดเป็นร้อยละ 81.1 และ
85.4 ตามลำดับ เนื่องจากในไตรมาสก่อนเกิดภาวะขาดแคลนกระดาษภายในประเทศซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตสิ่ง
พิมพ์ ส่งผลให้ผู้ประกอบการโรงพิมพ์ขนาดกลางต้องยกเลิกคำสั่งจ้างผลิตหนังสือและสิ่งพิมพ์จากต่างประเทศไปบาง
ส่วน และมาผลิตในไตรมาสนี้แทนจึงเป็นเหตุให้อัตราการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยแหล่งส่ง
ออกที่สำคัญได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และญี่ปุ่น
ตารางที่ 3 การส่งออกกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ หนังสือและสิ่งพิมพ์
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
ไตรมาส อัตราการขยายตัว (ร้อยละ)
ผลิตภัณฑ์ 1/2547 4/2547 1/2548 ไตรมาส 1/2548 ไตรมาส 1/2548
เทียบไตรมาส 4/2547 เทียบไตรมาส 1/2547
กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ 200.2 187.9 210.8 12.2 5.3
หนังสือและสิ่งพิมพ์ 16.5 16.9 30.6 81.1 85.4
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์ โดยความมือของกรมศุลกากร
3. สรุป
ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ ในไตรมาสนี้มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่ภาวะการผลิตกระดาษมี
การปรับตัวลดลงเล็กน้อย เนื่องจากโรงงานกระดาษบางโรงหยุดซ่อมแซมบำรุงเครื่องจักร
ภาวะการนำเข้าและการส่งออกเยื่อกระดาษ กระดาษ หนังสือและสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสนี้มีการปรับตัวเพิ่ม
ขึ้นโดยเฉพาะการส่งออกหนังสือและสิ่งพิมพ์ เนื่องจากไตรมาสก่อนเกิดภาวะการขาดแคลนกระดาษในประเทศซึ่งเป็น
วัตถุดิบหลักในการผลิตหนังสือและสิ่งพิมพ์ จึงส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการ โรงพิมพ์ขนาดกลางต้องยกเลิกคำสั่งจ้าง
ผลิตจากต่างประเทศบางส่วน และเริ่มดำเนินการผลิตในไตรมาสนี้แทน
4. แนวโน้มไตรมาสที่ 2 ปี 2548
แนวโน้มของภาวะอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษและสิ่งพิมพ์ ในไตรมาสหน้าคาดว่าจะขยายตัวเพิ่ม
ขึ้นต่อเนื่อง เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศน่าจะดีขึ้นหลังจากที่รัฐบาลมีมาตรการ เชิงรุกด้านการส่งออก
ประกอบกับมีนโยบายในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์กลุ่มอุตสาหกรรม ตามกรอบการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคม
ของประเทศในระยะ 4 ปี (2548-2551) โดยอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ต้องจัดทำแผน
ยุทธศาสตร์ดังกล่าวเพื่อการเป็นศูนย์กลางการพิมพ์ (Printing Hub) ในภูมิภาคอาเซียนภายในปี 2557 อีกทั้งภาค
รัฐและภาคเอกชนมีการส่งเสริมให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้น่าจะส่งผลให้มีการอ่านหนังสือเพิ่มขึ้น ส่งผล
กระทบต่อการผลิตเยื่อกระดาษ กระดาษหนังสือและสิ่งพิมพ์เพิ่มขึ้น
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-