วันที่ 2 สิงหาคม 2544 เวลา 10.00 นาฬิกา ณ ห้องรับรอง 1 ชั้น 2
อาคารรัฐสภา 1 นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 ให้การ
รับรองนายเหงียน วัน ซัน ประธานคณะกรรมการวิเทศสัมพันธ์ ในคณะกรรมาธิการกลาง
พรรคคอมมิวนิสต์ และสมาชิกคณะกรรมาธิการการต่างประเทศสภาแห่งชาติ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
ทั้งสองได้สนทนาถึงความสัมพันธ์อันดีทั้งในระดับรัฐสภาและในระดับประเทศ
รวมทั้งความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจและการค้าของประเทศไทยและประเทศเวียดนาม
เช่น ความร่วมมือในเรื่องของการส่งออกข้าว ซึ่งได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจในการ
ส่งออกข้าวในเดือนกันยายน 2543 (2000) โดยทั้งไทยและเวียดนามจะนำข้าว 25% เข้าร่วมโครงการ
ฝ่ายละ 1 แสนตัน และส่งออกในราคาที่ตกลงร่วมกัน และสิ่งหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงการร่วมมือ
ในระหว่างประเทศและภูมิภาคเอเชีย คือ การประชุม AIPO ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ
ในวันที่ 2-7 กันยายนนี้ โดยประธานสภาแห่งชาติเวียดนามคนใหม่จะเดินทางมาร่วมประชุมในคราวนี้
อีกทั้งประเทศเวียดนามจะรับหน้าที่ในการเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมในปีหน้าด้วย
ทั้งสองมีความเห็นร่วมกันว่า การร่วมมือช่วยเหลือซึ่งกันและกันจะสร้างภูมิภาคอินโดจีนแข็งแกร่ง
ตามไปด้วย จากนั้นนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล กล่าวเพิ่มเติมว่า ความร่วมมือกันระหว่างประเทศนั้น
อาจจะมีส่วนช่วยแก้ไขปัญหาทางด้านเศรษฐกิจการค้าได้ แต่นโยบายภายในประเทศต้องมีความแข็งแกร่งด้วย
ดังเช่นประเทศไทยขณะมีนโยบายที่จะปฏิรูปการศึกษาครั้งยิ่งใหญ่ ซึ่งนายกรัฐมนตรีของไทยได้ให้ความสำคัญ
โดยขณะนี้ได้เข้ามาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและมีนโยบายที่จะยกระดับเงินเดือน
ของข้าราชการครูและจัดการศึกษาแบบให้เปล่า 12 ปี โดยมุ่งเน้นที่ตัวผู้เรียนเป็นหลักสนับสนุนสิ่งที่ผู้เรียน
สนใจและมีทักษะเป็นพิเศษ การปฏิรูปการศึกษานี้จะทำให้ประเทศชาติสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพเพื่อรองรับ
การแก้ไขปัญหาของชาติที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
-------------------------------------------------
สวภัทร์ มงคลชัย / ผู้สรุป
นุสรา เกตุแก้ว / พิมพ์
อาคารรัฐสภา 1 นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 ให้การ
รับรองนายเหงียน วัน ซัน ประธานคณะกรรมการวิเทศสัมพันธ์ ในคณะกรรมาธิการกลาง
พรรคคอมมิวนิสต์ และสมาชิกคณะกรรมาธิการการต่างประเทศสภาแห่งชาติ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
ทั้งสองได้สนทนาถึงความสัมพันธ์อันดีทั้งในระดับรัฐสภาและในระดับประเทศ
รวมทั้งความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจและการค้าของประเทศไทยและประเทศเวียดนาม
เช่น ความร่วมมือในเรื่องของการส่งออกข้าว ซึ่งได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจในการ
ส่งออกข้าวในเดือนกันยายน 2543 (2000) โดยทั้งไทยและเวียดนามจะนำข้าว 25% เข้าร่วมโครงการ
ฝ่ายละ 1 แสนตัน และส่งออกในราคาที่ตกลงร่วมกัน และสิ่งหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงการร่วมมือ
ในระหว่างประเทศและภูมิภาคเอเชีย คือ การประชุม AIPO ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ
ในวันที่ 2-7 กันยายนนี้ โดยประธานสภาแห่งชาติเวียดนามคนใหม่จะเดินทางมาร่วมประชุมในคราวนี้
อีกทั้งประเทศเวียดนามจะรับหน้าที่ในการเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมในปีหน้าด้วย
ทั้งสองมีความเห็นร่วมกันว่า การร่วมมือช่วยเหลือซึ่งกันและกันจะสร้างภูมิภาคอินโดจีนแข็งแกร่ง
ตามไปด้วย จากนั้นนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล กล่าวเพิ่มเติมว่า ความร่วมมือกันระหว่างประเทศนั้น
อาจจะมีส่วนช่วยแก้ไขปัญหาทางด้านเศรษฐกิจการค้าได้ แต่นโยบายภายในประเทศต้องมีความแข็งแกร่งด้วย
ดังเช่นประเทศไทยขณะมีนโยบายที่จะปฏิรูปการศึกษาครั้งยิ่งใหญ่ ซึ่งนายกรัฐมนตรีของไทยได้ให้ความสำคัญ
โดยขณะนี้ได้เข้ามาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและมีนโยบายที่จะยกระดับเงินเดือน
ของข้าราชการครูและจัดการศึกษาแบบให้เปล่า 12 ปี โดยมุ่งเน้นที่ตัวผู้เรียนเป็นหลักสนับสนุนสิ่งที่ผู้เรียน
สนใจและมีทักษะเป็นพิเศษ การปฏิรูปการศึกษานี้จะทำให้ประเทศชาติสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพเพื่อรองรับ
การแก้ไขปัญหาของชาติที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
-------------------------------------------------
สวภัทร์ มงคลชัย / ผู้สรุป
นุสรา เกตุแก้ว / พิมพ์