ภาคต่างประเทศ : ภาวะเศรษฐกิจโลก
จากการประมาณการของกองทุนการเงินระหว่างประเทศเมื่อเดือนตุลาคม 2543 คาดว่าเศรษฐกิจโลก จะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.4 ในปี 2542 เป็นร้อยละ 4.7 ในปี 2543 เป็นผลจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจของทุกกลุ่มประเทศ โดยเฉพาะการขยายตัวต่อเนื่องของสหรัฐอเมริกา และยุโรป และการฟื้นตัวของภูมิภาคเอเชีย ละตินอเมริกา และตะวันออกกลาง อย่างไรก็ตาม ในปลายปี 2543 เศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัวลงเร็วกว่าที่คาด
ปริมาณการค้าโลก คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นมากจากปีก่อน โดยมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 10.0 ในปี 2543 เทียบกับร้อยละ 5.1 ในปี 2542 เป็นผลจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศที่ประสบวิกฤตการณ์ทางการเงิน และการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องของประเทศพัฒนาแล้ว
อัตราเงินเฟ้อ ในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วคาดว่ายังคงอยู่ในระดับต่ำโดยขยายตัวร้อยละ 2.3 ในปี 2543 โดยญี่ปุ่นมีอัตราเงินเฟ้อติดลบร้อยละ 0.2 หลังจากที่ ติดลบร้อยละ 0.3 ในปีก่อน ส่วนอัตราเงินเฟ้อของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาคาดว่าจะลดลงจากร้อยละ 6.6 ในปี 2542 เหลือร้อยละ 6.2 ในปี 2543 ซึ่งเป็นผลจากการลดลงของอัตราเงินเฟ้อของประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคตะวันออกกลางเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม คาดว่าราคาสินค้าขั้นปฐมในตลาดโลกจะปรับตัวสูงขึ้นตามอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ส่วนราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นมากจากปีก่อน เนื่องจากอุปสงค์เพิ่มขึ้นและการควบคุมปริมาณการผลิตของกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันเป็นสินค้าออก (OPEC) แต่ก็เริ่มชะลอตัวลงในปลายปีเนื่องจากอุปสงค์ต่อราคาน้ำมันเริ่มลดลงตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯที่เป็นผู้ใช้น้ำมันรายใหญ่ของโลก
การขยายตัวดีต่อเนื่องของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย ทำให้มูลค่าการส่งออกและการนำเข้าของ ไทยในปี 2543 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึงร้อยละ 19.6 และ 31.3 ตามลำดับ โดยปริมาณเพิ่มขึ้นมาก ในขณะที่อัตราการค้าลดลงจากปีก่อน เนื่องจากราคาส่งออกยังคงอยู่ในระดับต่ำ ขณะที่ราคานำเข้าเพิ่มขึ้นมาก ตามราคานำเข้าน้ำมันเป็นสำคัญ ผลของการนำเข้าที่เร่งตัวต่อเนื่อง ทำให้การเกินดุลการค้าลดลงเหลือ 5.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. รวมกับดุลบริการและบริจาคที่เกินดุลเพิ่มขึ้นจากปีก่อนเป็น 3.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ดุลบัญชีเดินสะพัดจึงเกินดุลลดลงจากปีก่อนเหลือ 9.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือคิดเป็นร้อยละ 7.6 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ส่วนเงินทุนเคลื่อนย้ายสุทธิคาดว่าจะขาดดุลเพิ่มขึ้นจากปีก่อน แม้ว่าการชำระคืนหนี้เงินกู้ต่างประเทศตามกำหนดและก่อนกำหนดชะลอตัวลงก็ตาม ทั้งนี้ เนื่องจากเงินทุนไหลเข้ากรณีเพิ่มทุนธนาคารพาณิชย์ลดลง และการขาดดุลของเงินทุนภาครัฐบาล (รวมธนาคารแห่งประเทศไทย) ในปี 2543 ดุลการชำระเงินขาดดุล 2.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่เกินดุล 4.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในปีก่อน เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นปี 2543 อยู่ที่ระดับ 32.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
--ทีมเศรษฐกิจมหภาคและนโยบาย/ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
จากการประมาณการของกองทุนการเงินระหว่างประเทศเมื่อเดือนตุลาคม 2543 คาดว่าเศรษฐกิจโลก จะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3.4 ในปี 2542 เป็นร้อยละ 4.7 ในปี 2543 เป็นผลจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจของทุกกลุ่มประเทศ โดยเฉพาะการขยายตัวต่อเนื่องของสหรัฐอเมริกา และยุโรป และการฟื้นตัวของภูมิภาคเอเชีย ละตินอเมริกา และตะวันออกกลาง อย่างไรก็ตาม ในปลายปี 2543 เศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัวลงเร็วกว่าที่คาด
ปริมาณการค้าโลก คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นมากจากปีก่อน โดยมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 10.0 ในปี 2543 เทียบกับร้อยละ 5.1 ในปี 2542 เป็นผลจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศที่ประสบวิกฤตการณ์ทางการเงิน และการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องของประเทศพัฒนาแล้ว
อัตราเงินเฟ้อ ในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วคาดว่ายังคงอยู่ในระดับต่ำโดยขยายตัวร้อยละ 2.3 ในปี 2543 โดยญี่ปุ่นมีอัตราเงินเฟ้อติดลบร้อยละ 0.2 หลังจากที่ ติดลบร้อยละ 0.3 ในปีก่อน ส่วนอัตราเงินเฟ้อของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาคาดว่าจะลดลงจากร้อยละ 6.6 ในปี 2542 เหลือร้อยละ 6.2 ในปี 2543 ซึ่งเป็นผลจากการลดลงของอัตราเงินเฟ้อของประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคตะวันออกกลางเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม คาดว่าราคาสินค้าขั้นปฐมในตลาดโลกจะปรับตัวสูงขึ้นตามอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ส่วนราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นมากจากปีก่อน เนื่องจากอุปสงค์เพิ่มขึ้นและการควบคุมปริมาณการผลิตของกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันเป็นสินค้าออก (OPEC) แต่ก็เริ่มชะลอตัวลงในปลายปีเนื่องจากอุปสงค์ต่อราคาน้ำมันเริ่มลดลงตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯที่เป็นผู้ใช้น้ำมันรายใหญ่ของโลก
การขยายตัวดีต่อเนื่องของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย ทำให้มูลค่าการส่งออกและการนำเข้าของ ไทยในปี 2543 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึงร้อยละ 19.6 และ 31.3 ตามลำดับ โดยปริมาณเพิ่มขึ้นมาก ในขณะที่อัตราการค้าลดลงจากปีก่อน เนื่องจากราคาส่งออกยังคงอยู่ในระดับต่ำ ขณะที่ราคานำเข้าเพิ่มขึ้นมาก ตามราคานำเข้าน้ำมันเป็นสำคัญ ผลของการนำเข้าที่เร่งตัวต่อเนื่อง ทำให้การเกินดุลการค้าลดลงเหลือ 5.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. รวมกับดุลบริการและบริจาคที่เกินดุลเพิ่มขึ้นจากปีก่อนเป็น 3.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ดุลบัญชีเดินสะพัดจึงเกินดุลลดลงจากปีก่อนเหลือ 9.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือคิดเป็นร้อยละ 7.6 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ส่วนเงินทุนเคลื่อนย้ายสุทธิคาดว่าจะขาดดุลเพิ่มขึ้นจากปีก่อน แม้ว่าการชำระคืนหนี้เงินกู้ต่างประเทศตามกำหนดและก่อนกำหนดชะลอตัวลงก็ตาม ทั้งนี้ เนื่องจากเงินทุนไหลเข้ากรณีเพิ่มทุนธนาคารพาณิชย์ลดลง และการขาดดุลของเงินทุนภาครัฐบาล (รวมธนาคารแห่งประเทศไทย) ในปี 2543 ดุลการชำระเงินขาดดุล 2.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่เกินดุล 4.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในปีก่อน เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นปี 2543 อยู่ที่ระดับ 32.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
--ทีมเศรษฐกิจมหภาคและนโยบาย/ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-