สหภาพยุโรป (European Union: EU) เป็นตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์กุ้งที่สำคัญแห่งหนึ่งของไทยนอกเหนือจากตลาดสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันบทบาทของ EU ในฐานะตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์กุ้งของไทยลดความสำคัญลงเป็นลำดับ จากที่มีมูลค่าส่งออกกว่า 286 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ร้อยละ 10 ของมูลค่าผลิตภัณฑ์กุ้งที่ไทยส่งออกทั้งหมด) ในปี 2538 เหลือเพียงประมาณ 121 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ร้อยละ 5) ในปี 2543 หรือลดลงเฉลี่ยร้อยละ 14 ต่อปี
สาเหตุสำคัญที่ทำให้การส่งออกกุ้งของไทยไปตลาด EU ลดลงเกิดจากความสามารถในการแข่งขันลดลง เนื่องมาจาก EU ลดและยกเลิกการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (Generalized System of Preferences: GSP) แก่สินค้าประมงไทย โดยในระยะแรกตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2540 EU ลด GSP ที่ให้แก่สินค้าประมงของไทยลงครึ่งหนึ่งของอัตราที่เคยให้สิทธิพิเศษอยู่เดิม และล่าสุดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542 EU ได้ตัด GSP ทั้งหมดที่ให้กับสินค้าประมงของไทย ทำให้สินค้าประมงของไทยที่ส่งเข้าไปจำหน่ายใน EU ต้องเสียภาษีในอัตราปกติ (Most Favored Nation Rate: MFN Rate) คือ ร้อยละ 14.4 ขณะที่สินค้าประมงของประเทศคู่แข่งสำคัญในตลาด EU ยังคงได้รับ GSP และเสียภาษีนำเข้าในอัตราที่ต่ำกว่าไทย เช่น กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งจากเอกวาดอร์เสียภาษีนำเข้าใน EU อัตราร้อยละ 3.6 กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งจากอินโดนีเซีย เวียดนาม พม่า และอินเดีย เสียภาษีนำเข้าใน EU อัตราร้อยละ 4.5 (จะปรับเพิ่มเป็นร้อยละ 10.9 ภายใต้โครงการ GSP ใหม่ของ EU ซึ่งครอบคลุมช่วงเวลาตั้งแต่มกราคม 2545 - ธันวาคม 2547) เป็นต้น การที่ผลิตภัณฑ์กุ้งจากไทยต้องเสียภาษีนำเข้าใน EU สูงกว่าคู่แข่งมากเช่นนี้ทำให้ความสามารถในการแข่งขันของกุ้งไทยในตลาด EU ลดลง
นอกจากผลิตภัณฑ์กุ้งไทยในตลาด EU จะมีความสามารถในการแข่งขันที่ลดลงแล้ว ผลิตภัณฑ์กุ้งที่ส่งเข้าไปจำหน่ายใน EU ยังต้องเผชิญกับมาตรการต่างๆ ที่เข้มงวดมากขึ้นด้วย โดยเฉพาะประเด็นด้านสุขอนามัยของผลิตภัณฑ์กุ้งนำเข้าที่ต้องได้มาตรฐานตามที่ EU กำหนด อาทิ
- โรงงานผลิตสินค้าประมงส่งออกไป EU ต้องขึ้นทะเบียนกับกรมประมงหรือหน่วยงานผู้มีอำนาจที่ได้รับการแต่งตั้งจาก EU เพื่อตรวจสอบสุขลักษณะโรงงานตามมาตรฐานและกฎระเบียบต่างๆ ที่ EU กำหนด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระบวนการผลิตตามระบบ HACCP
- กำหนดระดับความเข้มข้นของสาร Benzoic Acid ที่ใช้ในการถนอมอาหารไม่เกินร้อยละ 0.2 สำหรับกุ้งต้มสุกที่นำเข้าจากต่างประเทศ เทียบกับระดับไม่เกินร้อยละ 0.6 สำหรับกุ้งที่ผลิตใน EU
- เพิ่มความเข้มงวดในการกำหนดปริมาณสูงสุดของสารตกค้างประเภทต่างๆ โดยเฉพาะโลหะหนักในผลิตภัณฑ์กุ้งที่อนุญาตให้นำเข้าใน EU อาทิ
- ตะกั่ว มีสารตกค้างในกุ้งได้ไม่เกิน 0.5 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักกุ้ง 1 กิโลกรัม เนื่องจากสารดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการในเด็ก ตลอดจนส่งผลต่อการเพิ่มความดันโลหิตและความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจในผู้ใหญ่
- ปรอท มีสารตกค้างในกุ้งได้ไม่เกิน 0.5 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักกุ้ง 1 กิโลกรัม เนื่องจากสารปรอทมีผลต่อการพัฒนาสมองของเด็กและอาจก่อให้เกิดโรคเกี่ยวกับระบบประสาทในผู้ใหญ่
- แคดเมียม มีสารตกค้างในกุ้งได้ไม่เกิน 0.5 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักกุ้ง 1 กิโลกรัม เนื่องจากสารแคดเมียมเป็นสาเหตุของโรคไต โรคกระดูก และทำให้มีบุตรยาก
ทั้งนี้ ระเบียบเกี่ยวกับสารตกค้างในผลิตภัณฑ์กุ้งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน 2545 และจะมีการทบทวนปริมาณสูงสุดของสารตกค้างทุก 5 ปี
ยิ่งไปกว่านั้น กระแสความตื่นตัวในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมใน EU ที่เกิดขึ้นในขณะนี้อาจเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการส่งออกผลิตภัณฑ์กุ้งของไทยในระยะต่อไป หลังจากที่กลุ่ม FIAN (Food First Information & Action Network) ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษยชนในเยอรมนีประกาศต่อต้านกุ้งที่ผลิตจากอินเดียและเอกวาดอร์เมื่อเดือนสิงหาคม 2543 โดยระบุว่าการ เลี้ยงกุ้งเป็นสาเหตุของการทำลายสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะอย่างยิ่งป่าชายเลนและทำให้ดินเค็ม ปัจจุบันแม้ว่ากลุ่ม FIAN ยังไม่มีโครงการรณรงค์ต่อต้านผลิตภัณฑ์กุ้งจากไทย แต่ท่าทีดังกล่าวอาจส่งผลทำให้ผู้ผลิตและผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์กุ้งของไทยรวมถึงภาครัฐตระหนักถึงความสำคัญของการเลี้ยงกุ้งโดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และอาจเป็นผลให้ต้นทุนการผลิตผลิตภัณฑ์กุ้งของไทยสูงขึ้นในอนาคต
ในภาวะที่การส่งออกกุ้งไทยไปยังตลาด EU ต้องเผชิญกับอัตราภาษีนำเข้าที่สูงเนื่องจากการถูกตัด GSP ตลอดจนต้องปรับตัวให้ทันกับความเข้มงวดทางด้านสุขอนามัยของ EU ซึ่งนับวันจะยิ่งเพิ่มความเข้มงวดมากขึ้น ขณะเดียวกันตลาดสหรัฐฯและญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตลาดหลักในการส่งออกผลิตภัณฑ์กุ้งของไทยต่างประสบปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวลง ผู้ผลิตและผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์กุ้งไทยจึงควรขยายการส่งออกไปยังตลาดใหม่ที่มีศักยภาพอย่างจริงจัง อาทิ ตลาดตะวันออกกลาง และตลาดอื่นๆ ในแถบเอเชีย เช่น ไต้หวัน ฮ่องกง และเกาหลีใต้ ตลอดจนพัฒนาสินค้าไปสู่ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปพร้อมรับประทานซึ่งสอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้บริโภคยุคใหม่ที่เน้นความสะดวกสบายและรวดเร็วเป็นสำคัญ โดยคำนึงถึงมาตรฐานด้านสุขอนามัยควบคู่กับการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นเงื่อนไขหลักที่ประเทศคู่ค้าต่างหันมาใช้เป็นข้อกำหนดสำหรับการนำเข้าในปัจจุบัน
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กันยายน 2544--
-อน-
สาเหตุสำคัญที่ทำให้การส่งออกกุ้งของไทยไปตลาด EU ลดลงเกิดจากความสามารถในการแข่งขันลดลง เนื่องมาจาก EU ลดและยกเลิกการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (Generalized System of Preferences: GSP) แก่สินค้าประมงไทย โดยในระยะแรกตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2540 EU ลด GSP ที่ให้แก่สินค้าประมงของไทยลงครึ่งหนึ่งของอัตราที่เคยให้สิทธิพิเศษอยู่เดิม และล่าสุดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542 EU ได้ตัด GSP ทั้งหมดที่ให้กับสินค้าประมงของไทย ทำให้สินค้าประมงของไทยที่ส่งเข้าไปจำหน่ายใน EU ต้องเสียภาษีในอัตราปกติ (Most Favored Nation Rate: MFN Rate) คือ ร้อยละ 14.4 ขณะที่สินค้าประมงของประเทศคู่แข่งสำคัญในตลาด EU ยังคงได้รับ GSP และเสียภาษีนำเข้าในอัตราที่ต่ำกว่าไทย เช่น กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งจากเอกวาดอร์เสียภาษีนำเข้าใน EU อัตราร้อยละ 3.6 กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งจากอินโดนีเซีย เวียดนาม พม่า และอินเดีย เสียภาษีนำเข้าใน EU อัตราร้อยละ 4.5 (จะปรับเพิ่มเป็นร้อยละ 10.9 ภายใต้โครงการ GSP ใหม่ของ EU ซึ่งครอบคลุมช่วงเวลาตั้งแต่มกราคม 2545 - ธันวาคม 2547) เป็นต้น การที่ผลิตภัณฑ์กุ้งจากไทยต้องเสียภาษีนำเข้าใน EU สูงกว่าคู่แข่งมากเช่นนี้ทำให้ความสามารถในการแข่งขันของกุ้งไทยในตลาด EU ลดลง
นอกจากผลิตภัณฑ์กุ้งไทยในตลาด EU จะมีความสามารถในการแข่งขันที่ลดลงแล้ว ผลิตภัณฑ์กุ้งที่ส่งเข้าไปจำหน่ายใน EU ยังต้องเผชิญกับมาตรการต่างๆ ที่เข้มงวดมากขึ้นด้วย โดยเฉพาะประเด็นด้านสุขอนามัยของผลิตภัณฑ์กุ้งนำเข้าที่ต้องได้มาตรฐานตามที่ EU กำหนด อาทิ
- โรงงานผลิตสินค้าประมงส่งออกไป EU ต้องขึ้นทะเบียนกับกรมประมงหรือหน่วยงานผู้มีอำนาจที่ได้รับการแต่งตั้งจาก EU เพื่อตรวจสอบสุขลักษณะโรงงานตามมาตรฐานและกฎระเบียบต่างๆ ที่ EU กำหนด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระบวนการผลิตตามระบบ HACCP
- กำหนดระดับความเข้มข้นของสาร Benzoic Acid ที่ใช้ในการถนอมอาหารไม่เกินร้อยละ 0.2 สำหรับกุ้งต้มสุกที่นำเข้าจากต่างประเทศ เทียบกับระดับไม่เกินร้อยละ 0.6 สำหรับกุ้งที่ผลิตใน EU
- เพิ่มความเข้มงวดในการกำหนดปริมาณสูงสุดของสารตกค้างประเภทต่างๆ โดยเฉพาะโลหะหนักในผลิตภัณฑ์กุ้งที่อนุญาตให้นำเข้าใน EU อาทิ
- ตะกั่ว มีสารตกค้างในกุ้งได้ไม่เกิน 0.5 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักกุ้ง 1 กิโลกรัม เนื่องจากสารดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการในเด็ก ตลอดจนส่งผลต่อการเพิ่มความดันโลหิตและความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจในผู้ใหญ่
- ปรอท มีสารตกค้างในกุ้งได้ไม่เกิน 0.5 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักกุ้ง 1 กิโลกรัม เนื่องจากสารปรอทมีผลต่อการพัฒนาสมองของเด็กและอาจก่อให้เกิดโรคเกี่ยวกับระบบประสาทในผู้ใหญ่
- แคดเมียม มีสารตกค้างในกุ้งได้ไม่เกิน 0.5 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักกุ้ง 1 กิโลกรัม เนื่องจากสารแคดเมียมเป็นสาเหตุของโรคไต โรคกระดูก และทำให้มีบุตรยาก
ทั้งนี้ ระเบียบเกี่ยวกับสารตกค้างในผลิตภัณฑ์กุ้งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน 2545 และจะมีการทบทวนปริมาณสูงสุดของสารตกค้างทุก 5 ปี
ยิ่งไปกว่านั้น กระแสความตื่นตัวในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมใน EU ที่เกิดขึ้นในขณะนี้อาจเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการส่งออกผลิตภัณฑ์กุ้งของไทยในระยะต่อไป หลังจากที่กลุ่ม FIAN (Food First Information & Action Network) ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษยชนในเยอรมนีประกาศต่อต้านกุ้งที่ผลิตจากอินเดียและเอกวาดอร์เมื่อเดือนสิงหาคม 2543 โดยระบุว่าการ เลี้ยงกุ้งเป็นสาเหตุของการทำลายสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะอย่างยิ่งป่าชายเลนและทำให้ดินเค็ม ปัจจุบันแม้ว่ากลุ่ม FIAN ยังไม่มีโครงการรณรงค์ต่อต้านผลิตภัณฑ์กุ้งจากไทย แต่ท่าทีดังกล่าวอาจส่งผลทำให้ผู้ผลิตและผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์กุ้งของไทยรวมถึงภาครัฐตระหนักถึงความสำคัญของการเลี้ยงกุ้งโดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และอาจเป็นผลให้ต้นทุนการผลิตผลิตภัณฑ์กุ้งของไทยสูงขึ้นในอนาคต
ในภาวะที่การส่งออกกุ้งไทยไปยังตลาด EU ต้องเผชิญกับอัตราภาษีนำเข้าที่สูงเนื่องจากการถูกตัด GSP ตลอดจนต้องปรับตัวให้ทันกับความเข้มงวดทางด้านสุขอนามัยของ EU ซึ่งนับวันจะยิ่งเพิ่มความเข้มงวดมากขึ้น ขณะเดียวกันตลาดสหรัฐฯและญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตลาดหลักในการส่งออกผลิตภัณฑ์กุ้งของไทยต่างประสบปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวลง ผู้ผลิตและผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์กุ้งไทยจึงควรขยายการส่งออกไปยังตลาดใหม่ที่มีศักยภาพอย่างจริงจัง อาทิ ตลาดตะวันออกกลาง และตลาดอื่นๆ ในแถบเอเชีย เช่น ไต้หวัน ฮ่องกง และเกาหลีใต้ ตลอดจนพัฒนาสินค้าไปสู่ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปพร้อมรับประทานซึ่งสอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้บริโภคยุคใหม่ที่เน้นความสะดวกสบายและรวดเร็วเป็นสำคัญ โดยคำนึงถึงมาตรฐานด้านสุขอนามัยควบคู่กับการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นเงื่อนไขหลักที่ประเทศคู่ค้าต่างหันมาใช้เป็นข้อกำหนดสำหรับการนำเข้าในปัจจุบัน
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กันยายน 2544--
-อน-