ภายหลังพิธีเปิดการประชุมสมัชชาใหญ่องค์การรัฐสภาอาเซียน ครั้งที่ 22 หรือ AIPO ที่โรงแรมรอยัล ออคิด เชอราตัน เช้าวันนี้ (3 ก.ย. 44) หัวหน้าคณะผู้แทนจากประเทศสมาชิก ได้กล่าวถ้อยแถลง โดยมีจุดเน้นใน 2 ประเด็นหลัก คือด้านเศรษฐกิจ และสังคม
นายเหงียน วัน อัน ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เวียดนาม กล่าวว่า ความล้มเหลวทางเศรษฐกิจของภูมิภาคจะส่งผลกระทบต่อทุกประเทศในอาเซียน ดังนั้นในการประชุมครั้งนี้ ประเทศเวียตนามจึงให้ความสนใจในเรื่องการพัฒนาทางเศรษฐกิจและการค้าร่วมกันในระดับ ภูมิภาค โดยประธานสภานิติบัญญัติเวียดนามกล่าวว่า การมีตลาดร่วมกันของอาเซียนเป็นสิ่งที่ดีจะส่งผลให้เศรษฐกิจของทุกประเทศในภูมิภาคนี้คล่องตัวขึ้น นอกจากนี้ ยังมีปัญหาสังคมที่ ทุกประเทศควรให้ความใส่ใจไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านอาชญากรรมข้ามชาติ ปัญหาแรงงาน ปัญหาการว่างงาน เป็นต้น
นายตัน โซกุน หัวหน้าคณะผู้แทนรัฐสภาสิงคโปร์ กล่าวว่า บทบาทของรัฐสภาในโลกโลกาภิวัฒน์ นั้น จะต้องมีบทบาทในการตรวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหาร ทำหน้าที่เป็นผู้แทนของประชาชน สร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน และในการประชุม AIPO ครั้งนี้ ถึงแม้ว่า แต่ละประเทศจะมีความแตกต่างกัน แต่ท้ายที่สุดจะมีการหาแนวทางร่วมกันในการแก้ไขปัญหา
ด้านผู้สังเกตการณ์พิเศษจากประเทศเมียนมาร์ กล่าวถ้อยแถลงว่า เมียนมาร์พยายามสร้างพื้นฐานด้านเศรษฐกิจให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยเน้นด้านการตลาดเป็นสำคัญ แต่ เมียนมาร์ก็มีปัญหาด้านการสื่อสารและการขนส่ง ในการประชุม AIPO ครั้งนี้ก็ตั้งความหวังว่า ผลการประชุมจะบรรลุเป้าหมายตามที่ต้องการ
สำหรับการกล่าวถ้อยแถลงของหัวหน้าคณะผู้แทนไทย ศาสตราจารย์ ดร.บุญทัน ดอกไธสง กล่าวว่า การประชุม AIPO ที่ผ่านมาไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากมุ่งเน้นในเรื่องเศรษฐกิจมหภาค เช่น ธุรกิจอุตสาหกรรมข้ามชาติ โดยลืมที่จะใส่ใจเศรษฐกิจพื้นฐาน ของประชาชน และในการประชุมครั้งนี้ประเทศไทยจะนำเสนอแนวทางตามพระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมุ่งเน้นเศรษฐกิจพอเพียงที่เป็นพื้นฐานชีวิตความเป็นอยู่ ของประชาชนอย่างแท้จริง ซึ่งเป็นเรื่องปากท้องของประชาชน เช่น ในเรื่องการจัดการที่ดินทำกิน การให้การศึกษาและแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนที่ประกอบอาชีพ เกษตรกรรมซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ และเป็นกำลังสำคัญ ซึ่งประเทศไทยคิดว่าแนวทาง ที่เป็นประโยชน์นี้จะได้รับการพัฒนาร่วมกัน เพื่อปรับใช้ในระดับภูมิภาคต่อไป
------------------------
สวภัทร์ มงคลชัย / ผู้สรุป
กรรณิการ์ ผ่านไกร / พิมพ์
นายเหงียน วัน อัน ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เวียดนาม กล่าวว่า ความล้มเหลวทางเศรษฐกิจของภูมิภาคจะส่งผลกระทบต่อทุกประเทศในอาเซียน ดังนั้นในการประชุมครั้งนี้ ประเทศเวียตนามจึงให้ความสนใจในเรื่องการพัฒนาทางเศรษฐกิจและการค้าร่วมกันในระดับ ภูมิภาค โดยประธานสภานิติบัญญัติเวียดนามกล่าวว่า การมีตลาดร่วมกันของอาเซียนเป็นสิ่งที่ดีจะส่งผลให้เศรษฐกิจของทุกประเทศในภูมิภาคนี้คล่องตัวขึ้น นอกจากนี้ ยังมีปัญหาสังคมที่ ทุกประเทศควรให้ความใส่ใจไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านอาชญากรรมข้ามชาติ ปัญหาแรงงาน ปัญหาการว่างงาน เป็นต้น
นายตัน โซกุน หัวหน้าคณะผู้แทนรัฐสภาสิงคโปร์ กล่าวว่า บทบาทของรัฐสภาในโลกโลกาภิวัฒน์ นั้น จะต้องมีบทบาทในการตรวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหาร ทำหน้าที่เป็นผู้แทนของประชาชน สร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน และในการประชุม AIPO ครั้งนี้ ถึงแม้ว่า แต่ละประเทศจะมีความแตกต่างกัน แต่ท้ายที่สุดจะมีการหาแนวทางร่วมกันในการแก้ไขปัญหา
ด้านผู้สังเกตการณ์พิเศษจากประเทศเมียนมาร์ กล่าวถ้อยแถลงว่า เมียนมาร์พยายามสร้างพื้นฐานด้านเศรษฐกิจให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยเน้นด้านการตลาดเป็นสำคัญ แต่ เมียนมาร์ก็มีปัญหาด้านการสื่อสารและการขนส่ง ในการประชุม AIPO ครั้งนี้ก็ตั้งความหวังว่า ผลการประชุมจะบรรลุเป้าหมายตามที่ต้องการ
สำหรับการกล่าวถ้อยแถลงของหัวหน้าคณะผู้แทนไทย ศาสตราจารย์ ดร.บุญทัน ดอกไธสง กล่าวว่า การประชุม AIPO ที่ผ่านมาไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากมุ่งเน้นในเรื่องเศรษฐกิจมหภาค เช่น ธุรกิจอุตสาหกรรมข้ามชาติ โดยลืมที่จะใส่ใจเศรษฐกิจพื้นฐาน ของประชาชน และในการประชุมครั้งนี้ประเทศไทยจะนำเสนอแนวทางตามพระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมุ่งเน้นเศรษฐกิจพอเพียงที่เป็นพื้นฐานชีวิตความเป็นอยู่ ของประชาชนอย่างแท้จริง ซึ่งเป็นเรื่องปากท้องของประชาชน เช่น ในเรื่องการจัดการที่ดินทำกิน การให้การศึกษาและแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนที่ประกอบอาชีพ เกษตรกรรมซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ และเป็นกำลังสำคัญ ซึ่งประเทศไทยคิดว่าแนวทาง ที่เป็นประโยชน์นี้จะได้รับการพัฒนาร่วมกัน เพื่อปรับใช้ในระดับภูมิภาคต่อไป
------------------------
สวภัทร์ มงคลชัย / ผู้สรุป
กรรณิการ์ ผ่านไกร / พิมพ์