บทสรุปนักลงทุน
อุตสาหกรรมของชำร่วยที่ทำด้วยไม้จัดเป็นหัตถกรรมที่น่าสนใจทั้งนี้เพราะประเทศไทยมีทรัพยากรธรรมชาติซึ่งเป็นแหล่งวัตถุดิบสำคัญในการผลิตตลอดจนมีศิลปวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ประกอบกับมีแรงงานที่มีฝีมือในการแกะสลักตกแต่งเป็นอย่างดี ทำให้สินค้านี้เป็นที่ต้องการอย่างมากทั้งตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศ โดยตลาดภายในประเทศมีสัดส่วนราวร้อยละ20 ส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเทพฯ และจังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวหลัก ส่วนตลาดต่างประเทศมีสัดส่วนร้อยละ 80 ที่สำคัญได้แก่ สหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น เป็นต้น ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี2540 - 2541 ความต้องการสินค้านี้ลดลงทั้งด้านความต้องการในประเทศ และการส่งออก ทั้งนี้เพราะผลจากสภาพเศรษฐกิจทำให้ผู้บริโภคขาดกำลังซื้อ และชะลอตัวต่อเนื่องในปี 2542 ส่วนการคาดการณ์ปี 2543 คาดว่าน่าจะมีแนวโน้มดีขึ้นทั้งนี้เพราะการฟื้นตัวของภาคธุรกิจ ซึ่งเป็นกำลังซื้อที่สำคัญและการส่งออกที่เพิ่มขึ้น ดังจะเห็นได้จากสัดส่วนมูลค่าตลาดส่งออกของไทยไปยังตลาดต่างประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ตลอดจนการสนับสนุนการส่งออกของภาครัฐ โดยการสนับสนุนด้านเงินทุน การตลาด เหล่านี้จะช่วยให้ธุรกิจนี้สามารถเติบโตได้อย่างมีศักยภาพ
ปัจจุบัน มีผู้ประกอบการประมาณ 92 ราย เป็นโรงงานในภาคเหนือ 41 โรง ซึ่งพบมากที่จังหวัดเชียงใหม่ รองลงมาคือกรุงเทพฯ 38 โรง ภาคกลาง (ไม่รวมกรุงเทพฯ) 10 โรง ภาคอีสานภาคใต้ และภาคตะวันตกร้อยละ 4 ส่วนคู่แข่งขันในต่างประเทศได้แก่ พม่า เวียดนาม จีน และอินโดนีเซีย เพราะมีความได้เปรียบทั้งด้านวัตถุดิบและแรงงาน
การผลิตของชำร่วยทำด้วยไม้มีวัตถุดิบหลัก ได้แก่ ไม้ และอุปกรณ์โลหะต่าง ๆ เป็นวัตถุดิบในประเทศร้อยละ 25 นำเข้าร้อยละ 32 สำหรับกำลังการผลิตเฉลี่ยรายละประมาณ 5,000-6,000 ชิ้นต่อปี(ทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน) ใช้เงินลงทุนเริ่มต้นประมาณ 3 ล้านบาท และเงินทุนหมุนเวียนประมาณ200,000 บาท
การตลาด
ความต้องการในปัจจุบันและอนาคต
ของชำร่วยที่ทำด้วยไม้ จำแนกได้เป็น 3 กลุ่มหลัก ได้แก่
1.! ของชำร่วยสำหรับประดับตกแต่งบ้าน ได้แก่ ดอกไม้ แจกัน รวมทั้งตุ๊กตาขนาดเล็กซึ่งทำเป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ
2.! ของใช้บนโต๊ะทำงาน เช่น นาฬิกา กล่อง กระดาษโน้ต กล่องนามบัตร กล่องใส่ปากกา ดินสอ ฯลฯ
3.! ของใช้บนโต๊ะอาหาร ได้แก่ ช้อน ส้อม แก้วน้ำ กระปุกใส่เครื่องปรุงต่าง ๆ ฯลฯ
ของชำร่วยที่ทำด้วยไม้จัดเป็นสินค้าที่มีช่วงระยะเวลาจำหน่ายค่อนข้างเป็นฤดูกาล โดยจะมียอดจำหน่ายสูงในช่วงเทศกาลสำคัญ อาทิ เทศกาลปีใหม่ โดยเฉพาะการจำหน่ายในประเทศที่มีลูกค้าส่วนใหญ่เป็นหน่วยงานขนาดใหญ่ทั้งของรัฐบาลและเอกชน เช่น บริษัท ธนาคาร สถาบันการเงินต่างๆ เพื่อให้ลูกค้าเป็นที่ระลึกในช่วงกิจกรรมรณรงค์ของบริษัทหรือเทศกาลต่าง ๆ โดยเฉพาะในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจขยายตัวดีและผลการดำเนินงานของบริษัทในรอบปีที่ผ่านมาขยายตัวดี ความต้องการของชำร่วยก็จะเพิ่มขึ้นมาก
ตลาดในประเทศของสินค้าของชำร่วยทำด้วยไม้ส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเทพฯ ทั้งนี้เพราะมีธุรกิจขนาดกลาง-ใหญ่และประชากรมีกำลังซื้อมาก นอกจากนั้นก็จะกระจายอยู่ตามแหล่งท่องเที่ยวสำคัญซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นแหล่งผลิตหลัก อาทิ เชียงใหม่ สำหรับสินค้าที่จำหน่ายในประเทศมีทั้งสินค้าผลิตในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศที่มักเป็นสินค้าประเภทของใช้บนโต๊ะอาหารและประดับตกแต่งบ้าน มีแหล่งนำเข้าหลักจากพม่า การจำหน่ายสินค้าประเภทของชำร่วยทำด้วยไม้นั้นส่วนใหญ่จะเป็นการจำหน่ายเป็นจำนวนมาก โดยมีจำนวนสินค้าตั้งแต่ 100 ชิ้นขึ้นไป โดยราคาจำหน่ายจะแตกต่างกันไปขึ้นกับประเภทผลิตภัณฑ์และจำนวนจำหน่ายสินค้า
ทางด้านตลาดต่างประเทศนั้น สินค้าของไทยชนิดนี้เป็นที่นิยมของชาวต่างชาติทั้งนี้เพราะมีรูปแบบสวยงาม ราคาเหมาะสม ถ้าได้มีการปรับปรุงคุณภาพของสินค้าตลอดจนมาตรฐานการผลิตให้ดียิ่งขึ้นก็จะทำให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ จากข้อมูลการส่งออกผลิตภัณฑ์ชนิดนี้ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2542 พบว่าตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยได้แก่ สหรัฐฯ สหภาพยุโรปและญี่ปุ่น โดยไทยมีอัตราการพึ่งพิงตลาดดังกล่าวประมาณร้อยละ 35 30 และ 5 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด ตามลำดับ
ปัญหาเศรษฐกิจไทยที่ชะลอตัวลงและมีบริษัท ธุรกิจต่าง ๆ ปิดตัวลงเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะสถาบันการเงินที่เป็นกลุ่มลูกค้าหลัก รวมทั้งผู้บริโภคขาดกำลังซื้อทำให้ความต้องการสินค้าประเภทของชำร่วยทำด้วยไม้ในช่วงปี 2538-2541 ชะลอตัวลงมาก โดยเป็นการลดลงทั้งด้านการนำเข้าและการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ จากการสำรวจของบริษัท ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ จำกัด พบว่า ยอดขายในปี 2541 ลดลงจากปี 2540 ถึงร้อยละ 60 และผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมนี้จำเป็นต้องลดการผลิตลง
ทางด้านการส่งออกในช่วงปี 2538-2540 ลดลงเช่นกัน โดยลดลงเฉลี่ยร้อยละ 3 ต่อปี เป็น 428ล้านบาท ในปี 2541 ทั้งนี้เพราะไทยมีปัญหาด้านวัตถุดิบทั้งด้านต้นทุนการนำเข้าเนื่องจากค่าเงินของไทยมีความผันผวนและปัญหาเรื่องการได้รับสัมปทานการตัดไม้ในประเทศที่มีอาณาเขตติดกับไทย เช่น พม่า เขมร เป็นต้น โดยเฉพาะปัญหาการชักลากไม้เข้ามาในประเทศไทย ตลอดจนมีคู่แข่งขันเข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดมากขึ้น
สำหรับภาพรวมในปี 2542 ความต้องการสินค้านี้ยังคงมีแนวโน้มชะลอตัวลงทั้งด้านความต้องการในประเทศและการส่งออก ดังจะเห็นได้จากมูลค่าการนำเข้าและส่งออกในช่วง 6 เดือนแรกลดลงจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 18.38 และ 0.19 เป็น 23 ล้านบาท และ 235 ล้านบาทตามลำดับ อย่างไรก็ตามคาดว่าตลาดในประเทศในปี 2543 น่าจะมีแนวโน้มดีขึ้นตามแนวโน้มการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจและภาคธุรกิจต่าง ๆ อันเป็นผลมาจากการใช้นโยบายกระตุ้นการบริโภคและการใช้จ่ายของภาครัฐบาล กอปรกับการส่งออกจะปรับตัวดีขึ้น หลังจากปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบประเภทไม้หายากเริ่มคลี่คลายลง เนื่องจากสวนป่า/สวนเกษตรต่าง ๆที่เริ่มดำเนินการในช่วงก่อนปี2536 เริ่มให้ผลผลิตที่ใช้งานได้ ตลอดจนมีการปรับปรุงคุณภาพสินค้าให้เป็นที่ต้องการของตลาดรวมทั้งได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ซึ่งจะช่วยให้ไทยมีความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกได้ดียิ่งขึ้น
ผู้ผลิตในปัจจุบัน (คู่แข่ง)
ปัจจัยสำคัญในการเลือกที่ตั้งโรงงานของอุตสาหกรรมนี้ ได้แก่ แหล่งวัตถุดิบ แรงงาน และตลาด ดังนั้น โรงงานส่วนใหญ่มักตั้งอยู่ในแถบภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ นครสวรรค์ และแพร่เป็นต้น ซึ่งเป็นแหล่งวัตถุดิบและแรงงาน นอกจากนี้ยังมีการตั้งอยู่ในกรุงเทพฯด้วย เพราะเป็นตลาดสำคัญตลอดจนการคมนาคมขนส่งสะดวก จากการรวบรวมข้อมูลของกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมและกรมส่งเสริมการส่งออกรวมทั้งรายชื่อสมาชิกชมรมของขวัญ ของชำร่วยและผลิตภัณฑ์ตกแต่ง พบว่า มีผู้ผลิตของชำร่วยทำด้วยไม้ราว 92 ราย เป็นโรงงานในภาคเหนือ41 โรง โดยพบมากที่เชียงใหม่ รองลงมาคือ กรุงเทพฯ 38 โรง ภาคกลาง (ไม่รวมกรุงเทพฯ) 10 โรงภาคอีสาน ภาคใต้ และภาคตะวันตก3 โรง แต่ละรายมีเงินลงทุนเฉลี่ยประมาณ 1-2 ล้านบาท ใช้แรงงาน 10-20 คนต่อแห่ง โดยผู้ประกอบการส่วนใหญ่เป็นคนไทย
อย่างไรก็ตาม นอกจากคู่แข่งขันที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันแล้วยังมีอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องและมีทักษะและความสามารถในการเข้าสู่ธุรกิจนี้และมีแนวโน้มที่จะในการเข้ามาแข่งขัน อาทิอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ จากข้อมูลของกรมโรงงานอุตสาหกรรมพบว่ามีโรงงานเหล่านี้กว่า100 แห่ง
สำหรับคู่แข่งขันในต่างประเทศ ได้แก่ พม่า เวียดนาม จีน และอินโดนีเซีย เป็นต้น ซึ่งเป็นคู่แข่งขันที่สำคัญเพราะมีทรัพยากรป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าไทย โดยเฉพาะค่าจ้างแรงงาน ดังนั้น ไทยจึงควรพัฒนาและขยายตลาดระดับบน เช่น ตลาดธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรมเป็นต้น โดยการทำให้สินค้ามีความแตกต่างจากคู่แข่งขันอย่างเห็นได้ชัด ทั้งด้านรูปแบบผลิตภัณฑ์และประโยชน์ใช้สอย รวมทั้งมีตรายี่ห้อที่เป็นของไทยเอง ซึ่งจะช่วยทำให้ไทยสามารถแข่งขันกับประเทศอื่น ๆ ได้ดียิ่งขึ้น
รายชื่อผู้ประกอบการสำคัญ
ขนาดกลางและย่อม เงินทุนจดทะเบียน (บาท)
บริษัท เวิร์ลด์ คราฟท์ จำกัด 70,500,000
บริษัท ไทย โลคัล โปรดักส์ จำกัด 19,000,000
ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล กองดี 13,000,000
บริษัท เค ที ไทย โลคัล โปรดักส์ จำกัด 11,000,000
บริษัท ยูไนเต็ด อาร์ต จำกัด 10,000,000
ที่มา: กรมโรงงานอุตสาหกรรมและกรมส่งเสริมการส่งออก
หมายเหตุ: อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมมีเงินลงทุนไม่เกิน 200 ล้านบาทช่องทางการจำหน่าย
จำหน่ายภายในประเทศประมาณร้อยละ 20 และส่งออกไปยังต่างประเทศร้อยละ 80 การจำหน่ายในประเทศส่วนใหญ่เป็น การรับจ้างผลิตให้กับธุรกิจต่าง ๆ ที่มีความต้องการสินค้าประมาณร้อยละ 70 และมีการขายให้กับผู้ใช้โดยตรงประมาณร้อยละ 10 ที่เหลืออีกร้อยละ20 เป็นการขายผ่านตัวแทนจำหน่าย สำหรับการส่งออกนั้นผู้ผลิตทำการส่งออกเองประมาณร้อยละ 50 ที่เหลือเป็นการขายผ่านตัวแทนจำหน่าย
การผลิต
วัตถุดิบที่ใช้และแหล่งวัตถุดิบ
วัตถุดิบที่ใช้มีทั้งวัตถุดิบในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ จากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการที่เป็นโรงงานทำของชำร่วยจากไม้สักเป็นหลักพบว่า ใช้วัตถุดิบในประเทศประมาณร้อยละ 20เช่น อุปกรณ์ทองเหลืองต่าง ๆ ส่วนวัตถุดิบนำเข้าจากต่างประเทศมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 80 ซึ่งประกอบด้วยไม้สักที่มีการนำเข้ามาจากพม่าและลาวโดยการซื้อผ่านเอเยนต์นำเข้าไม้โดยมีสัดส่วนการนำเข้าไม้ประมาณร้อยละ 50 ส่วนอุปกรณ์ที่นำมาใช้ประกอบ เช่น อุปกรณ์เครื่องเขียนพวกนาฬิกา ปากกา เครื่องคิดเลข เป็นต้น มีสัดส่วนการนำเข้าประมาณร้อยละ 30 โดยมีการนำเข้ามาจากไต้หวัน ญี่ปุ่น จีน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม วัตถุดิบในส่วนนี้สามารถจัดหาในประเทศได้ทั้งหมด
ส่วนโรงงานทำของชำร่วยที่ทำด้วยไม้ประเภทอื่น เช่น ไม้ยูคาลิปตัส ไม้ยางพารา เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นไม้ที่ผลิตได้ในประเทศเมีสัดส่วนการใช้วัตถุดิบในประเทศประมาณร้อยละ 80 และมีการใช้วัตถุดิบนำเข้าประมาณร้อยละ 20
โครงสร้างต้นทุนการผลิต1/
ประเภท สัดส่วน(%)
1.!วัตถุดิบ 57
-! วัตถุดิบในประเทศ 25
-! วัตถุดิบนำเข้า 32
2.!ค่าแรงงาน 30
3.!ค่าเสื่อมราคาและอื่นๆ 13
รวม 100
ที่มา: สอบถามผู้ประกอบการ1/ แตกต่างกันตามประเภทไม้ที่ใช้ กรณีนี้เป็นโครงสร้างต้นทุนการผลิตเฉลี่ยของชำร่วยที่ทำด้วยไม้สักและไม้ยูคาลิปตัส
กรรมวิธีการผลิต (เฉพาะขั้นตอนหลัก)
นำไม้ที่คัดขนาดแล้วมาอบไล่ความชื้น
|
V
เลื่อยไส ขัด แปรรูปไม้ให้ได้ขนาดตามต้องการ
|
V
ประกอบชิ้นงาน
|
V
ทำสี
|
V
ตกแต่ง อาทิ เดินคิ้วให้สวยงาม
|
V
บรรจุกล่อง รอจำหน่าย
เครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการผลิต
เครื่องจักรหลักที่ใช้ได้แก่ เครื่องเลื่อยไม้ เครื่องไสไม้ เครื่องขัดไม้ เครื่องทำคิ้ว เครื่องอบแห้ง (Dryer) เครื่องเก็บฝุ่นสำหรับเครื่องจักรงานไม้ เป็นต้น จากการสำรวจพบว่า เครื่องจักรในงานไม้ส่วนใหญ่มีการนำเข้ามาจากเยอรมนี ญี่ปุ่น ไต้หวัน อิตาลี และสหรัฐฯ เป็นต้น โดยราคาขายเครื่องจักรขึ้นกับขนาดของมอเตอร์ใช้งาน เช่น ราคาเครื่องเก็บฝุ่นสำหรับงานไม้ขนาดมอเตอร์ 7แรงม้าแบบใช้ถุงผ้าในการเก็บฝุ่นมีราคาประมาณเครื่องละ 40,000 บาท ส่วนเครื่องจักรอื่น ๆ เช่นเครื่องเลื่อยไม้ขนาดใบเลื่อย 12 นิ้วราคาประมาณ 60,000 บาท เครื่องไสไม้ขนาดใบเลื่อย 20 นิ้วราคาประมาณ 80,000 บาท เครื่องขัดแบบใช้มือขัดราคาประมาณ 30,000 บาท เครื่องทำคิ้วราคาประมาณ 40,000 บาท ทั้งนี้ขึ้นกับขนาดของการใช้งาน
การลงทุนและการเงิน
โรงงานผลิตของชำร่วยที่ทำด้วยไม้ ควรมีทำเลตั้งอยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบและแรงงาน จากการศึกษาการลงทุนในอุตสาหกรรมที่มีกำลังการผลิตประมาณ 5,000-6,000 ชิ้นต่อปี (ทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน) ต้องการเงินลงทุนประมาณ 3 ล้านบาท จำแนกเป็นเงินลงทุนในรายการหลัก ดังต่อไปนี้
เงินลงทุน
1. เงินทุนจดทะเบียนและเงินลงทุนเริ่มต้น 2,800,000 บาท
- ค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2,000,000 บาท
- ค่าเครื่องจักร 300,000 บาท
- ค่ายานพาหนะและอื่น ๆ 500,000 บาท
2. เงินทุนหมุนเวียน 200,000 บาทต่อปี
บุคลากร ธุรกิจการผลิตของชำร่วยที่ทำด้วยไม้ใช้บุคลากรประมาณ 9-10 คน ประกอบด้วย
1.!พนักงานในโรงงาน ประกอบด้วย
1.1!ช่างไม้ จำนวน 5 คน
1.2!พนักงานขับรถส่งของ จำนวน 1 คน
2. พนักงานในสำนักงานและพนักงานบริหาร จำนวน 3 คน สำหรับกรณีเป็นผู้ประกอบการรายเล็กอาจเป็นบุคคลเดียวกันคือเจ้าของกิจการ
ค่าใช้จ่ายต่อปี
ต้นทุนขาย
1.! ต้นทุนวัตถุดิบ 197,000 บาทต่อปี
-ไม้ 99,000 บาทต่อปี
- ทองเหลือง 39,000 บาทต่อปี
- อื่นๆ 59,000 บาทต่อปี
2. ต้นทุนแรงงาน 110,000 บาทต่อปี
3. ต้นทุนค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร 22,000 บาทต่อปี
4. ต้นทุนค่าโสหุ้ยการผลิต 68,000 บาทต่อปี
4.1 สาธารณูปโภค 68,000 บาทต่อปี
- ค่าน้ำ 12,000 บาทต่อปี
- ค่าไฟ 20,000 บาทต่อปี
- ค่าโทรศัพท์ 12,000 บาทต่อปี
- ค่าขนส่ง,ค่าน้ำมัน 24,000 บาทต่อปี
5. ค่าใช้จ่ายด้านอื่นๆ 20,000 บาทต่อปี
5.1 ค่าดอกเบี้ยจ่าย 20,000 บาทต่อปี
กำไรเฉลี่ย ประมาณร้อยละ 20-25 ของยอดขาย
หมายเหตุ: ปริมาณผลิตเฉลี่ย 3,400 ชิ้น ราคาเฉลี่ย 150 บาท/ชิ้น รายได้รวม 510,000 บาท
ภาคผนวก
ราคาซื้อขาย
จากการสำรวจผู้ผลิตในปี 2542 พบว่า ราคาขายส่งของชำร่วยที่ทำด้วยไม้ในปี 2542 มีราคาตั้งแต่ 70-1,000 บาท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทสินค้า และจำนวนขายสินค้า โดยส่วนใหญ่มีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 200-400 บาท เช่น
- พวงกุญแจ ราคาชิ้นละประมาณ 70 บาท สำหรับจำนวนสินค้า 100 ชิ้น
- กรอบรูปขนาด 8 นิ้ว ราคาชิ้นละประมาณ 200 บาท สำหรับจำนวนสินค้า 100 ชิ้น
- ชุดเครื่องเขียน เช่น กล่องใส่นามบัตร ปากกา ราคาประมาณ 200 บาท สำหรับจำนวนสินค้า100 ชิ้น ส่วนชุดเครื่องเขียนแบบครบชุดขนาด 10 นิ้ว ราคาประมาณชุดละ 1,000 บาท สำหรับจำนวนสินค้า 100 ชิ้น
- นาฬิกาตั้งโต๊ะขนาด 4 นิ้ว ราคาประมาณเรือนละ 500 บาท สำหรับจำนวนสินค้า 100 ชิ้น
- ตุ๊กตาแกะสลักเป็นรูปสัตว์ชนิดต่าง ๆ ขนาดประมาณ 4 นิ้ว ราคาประมาณชิ้นละ 80 บาทสำหรับจำนวนสินค้า 100 ชิ้น
ส่วนของที่ระลึกชนิดอื่น ๆ ที่ทำด้วยไม้มีราคาแตกต่างกันไปขึ้นกับชนิดไม้ ขนาด และรูปแบบของชิ้นงานแหล่งขายเครื่องจักร (ในประเทศหรือต่างประเทศ)
ตารางที่ 5 : รายชื่อผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่าย
บริษัท ที่อยู่
บ. โซเพ็ค จำกัด 51/277-278,51/487 ศูนย์การค้าไดรฟ์อิน ถ.ลาดพร้าว
บางกะปิ กทม. โทรศัพท์ 3775271,3780873
บ. ไทยพอลลูเทค จำกัด 130 ม. 4 ซ.วัดมหาวงษ์ ถ.ปู่เจ้าสมิงพราย อ.พระ
ประแดง กทม. โทรศัพท์ 3936451
บ. ไทยแอ็ดวานซ์ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด 341/13-14 ถ.เพชรเกษม 102/1 ภาษีเจริญ กทม.
โทรศัพท์ 8092452-9
บ. รีไลอันซ์ เทค-เซอร์วิส จำกัด 396 ม. 2 คลองแค ต.อ้อมน้อย อ.กระทุ่มแบน จ.
สมุทรสาคร โทรศัพท์ 4291428, 4291432
บ. ยูไนเต็ด แมชชินเนอรี่ จำกัด 20 ถ. หลานหลวง กทม โทรศัพท์ .2827140-9
ที่มา: หนังสือทำเนียบอุตสาหกรรมปี 1996 โดยบริษัท เอ ทีม แอดเวอไทซิ่ง จำกัด
ข้อมูลที่เกี่ยวกับกฎระเบียบและการขออนุญาตต่าง ๆ
1.! ด้านภาษี
ปัจจุบันกรมศุลกากรมีการปรับลดพิกัดอัตราภาษีศุลกากรขาเข้าของผลิตภัณฑ์ของชำร่วยที่ทำด้วยไม้จำพวกไม้ที่ฝังหรือประดับมุก ด้วยงาช้างหรือวัตถุอื่นๆหีบและกล่องสำหรับเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณหรือของมีคม และของที่คล้ายกัน ทำด้วยไม้ รูปแกะสลัก เครื่องประดับอื่นๆทำด้วยไม้ รวมทั้งเฟอร์นิเจอร์ ทำด้วยไม้ที่ไม่ได้จัดเข้าตอนที่ 94 ซึ่งมีรหัสฮาร์โมไนซ์คือ 4420 โดยแบ่งเป็น
- รูปแกะสลักและเครื่องประดับอื่นๆทำด้วยไม้ (รหัสฮาร์โมไนซ์ 4420.100-006) มีการปรับลดพิกัดอัตราภาษีศุลกากรขาเข้าในปี 2542จากอัตราปกติตามราคาร้อยละ 40 เหลือร้อยละ 30
- ไม้ที่ฝังหรือประดับด้วยมุก ด้วยงาช้างหรือวัตถุอื่น ๆ (รหัสฮาร์โมไนซ์ 4420.901-007) มีการปรับลดพิกัดอัตราภาษีศุลกากรขาเข้าในปี 2542 จากอัตราปกติตามราคาร้อยละ 60 เหลือร้อยละ30
- ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ทำด้วยไม้ (รหัสฮาร์โมไนซ์ 4420.909-109) มีการปรับลดพิกัดอัตราภาษีศุลกากรขาเข้าในปี 2542จากอัตราปกติตามราคาร้อยละ 40 เหลือร้อยละ 30
2. การขออนุญาตตั้งโรงงาน เป็นไปตามขั้นตอนการขออนุญาตตั้งโรงงานทั่วไป ดูรายละเอียดได้จากคู่มือการจัดตั้งโรงงานและการขอรับรองระบบคุณภาพมาตรฐาน
3. การขออนุญาตต่อทางราชการ ได้แก่
- กรมป่าไม้ ในการนำเข้าไม้ และแปรรูปไม้ ซึ่งต้องดำเนินการต่ออายุใบอนุญาตแปรรูปไม้ทุก ๆ 2 ปี การดำเนินการต่ออายุใบอนุญาตค้าสิ่งประดิษฐ์ทุก ๆ 1 ปี สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โทรศัพท์ 5614292-3
- กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เพื่อขออนุญาตดำเนินการในเรื่องฝุ่นอันเกิดจากการแปรรูปไม้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ โทรศัพท์ 5918201,5904000
- กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ในเรื่องปัญหาด้านแรงงาน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทรศัพท์ 2215140-4, 2485558
4. แหล่งข้อมูลอื่น ๆ เช่นหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนด้านเทคนิค ได้แก่
ชมรมของขวัญ ของชำร่วย และผลิตภัณฑ์ตกแต่ง ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกรมส่งเสริมการส่งออก เพื่อทำหน้าที่สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาทั้งด้านการผลิต การตลาดรวมทั้งเผยแพร่ข้อมูลต่างๆให้แก่สมาชิกและบุคคลทั่วไป สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่กองทะเบียน ชมรมฯ โทรศัพท์ 6881000ต่อ 261 (คุณปริศนา)
นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานของทางราชการที่สนับสนุนด้านแหล่งเงินกู้ให้กับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ได้แก่ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสำนักงานจังหวัดทุกแห่งทั่วประเทศ
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
อุตสาหกรรมของชำร่วยที่ทำด้วยไม้จัดเป็นหัตถกรรมที่น่าสนใจทั้งนี้เพราะประเทศไทยมีทรัพยากรธรรมชาติซึ่งเป็นแหล่งวัตถุดิบสำคัญในการผลิตตลอดจนมีศิลปวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ประกอบกับมีแรงงานที่มีฝีมือในการแกะสลักตกแต่งเป็นอย่างดี ทำให้สินค้านี้เป็นที่ต้องการอย่างมากทั้งตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศ โดยตลาดภายในประเทศมีสัดส่วนราวร้อยละ20 ส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเทพฯ และจังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวหลัก ส่วนตลาดต่างประเทศมีสัดส่วนร้อยละ 80 ที่สำคัญได้แก่ สหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น เป็นต้น ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี2540 - 2541 ความต้องการสินค้านี้ลดลงทั้งด้านความต้องการในประเทศ และการส่งออก ทั้งนี้เพราะผลจากสภาพเศรษฐกิจทำให้ผู้บริโภคขาดกำลังซื้อ และชะลอตัวต่อเนื่องในปี 2542 ส่วนการคาดการณ์ปี 2543 คาดว่าน่าจะมีแนวโน้มดีขึ้นทั้งนี้เพราะการฟื้นตัวของภาคธุรกิจ ซึ่งเป็นกำลังซื้อที่สำคัญและการส่งออกที่เพิ่มขึ้น ดังจะเห็นได้จากสัดส่วนมูลค่าตลาดส่งออกของไทยไปยังตลาดต่างประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ตลอดจนการสนับสนุนการส่งออกของภาครัฐ โดยการสนับสนุนด้านเงินทุน การตลาด เหล่านี้จะช่วยให้ธุรกิจนี้สามารถเติบโตได้อย่างมีศักยภาพ
ปัจจุบัน มีผู้ประกอบการประมาณ 92 ราย เป็นโรงงานในภาคเหนือ 41 โรง ซึ่งพบมากที่จังหวัดเชียงใหม่ รองลงมาคือกรุงเทพฯ 38 โรง ภาคกลาง (ไม่รวมกรุงเทพฯ) 10 โรง ภาคอีสานภาคใต้ และภาคตะวันตกร้อยละ 4 ส่วนคู่แข่งขันในต่างประเทศได้แก่ พม่า เวียดนาม จีน และอินโดนีเซีย เพราะมีความได้เปรียบทั้งด้านวัตถุดิบและแรงงาน
การผลิตของชำร่วยทำด้วยไม้มีวัตถุดิบหลัก ได้แก่ ไม้ และอุปกรณ์โลหะต่าง ๆ เป็นวัตถุดิบในประเทศร้อยละ 25 นำเข้าร้อยละ 32 สำหรับกำลังการผลิตเฉลี่ยรายละประมาณ 5,000-6,000 ชิ้นต่อปี(ทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน) ใช้เงินลงทุนเริ่มต้นประมาณ 3 ล้านบาท และเงินทุนหมุนเวียนประมาณ200,000 บาท
การตลาด
ความต้องการในปัจจุบันและอนาคต
ของชำร่วยที่ทำด้วยไม้ จำแนกได้เป็น 3 กลุ่มหลัก ได้แก่
1.! ของชำร่วยสำหรับประดับตกแต่งบ้าน ได้แก่ ดอกไม้ แจกัน รวมทั้งตุ๊กตาขนาดเล็กซึ่งทำเป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ
2.! ของใช้บนโต๊ะทำงาน เช่น นาฬิกา กล่อง กระดาษโน้ต กล่องนามบัตร กล่องใส่ปากกา ดินสอ ฯลฯ
3.! ของใช้บนโต๊ะอาหาร ได้แก่ ช้อน ส้อม แก้วน้ำ กระปุกใส่เครื่องปรุงต่าง ๆ ฯลฯ
ของชำร่วยที่ทำด้วยไม้จัดเป็นสินค้าที่มีช่วงระยะเวลาจำหน่ายค่อนข้างเป็นฤดูกาล โดยจะมียอดจำหน่ายสูงในช่วงเทศกาลสำคัญ อาทิ เทศกาลปีใหม่ โดยเฉพาะการจำหน่ายในประเทศที่มีลูกค้าส่วนใหญ่เป็นหน่วยงานขนาดใหญ่ทั้งของรัฐบาลและเอกชน เช่น บริษัท ธนาคาร สถาบันการเงินต่างๆ เพื่อให้ลูกค้าเป็นที่ระลึกในช่วงกิจกรรมรณรงค์ของบริษัทหรือเทศกาลต่าง ๆ โดยเฉพาะในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจขยายตัวดีและผลการดำเนินงานของบริษัทในรอบปีที่ผ่านมาขยายตัวดี ความต้องการของชำร่วยก็จะเพิ่มขึ้นมาก
ตลาดในประเทศของสินค้าของชำร่วยทำด้วยไม้ส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเทพฯ ทั้งนี้เพราะมีธุรกิจขนาดกลาง-ใหญ่และประชากรมีกำลังซื้อมาก นอกจากนั้นก็จะกระจายอยู่ตามแหล่งท่องเที่ยวสำคัญซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นแหล่งผลิตหลัก อาทิ เชียงใหม่ สำหรับสินค้าที่จำหน่ายในประเทศมีทั้งสินค้าผลิตในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศที่มักเป็นสินค้าประเภทของใช้บนโต๊ะอาหารและประดับตกแต่งบ้าน มีแหล่งนำเข้าหลักจากพม่า การจำหน่ายสินค้าประเภทของชำร่วยทำด้วยไม้นั้นส่วนใหญ่จะเป็นการจำหน่ายเป็นจำนวนมาก โดยมีจำนวนสินค้าตั้งแต่ 100 ชิ้นขึ้นไป โดยราคาจำหน่ายจะแตกต่างกันไปขึ้นกับประเภทผลิตภัณฑ์และจำนวนจำหน่ายสินค้า
ทางด้านตลาดต่างประเทศนั้น สินค้าของไทยชนิดนี้เป็นที่นิยมของชาวต่างชาติทั้งนี้เพราะมีรูปแบบสวยงาม ราคาเหมาะสม ถ้าได้มีการปรับปรุงคุณภาพของสินค้าตลอดจนมาตรฐานการผลิตให้ดียิ่งขึ้นก็จะทำให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ จากข้อมูลการส่งออกผลิตภัณฑ์ชนิดนี้ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2542 พบว่าตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยได้แก่ สหรัฐฯ สหภาพยุโรปและญี่ปุ่น โดยไทยมีอัตราการพึ่งพิงตลาดดังกล่าวประมาณร้อยละ 35 30 และ 5 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด ตามลำดับ
ปัญหาเศรษฐกิจไทยที่ชะลอตัวลงและมีบริษัท ธุรกิจต่าง ๆ ปิดตัวลงเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะสถาบันการเงินที่เป็นกลุ่มลูกค้าหลัก รวมทั้งผู้บริโภคขาดกำลังซื้อทำให้ความต้องการสินค้าประเภทของชำร่วยทำด้วยไม้ในช่วงปี 2538-2541 ชะลอตัวลงมาก โดยเป็นการลดลงทั้งด้านการนำเข้าและการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ จากการสำรวจของบริษัท ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ จำกัด พบว่า ยอดขายในปี 2541 ลดลงจากปี 2540 ถึงร้อยละ 60 และผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมนี้จำเป็นต้องลดการผลิตลง
ทางด้านการส่งออกในช่วงปี 2538-2540 ลดลงเช่นกัน โดยลดลงเฉลี่ยร้อยละ 3 ต่อปี เป็น 428ล้านบาท ในปี 2541 ทั้งนี้เพราะไทยมีปัญหาด้านวัตถุดิบทั้งด้านต้นทุนการนำเข้าเนื่องจากค่าเงินของไทยมีความผันผวนและปัญหาเรื่องการได้รับสัมปทานการตัดไม้ในประเทศที่มีอาณาเขตติดกับไทย เช่น พม่า เขมร เป็นต้น โดยเฉพาะปัญหาการชักลากไม้เข้ามาในประเทศไทย ตลอดจนมีคู่แข่งขันเข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดมากขึ้น
สำหรับภาพรวมในปี 2542 ความต้องการสินค้านี้ยังคงมีแนวโน้มชะลอตัวลงทั้งด้านความต้องการในประเทศและการส่งออก ดังจะเห็นได้จากมูลค่าการนำเข้าและส่งออกในช่วง 6 เดือนแรกลดลงจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 18.38 และ 0.19 เป็น 23 ล้านบาท และ 235 ล้านบาทตามลำดับ อย่างไรก็ตามคาดว่าตลาดในประเทศในปี 2543 น่าจะมีแนวโน้มดีขึ้นตามแนวโน้มการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจและภาคธุรกิจต่าง ๆ อันเป็นผลมาจากการใช้นโยบายกระตุ้นการบริโภคและการใช้จ่ายของภาครัฐบาล กอปรกับการส่งออกจะปรับตัวดีขึ้น หลังจากปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบประเภทไม้หายากเริ่มคลี่คลายลง เนื่องจากสวนป่า/สวนเกษตรต่าง ๆที่เริ่มดำเนินการในช่วงก่อนปี2536 เริ่มให้ผลผลิตที่ใช้งานได้ ตลอดจนมีการปรับปรุงคุณภาพสินค้าให้เป็นที่ต้องการของตลาดรวมทั้งได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ซึ่งจะช่วยให้ไทยมีความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกได้ดียิ่งขึ้น
ผู้ผลิตในปัจจุบัน (คู่แข่ง)
ปัจจัยสำคัญในการเลือกที่ตั้งโรงงานของอุตสาหกรรมนี้ ได้แก่ แหล่งวัตถุดิบ แรงงาน และตลาด ดังนั้น โรงงานส่วนใหญ่มักตั้งอยู่ในแถบภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ นครสวรรค์ และแพร่เป็นต้น ซึ่งเป็นแหล่งวัตถุดิบและแรงงาน นอกจากนี้ยังมีการตั้งอยู่ในกรุงเทพฯด้วย เพราะเป็นตลาดสำคัญตลอดจนการคมนาคมขนส่งสะดวก จากการรวบรวมข้อมูลของกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมและกรมส่งเสริมการส่งออกรวมทั้งรายชื่อสมาชิกชมรมของขวัญ ของชำร่วยและผลิตภัณฑ์ตกแต่ง พบว่า มีผู้ผลิตของชำร่วยทำด้วยไม้ราว 92 ราย เป็นโรงงานในภาคเหนือ41 โรง โดยพบมากที่เชียงใหม่ รองลงมาคือ กรุงเทพฯ 38 โรง ภาคกลาง (ไม่รวมกรุงเทพฯ) 10 โรงภาคอีสาน ภาคใต้ และภาคตะวันตก3 โรง แต่ละรายมีเงินลงทุนเฉลี่ยประมาณ 1-2 ล้านบาท ใช้แรงงาน 10-20 คนต่อแห่ง โดยผู้ประกอบการส่วนใหญ่เป็นคนไทย
อย่างไรก็ตาม นอกจากคู่แข่งขันที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันแล้วยังมีอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องและมีทักษะและความสามารถในการเข้าสู่ธุรกิจนี้และมีแนวโน้มที่จะในการเข้ามาแข่งขัน อาทิอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ จากข้อมูลของกรมโรงงานอุตสาหกรรมพบว่ามีโรงงานเหล่านี้กว่า100 แห่ง
สำหรับคู่แข่งขันในต่างประเทศ ได้แก่ พม่า เวียดนาม จีน และอินโดนีเซีย เป็นต้น ซึ่งเป็นคู่แข่งขันที่สำคัญเพราะมีทรัพยากรป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าไทย โดยเฉพาะค่าจ้างแรงงาน ดังนั้น ไทยจึงควรพัฒนาและขยายตลาดระดับบน เช่น ตลาดธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรมเป็นต้น โดยการทำให้สินค้ามีความแตกต่างจากคู่แข่งขันอย่างเห็นได้ชัด ทั้งด้านรูปแบบผลิตภัณฑ์และประโยชน์ใช้สอย รวมทั้งมีตรายี่ห้อที่เป็นของไทยเอง ซึ่งจะช่วยทำให้ไทยสามารถแข่งขันกับประเทศอื่น ๆ ได้ดียิ่งขึ้น
รายชื่อผู้ประกอบการสำคัญ
ขนาดกลางและย่อม เงินทุนจดทะเบียน (บาท)
บริษัท เวิร์ลด์ คราฟท์ จำกัด 70,500,000
บริษัท ไทย โลคัล โปรดักส์ จำกัด 19,000,000
ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล กองดี 13,000,000
บริษัท เค ที ไทย โลคัล โปรดักส์ จำกัด 11,000,000
บริษัท ยูไนเต็ด อาร์ต จำกัด 10,000,000
ที่มา: กรมโรงงานอุตสาหกรรมและกรมส่งเสริมการส่งออก
หมายเหตุ: อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมมีเงินลงทุนไม่เกิน 200 ล้านบาทช่องทางการจำหน่าย
จำหน่ายภายในประเทศประมาณร้อยละ 20 และส่งออกไปยังต่างประเทศร้อยละ 80 การจำหน่ายในประเทศส่วนใหญ่เป็น การรับจ้างผลิตให้กับธุรกิจต่าง ๆ ที่มีความต้องการสินค้าประมาณร้อยละ 70 และมีการขายให้กับผู้ใช้โดยตรงประมาณร้อยละ 10 ที่เหลืออีกร้อยละ20 เป็นการขายผ่านตัวแทนจำหน่าย สำหรับการส่งออกนั้นผู้ผลิตทำการส่งออกเองประมาณร้อยละ 50 ที่เหลือเป็นการขายผ่านตัวแทนจำหน่าย
การผลิต
วัตถุดิบที่ใช้และแหล่งวัตถุดิบ
วัตถุดิบที่ใช้มีทั้งวัตถุดิบในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ จากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการที่เป็นโรงงานทำของชำร่วยจากไม้สักเป็นหลักพบว่า ใช้วัตถุดิบในประเทศประมาณร้อยละ 20เช่น อุปกรณ์ทองเหลืองต่าง ๆ ส่วนวัตถุดิบนำเข้าจากต่างประเทศมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 80 ซึ่งประกอบด้วยไม้สักที่มีการนำเข้ามาจากพม่าและลาวโดยการซื้อผ่านเอเยนต์นำเข้าไม้โดยมีสัดส่วนการนำเข้าไม้ประมาณร้อยละ 50 ส่วนอุปกรณ์ที่นำมาใช้ประกอบ เช่น อุปกรณ์เครื่องเขียนพวกนาฬิกา ปากกา เครื่องคิดเลข เป็นต้น มีสัดส่วนการนำเข้าประมาณร้อยละ 30 โดยมีการนำเข้ามาจากไต้หวัน ญี่ปุ่น จีน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม วัตถุดิบในส่วนนี้สามารถจัดหาในประเทศได้ทั้งหมด
ส่วนโรงงานทำของชำร่วยที่ทำด้วยไม้ประเภทอื่น เช่น ไม้ยูคาลิปตัส ไม้ยางพารา เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นไม้ที่ผลิตได้ในประเทศเมีสัดส่วนการใช้วัตถุดิบในประเทศประมาณร้อยละ 80 และมีการใช้วัตถุดิบนำเข้าประมาณร้อยละ 20
โครงสร้างต้นทุนการผลิต1/
ประเภท สัดส่วน(%)
1.!วัตถุดิบ 57
-! วัตถุดิบในประเทศ 25
-! วัตถุดิบนำเข้า 32
2.!ค่าแรงงาน 30
3.!ค่าเสื่อมราคาและอื่นๆ 13
รวม 100
ที่มา: สอบถามผู้ประกอบการ1/ แตกต่างกันตามประเภทไม้ที่ใช้ กรณีนี้เป็นโครงสร้างต้นทุนการผลิตเฉลี่ยของชำร่วยที่ทำด้วยไม้สักและไม้ยูคาลิปตัส
กรรมวิธีการผลิต (เฉพาะขั้นตอนหลัก)
นำไม้ที่คัดขนาดแล้วมาอบไล่ความชื้น
|
V
เลื่อยไส ขัด แปรรูปไม้ให้ได้ขนาดตามต้องการ
|
V
ประกอบชิ้นงาน
|
V
ทำสี
|
V
ตกแต่ง อาทิ เดินคิ้วให้สวยงาม
|
V
บรรจุกล่อง รอจำหน่าย
เครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการผลิต
เครื่องจักรหลักที่ใช้ได้แก่ เครื่องเลื่อยไม้ เครื่องไสไม้ เครื่องขัดไม้ เครื่องทำคิ้ว เครื่องอบแห้ง (Dryer) เครื่องเก็บฝุ่นสำหรับเครื่องจักรงานไม้ เป็นต้น จากการสำรวจพบว่า เครื่องจักรในงานไม้ส่วนใหญ่มีการนำเข้ามาจากเยอรมนี ญี่ปุ่น ไต้หวัน อิตาลี และสหรัฐฯ เป็นต้น โดยราคาขายเครื่องจักรขึ้นกับขนาดของมอเตอร์ใช้งาน เช่น ราคาเครื่องเก็บฝุ่นสำหรับงานไม้ขนาดมอเตอร์ 7แรงม้าแบบใช้ถุงผ้าในการเก็บฝุ่นมีราคาประมาณเครื่องละ 40,000 บาท ส่วนเครื่องจักรอื่น ๆ เช่นเครื่องเลื่อยไม้ขนาดใบเลื่อย 12 นิ้วราคาประมาณ 60,000 บาท เครื่องไสไม้ขนาดใบเลื่อย 20 นิ้วราคาประมาณ 80,000 บาท เครื่องขัดแบบใช้มือขัดราคาประมาณ 30,000 บาท เครื่องทำคิ้วราคาประมาณ 40,000 บาท ทั้งนี้ขึ้นกับขนาดของการใช้งาน
การลงทุนและการเงิน
โรงงานผลิตของชำร่วยที่ทำด้วยไม้ ควรมีทำเลตั้งอยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบและแรงงาน จากการศึกษาการลงทุนในอุตสาหกรรมที่มีกำลังการผลิตประมาณ 5,000-6,000 ชิ้นต่อปี (ทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน) ต้องการเงินลงทุนประมาณ 3 ล้านบาท จำแนกเป็นเงินลงทุนในรายการหลัก ดังต่อไปนี้
เงินลงทุน
1. เงินทุนจดทะเบียนและเงินลงทุนเริ่มต้น 2,800,000 บาท
- ค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2,000,000 บาท
- ค่าเครื่องจักร 300,000 บาท
- ค่ายานพาหนะและอื่น ๆ 500,000 บาท
2. เงินทุนหมุนเวียน 200,000 บาทต่อปี
บุคลากร ธุรกิจการผลิตของชำร่วยที่ทำด้วยไม้ใช้บุคลากรประมาณ 9-10 คน ประกอบด้วย
1.!พนักงานในโรงงาน ประกอบด้วย
1.1!ช่างไม้ จำนวน 5 คน
1.2!พนักงานขับรถส่งของ จำนวน 1 คน
2. พนักงานในสำนักงานและพนักงานบริหาร จำนวน 3 คน สำหรับกรณีเป็นผู้ประกอบการรายเล็กอาจเป็นบุคคลเดียวกันคือเจ้าของกิจการ
ค่าใช้จ่ายต่อปี
ต้นทุนขาย
1.! ต้นทุนวัตถุดิบ 197,000 บาทต่อปี
-ไม้ 99,000 บาทต่อปี
- ทองเหลือง 39,000 บาทต่อปี
- อื่นๆ 59,000 บาทต่อปี
2. ต้นทุนแรงงาน 110,000 บาทต่อปี
3. ต้นทุนค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร 22,000 บาทต่อปี
4. ต้นทุนค่าโสหุ้ยการผลิต 68,000 บาทต่อปี
4.1 สาธารณูปโภค 68,000 บาทต่อปี
- ค่าน้ำ 12,000 บาทต่อปี
- ค่าไฟ 20,000 บาทต่อปี
- ค่าโทรศัพท์ 12,000 บาทต่อปี
- ค่าขนส่ง,ค่าน้ำมัน 24,000 บาทต่อปี
5. ค่าใช้จ่ายด้านอื่นๆ 20,000 บาทต่อปี
5.1 ค่าดอกเบี้ยจ่าย 20,000 บาทต่อปี
กำไรเฉลี่ย ประมาณร้อยละ 20-25 ของยอดขาย
หมายเหตุ: ปริมาณผลิตเฉลี่ย 3,400 ชิ้น ราคาเฉลี่ย 150 บาท/ชิ้น รายได้รวม 510,000 บาท
ภาคผนวก
ราคาซื้อขาย
จากการสำรวจผู้ผลิตในปี 2542 พบว่า ราคาขายส่งของชำร่วยที่ทำด้วยไม้ในปี 2542 มีราคาตั้งแต่ 70-1,000 บาท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทสินค้า และจำนวนขายสินค้า โดยส่วนใหญ่มีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 200-400 บาท เช่น
- พวงกุญแจ ราคาชิ้นละประมาณ 70 บาท สำหรับจำนวนสินค้า 100 ชิ้น
- กรอบรูปขนาด 8 นิ้ว ราคาชิ้นละประมาณ 200 บาท สำหรับจำนวนสินค้า 100 ชิ้น
- ชุดเครื่องเขียน เช่น กล่องใส่นามบัตร ปากกา ราคาประมาณ 200 บาท สำหรับจำนวนสินค้า100 ชิ้น ส่วนชุดเครื่องเขียนแบบครบชุดขนาด 10 นิ้ว ราคาประมาณชุดละ 1,000 บาท สำหรับจำนวนสินค้า 100 ชิ้น
- นาฬิกาตั้งโต๊ะขนาด 4 นิ้ว ราคาประมาณเรือนละ 500 บาท สำหรับจำนวนสินค้า 100 ชิ้น
- ตุ๊กตาแกะสลักเป็นรูปสัตว์ชนิดต่าง ๆ ขนาดประมาณ 4 นิ้ว ราคาประมาณชิ้นละ 80 บาทสำหรับจำนวนสินค้า 100 ชิ้น
ส่วนของที่ระลึกชนิดอื่น ๆ ที่ทำด้วยไม้มีราคาแตกต่างกันไปขึ้นกับชนิดไม้ ขนาด และรูปแบบของชิ้นงานแหล่งขายเครื่องจักร (ในประเทศหรือต่างประเทศ)
ตารางที่ 5 : รายชื่อผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่าย
บริษัท ที่อยู่
บ. โซเพ็ค จำกัด 51/277-278,51/487 ศูนย์การค้าไดรฟ์อิน ถ.ลาดพร้าว
บางกะปิ กทม. โทรศัพท์ 3775271,3780873
บ. ไทยพอลลูเทค จำกัด 130 ม. 4 ซ.วัดมหาวงษ์ ถ.ปู่เจ้าสมิงพราย อ.พระ
ประแดง กทม. โทรศัพท์ 3936451
บ. ไทยแอ็ดวานซ์ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด 341/13-14 ถ.เพชรเกษม 102/1 ภาษีเจริญ กทม.
โทรศัพท์ 8092452-9
บ. รีไลอันซ์ เทค-เซอร์วิส จำกัด 396 ม. 2 คลองแค ต.อ้อมน้อย อ.กระทุ่มแบน จ.
สมุทรสาคร โทรศัพท์ 4291428, 4291432
บ. ยูไนเต็ด แมชชินเนอรี่ จำกัด 20 ถ. หลานหลวง กทม โทรศัพท์ .2827140-9
ที่มา: หนังสือทำเนียบอุตสาหกรรมปี 1996 โดยบริษัท เอ ทีม แอดเวอไทซิ่ง จำกัด
ข้อมูลที่เกี่ยวกับกฎระเบียบและการขออนุญาตต่าง ๆ
1.! ด้านภาษี
ปัจจุบันกรมศุลกากรมีการปรับลดพิกัดอัตราภาษีศุลกากรขาเข้าของผลิตภัณฑ์ของชำร่วยที่ทำด้วยไม้จำพวกไม้ที่ฝังหรือประดับมุก ด้วยงาช้างหรือวัตถุอื่นๆหีบและกล่องสำหรับเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณหรือของมีคม และของที่คล้ายกัน ทำด้วยไม้ รูปแกะสลัก เครื่องประดับอื่นๆทำด้วยไม้ รวมทั้งเฟอร์นิเจอร์ ทำด้วยไม้ที่ไม่ได้จัดเข้าตอนที่ 94 ซึ่งมีรหัสฮาร์โมไนซ์คือ 4420 โดยแบ่งเป็น
- รูปแกะสลักและเครื่องประดับอื่นๆทำด้วยไม้ (รหัสฮาร์โมไนซ์ 4420.100-006) มีการปรับลดพิกัดอัตราภาษีศุลกากรขาเข้าในปี 2542จากอัตราปกติตามราคาร้อยละ 40 เหลือร้อยละ 30
- ไม้ที่ฝังหรือประดับด้วยมุก ด้วยงาช้างหรือวัตถุอื่น ๆ (รหัสฮาร์โมไนซ์ 4420.901-007) มีการปรับลดพิกัดอัตราภาษีศุลกากรขาเข้าในปี 2542 จากอัตราปกติตามราคาร้อยละ 60 เหลือร้อยละ30
- ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ทำด้วยไม้ (รหัสฮาร์โมไนซ์ 4420.909-109) มีการปรับลดพิกัดอัตราภาษีศุลกากรขาเข้าในปี 2542จากอัตราปกติตามราคาร้อยละ 40 เหลือร้อยละ 30
2. การขออนุญาตตั้งโรงงาน เป็นไปตามขั้นตอนการขออนุญาตตั้งโรงงานทั่วไป ดูรายละเอียดได้จากคู่มือการจัดตั้งโรงงานและการขอรับรองระบบคุณภาพมาตรฐาน
3. การขออนุญาตต่อทางราชการ ได้แก่
- กรมป่าไม้ ในการนำเข้าไม้ และแปรรูปไม้ ซึ่งต้องดำเนินการต่ออายุใบอนุญาตแปรรูปไม้ทุก ๆ 2 ปี การดำเนินการต่ออายุใบอนุญาตค้าสิ่งประดิษฐ์ทุก ๆ 1 ปี สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โทรศัพท์ 5614292-3
- กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เพื่อขออนุญาตดำเนินการในเรื่องฝุ่นอันเกิดจากการแปรรูปไม้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ โทรศัพท์ 5918201,5904000
- กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ในเรื่องปัญหาด้านแรงงาน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทรศัพท์ 2215140-4, 2485558
4. แหล่งข้อมูลอื่น ๆ เช่นหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนด้านเทคนิค ได้แก่
ชมรมของขวัญ ของชำร่วย และผลิตภัณฑ์ตกแต่ง ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกรมส่งเสริมการส่งออก เพื่อทำหน้าที่สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาทั้งด้านการผลิต การตลาดรวมทั้งเผยแพร่ข้อมูลต่างๆให้แก่สมาชิกและบุคคลทั่วไป สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่กองทะเบียน ชมรมฯ โทรศัพท์ 6881000ต่อ 261 (คุณปริศนา)
นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานของทางราชการที่สนับสนุนด้านแหล่งเงินกู้ให้กับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ได้แก่ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสำนักงานจังหวัดทุกแห่งทั่วประเทศ
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--