ระหว่างการประชุมรัฐมนตรีเอเปค ครั้งที่ 12 ไทยได้มีการหารือแบบสองฝ่ายกับประเทศต่างๆ ได้แก่ จีน สหรัฐฯ ฮ่องกง และเม็กซิโก ซึ่งสาระสำคัญของการหารือสรุปได้ดังนี้
1. การหารือสองฝ่ายกับจีน
1.1 จีนได้ขอทราบความเห็นของไทยเกี่ยวกับหัวข้อเรื่องของเอเปคที่ควรกำหนดสำหรับปี 2544 ซึ่งจีนเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม โดยไทยเห็นว่าควรเน้นการพัฒนากลไกสำหรับประเมินผลความคืบหน้าในการเปิดเสรีตามเป้าหมายโบกอร์ (2010/2020) ของสมาชิกเอเปค การให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนาในการเสริมสร้างขีดความสามารถในการปฏิบัติตามพันธ-กรณี WTO การลดความเหลื่อมล้ำทางเทคโนโลยีของสมาชิกเอเปคและเขตการค้าเสรี ในการนี้จีนได้แจ้งว่า จีนฮ่องกงจะบรรลุเป้าหมายโบกอร์ในปี 2010 ซึ่งน่าจะเป็นตัวอย่างให้สมาชิกอื่นๆ ปฏิบัติตามได้
1.2 เอเปคจำเป็นต้องเตรียมการสำหรับการเจรจาการค้าพหุพาคีรอบใหม่ของ WTO ซึ่งอาจจะมีขึ้นในปี 2001 ไทยเห็นว่าไม่ควรกำหนดระยะเวลาสำหรับการเจรจาการค้ารอบใหม่ โดยตั้งอยู่บนหลักการของ gradual, incremental, comprehensive and broad-based approach และควรมุ่งเน้น comprehensive results ซึ่งจะสะท้อนความต้องการของสมาชิก WTO ทุกประเทศ นอกจากนี้ควรจะมีการจัดประชุมอย่างไม่เป็นทางการโดยมีสมาชิกเข้าร่วมไม่มากนัก เพื่อหาแนวทางสำหรับการเจรจาการค้ารอบใหม่
2. การหารือสองฝ่ายกับสหรัฐฯ
2.1 สหรัฐฯ แจ้งว่าได้มีการริเริ่มโครงการยุทธศาสตร์การจับคู่ทางเศรษฐกิจ ภายใต้โครงการ Business Partnership ระหว่างไทยกับสหรัฐฯ โดยมีการประสานระหว่างหอการค้าไทยกับหอการค้าสหรัฐฯ ขณะนี้มีการจับคู่ทางธุรกิจกันมากกว่า 50 ราย ซึ่งครอบคลุมสินค้าชิ้นส่วนรถยนต์ อัญมณี และอาหาร ฯลฯ ซึ่งไทยเห็นว่าเป็นโครงการที่เป็นประโยชน์และให้การสนับสนุน
2.2 สหรัฐฯ ชักชวนให้ไทยเข้าร่วม Chemical Dialogue ภายใต้กรอบเอเปค ซึ่งไทยได้แจ้งว่าในชั้นนี้ต้องการให้การหารือเน้นการอำนวยความสะดวกทางการค้ามากกว่าการเปิดตลาดสินค้า เนื่องจากอยู่ระหว่างการฟื้นตัวจากวิกฤตเศรษฐกิจ
2.3 ไทยขอให้สหรัฐฯ พิจารณาให้ความเป็นธรรมกับไทยเกี่ยวกับปัญหาการทุ่มตลาดสินค้าสับปะรดกระป๋อง ทั้งนี้สหรัฐฯ อยู่ระหว่างการทบทวน (Sunset Review) ไทยจึงขอให้สหรัฐฯ พิจารณาด้วยความเป็นธรรม เนื่องจากสินค้าดังกล่าวของไทยมีการดำเนินการผลิตและราคาไม่แตกต่างจากสินค้าจากอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ ซึ่งไม่ถูกกีดกันจากมาตรการดังกล่าวจากสหรัฐฯ
สหรัฐฯ รับจะนำกลับไปพิจารณา และแจ้งว่าการทบทวนนี้มีกำหนดจะแล้วเสร็จในเดือนมกราคม 2001
2.4 ไทยแจ้งว่าไทยยังไม่สามารถดำเนินการตามมาตรการ TRIMs ในสินค้าผลิตภัณฑ์นม และขอขยายเวลาการปฏิบัติตามพันธกรณีในเรื่องการใช้วัตถุดิบภายในประเทศ โดยขอขยายเวลาออกไปอีก 5 ปี ทั้งนี้ ไทยจะพยายามปฏิบัติตามพันธกรณีอย่างเต็มที่
สหรัฐฯ ได้รับที่จะนำเรื่องดังกล่าวให้หน่วยงานที่รับผิดชอบพิจารณาต่อไป
3. การหารือสองฝ่ายกับฮ่องกง
3.1 การเจรจาการค้ารอบใหม่ ไทยขอให้ฮ่องกงพิจารณาเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีอย่างไม่เป็นทางการ ก่อนการประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 4 ขององค์การการค้าโลก ในปลายปี 2544 โดยเชิญประเทศที่สนใจและมีบทบาทนำบางประเทศเข้าร่วมหารือเพื่อพิจารณาเรื่องที่จะสามารถนำมาเจรจาร่วมกันได้ในขั้นต้นอันจะปูทางไปสู่การเปิดการเจรจารอบใหม่ ซึ่งฮ่องกงจะนำกลับไปพิจารณา
3.2 การจัดทำเขตการค้าเสรีในภูมิภาค ฮ่องกงแจ้งว่า เนื่องจากจำนวนบุคลากรที่มีจำกัดในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ฮ่องกงจึงเน้นให้ความสำคัญกับระบบการค้าพหุภาคี แต่ขณะนี้บรรยากาศรอบด้านได้เปลี่ยนแปลงไปจึงได้หันมาให้ความสนใจการทำเขตการค้าเสรี ซึ่งจะเป็นการช่วยส่งเสริมระบบการค้าพหุภาคีด้วยขณะนี้จึงอยู่ระหว่างการพิจารณาความเป็นไปได้ที่จะทำเขตการค้าเสรีกับนิวซีแลนด์ โดยจะมีการประชุมครั้งแรกเพื่อตัดสินใจในปลายสัปดาห์หน้า ซึ่งไทยแสดงความเห็นว่า การทำเขตการค้าเสรีเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์และสนับสนุนให้ฮ่องกงเริ่มกระบวนการดังกล่าวต่อไป
3.3 เขตการค้าเสรีอาเซียนฮ่องกงสอบถามถึงความคืบหน้าในการลดภาษีระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งไทยแจ้งว่า ดำเนินไปด้วยดี สำหรับกรณีสินค้ายานยนต์ที่มาเลเซียไม่นำเข้ามาลดภาษี ไทยก็ได้เสนอให้มีกระบวนการเจรจาที่มาเลเซียจะต้องให้ค่าชดเชย เพื่อให้ทุกประเทศยึดมั่นต่อแผนการที่ตกลงกันไว้ ซึ่งการกระทำของมาเลเซียไม่ควรถือเป็นการทำให้อาเซียนถอยหลัง เพราะแม้ภายใต้องค์การการค้าโลก ก็มีกระบวนการดังกล่าวเพื่อให้ประเทศที่ประสบปัญหามีทางออกชั่วคราวก่อนดำเนินการตามแผนการต่อไป
4. การหารือสองฝ่ายกับเม็กซิโก
เม็กซิโกได้อนุญาตให้นำเข้าข้าวไทยได้ และยอมรับว่าข้าวไทยไม่มีด้วงอิฐแต่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ให้ข้าวที่นำเข้าจากไทย ต้องผ่านการรมควันฆ่าเชื้อ ณ จุดนำเข้า ซึ่งเป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น ฝ่ายไทยจึงได้ขอให้เม็กซิโกยอมรับมาตรฐานการรมควันข้าวของไทยและเร่งแก้ไขมาตรการต่าง ๆ ที่เป็นการเลือกปฏิบัติและเป็นอุปสรรคต่อการส่งออกข้าวของไทย ซึ่งฝ่ายเม็กซิโกรับที่จะนำไปพิจารณาโดยด่วน--จบ--
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ พฤศจิกายน 2543--
-อน-
1. การหารือสองฝ่ายกับจีน
1.1 จีนได้ขอทราบความเห็นของไทยเกี่ยวกับหัวข้อเรื่องของเอเปคที่ควรกำหนดสำหรับปี 2544 ซึ่งจีนเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม โดยไทยเห็นว่าควรเน้นการพัฒนากลไกสำหรับประเมินผลความคืบหน้าในการเปิดเสรีตามเป้าหมายโบกอร์ (2010/2020) ของสมาชิกเอเปค การให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนาในการเสริมสร้างขีดความสามารถในการปฏิบัติตามพันธ-กรณี WTO การลดความเหลื่อมล้ำทางเทคโนโลยีของสมาชิกเอเปคและเขตการค้าเสรี ในการนี้จีนได้แจ้งว่า จีนฮ่องกงจะบรรลุเป้าหมายโบกอร์ในปี 2010 ซึ่งน่าจะเป็นตัวอย่างให้สมาชิกอื่นๆ ปฏิบัติตามได้
1.2 เอเปคจำเป็นต้องเตรียมการสำหรับการเจรจาการค้าพหุพาคีรอบใหม่ของ WTO ซึ่งอาจจะมีขึ้นในปี 2001 ไทยเห็นว่าไม่ควรกำหนดระยะเวลาสำหรับการเจรจาการค้ารอบใหม่ โดยตั้งอยู่บนหลักการของ gradual, incremental, comprehensive and broad-based approach และควรมุ่งเน้น comprehensive results ซึ่งจะสะท้อนความต้องการของสมาชิก WTO ทุกประเทศ นอกจากนี้ควรจะมีการจัดประชุมอย่างไม่เป็นทางการโดยมีสมาชิกเข้าร่วมไม่มากนัก เพื่อหาแนวทางสำหรับการเจรจาการค้ารอบใหม่
2. การหารือสองฝ่ายกับสหรัฐฯ
2.1 สหรัฐฯ แจ้งว่าได้มีการริเริ่มโครงการยุทธศาสตร์การจับคู่ทางเศรษฐกิจ ภายใต้โครงการ Business Partnership ระหว่างไทยกับสหรัฐฯ โดยมีการประสานระหว่างหอการค้าไทยกับหอการค้าสหรัฐฯ ขณะนี้มีการจับคู่ทางธุรกิจกันมากกว่า 50 ราย ซึ่งครอบคลุมสินค้าชิ้นส่วนรถยนต์ อัญมณี และอาหาร ฯลฯ ซึ่งไทยเห็นว่าเป็นโครงการที่เป็นประโยชน์และให้การสนับสนุน
2.2 สหรัฐฯ ชักชวนให้ไทยเข้าร่วม Chemical Dialogue ภายใต้กรอบเอเปค ซึ่งไทยได้แจ้งว่าในชั้นนี้ต้องการให้การหารือเน้นการอำนวยความสะดวกทางการค้ามากกว่าการเปิดตลาดสินค้า เนื่องจากอยู่ระหว่างการฟื้นตัวจากวิกฤตเศรษฐกิจ
2.3 ไทยขอให้สหรัฐฯ พิจารณาให้ความเป็นธรรมกับไทยเกี่ยวกับปัญหาการทุ่มตลาดสินค้าสับปะรดกระป๋อง ทั้งนี้สหรัฐฯ อยู่ระหว่างการทบทวน (Sunset Review) ไทยจึงขอให้สหรัฐฯ พิจารณาด้วยความเป็นธรรม เนื่องจากสินค้าดังกล่าวของไทยมีการดำเนินการผลิตและราคาไม่แตกต่างจากสินค้าจากอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ ซึ่งไม่ถูกกีดกันจากมาตรการดังกล่าวจากสหรัฐฯ
สหรัฐฯ รับจะนำกลับไปพิจารณา และแจ้งว่าการทบทวนนี้มีกำหนดจะแล้วเสร็จในเดือนมกราคม 2001
2.4 ไทยแจ้งว่าไทยยังไม่สามารถดำเนินการตามมาตรการ TRIMs ในสินค้าผลิตภัณฑ์นม และขอขยายเวลาการปฏิบัติตามพันธกรณีในเรื่องการใช้วัตถุดิบภายในประเทศ โดยขอขยายเวลาออกไปอีก 5 ปี ทั้งนี้ ไทยจะพยายามปฏิบัติตามพันธกรณีอย่างเต็มที่
สหรัฐฯ ได้รับที่จะนำเรื่องดังกล่าวให้หน่วยงานที่รับผิดชอบพิจารณาต่อไป
3. การหารือสองฝ่ายกับฮ่องกง
3.1 การเจรจาการค้ารอบใหม่ ไทยขอให้ฮ่องกงพิจารณาเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีอย่างไม่เป็นทางการ ก่อนการประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 4 ขององค์การการค้าโลก ในปลายปี 2544 โดยเชิญประเทศที่สนใจและมีบทบาทนำบางประเทศเข้าร่วมหารือเพื่อพิจารณาเรื่องที่จะสามารถนำมาเจรจาร่วมกันได้ในขั้นต้นอันจะปูทางไปสู่การเปิดการเจรจารอบใหม่ ซึ่งฮ่องกงจะนำกลับไปพิจารณา
3.2 การจัดทำเขตการค้าเสรีในภูมิภาค ฮ่องกงแจ้งว่า เนื่องจากจำนวนบุคลากรที่มีจำกัดในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ฮ่องกงจึงเน้นให้ความสำคัญกับระบบการค้าพหุภาคี แต่ขณะนี้บรรยากาศรอบด้านได้เปลี่ยนแปลงไปจึงได้หันมาให้ความสนใจการทำเขตการค้าเสรี ซึ่งจะเป็นการช่วยส่งเสริมระบบการค้าพหุภาคีด้วยขณะนี้จึงอยู่ระหว่างการพิจารณาความเป็นไปได้ที่จะทำเขตการค้าเสรีกับนิวซีแลนด์ โดยจะมีการประชุมครั้งแรกเพื่อตัดสินใจในปลายสัปดาห์หน้า ซึ่งไทยแสดงความเห็นว่า การทำเขตการค้าเสรีเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์และสนับสนุนให้ฮ่องกงเริ่มกระบวนการดังกล่าวต่อไป
3.3 เขตการค้าเสรีอาเซียนฮ่องกงสอบถามถึงความคืบหน้าในการลดภาษีระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งไทยแจ้งว่า ดำเนินไปด้วยดี สำหรับกรณีสินค้ายานยนต์ที่มาเลเซียไม่นำเข้ามาลดภาษี ไทยก็ได้เสนอให้มีกระบวนการเจรจาที่มาเลเซียจะต้องให้ค่าชดเชย เพื่อให้ทุกประเทศยึดมั่นต่อแผนการที่ตกลงกันไว้ ซึ่งการกระทำของมาเลเซียไม่ควรถือเป็นการทำให้อาเซียนถอยหลัง เพราะแม้ภายใต้องค์การการค้าโลก ก็มีกระบวนการดังกล่าวเพื่อให้ประเทศที่ประสบปัญหามีทางออกชั่วคราวก่อนดำเนินการตามแผนการต่อไป
4. การหารือสองฝ่ายกับเม็กซิโก
เม็กซิโกได้อนุญาตให้นำเข้าข้าวไทยได้ และยอมรับว่าข้าวไทยไม่มีด้วงอิฐแต่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ให้ข้าวที่นำเข้าจากไทย ต้องผ่านการรมควันฆ่าเชื้อ ณ จุดนำเข้า ซึ่งเป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น ฝ่ายไทยจึงได้ขอให้เม็กซิโกยอมรับมาตรฐานการรมควันข้าวของไทยและเร่งแก้ไขมาตรการต่าง ๆ ที่เป็นการเลือกปฏิบัติและเป็นอุปสรรคต่อการส่งออกข้าวของไทย ซึ่งฝ่ายเม็กซิโกรับที่จะนำไปพิจารณาโดยด่วน--จบ--
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ พฤศจิกายน 2543--
-อน-