ฐานะการคลังในไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณ ขาดดุลเงินสด 18.0 พันล้านบาท ทำให้ขาดดุลเงินสดสะสมในช่วงครึ่งแรก ของปีงบประมาณทั้งสิ้น 78.8 พันล้านบาท หรือประมาณครึ่งหนึ่ง ของที่คาดว่าจะขาดดุลทั้งปี รายได้ขยายตัวเล็กน้อย มีผลมาจากการนำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคลกลางปีก่อนที่เลื่อนมานำส่งในไตรมาสนี้ รายจ่ายของรัฐบาลในไตรมาสที่ 2 เป็นไปตามเป้าหมายโดยมีจำนวนทั้งสิ้น 193.3 พันล้านบาท ชะลอตัวลงเล็กน้อยตามปัจจัยฤดูกาล ขณะที่รายจ่ายตามโครงการมิยาซาวามีจำนวน 6.0 พันล้านบาท ในไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณ 2543 (มกราคม | มีนาคม 2543) รัฐบาลขาดดุล เงินสดลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าตามปัจจัยฤดูกาลที่รายจ่ายชะลอตัว ในขณะที่รายได้เร่งตัวขึ้น ดุลเงินสดในไตรมาสที่ 2 ขาดดุลรวม 18.0 พันล้านบาท แบ่งเป็นการขาดดุลในงบประมาณ 13.6 พันล้านบาท และดุลนอกงบประมาณขาดดุล 4.4 พันล้านบาท รวมรายจ่ายโครงการเงินกู้มิยาซาวาเบิกจ่ายได้ 6.0 พันล้านบาท
ในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2543 (ตุลาคม 2542 | มีนาคม 2543) รัฐบาล ขาดดุลเงินสดทั้งสิ้น 78.8 พันล้านบาท รวมรายจ่ายโครงการเงินกู้มิยาซาวาที่เบิกจ่ายได้ 11.6 พันล้านบาท ทำให้ ณ สิ้นมีนาคม 2543 รัฐบาลขาดดุลเงินสดครึ่งหนึ่งของที่คาดว่าจะขาดดุลทั้งปี
ฐานะการคลังปีงบประมาณ 2543
(พันล้านบาท)
ไตรมาสที่ 2(ม.ค. - มี.ค. 43) ปีงบประมาณ 2543(ต.ค. 42 - มี.ค. 43)
รายได้ 180.3 345.8
(4% จากระยะเดียวกันปีก่อน) (0.4) (1.1)
รายจ่าย 193.9 415.8
(4 % จากระยะเดียวกันปีก่อน) (5.7) (5.6)
ปีงบประมาณปัจจุบัน 163.0 340.5
ปีงบประมาณก่อน 30.3 74.6
เงินคงคลัง 0.6 0.8
ดุลในงบประมาณ -13.6 -70.1
ดุลนอกงบประมาณ -4.4 -8.7
ดุลเงินสด -18.0 -78.8
รายได้
ในไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณ 2543 รายได้นำส่งคลังมีจำนวน 180.3 พันล้าน บาท ขยายตัวเล็กน้อยประมาณร้อยละ 0.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน และสูงขึ้นจากไตรมาสก่อน ถึงร้อยละ 9.0 เนื่องจากมีการนำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคลกลางปีก่อน ที่ถูกเลื่อนมาชำระในไตรมาสนี้ จำนวน 17.0 พันล้านบาท ส่วนภาษีจากฐานการบริโภคในส่วนของภาษีมูลค่าเพิ่ม ลดลงเนื่องจาก มีการชะลอการนำเข้าสินค้าตั้งแต่กลางเดือนธันวาคมเป็นต้นมา หลังจากที่ได้เร่งนำเข้าในช่วงก่อนหน้า เนื่องจากความวิตกกังวลในปัญหา Y2K ตลอดจนมีการปรับลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม จากร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 7 ตั้งแต่ วันที่ 1 เมษายน 2542
ตลอดครึ่งปีงบประมาณ 2543 รัฐบาลจัดเก็บรายได้ตามเกณฑ์เงินสดรวมทั้งสิ้น 345.8 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีงบประมาณก่อนร้อยละ 1.1 แม้ว่าจะมีการปรับลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มลง จากร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 7 เมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2542 เริ่มสะท้อนให้เห็นภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะภาษีจากฐานการค้าระหว่างประเทศและฐานการบริโภคจากภาษีสรรพสามิต อย่างไรก็ดี อัตราดอกเบี้ยและการปรับอัตราอากรขาเข้าตามรายการต่าง ๆ ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการจัดเก็บรายได้ในช่วงต่อไป สำหรับรายละเอียดของรายได้ภาษีแต่ละประเภทที่สำคัญ มีดังนี้
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาลดลงถึงร้อยละ 21.1 เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลดลงต่ำมาก และมาตรการที่ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้สุทธิในช่วง 50,000 บาทแรก ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542
ภาษีเงินได้นิติบุคคลปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 9.1 โดยจัดเก็บได้จากบริษัทนอกตลาด หลักทรัพย์เป็นสำคัญ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากมาตรการช่วยเหลือสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการ ได้แก่ การเลื่อนระยะเวลาการชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี การเร่งคืนภาษีเงินได้ ตลอดจน การให้ความอนุเคราะห์ทางการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยแก่กิจการอุตสาหกรรมขนาดย่อม ส่งผลให้กิจการบางส่วนเริ่มฟื้นตัวดีขึ้น
ภาษีมูลค่าเพิ่มลดลงร้อยละ 1.9 เป็นผลมาจากการปรับลดอัตราการจัดเก็บภาษี มูลค่าเพิ่มจากร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 7 เป็นระยะเวลาสองปี นับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2542 อย่างไรก็ดี ถ้าขจัดผลของการปรับลดอัตราภาษีดังกล่าว ทำให้การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มมีแนวโน้มสูงขึ้นตามการขยายตัวของการบริโภค
ภาษีสรรพสามิตและอากรขาเข้าปรับตัวสูงขึ้น ร้อยละ 3.5 และ 37.5 ตามลำดับ เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ลดลงต่ำมาก จึงกระตุ้นการใช้จ่ายและการนำเข้าสินค้ามากขึ้น
รายได้ที่มิใช่ภาษีอากรขยายตัวร้อยละ 3.0 เนื่องจากมีการชำระคืนต้นเงินกู้ของ องค์กรบางแห่ง ได้แก่ บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์
รายได้รัฐบาล
(พันล้านบาท)
2541 2542 ปีงบประมาณ 2543
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2E สะสมครึ่งปี E
รายได้ทั้งหมด 727.4 709.9 165.4 180.3 345.8
(-13.8) (-2.4) (1.9) (0.4) (1.1)
ภาษี 649.4 620.1 141.2 166.3 307.5
(-14.4) (-4.5) (3.9) (-1.5) (0.9)
ฐานรายได้ 248.9 234.4 37.0 64.2 101.2
(-19.5) (-5.8) (-21.7) (-2.6) (-10.6)
บุคคลธรรมดา 118.9 101.2 19.1 27.3 46.5
(6.6) (-14.8) (-32.7) (-10.3) (-21.1)
นิติบุคคล 90.8 101.3 13.1 30.9 44.0
(-43.1) (11.6) (5.2) (10.9) (9.1)
ฐานการบริโภค 162.3 319.3 82.2 82.3 164.5
(17.2) (-4.6) (11.4) (-5.8) (2.1)
ฐานการบริโภค 162.3 131.9 35.8 35.0 70.8
(17.2) (-18.7) (22.8) (-18.7) (-1.9)
สรรพสามิต 152.4 163.6 41.6 41.4 83.0
(-14.2) (7.3) (3.5) (3.4) (3.5)
ฐานการค้าระหว่าง 65.7 66.4 22.0 19.8 41.8
(-36.5) (1.0) (47.3) (28.0) (37.5)
รายได้อื่น 78.0 89.8 24.3 14.0 38.3
(-8.6) (15.2) (-8.0) (29.6) (3.0)
รายจ่าย
รายจ่ายของรัฐบาลในไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณ เป็นไปตามเป้าหมายโดยมี รายจ่ายทั้งสิ้น 193.9 พันล้านบาท ลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 12.6 ตามปัจจัยฤดูปกติที่ รายจ่ายจะชะลอตัวลงในไตรมาสที่ 2 ทั้งนี้ จำแนกเป็นรายจ่ายจากปีงบประมาณปีปัจจุบันและ ปีก่อน ๆ 163.0 และ 30.9 พันล้านบาท ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีงบประมาณก่อนแล้ว รายจ่ายรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 โดยรายจ่ายปีงบประมาณปัจจุบันที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.1 เนื่องจากในช่วงต้นปีงบประมาณก่อนมีการเข้มงวดการเบิกจ่าย
สำหรับรายจ่ายจากมาตรการเพิ่มค่าใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (โครงการ เงินกู้มิยาซาวา) ในไตรมาสที่ 2 มีจำนวน 6.0 พันล้านบาท ทำให้ครึ่งแรกของปีงบประมาณเบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 11.6 พันล้านบาท และรัฐบาลจะสามารถเบิกจ่ายได้อีกประมาณ 9.4 พันล้านบาท ในช่วงที่เหลือของปีงบประมาณ
โดยรวมภาพรวมการเบิกจ่ายในครึ่งแรกของปีงบประมาณมีทั้งสิ้น 415.8 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 5.6 เป็นผลจากการเร่งตัวของการเบิกจ่ายจากงบประมาณปีปัจจุบันที่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.1 โดยมีอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 39.9 ขณะที่รายจ่ายจากงบประมาณปีก่อนลดลง ร้อยละ 21.1 จากการควบคุมงบประมาณในปีงบประมาณก่อน
สำหรับรายจ่ายจำแนกตามลักษณะเศรษฐกิจในช่วง 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2543 ปรากฏว่ารายจ่ายประจำเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 12.8 เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 38.1 โดยเฉพาะรายจ่ายเงินเดือนและค่าจ้างและการซื้อสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นเพียง ร้อยละ 2.7 และ 2.7 ตามลำดับ แสดงถึงการควบคุมรายจ่ายประจำที่มีประสิทธิภาพของรัฐบาล ขณะที่รายจ่ายลงทุนขยายตัวลดลงร้อยละ 9.5 เนื่องจากการเบิกจ่ายจากงบประมาณปีก่อน ๆ ลดลงตามขนาดของวงเงินงบประมาณรายจ่ายที่ถูกควบคุมในช่วงปี 2541 และ 2542 ทำให้เหลือ วงเงินรายจ่ายลงทุนจากปีก่อนลดลง
รายจ่ายรัฐบาลในช่วง 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2543
จำแนกตามลักษณะเศรษฐกิจ
(พันล้านบาท)
2541 2542 2543
รายจ่ายจริง 168.3 263.7 281.4
รายจ่ายประจำ 138.8 191.7 216.3
(4%) (-21.4) (38.1) (12.8)
เงินเดือนและค่าจ้าง 89.8 97.0 99.6
ซื้อสินค้าและบริการ 26.0 45.0 46.1
รายจ่ายลงทุน 29.5 72.0 65.1
(4%) (-73.5) (143.5) (-9.5)
การสะสมทุนของรัฐบาล 25.1 63.4 54.5
รายจ่ายจำแนกตามลักษณะงาน มีลักษณะใกล้เคียงกับปีงบประมาณก่อน ทั้งนี้ พบว่ารายจ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ ยังคงขยายตัวร้อยละ 17.3 ต่อเนื่องจากงบประมาณก่อน เนื่องจากมีรายจ่ายดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลที่ออกเพื่อแก้ไขปัญหาสถาบันการเงิน จำนวน 17.7 พันล้านบาท ในช่วง 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ นอกจากนี้ มีข้อน่าสังเกตว่าการใช้จ่ายของ รัฐบาลด้านสังคมเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยรายจ่ายการสังคมสงเคราะห์และการศึกษาเพิ่มขึ้นร้อยละ 30 และ 5.1 ต่อเนื่องจากปีก่อน
รายจ่ายรัฐบาลในช่วง 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2543
จำแนกตามลักษณะงาน
(พันล้านบาท)
2541 2542 2543
การบริหารทั่วไป 60.5 58.5 59.6
(4%) (-13.1) (-3.2) (1.8)
การบริการชุมชน 110.6 119.5 123.7
(4%) (-1.8) (8.1) (3.5)
การศึกษา 64.3 71.5 75.1
การสังคมสงเคราะห์ 11.5 14.9 19.4
การเศรษฐกิจ 71.1 54.6 61.8
(4%) (-18.0) (-23.2) (13.2)
อื่น ๆ 20.9 31.0 36.3
(4%) (9.7) (48.2) (17.3)
รวม 263.1 263.7 281.4
(4%) (-8.6) (0.2) (6.7)
การรับจ่ายเงินกู้ ในไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณ 2543 รัฐบาลได้ออกพันธบัตร ออมทรัพย์เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณจำนวน 10 พันล้านบาท และมีตั๋วเงินคลังคงค้างจำนวน 13 พันล้านบาท ลดลงสุทธิ จำนวน 12 พันล้านบาทจากไตรมาสก่อน นอกจากนี้รัฐบาลยังได้ออกพันธบัตรเพื่อเพิ่มทุนสถาบันการเงิน (พันธบัตร Tier 2) สำหรับธนาคาร DBS ไทยทนุ และบริษัทเงินทุนธนชาติ จำกัด จำนวน 1.1 พันล้านบาท ด้านการไถ่ถอนพันธบัตรมีจำนวน 2.2 พันล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นพันธบัตร Tier 1 จำนวน 0.5 พันล้านบาท และมีการชำระคืนเงินกู้ต่างประเทศอีกจำนวน 1.6 พันล้านบาท
โดยรวมครึ่งปีงบประมาณนี้ มีการออกพันธบัตรออมทรัพย์และตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อ ชดเชยการขาดดุลเงินสดจำนวน 20 และ 15 พันล้านบาท ตามลำดับ ส่วนตั๋วเงินคลังลดลงสุทธิ 2 พันล้านบาท จากสิ้นปีงบประมาณก่อน ในขณะที่มีการออกพันธบัตร Tier 1 และ Tier 2 จำนวน ทั้งสิ้น 5.9 และ 4.7 พันล้านบาท ตามลำดับ สำหรับการไถ่ถอนพันธบัตรมีจำนวน 3 พันล้านบาท เป็นพันธบัตร Tier 1 จำนวน 0.5 พันล้านบาท ส่วนการชำระคืนต้นเงินกู้ต่างประเทศมีจำนวน 2.8 พันล้านบาท (รัฐบาลมีวงเงินเหลือสำหรับการออกพันธบัตรออมทรัพย์ ตั๋วสัญญาใช้เงินหรือ ตั๋วเงินคลังสุทธิเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ สำหรับครึ่งปีงบประมาณหลังอีกจำนวน 62 พันล้านบาท)
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ในช่วงครึ่งแรกของปีงบประมาณ 2543 (ตุลาคม 2542 | มีนาคม 2543) รัฐบาล ขาดดุลเงินสดทั้งสิ้น 78.8 พันล้านบาท รวมรายจ่ายโครงการเงินกู้มิยาซาวาที่เบิกจ่ายได้ 11.6 พันล้านบาท ทำให้ ณ สิ้นมีนาคม 2543 รัฐบาลขาดดุลเงินสดครึ่งหนึ่งของที่คาดว่าจะขาดดุลทั้งปี
ฐานะการคลังปีงบประมาณ 2543
(พันล้านบาท)
ไตรมาสที่ 2(ม.ค. - มี.ค. 43) ปีงบประมาณ 2543(ต.ค. 42 - มี.ค. 43)
รายได้ 180.3 345.8
(4% จากระยะเดียวกันปีก่อน) (0.4) (1.1)
รายจ่าย 193.9 415.8
(4 % จากระยะเดียวกันปีก่อน) (5.7) (5.6)
ปีงบประมาณปัจจุบัน 163.0 340.5
ปีงบประมาณก่อน 30.3 74.6
เงินคงคลัง 0.6 0.8
ดุลในงบประมาณ -13.6 -70.1
ดุลนอกงบประมาณ -4.4 -8.7
ดุลเงินสด -18.0 -78.8
รายได้
ในไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณ 2543 รายได้นำส่งคลังมีจำนวน 180.3 พันล้าน บาท ขยายตัวเล็กน้อยประมาณร้อยละ 0.4 จากระยะเดียวกันปีก่อน และสูงขึ้นจากไตรมาสก่อน ถึงร้อยละ 9.0 เนื่องจากมีการนำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคลกลางปีก่อน ที่ถูกเลื่อนมาชำระในไตรมาสนี้ จำนวน 17.0 พันล้านบาท ส่วนภาษีจากฐานการบริโภคในส่วนของภาษีมูลค่าเพิ่ม ลดลงเนื่องจาก มีการชะลอการนำเข้าสินค้าตั้งแต่กลางเดือนธันวาคมเป็นต้นมา หลังจากที่ได้เร่งนำเข้าในช่วงก่อนหน้า เนื่องจากความวิตกกังวลในปัญหา Y2K ตลอดจนมีการปรับลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม จากร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 7 ตั้งแต่ วันที่ 1 เมษายน 2542
ตลอดครึ่งปีงบประมาณ 2543 รัฐบาลจัดเก็บรายได้ตามเกณฑ์เงินสดรวมทั้งสิ้น 345.8 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีงบประมาณก่อนร้อยละ 1.1 แม้ว่าจะมีการปรับลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มลง จากร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 7 เมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2542 เริ่มสะท้อนให้เห็นภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะภาษีจากฐานการค้าระหว่างประเทศและฐานการบริโภคจากภาษีสรรพสามิต อย่างไรก็ดี อัตราดอกเบี้ยและการปรับอัตราอากรขาเข้าตามรายการต่าง ๆ ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการจัดเก็บรายได้ในช่วงต่อไป สำหรับรายละเอียดของรายได้ภาษีแต่ละประเภทที่สำคัญ มีดังนี้
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาลดลงถึงร้อยละ 21.1 เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลดลงต่ำมาก และมาตรการที่ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้สุทธิในช่วง 50,000 บาทแรก ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542
ภาษีเงินได้นิติบุคคลปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 9.1 โดยจัดเก็บได้จากบริษัทนอกตลาด หลักทรัพย์เป็นสำคัญ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากมาตรการช่วยเหลือสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการ ได้แก่ การเลื่อนระยะเวลาการชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี การเร่งคืนภาษีเงินได้ ตลอดจน การให้ความอนุเคราะห์ทางการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยแก่กิจการอุตสาหกรรมขนาดย่อม ส่งผลให้กิจการบางส่วนเริ่มฟื้นตัวดีขึ้น
ภาษีมูลค่าเพิ่มลดลงร้อยละ 1.9 เป็นผลมาจากการปรับลดอัตราการจัดเก็บภาษี มูลค่าเพิ่มจากร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 7 เป็นระยะเวลาสองปี นับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2542 อย่างไรก็ดี ถ้าขจัดผลของการปรับลดอัตราภาษีดังกล่าว ทำให้การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มมีแนวโน้มสูงขึ้นตามการขยายตัวของการบริโภค
ภาษีสรรพสามิตและอากรขาเข้าปรับตัวสูงขึ้น ร้อยละ 3.5 และ 37.5 ตามลำดับ เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ลดลงต่ำมาก จึงกระตุ้นการใช้จ่ายและการนำเข้าสินค้ามากขึ้น
รายได้ที่มิใช่ภาษีอากรขยายตัวร้อยละ 3.0 เนื่องจากมีการชำระคืนต้นเงินกู้ของ องค์กรบางแห่ง ได้แก่ บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์
รายได้รัฐบาล
(พันล้านบาท)
2541 2542 ปีงบประมาณ 2543
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2E สะสมครึ่งปี E
รายได้ทั้งหมด 727.4 709.9 165.4 180.3 345.8
(-13.8) (-2.4) (1.9) (0.4) (1.1)
ภาษี 649.4 620.1 141.2 166.3 307.5
(-14.4) (-4.5) (3.9) (-1.5) (0.9)
ฐานรายได้ 248.9 234.4 37.0 64.2 101.2
(-19.5) (-5.8) (-21.7) (-2.6) (-10.6)
บุคคลธรรมดา 118.9 101.2 19.1 27.3 46.5
(6.6) (-14.8) (-32.7) (-10.3) (-21.1)
นิติบุคคล 90.8 101.3 13.1 30.9 44.0
(-43.1) (11.6) (5.2) (10.9) (9.1)
ฐานการบริโภค 162.3 319.3 82.2 82.3 164.5
(17.2) (-4.6) (11.4) (-5.8) (2.1)
ฐานการบริโภค 162.3 131.9 35.8 35.0 70.8
(17.2) (-18.7) (22.8) (-18.7) (-1.9)
สรรพสามิต 152.4 163.6 41.6 41.4 83.0
(-14.2) (7.3) (3.5) (3.4) (3.5)
ฐานการค้าระหว่าง 65.7 66.4 22.0 19.8 41.8
(-36.5) (1.0) (47.3) (28.0) (37.5)
รายได้อื่น 78.0 89.8 24.3 14.0 38.3
(-8.6) (15.2) (-8.0) (29.6) (3.0)
รายจ่าย
รายจ่ายของรัฐบาลในไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณ เป็นไปตามเป้าหมายโดยมี รายจ่ายทั้งสิ้น 193.9 พันล้านบาท ลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 12.6 ตามปัจจัยฤดูปกติที่ รายจ่ายจะชะลอตัวลงในไตรมาสที่ 2 ทั้งนี้ จำแนกเป็นรายจ่ายจากปีงบประมาณปีปัจจุบันและ ปีก่อน ๆ 163.0 และ 30.9 พันล้านบาท ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีงบประมาณก่อนแล้ว รายจ่ายรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 โดยรายจ่ายปีงบประมาณปัจจุบันที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.1 เนื่องจากในช่วงต้นปีงบประมาณก่อนมีการเข้มงวดการเบิกจ่าย
สำหรับรายจ่ายจากมาตรการเพิ่มค่าใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (โครงการ เงินกู้มิยาซาวา) ในไตรมาสที่ 2 มีจำนวน 6.0 พันล้านบาท ทำให้ครึ่งแรกของปีงบประมาณเบิกจ่ายได้ทั้งสิ้น 11.6 พันล้านบาท และรัฐบาลจะสามารถเบิกจ่ายได้อีกประมาณ 9.4 พันล้านบาท ในช่วงที่เหลือของปีงบประมาณ
โดยรวมภาพรวมการเบิกจ่ายในครึ่งแรกของปีงบประมาณมีทั้งสิ้น 415.8 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 5.6 เป็นผลจากการเร่งตัวของการเบิกจ่ายจากงบประมาณปีปัจจุบันที่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.1 โดยมีอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 39.9 ขณะที่รายจ่ายจากงบประมาณปีก่อนลดลง ร้อยละ 21.1 จากการควบคุมงบประมาณในปีงบประมาณก่อน
สำหรับรายจ่ายจำแนกตามลักษณะเศรษฐกิจในช่วง 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2543 ปรากฏว่ารายจ่ายประจำเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 12.8 เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 38.1 โดยเฉพาะรายจ่ายเงินเดือนและค่าจ้างและการซื้อสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นเพียง ร้อยละ 2.7 และ 2.7 ตามลำดับ แสดงถึงการควบคุมรายจ่ายประจำที่มีประสิทธิภาพของรัฐบาล ขณะที่รายจ่ายลงทุนขยายตัวลดลงร้อยละ 9.5 เนื่องจากการเบิกจ่ายจากงบประมาณปีก่อน ๆ ลดลงตามขนาดของวงเงินงบประมาณรายจ่ายที่ถูกควบคุมในช่วงปี 2541 และ 2542 ทำให้เหลือ วงเงินรายจ่ายลงทุนจากปีก่อนลดลง
รายจ่ายรัฐบาลในช่วง 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2543
จำแนกตามลักษณะเศรษฐกิจ
(พันล้านบาท)
2541 2542 2543
รายจ่ายจริง 168.3 263.7 281.4
รายจ่ายประจำ 138.8 191.7 216.3
(4%) (-21.4) (38.1) (12.8)
เงินเดือนและค่าจ้าง 89.8 97.0 99.6
ซื้อสินค้าและบริการ 26.0 45.0 46.1
รายจ่ายลงทุน 29.5 72.0 65.1
(4%) (-73.5) (143.5) (-9.5)
การสะสมทุนของรัฐบาล 25.1 63.4 54.5
รายจ่ายจำแนกตามลักษณะงาน มีลักษณะใกล้เคียงกับปีงบประมาณก่อน ทั้งนี้ พบว่ารายจ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ ยังคงขยายตัวร้อยละ 17.3 ต่อเนื่องจากงบประมาณก่อน เนื่องจากมีรายจ่ายดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลที่ออกเพื่อแก้ไขปัญหาสถาบันการเงิน จำนวน 17.7 พันล้านบาท ในช่วง 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ นอกจากนี้ มีข้อน่าสังเกตว่าการใช้จ่ายของ รัฐบาลด้านสังคมเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยรายจ่ายการสังคมสงเคราะห์และการศึกษาเพิ่มขึ้นร้อยละ 30 และ 5.1 ต่อเนื่องจากปีก่อน
รายจ่ายรัฐบาลในช่วง 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2543
จำแนกตามลักษณะงาน
(พันล้านบาท)
2541 2542 2543
การบริหารทั่วไป 60.5 58.5 59.6
(4%) (-13.1) (-3.2) (1.8)
การบริการชุมชน 110.6 119.5 123.7
(4%) (-1.8) (8.1) (3.5)
การศึกษา 64.3 71.5 75.1
การสังคมสงเคราะห์ 11.5 14.9 19.4
การเศรษฐกิจ 71.1 54.6 61.8
(4%) (-18.0) (-23.2) (13.2)
อื่น ๆ 20.9 31.0 36.3
(4%) (9.7) (48.2) (17.3)
รวม 263.1 263.7 281.4
(4%) (-8.6) (0.2) (6.7)
การรับจ่ายเงินกู้ ในไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณ 2543 รัฐบาลได้ออกพันธบัตร ออมทรัพย์เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณจำนวน 10 พันล้านบาท และมีตั๋วเงินคลังคงค้างจำนวน 13 พันล้านบาท ลดลงสุทธิ จำนวน 12 พันล้านบาทจากไตรมาสก่อน นอกจากนี้รัฐบาลยังได้ออกพันธบัตรเพื่อเพิ่มทุนสถาบันการเงิน (พันธบัตร Tier 2) สำหรับธนาคาร DBS ไทยทนุ และบริษัทเงินทุนธนชาติ จำกัด จำนวน 1.1 พันล้านบาท ด้านการไถ่ถอนพันธบัตรมีจำนวน 2.2 พันล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นพันธบัตร Tier 1 จำนวน 0.5 พันล้านบาท และมีการชำระคืนเงินกู้ต่างประเทศอีกจำนวน 1.6 พันล้านบาท
โดยรวมครึ่งปีงบประมาณนี้ มีการออกพันธบัตรออมทรัพย์และตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อ ชดเชยการขาดดุลเงินสดจำนวน 20 และ 15 พันล้านบาท ตามลำดับ ส่วนตั๋วเงินคลังลดลงสุทธิ 2 พันล้านบาท จากสิ้นปีงบประมาณก่อน ในขณะที่มีการออกพันธบัตร Tier 1 และ Tier 2 จำนวน ทั้งสิ้น 5.9 และ 4.7 พันล้านบาท ตามลำดับ สำหรับการไถ่ถอนพันธบัตรมีจำนวน 3 พันล้านบาท เป็นพันธบัตร Tier 1 จำนวน 0.5 พันล้านบาท ส่วนการชำระคืนต้นเงินกู้ต่างประเทศมีจำนวน 2.8 พันล้านบาท (รัฐบาลมีวงเงินเหลือสำหรับการออกพันธบัตรออมทรัพย์ ตั๋วสัญญาใช้เงินหรือ ตั๋วเงินคลังสุทธิเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ สำหรับครึ่งปีงบประมาณหลังอีกจำนวน 62 พันล้านบาท)
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-