กรุงเทพฯ--9 พ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ตามที่มีหนังสือพิมพ์บางฉบับได้รายงานว่า การเดินทางเยือนพม่าอย่างเป็นทางการของดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกาคต่างประเทศระหว่างวันที่ 1-2 พฤษภาคม 2544 ประสบความล้มเหลว โดยรายงานว่า ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้โทรศัพท์ทางไกลจากกรุงย่างกุ้งมาถึง พต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ระหว่างการเยือนเพื่อรายงานผลการเยือนที่ไม่ประสบผลสำเร็จและยังรายงานอีกว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมีกำหนดการเข้าเยี่ยมคารวะ พลเอกอาวุโส ตัน ฉ่วย ประธานสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐของพม่าในวันที่ 2 พฤษภาคม นั้น
กระทรวงการต่างประเทศขอเรียนชึ้แจงจข้อเท็จจริงต่อสื่อมวลชนดังนี้
1. ดร.สุรเกียรติ์ฯ ไม่ได้โทรศัพท์ทางไกลจากกรุงย่างกุ้งมาถึงนายกรัฐมนตรีตามรายงานข่าวแต่อย่างใด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้รายงานผลการเยือนให้นายกรัฐมนตรีทราบเมื่อเดินทางกลับมาถึงประเทศไทยแล้วในวันที่ 3 พฤษภาคม 2544
2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทสไม่ได้เข้าเยี่ยมคารวะ พลเอกอาวุโส ตัน ฉ่วย ในวันที่ 2 พฤษภาคม ตามรายงานข่าว รัฐมนตรีสุรเกียรติ์ฯ ได้พบกับพลเอกอาวุโส ตันฉ่วย พร้อมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอาเซียนเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2544
3. การเยือนพม่าครั้งนี้ มีความคืบหน้าในประเด็นที่ฝ่ายไทยให้ความสำคัญเป็นลำดับแรกคือการปราบปรามยาเสพติด ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวหลังจากที่เดินทางกลับประเทศไทยว่า นอกจากการเข้าพบอย่างเป็นทางการกับฝ่ายพม่าแล้ว ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้เข้าพบนายวิน อ่อง รัฐมนตรีต่างประเทศพม่า และพลโทขิ่น ยุ้น เลขาธิการคนที่ 1 สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐของพม่าเป็นการส่วนตัวสองต่อสอง ซึ่งระหว่างการเข้าพบได้มีการหยิบยกและหารือปัญหาต่าง ๆ อย่างจริงใจ และทำให้มีความเชื่อมั่นว่าผู้นำสูงสุดของพม่ามีความจริงใจที่จะร่วมมือกับฝ่ายไทยในปัญหายาเสพติด
4. พม่าเห็นด้วยในหลักการที่จะมีการจัดทำบันทึกความเข้าใจ 2 ฝ่าย (MOU) ไทย-พม่า โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของพม่ากำลังพิจารณาร่างบันทึกที่ฝ่ายไทยเสนอซึ่งจะได้มีการหารือกับฝ่ายไทยในโอกาสต่อไป นอกจากนี้ พม่าเห็นด้วยที่จะมีความร่วมมือ 3 ฝ่าย ไทย-จีน-พม่า ในเรื่อกงารปราบปรามยาเสพติดและให้เจัาหน้าที่ประสานช่วงเวลาที่มีการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศของทั้ง 3 ประเทศในโอกาสต่อไป
5. ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงให้จัดการประชุมคณะกรรมาธิการร่วม (Joint Commission-JC) ซึ่งมิได้มีการประชุมมาเกือบ 2 ปี ซึ่งครั้งสุดท้ายฝ่ายพม่าเป็นเจ้าภาพ ดังนั้น ในครั้งต่อไปไทยจะรับเป็นเจ้าภาพ และดร. สุรเกียรติ์ฯ ใด้เชิญรัฐมนตรีต่างประเทศพม่าเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการก่อนหรือหลังการประชุมคณะกรรมาธิการร่วม ซึ่งรัฐมนตรีวิน อ่อง ตอบรับคำเชิญ
6. ทั้งสองฝ่ายตกลงว่าจะมีการประชุมคณะกรรมการเขตแดนร่วมไทย-พม่า (Thai-Myanmar Joint Boundary Committee-JBC) ซึ่งเป็นการประชุมระดับรัฐมนตรีช่วยว่าการกะทรวงการต่างประเทศ แต่เนื่องจากในปัจจุบันไทยไม่มีรัฐมนตรีช่วยว่าการ ดร.สุรเกียรติ์ฯ จึงแต่งตั้ง ดร.ประชา คุณะเกษม ที่ปรึกษาอาวุโสของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นหัวหน้าคณะฝ่ายไทยในการเจรจาครั้งนี้
จึงเรียนมาเพื่อสื่อมวลชนรับทราบข้อเท็จจริงดังกล่าว เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
ตามที่มีหนังสือพิมพ์บางฉบับได้รายงานว่า การเดินทางเยือนพม่าอย่างเป็นทางการของดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกาคต่างประเทศระหว่างวันที่ 1-2 พฤษภาคม 2544 ประสบความล้มเหลว โดยรายงานว่า ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้โทรศัพท์ทางไกลจากกรุงย่างกุ้งมาถึง พต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ระหว่างการเยือนเพื่อรายงานผลการเยือนที่ไม่ประสบผลสำเร็จและยังรายงานอีกว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมีกำหนดการเข้าเยี่ยมคารวะ พลเอกอาวุโส ตัน ฉ่วย ประธานสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐของพม่าในวันที่ 2 พฤษภาคม นั้น
กระทรวงการต่างประเทศขอเรียนชึ้แจงจข้อเท็จจริงต่อสื่อมวลชนดังนี้
1. ดร.สุรเกียรติ์ฯ ไม่ได้โทรศัพท์ทางไกลจากกรุงย่างกุ้งมาถึงนายกรัฐมนตรีตามรายงานข่าวแต่อย่างใด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้รายงานผลการเยือนให้นายกรัฐมนตรีทราบเมื่อเดินทางกลับมาถึงประเทศไทยแล้วในวันที่ 3 พฤษภาคม 2544
2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทสไม่ได้เข้าเยี่ยมคารวะ พลเอกอาวุโส ตัน ฉ่วย ในวันที่ 2 พฤษภาคม ตามรายงานข่าว รัฐมนตรีสุรเกียรติ์ฯ ได้พบกับพลเอกอาวุโส ตันฉ่วย พร้อมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอาเซียนเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2544
3. การเยือนพม่าครั้งนี้ มีความคืบหน้าในประเด็นที่ฝ่ายไทยให้ความสำคัญเป็นลำดับแรกคือการปราบปรามยาเสพติด ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวหลังจากที่เดินทางกลับประเทศไทยว่า นอกจากการเข้าพบอย่างเป็นทางการกับฝ่ายพม่าแล้ว ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้เข้าพบนายวิน อ่อง รัฐมนตรีต่างประเทศพม่า และพลโทขิ่น ยุ้น เลขาธิการคนที่ 1 สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐของพม่าเป็นการส่วนตัวสองต่อสอง ซึ่งระหว่างการเข้าพบได้มีการหยิบยกและหารือปัญหาต่าง ๆ อย่างจริงใจ และทำให้มีความเชื่อมั่นว่าผู้นำสูงสุดของพม่ามีความจริงใจที่จะร่วมมือกับฝ่ายไทยในปัญหายาเสพติด
4. พม่าเห็นด้วยในหลักการที่จะมีการจัดทำบันทึกความเข้าใจ 2 ฝ่าย (MOU) ไทย-พม่า โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของพม่ากำลังพิจารณาร่างบันทึกที่ฝ่ายไทยเสนอซึ่งจะได้มีการหารือกับฝ่ายไทยในโอกาสต่อไป นอกจากนี้ พม่าเห็นด้วยที่จะมีความร่วมมือ 3 ฝ่าย ไทย-จีน-พม่า ในเรื่อกงารปราบปรามยาเสพติดและให้เจัาหน้าที่ประสานช่วงเวลาที่มีการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศของทั้ง 3 ประเทศในโอกาสต่อไป
5. ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงให้จัดการประชุมคณะกรรมาธิการร่วม (Joint Commission-JC) ซึ่งมิได้มีการประชุมมาเกือบ 2 ปี ซึ่งครั้งสุดท้ายฝ่ายพม่าเป็นเจ้าภาพ ดังนั้น ในครั้งต่อไปไทยจะรับเป็นเจ้าภาพ และดร. สุรเกียรติ์ฯ ใด้เชิญรัฐมนตรีต่างประเทศพม่าเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการก่อนหรือหลังการประชุมคณะกรรมาธิการร่วม ซึ่งรัฐมนตรีวิน อ่อง ตอบรับคำเชิญ
6. ทั้งสองฝ่ายตกลงว่าจะมีการประชุมคณะกรรมการเขตแดนร่วมไทย-พม่า (Thai-Myanmar Joint Boundary Committee-JBC) ซึ่งเป็นการประชุมระดับรัฐมนตรีช่วยว่าการกะทรวงการต่างประเทศ แต่เนื่องจากในปัจจุบันไทยไม่มีรัฐมนตรีช่วยว่าการ ดร.สุรเกียรติ์ฯ จึงแต่งตั้ง ดร.ประชา คุณะเกษม ที่ปรึกษาอาวุโสของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นหัวหน้าคณะฝ่ายไทยในการเจรจาครั้งนี้
จึงเรียนมาเพื่อสื่อมวลชนรับทราบข้อเท็จจริงดังกล่าว เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-