1. สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องโดยรวมในเดือนตุลาคมต่อเนื่องถึงกลางเดือนพฤศจิกายนอยู่ในระดับสูง อัตราดอกเบี้ยตลาดเงินทรงตัวอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตรา ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ 4 แห่งไม่มีการเปลี่ยนแปลง ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย(Interest Differences)ของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยและสาขาธนาคารพาณิชย์ ต่างประเทศเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 3 สภาพคล่องของระบบการเงินโดยรวม ในช่วงเดือนตุลาคมต่อเนื่องถึงกลางเดือนพฤศจิกายน 2543 อยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงวันหยุด สุดสัปดาห์ติดต่อกัน และในช่วงสิ้นเดือน
อัตราดอกเบี้ยตลาดเงินโดยเฉลี่ย ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าเพียงเล็กน้อย และยังคงทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ย Interbank เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.89 ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรอายุ 1 วันเฉลี่ยอยู่ที่ ร้อยละ 1.26 ต่อปีในเดือนตุลาคม ณ วันที่ 27 พฤศจิกายน 2543 อัตราดอกเบี้ยตลาดเงินตึงตัวขึ้นเล็กน้อย โดยได้รับผลกระทบจากการที่สภาพคล่องเงินบาทในตลาด Off-shore ตึงตัวในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้อัตราดอกเบี้ย Interbank เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.81 ต่อปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรอายุ 1 วันอยู่ที่ ร้อยละ 1.50 ต่อปี
อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ อัตราดอกเบี้ย เงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของ 4 ธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ ณ สิ้นเดือนตุลาคม ทรงตัวอยู่ในระดับเดียวกับเดือนที่ผ่านมา โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ ร้อยละ 3.00 และ 7.75 ต่อปี ตามลำดับ
อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ที่แท้จริง อัตรา ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนที่แท้จริงและอัตราดอกเบี้ย เงินให้กู้ยืม MLR ที่แท้จริงของ 4 ธนาคารพาณิชย์ไทย ขนาดใหญ่ ในเดือนตุลาคม ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 1.30 และ 6.05 ต่อปีตามลำดับ เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อปรับลดลง
สำหรับส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของระบบธนาคารพาณิชย์ เมื่อคำนวณจากรายได้ดอกเบี้ยเงินให้ สินเชื่อและรายจ่ายดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ รวมทั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์ (AMC) ที่อยู่ในเครือ พบว่า ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2543 ระบบธนาคารพาณิชย์ไทย มีส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงเท่ากับร้อยละ 1.57 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.23 ต่อปี ในไตรมาสที่ 2 โดยส่วนหนึ่ง เป็นผลจากการที่ธนาคารพาณิชย์ไทยโอนสินเชื่อไปยัง AMCs จำนวนประมาณ 550 พันล้านบาท ในเดือนกันยายน ส่วนสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศมีส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง เท่ากับร้อยละ 4.30 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.08 ต่อปี ในไตรมาสที่ 2 สะท้อนให้เห็นถึงผลประกอบการที่ดีขึ้นของ สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศโดยรวม
เงินฝากและสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ ในเดือนตุลาคม เงินฝากและสินเชื่อธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า เงินฝากธนาคารพาณิชย์ ในเดือนตุลาคม 2543 มียอดคงค้างเพิ่มขึ้นจำนวน 58.7 พันล้านบาท คิดเป็นการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับเดือนกันยายน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของเงินฝากรัฐวิสาหกิจ นอกจากนี้ ธุรกิจ เอกชนนำเงินที่ได้รับชำระจากการจำหน่ายหุ้นมาฝากไว้ที่ระบบธนาคารพาณิชย์
เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เงินฝากธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นจำนวน 159.1 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.4 ต่อปี
สินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์ (คำนวณสินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจด้วยอัตราแลกเปลี่ยนคงที่) เพิ่มขึ้นจำนวน 30.3 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.7 เมื่อเทียบกับเดือนกันยายน โดยสินเชื่อที่ไม่ใช่กิจการวิเทศธนกิจเพิ่มขึ้นจำนวน 34.0 พันล้านบาท และสินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจลดลงจำนวน 3.7 พันล้านบาท
อนึ่ง เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน สินเชื่อรวมลดลงจำนวน 558.6 พันล้านบาท คิดเป็นการลดลงร้อยละ 10.8 ต่อปี สาเหตุสำคัญของการปรับลดลงของสินเชื่อ ได้แก่ การที่ธนาคารพาณิชย์ตัดหนี้สูญและโอนสินเชื่อด้อยคุณภาพไปยัง AMCs ในช่วงที่ผ่านมา
สินเชื่อที่ไม่ใช่กิจการวิเทศธนกิจ (Non-BIBF) เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ลดลง 437.8 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 9.1 ต่อปี สำหรับ สินเชื่อกิจการ วิเทศธนกิจ (BIBF) ที่แปลงค่าเป็นเงินบาทด้วยอัตรา แลกเปลี่ยนคงที่ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2540 ลดลง 120.8 พันล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 33.2 เมื่อเทียบกับระยะ เดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ เป็นผลจากการที่ภาคเอกชน ชำระคืนหนี้ต่างประเทศอย่างต่อเนื่องในช่วงระยะเวลา ที่ผ่านมา
ภาวะการเงิน
1. สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องโดยรวมในเดือนตุลาคมต่อเนื่องถึงกลางเดือนพฤศจิกายนอยู่ในระดับสูง อัตราดอกเบี้ยตลาดเงินทรงตัวอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตรา ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ 4 แห่งไม่มีการเปลี่ยนแปลง ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย(Interest Differences)ของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยและสาขาธนาคารพาณิชย์ ต่างประเทศเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 3 สภาพคล่องของระบบการเงินโดยรวม ในช่วงเดือนตุลาคมต่อเนื่องถึงกลางเดือนพฤศจิกายน 2543 อยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงวันหยุด สุดสัปดาห์ติดต่อกัน และในช่วงสิ้นเดือน
อัตราดอกเบี้ยตลาดเงินโดยเฉลี่ย ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าเพียงเล็กน้อย และยังคงทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ย Interbank เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.89 ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรอายุ 1 วันเฉลี่ยอยู่ที่ ร้อยละ 1.26 ต่อปีในเดือนตุลาคม ณ วันที่ 27 พฤศจิกายน 2543 อัตราดอกเบี้ยตลาดเงินตึงตัวขึ้นเล็กน้อย โดยได้รับผลกระทบจากการที่สภาพคล่องเงินบาทในตลาด Off-shore ตึงตัวในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้อัตราดอกเบี้ย Interbank เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.81 ต่อปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรอายุ 1 วันอยู่ที่ ร้อยละ 1.50 ต่อปี
อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ อัตราดอกเบี้ย เงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของ 4 ธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ ณ สิ้นเดือนตุลาคม ทรงตัวอยู่ในระดับเดียวกับเดือนที่ผ่านมา โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ ร้อยละ 3.00 และ 7.75 ต่อปี ตามลำดับ
อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ที่แท้จริง อัตรา ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนที่แท้จริงและอัตราดอกเบี้ย เงินให้กู้ยืม MLR ที่แท้จริงของ 4 ธนาคารพาณิชย์ไทย ขนาดใหญ่ ในเดือนตุลาคม ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 1.30 และ 6.05 ต่อปีตามลำดับ เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อปรับลดลง
สำหรับส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของระบบธนาคารพาณิชย์ เมื่อคำนวณจากรายได้ดอกเบี้ยเงินให้ สินเชื่อและรายจ่ายดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ รวมทั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์ (AMC) ที่อยู่ในเครือ พบว่า ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2543 ระบบธนาคารพาณิชย์ไทย มีส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงเท่ากับร้อยละ 1.57 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.23 ต่อปี ในไตรมาสที่ 2 โดยส่วนหนึ่ง เป็นผลจากการที่ธนาคารพาณิชย์ไทยโอนสินเชื่อไปยัง AMCs จำนวนประมาณ 550 พันล้านบาท ในเดือนกันยายน ส่วนสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศมีส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง เท่ากับร้อยละ 4.30 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.08 ต่อปี ในไตรมาสที่ 2 สะท้อนให้เห็นถึงผลประกอบการที่ดีขึ้นของ สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศโดยรวม
2. เงินฝากและสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ ในเดือนตุลาคม เงินฝากและสินเชื่อธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า เงินฝากธนาคารพาณิชย์ ในเดือนตุลาคม 2543 มียอดคงค้างเพิ่มขึ้นจำนวน 58.7 พันล้านบาท คิดเป็นการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับเดือนกันยายน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของเงินฝากรัฐวิสาหกิจ นอกจากนี้ ธุรกิจ เอกชนนำเงินที่ได้รับชำระจากการจำหน่ายหุ้นมาฝากไว้ที่ระบบธนาคารพาณิชย์
เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เงินฝากธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นจำนวน 159.1 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.4 ต่อปี
สินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์ (คำนวณสินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจด้วยอัตราแลกเปลี่ยนคงที่) เพิ่มขึ้นจำนวน 30.3 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.7 เมื่อเทียบกับเดือนกันยายน โดยสินเชื่อที่ไม่ใช่กิจการวิเทศธนกิจเพิ่มขึ้นจำนวน 34.0 พันล้านบาท และสินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจลดลงจำนวน 3.7 พันล้านบาท
อนึ่ง เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน สินเชื่อรวมลดลงจำนวน 558.6 พันล้านบาท คิดเป็นการลดลงร้อยละ 10.8 ต่อปี สาเหตุสำคัญของการปรับลดลงของสินเชื่อ ได้แก่ การที่ธนาคารพาณิชย์ตัดหนี้สูญและโอนสินเชื่อด้อยคุณภาพไปยัง AMCs ในช่วงที่ผ่านมา
สินเชื่อที่ไม่ใช่กิจการวิเทศธนกิจ (Non-BIBF) เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ลดลง 437.8 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 9.1 ต่อปี สำหรับ สินเชื่อกิจการ วิเทศธนกิจ (BIBF) ที่แปลงค่าเป็นเงินบาทด้วยอัตรา แลกเปลี่ยนคงที่ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2540 ลดลง 120.8 พันล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 33.2 เมื่อเทียบกับระยะ เดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ เป็นผลจากการที่ภาคเอกชน ชำระคืนหนี้ต่างประเทศอย่างต่อเนื่องในช่วงระยะเวลา ที่ผ่านมา
3. ฐานเงินและปริมาณเงิน
ฐานเงินมียอดคงค้างเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้ฐานเงินเพิ่มขึ้น ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของสินเชื่อสุทธิที่ให้กับภาครัฐ ปริมาณเงิน M2A และ M3 เพิ่มขึ้น ตามการปรับเพิ่มของเงินฝากภาคเอกชนที่ระบบธนาคารพาณิชย์ ฐานเงิน ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2543 เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0 ต่อปี โดยมียอดคงค้างเพิ่มขึ้นจำนวน 45.6 พันล้านบาท จากระยะเดียวกันของปีก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนกันยายน ฐานเงินมียอดคงค้างเพิ่มขึ้น 22.1 พันล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของเงินฝากสถาบันการเงินที่ธปท.
ปัจจัยด้านอุปทานที่สำคัญที่ทำให้ฐานเงินเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับเดือนกันยายน ได้แก่ สินเชื่อสุทธิที่ให้กับภาครัฐ เพิ่มขึ้น 51.1 พันล้านบาท ส่วนใหญ่เนื่องจากเงินฝากรัฐบาลที่ธปท.ลดลง จากการที่รัฐบาลต้องไถ่ถอนพันธบัตรที่ครบ กำหนดจำนวนหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม สินเชื่อสุทธิที่ให้กับสถาบันการเงินลดลง 32.9 พันล้านบาท ส่วนหนึ่งเป็นเพราะธปท.ลดการให้กู้ยืมผ่านตลาดซื้อคืนพันธบัตร
ปริมาณเงิน M2A ในระบบธนาคารและบริษัทเงินทุน เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 3.2 ต่อปี ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2543 และมียอดคงค้างเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนประมาณ 164.6 พันล้านบาท โดยองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ปริมาณเงิน เพิ่มขึ้น คือ เงินฝากที่ระบบธนาคารพาณิชย์ปรับเพิ่มขึ้น
สำหรับปริมาณเงิน M3 ในระบบธนาคาร บริษัทเงินทุนและสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2543 (ข้อมูลล่าสุด) ขยายตัวในอัตราร้อยละ 3.4 ต่อปี ตามการ เพิ่มขึ้นของเงินฝากที่ระบบธนาคารพาณิชย์เป็นสำคัญ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
สภาพคล่องโดยรวมในเดือนตุลาคมต่อเนื่องถึงกลางเดือนพฤศจิกายนอยู่ในระดับสูง อัตราดอกเบี้ยตลาดเงินทรงตัวอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตรา ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ 4 แห่งไม่มีการเปลี่ยนแปลง ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย(Interest Differences)ของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยและสาขาธนาคารพาณิชย์ ต่างประเทศเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 3 สภาพคล่องของระบบการเงินโดยรวม ในช่วงเดือนตุลาคมต่อเนื่องถึงกลางเดือนพฤศจิกายน 2543 อยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงวันหยุด สุดสัปดาห์ติดต่อกัน และในช่วงสิ้นเดือน
อัตราดอกเบี้ยตลาดเงินโดยเฉลี่ย ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าเพียงเล็กน้อย และยังคงทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ย Interbank เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.89 ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรอายุ 1 วันเฉลี่ยอยู่ที่ ร้อยละ 1.26 ต่อปีในเดือนตุลาคม ณ วันที่ 27 พฤศจิกายน 2543 อัตราดอกเบี้ยตลาดเงินตึงตัวขึ้นเล็กน้อย โดยได้รับผลกระทบจากการที่สภาพคล่องเงินบาทในตลาด Off-shore ตึงตัวในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้อัตราดอกเบี้ย Interbank เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.81 ต่อปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรอายุ 1 วันอยู่ที่ ร้อยละ 1.50 ต่อปี
อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ อัตราดอกเบี้ย เงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของ 4 ธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ ณ สิ้นเดือนตุลาคม ทรงตัวอยู่ในระดับเดียวกับเดือนที่ผ่านมา โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ ร้อยละ 3.00 และ 7.75 ต่อปี ตามลำดับ
อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ที่แท้จริง อัตรา ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนที่แท้จริงและอัตราดอกเบี้ย เงินให้กู้ยืม MLR ที่แท้จริงของ 4 ธนาคารพาณิชย์ไทย ขนาดใหญ่ ในเดือนตุลาคม ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 1.30 และ 6.05 ต่อปีตามลำดับ เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อปรับลดลง
สำหรับส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของระบบธนาคารพาณิชย์ เมื่อคำนวณจากรายได้ดอกเบี้ยเงินให้ สินเชื่อและรายจ่ายดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ รวมทั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์ (AMC) ที่อยู่ในเครือ พบว่า ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2543 ระบบธนาคารพาณิชย์ไทย มีส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงเท่ากับร้อยละ 1.57 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.23 ต่อปี ในไตรมาสที่ 2 โดยส่วนหนึ่ง เป็นผลจากการที่ธนาคารพาณิชย์ไทยโอนสินเชื่อไปยัง AMCs จำนวนประมาณ 550 พันล้านบาท ในเดือนกันยายน ส่วนสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศมีส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง เท่ากับร้อยละ 4.30 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.08 ต่อปี ในไตรมาสที่ 2 สะท้อนให้เห็นถึงผลประกอบการที่ดีขึ้นของ สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศโดยรวม
เงินฝากและสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ ในเดือนตุลาคม เงินฝากและสินเชื่อธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า เงินฝากธนาคารพาณิชย์ ในเดือนตุลาคม 2543 มียอดคงค้างเพิ่มขึ้นจำนวน 58.7 พันล้านบาท คิดเป็นการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับเดือนกันยายน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของเงินฝากรัฐวิสาหกิจ นอกจากนี้ ธุรกิจ เอกชนนำเงินที่ได้รับชำระจากการจำหน่ายหุ้นมาฝากไว้ที่ระบบธนาคารพาณิชย์
เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เงินฝากธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นจำนวน 159.1 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.4 ต่อปี
สินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์ (คำนวณสินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจด้วยอัตราแลกเปลี่ยนคงที่) เพิ่มขึ้นจำนวน 30.3 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.7 เมื่อเทียบกับเดือนกันยายน โดยสินเชื่อที่ไม่ใช่กิจการวิเทศธนกิจเพิ่มขึ้นจำนวน 34.0 พันล้านบาท และสินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจลดลงจำนวน 3.7 พันล้านบาท
อนึ่ง เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน สินเชื่อรวมลดลงจำนวน 558.6 พันล้านบาท คิดเป็นการลดลงร้อยละ 10.8 ต่อปี สาเหตุสำคัญของการปรับลดลงของสินเชื่อ ได้แก่ การที่ธนาคารพาณิชย์ตัดหนี้สูญและโอนสินเชื่อด้อยคุณภาพไปยัง AMCs ในช่วงที่ผ่านมา
สินเชื่อที่ไม่ใช่กิจการวิเทศธนกิจ (Non-BIBF) เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ลดลง 437.8 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 9.1 ต่อปี สำหรับ สินเชื่อกิจการ วิเทศธนกิจ (BIBF) ที่แปลงค่าเป็นเงินบาทด้วยอัตรา แลกเปลี่ยนคงที่ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2540 ลดลง 120.8 พันล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 33.2 เมื่อเทียบกับระยะ เดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ เป็นผลจากการที่ภาคเอกชน ชำระคืนหนี้ต่างประเทศอย่างต่อเนื่องในช่วงระยะเวลา ที่ผ่านมา
ภาวะการเงิน
1. สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องโดยรวมในเดือนตุลาคมต่อเนื่องถึงกลางเดือนพฤศจิกายนอยู่ในระดับสูง อัตราดอกเบี้ยตลาดเงินทรงตัวอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตรา ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ 4 แห่งไม่มีการเปลี่ยนแปลง ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย(Interest Differences)ของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยและสาขาธนาคารพาณิชย์ ต่างประเทศเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 3 สภาพคล่องของระบบการเงินโดยรวม ในช่วงเดือนตุลาคมต่อเนื่องถึงกลางเดือนพฤศจิกายน 2543 อยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงวันหยุด สุดสัปดาห์ติดต่อกัน และในช่วงสิ้นเดือน
อัตราดอกเบี้ยตลาดเงินโดยเฉลี่ย ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าเพียงเล็กน้อย และยังคงทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ย Interbank เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.89 ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรอายุ 1 วันเฉลี่ยอยู่ที่ ร้อยละ 1.26 ต่อปีในเดือนตุลาคม ณ วันที่ 27 พฤศจิกายน 2543 อัตราดอกเบี้ยตลาดเงินตึงตัวขึ้นเล็กน้อย โดยได้รับผลกระทบจากการที่สภาพคล่องเงินบาทในตลาด Off-shore ตึงตัวในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้อัตราดอกเบี้ย Interbank เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.81 ต่อปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรอายุ 1 วันอยู่ที่ ร้อยละ 1.50 ต่อปี
อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ อัตราดอกเบี้ย เงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของ 4 ธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ ณ สิ้นเดือนตุลาคม ทรงตัวอยู่ในระดับเดียวกับเดือนที่ผ่านมา โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ ร้อยละ 3.00 และ 7.75 ต่อปี ตามลำดับ
อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ที่แท้จริง อัตรา ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนที่แท้จริงและอัตราดอกเบี้ย เงินให้กู้ยืม MLR ที่แท้จริงของ 4 ธนาคารพาณิชย์ไทย ขนาดใหญ่ ในเดือนตุลาคม ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 1.30 และ 6.05 ต่อปีตามลำดับ เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อปรับลดลง
สำหรับส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของระบบธนาคารพาณิชย์ เมื่อคำนวณจากรายได้ดอกเบี้ยเงินให้ สินเชื่อและรายจ่ายดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ รวมทั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์ (AMC) ที่อยู่ในเครือ พบว่า ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2543 ระบบธนาคารพาณิชย์ไทย มีส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงเท่ากับร้อยละ 1.57 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.23 ต่อปี ในไตรมาสที่ 2 โดยส่วนหนึ่ง เป็นผลจากการที่ธนาคารพาณิชย์ไทยโอนสินเชื่อไปยัง AMCs จำนวนประมาณ 550 พันล้านบาท ในเดือนกันยายน ส่วนสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศมีส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง เท่ากับร้อยละ 4.30 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.08 ต่อปี ในไตรมาสที่ 2 สะท้อนให้เห็นถึงผลประกอบการที่ดีขึ้นของ สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศโดยรวม
2. เงินฝากและสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ ในเดือนตุลาคม เงินฝากและสินเชื่อธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า เงินฝากธนาคารพาณิชย์ ในเดือนตุลาคม 2543 มียอดคงค้างเพิ่มขึ้นจำนวน 58.7 พันล้านบาท คิดเป็นการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับเดือนกันยายน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของเงินฝากรัฐวิสาหกิจ นอกจากนี้ ธุรกิจ เอกชนนำเงินที่ได้รับชำระจากการจำหน่ายหุ้นมาฝากไว้ที่ระบบธนาคารพาณิชย์
เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เงินฝากธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นจำนวน 159.1 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.4 ต่อปี
สินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์ (คำนวณสินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจด้วยอัตราแลกเปลี่ยนคงที่) เพิ่มขึ้นจำนวน 30.3 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.7 เมื่อเทียบกับเดือนกันยายน โดยสินเชื่อที่ไม่ใช่กิจการวิเทศธนกิจเพิ่มขึ้นจำนวน 34.0 พันล้านบาท และสินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจลดลงจำนวน 3.7 พันล้านบาท
อนึ่ง เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน สินเชื่อรวมลดลงจำนวน 558.6 พันล้านบาท คิดเป็นการลดลงร้อยละ 10.8 ต่อปี สาเหตุสำคัญของการปรับลดลงของสินเชื่อ ได้แก่ การที่ธนาคารพาณิชย์ตัดหนี้สูญและโอนสินเชื่อด้อยคุณภาพไปยัง AMCs ในช่วงที่ผ่านมา
สินเชื่อที่ไม่ใช่กิจการวิเทศธนกิจ (Non-BIBF) เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ลดลง 437.8 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 9.1 ต่อปี สำหรับ สินเชื่อกิจการ วิเทศธนกิจ (BIBF) ที่แปลงค่าเป็นเงินบาทด้วยอัตรา แลกเปลี่ยนคงที่ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2540 ลดลง 120.8 พันล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 33.2 เมื่อเทียบกับระยะ เดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ เป็นผลจากการที่ภาคเอกชน ชำระคืนหนี้ต่างประเทศอย่างต่อเนื่องในช่วงระยะเวลา ที่ผ่านมา
3. ฐานเงินและปริมาณเงิน
ฐานเงินมียอดคงค้างเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้ฐานเงินเพิ่มขึ้น ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของสินเชื่อสุทธิที่ให้กับภาครัฐ ปริมาณเงิน M2A และ M3 เพิ่มขึ้น ตามการปรับเพิ่มของเงินฝากภาคเอกชนที่ระบบธนาคารพาณิชย์ ฐานเงิน ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2543 เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0 ต่อปี โดยมียอดคงค้างเพิ่มขึ้นจำนวน 45.6 พันล้านบาท จากระยะเดียวกันของปีก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนกันยายน ฐานเงินมียอดคงค้างเพิ่มขึ้น 22.1 พันล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของเงินฝากสถาบันการเงินที่ธปท.
ปัจจัยด้านอุปทานที่สำคัญที่ทำให้ฐานเงินเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับเดือนกันยายน ได้แก่ สินเชื่อสุทธิที่ให้กับภาครัฐ เพิ่มขึ้น 51.1 พันล้านบาท ส่วนใหญ่เนื่องจากเงินฝากรัฐบาลที่ธปท.ลดลง จากการที่รัฐบาลต้องไถ่ถอนพันธบัตรที่ครบ กำหนดจำนวนหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม สินเชื่อสุทธิที่ให้กับสถาบันการเงินลดลง 32.9 พันล้านบาท ส่วนหนึ่งเป็นเพราะธปท.ลดการให้กู้ยืมผ่านตลาดซื้อคืนพันธบัตร
ปริมาณเงิน M2A ในระบบธนาคารและบริษัทเงินทุน เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 3.2 ต่อปี ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2543 และมียอดคงค้างเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนประมาณ 164.6 พันล้านบาท โดยองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ปริมาณเงิน เพิ่มขึ้น คือ เงินฝากที่ระบบธนาคารพาณิชย์ปรับเพิ่มขึ้น
สำหรับปริมาณเงิน M3 ในระบบธนาคาร บริษัทเงินทุนและสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2543 (ข้อมูลล่าสุด) ขยายตัวในอัตราร้อยละ 3.4 ต่อปี ตามการ เพิ่มขึ้นของเงินฝากที่ระบบธนาคารพาณิชย์เป็นสำคัญ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-