ดอกกล้วยไม้สดเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย โดยไทยมีรายได้จากการส่งออกดอกกล้วยไม้สดสูงถึงปีละกว่า 1 พันล้านบาท ปัจจุบันไทยส่งออกดอกกล้วยไม้สดไปญี่ปุ่นมากที่สุด รองลงมา คือ สหรัฐอเมริกา อิตาลี ไต้หวัน และเนเธอร์แลนด์ ตามลำดับ แม้ว่าไทยจะส่งออกดอกกล้วยไม้สดไปสหรัฐฯ มากเป็นอันดับสองรองจากญี่ปุ่น แต่สหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกดอกกล้วยไม้สดที่น่าสนใจของไทย
สหรัฐฯ มีอุตสาหกรรมไม้ตัดดอกขนาดใหญ่มากเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากเนเธอร์แลนด์ อย่างไรก็ตาม สหรัฐฯ ยังต้องนำเข้าดอกกล้วยไม้สดเป็นจำนวนมากในแต่ละปี เพราะไม่สามารถปลูกกล้วยไม้ได้เองเนื่องจากสภาพภูมิอากาศที่หนาวเย็น ไม่เอื้ออำนวยต่อการปลูกกล้วยไม้ซึ่งเป็นพืชที่ขยายพันธุ์ได้ดีในสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้น
ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ไทยส่งออกดอกกล้วยไม้สดไปสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ จากเพียง 62.0 ล้านบาทในปี 2539 เพิ่มเป็น 231.7 ล้านบาทในปี 2543 สำหรับช่วงครึ่งแรกของปี 2544 นี้ ไทยส่งออกดอกกล้วยไม้สดไปสหรัฐฯ เป็นมูลค่า 170.3 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 75 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ปัจจุบันไทยครองส่วนแบ่งตลาดดอกกล้วยไม้สดในสหรัฐฯ มากเป็นอันดับ 1
สำหรับผู้ส่งออกไทยที่สนใจจะส่งออกดอกกล้วยไม้สดไปสหรัฐฯ ควรทราบกฎระเบียบที่สำคัญเกี่ยวกับการนำเข้าดอกกล้วยไม้สดของสหรัฐฯ ซึ่งมีรายละเอียดพอสรุปได้ดังนี้
1. ภาษีนำเข้า ดอกกล้วยไม้สดของไทยได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (Generalized System of Preferences: GSP) จากสหรัฐฯ โดยสหรัฐฯ ยกเว้นการเรียกเก็บภาษีนำเข้าดอกกล้วยไม้สดจากไทย
2. สหรัฐฯ เป็นสมาชิกอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศเกี่ยวกับสัตว์ป่าและพืชพรรณจากป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ (Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora: CITES) ดังนั้น ในการนำเข้าสินค้า สหรัฐฯ จึงต้องยึดหลักการตามอนุสัญญา CITES โดยสหรัฐฯ ห้ามนำเข้าพืชและสัตว์หายากเพื่อป้องกันไม่ให้สูญพันธุ์ไปจากโลก แต่เนื่องจากดอกกล้วยไม้สดของไทยที่ส่งออกเกิดจากการผสมพันธุ์เทียม กล่าวคือ ต้นกล้วยไม้ได้จากการเพาะเมล็ดหรือเกิดจากการขยายส่วนใดส่วนหนึ่งของต้น ราก หรือดอกของต้นเดิม ดังนั้น ดอกกล้วยไม้สดจากไทยจึงสามารถนำเข้าในตลาดสหรัฐฯ ได้
3. ใบอนุญาตส่งออกและนำเข้าพืชอนุรักษ์ ในกรณีที่ดอกกล้วยไม้สดชนิดที่ไทยส่งออกอยู่ในรายการพืชควบคุมขององค์กร CITES ผู้ส่งออกไทยต้องขอใบอนุญาตส่งออกพืชอนุรักษ์จากองค์กร CITES ในไทย (CITES Export Permit) และผู้นำเข้าดอกกล้วยไม้สดในสหรัฐฯ ต้องขอใบอนุญาตนำเข้าพืชอนุรักษ์จากองค์กร CITES ในสหรัฐฯ (CITES Import Permit) ก่อนการนำเข้า โดยผู้นำเข้าต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นเงิน 70 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อการขอใบอนุญาตนำเข้า 1 ใบ โดยใบอนุญาตนำเข้าแต่ละใบมีอายุ 2 ปีนับจากวันที่ออกใบอนุญาตนั้น
4. ใบอนุญาตนำเข้าทั่วไป (General Import Permit) ผู้นำเข้าดอกกล้วยไม้สดในตลาดสหรัฐฯ ต้องขอใบอนุญาตนำเข้าทั่วไปซึ่งออกโดยกรมป้องกันและควบคุมโรคพืช (Plant Protection and Quarantine: PPQ) สังกัดกระทรวงเกษตรของสหรัฐฯ (United States Department of Agriculture: USDA) เพื่อแสดงว่าสินค้าดังกล่าวปราศจากศัตรูพืชและความเสียหายอันเนื่องมาจากศัตรูพืช จึงจะสามารถนำเข้าและจำหน่ายในสหรัฐฯ ได้ โดยผู้นำเข้าไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้นในการขอใบอนุญาตนำเข้าดังกล่าว
5. ข้อกำหนดว่าด้วยการบรรจุหีบห่อและการปิดฉลากสินค้า ดอกกล้วยไม้สดที่นำเข้าไปจำหน่ายในสหรัฐฯ ต้องบรรจุในภาชนะที่มีความทนทานและสามารถเก็บรักษาสินค้านั้นได้เป็นอย่างดี โดยภาชนะดังกล่าวต้องไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ตัวสินค้าและผู้ใช้งาน สำหรับการปิดฉลากสินค้าต้องระบุรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับตัวสินค้าให้ชัดเจน อาทิ ประเภทของผลผลิต ชื่อกล้วยไม้ ชื่อสกุลและพันธุ์ นอกจากนี้ หากเป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับขายส่งต้องระบุข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น ชื่อและที่อยู่ของผู้ขายส่ง แหล่งผลิต รหัสสินค้า ระดับคุณภาพของสินค้า และจำนวนบรรจุ เป็นต้น
เพื่อให้ดอกกล้วยไม้สดของไทยสามารถขยายและรักษาส่วนแบ่งตลาดสหรัฐฯ ได้ต่อไป ผู้ส่งออกไทยควรศึกษาและปฏิบัติตามกฎระเบียบที่ทางการสหรัฐฯ กำหนดอย่างเคร่งครัด ควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณภาพของดอกกล้วยไม้สด อาทิ การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการขยายพันธุ์กล้วยไม้ การพัฒนาพันธุ์เพื่อเพิ่มขนาดของกลีบดอกและเพิ่มสีสันให้สวยงามและแปลกใหม่อยู่เสมอ รวมทั้งต้องให้ความสำคัญกับการป้องกันการระบาดของโรคพืชซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญในการส่งออกดอกกล้วยไม้สดของไทยในปัจจุบัน
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย--
-อน-
สหรัฐฯ มีอุตสาหกรรมไม้ตัดดอกขนาดใหญ่มากเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากเนเธอร์แลนด์ อย่างไรก็ตาม สหรัฐฯ ยังต้องนำเข้าดอกกล้วยไม้สดเป็นจำนวนมากในแต่ละปี เพราะไม่สามารถปลูกกล้วยไม้ได้เองเนื่องจากสภาพภูมิอากาศที่หนาวเย็น ไม่เอื้ออำนวยต่อการปลูกกล้วยไม้ซึ่งเป็นพืชที่ขยายพันธุ์ได้ดีในสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้น
ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ไทยส่งออกดอกกล้วยไม้สดไปสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ จากเพียง 62.0 ล้านบาทในปี 2539 เพิ่มเป็น 231.7 ล้านบาทในปี 2543 สำหรับช่วงครึ่งแรกของปี 2544 นี้ ไทยส่งออกดอกกล้วยไม้สดไปสหรัฐฯ เป็นมูลค่า 170.3 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 75 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ปัจจุบันไทยครองส่วนแบ่งตลาดดอกกล้วยไม้สดในสหรัฐฯ มากเป็นอันดับ 1
สำหรับผู้ส่งออกไทยที่สนใจจะส่งออกดอกกล้วยไม้สดไปสหรัฐฯ ควรทราบกฎระเบียบที่สำคัญเกี่ยวกับการนำเข้าดอกกล้วยไม้สดของสหรัฐฯ ซึ่งมีรายละเอียดพอสรุปได้ดังนี้
1. ภาษีนำเข้า ดอกกล้วยไม้สดของไทยได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (Generalized System of Preferences: GSP) จากสหรัฐฯ โดยสหรัฐฯ ยกเว้นการเรียกเก็บภาษีนำเข้าดอกกล้วยไม้สดจากไทย
2. สหรัฐฯ เป็นสมาชิกอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศเกี่ยวกับสัตว์ป่าและพืชพรรณจากป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ (Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora: CITES) ดังนั้น ในการนำเข้าสินค้า สหรัฐฯ จึงต้องยึดหลักการตามอนุสัญญา CITES โดยสหรัฐฯ ห้ามนำเข้าพืชและสัตว์หายากเพื่อป้องกันไม่ให้สูญพันธุ์ไปจากโลก แต่เนื่องจากดอกกล้วยไม้สดของไทยที่ส่งออกเกิดจากการผสมพันธุ์เทียม กล่าวคือ ต้นกล้วยไม้ได้จากการเพาะเมล็ดหรือเกิดจากการขยายส่วนใดส่วนหนึ่งของต้น ราก หรือดอกของต้นเดิม ดังนั้น ดอกกล้วยไม้สดจากไทยจึงสามารถนำเข้าในตลาดสหรัฐฯ ได้
3. ใบอนุญาตส่งออกและนำเข้าพืชอนุรักษ์ ในกรณีที่ดอกกล้วยไม้สดชนิดที่ไทยส่งออกอยู่ในรายการพืชควบคุมขององค์กร CITES ผู้ส่งออกไทยต้องขอใบอนุญาตส่งออกพืชอนุรักษ์จากองค์กร CITES ในไทย (CITES Export Permit) และผู้นำเข้าดอกกล้วยไม้สดในสหรัฐฯ ต้องขอใบอนุญาตนำเข้าพืชอนุรักษ์จากองค์กร CITES ในสหรัฐฯ (CITES Import Permit) ก่อนการนำเข้า โดยผู้นำเข้าต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นเงิน 70 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อการขอใบอนุญาตนำเข้า 1 ใบ โดยใบอนุญาตนำเข้าแต่ละใบมีอายุ 2 ปีนับจากวันที่ออกใบอนุญาตนั้น
4. ใบอนุญาตนำเข้าทั่วไป (General Import Permit) ผู้นำเข้าดอกกล้วยไม้สดในตลาดสหรัฐฯ ต้องขอใบอนุญาตนำเข้าทั่วไปซึ่งออกโดยกรมป้องกันและควบคุมโรคพืช (Plant Protection and Quarantine: PPQ) สังกัดกระทรวงเกษตรของสหรัฐฯ (United States Department of Agriculture: USDA) เพื่อแสดงว่าสินค้าดังกล่าวปราศจากศัตรูพืชและความเสียหายอันเนื่องมาจากศัตรูพืช จึงจะสามารถนำเข้าและจำหน่ายในสหรัฐฯ ได้ โดยผู้นำเข้าไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้นในการขอใบอนุญาตนำเข้าดังกล่าว
5. ข้อกำหนดว่าด้วยการบรรจุหีบห่อและการปิดฉลากสินค้า ดอกกล้วยไม้สดที่นำเข้าไปจำหน่ายในสหรัฐฯ ต้องบรรจุในภาชนะที่มีความทนทานและสามารถเก็บรักษาสินค้านั้นได้เป็นอย่างดี โดยภาชนะดังกล่าวต้องไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ตัวสินค้าและผู้ใช้งาน สำหรับการปิดฉลากสินค้าต้องระบุรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับตัวสินค้าให้ชัดเจน อาทิ ประเภทของผลผลิต ชื่อกล้วยไม้ ชื่อสกุลและพันธุ์ นอกจากนี้ หากเป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับขายส่งต้องระบุข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น ชื่อและที่อยู่ของผู้ขายส่ง แหล่งผลิต รหัสสินค้า ระดับคุณภาพของสินค้า และจำนวนบรรจุ เป็นต้น
เพื่อให้ดอกกล้วยไม้สดของไทยสามารถขยายและรักษาส่วนแบ่งตลาดสหรัฐฯ ได้ต่อไป ผู้ส่งออกไทยควรศึกษาและปฏิบัติตามกฎระเบียบที่ทางการสหรัฐฯ กำหนดอย่างเคร่งครัด ควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณภาพของดอกกล้วยไม้สด อาทิ การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการขยายพันธุ์กล้วยไม้ การพัฒนาพันธุ์เพื่อเพิ่มขนาดของกลีบดอกและเพิ่มสีสันให้สวยงามและแปลกใหม่อยู่เสมอ รวมทั้งต้องให้ความสำคัญกับการป้องกันการระบาดของโรคพืชซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญในการส่งออกดอกกล้วยไม้สดของไทยในปัจจุบัน
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย--
-อน-