กรุงเทพฯ--5 ก.พ.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (2 กุมภาพันธ์ 2544 ) นายประดาป พิบูลสงคราม โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า ได้กล่าวสุนทรพจน์ระหว่างการเข้าร่วมการสัมมนาระหว่างประเทศเกี่ยวกับอาเซียนในหัวข้อเรื่อง “ Community Building Through Political Cooperation ” ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยได้เน้นว่า ในปัจจุบันอาเซียนมุ่งมั่นที่จะรวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวมากขึ้น โดยคำนึงถึงเป้าหมายและผลประโยชน์ร่วมกันของอาเซียนทั้งกลุ่มเป็นหลัก อีกทั้ง ได้มีการปรับทัศนคติและท่าทีของอาเซียนให้มีการตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปในภูมิภาคและในโลก อย่างไรก็ตาม การทำให้อาเซียนมีความแข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพมากขึ้นจะไม่ยึดกับ การจัดตั้งองค์กรเหนือชาติขึ้นมา แต่จะเน้นไปที่ความร่วมมือระหว่างกันมากกว่า ซึ่งเป็นวิธีทางของ อาเซียนโดยความร่วมมือต่างๆ จะตั้งอยู่บนพื้นฐานของการกำหนดโครงสร้างที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งจะตอบสนองต่อสถานการณ์ของโลกและจะมีความเป็นทางการน้อยลง
ในตอนหนึ่งของการสัมมนาฯ นายประดาปฯ ได้กล่าวถึงพัฒนาการของความเป็นประชาธิปไตยในอาเซียนว่า ในปัจจุบันสมาชิกอาเซียนหลายประเทศได้ปฏิรูปการเมืองเพื่อพัฒนาประเทศไปตามครรลองระบอบประชาธิปไตยมากขึ้น แม้ว่าหนทางยังยาวไกลและเต็มไปด้วยอุปสรรคนานาประการก็ตาม ซึ่งในเรื่องนี้ถือได้ว่าประชาชนชาวไทยมีประสบการณ์ต่อระบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยมายาวนานกว่าใครเป็นเวลากว่า 60 ปี สำหรับนักวิจารณ์บางคนอาจจะมองว่า ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติหันเหความสนใจไปยังประเทศอื่น เนื่องจากประสบกับความไม่แน่นอน แต่สำหรับประชาชนชาวไทยแล้วระบอบประชาธิปไตยจะเป็นระบบที่รับประกันสันติภาพ เสถียรภาพและความมั่งคั่งอย่างแท้จริงสำหรับประเทศชาติและประชาชน เราได้ประจักษ์มาแล้วในอดีตในหลายๆ โอกาสว่า การปกครองที่ดี โปร่งใส ชอบธรรม รับผิดชอบและ ตรวจสอบได้จะเป็นรูปแบบที่ดีที่สุดสำหรับประชาชน
อีกประเทศหนึ่งที่นายประดาปฯ ได้กล่าวถึงคือสิงคโปร์ ซึ่งเป็นประเทศสมาชิก อาเซียนซึ่งประสบความสำเร็จเนื่องมาจากวิสัยทัศน์ของผู้นำและเป็นประเทศที่ทราบดีถึงข้อดีและ ข้อเสียของระบบประชาธิปไตย เมื่อไม่นานมานี้นาย ลี เซียน หลุง รองนายกรัฐมนตรีของสิงคโปร์ ได้กล่าวต่อนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยนันยางว่า สิงคโปร์จะต้องเผชิญกับปัญหาใหญ่ 5 ประการ หากจะให้ประเทศชาติประสบความสำเร็จและมีความก้าวหน้าต่อไปนั่นคือ 1. มีการปกครองที่เปิดกว้างมากขึ้น 2. มีคณะผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพ 3. ต้องมีความกลมกลืนระหว่างเชื้อชาติ ศาสนาของคนในชาติ 4. ต้องลดช่องว่างระหว่างคนรวยคนจน และ 5. จะต้องทำให้คนสิงคโปร์ตั้งถิ่นฐานอยู่ในสิงคโปร์ ไม่ละทิ้งประเทศ
นาย ลี เซียน หลุง ฯ ยอมรับว่า ในอดีตที่ผ่านมาสิงคโปร์ประสบความสำเร็จอย่างดีภายในภูมิภาคนี้ อย่างไรก็ตาม นายประดาปฯ ได้ให้ความเห็นต่อที่ประชุมสัมมนาฯ ว่า อนาคตของสิงคโปร์ขึ้นอยู่กับภูมิภาคอาเซียนที่มีสันติภาพมีความมั่นคงและความมั่งคั่ง
ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า ปัจจัยทางด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ระดับการพัฒนา ขนาดของประเทศ และจำนวนประชากรล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่แต่ละประเทศจะนำมาใช้ประกอบการกำหนดแนวนโยบายการพัฒนาประเทศของตน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
วันนี้ (2 กุมภาพันธ์ 2544 ) นายประดาป พิบูลสงคราม โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า ได้กล่าวสุนทรพจน์ระหว่างการเข้าร่วมการสัมมนาระหว่างประเทศเกี่ยวกับอาเซียนในหัวข้อเรื่อง “ Community Building Through Political Cooperation ” ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยได้เน้นว่า ในปัจจุบันอาเซียนมุ่งมั่นที่จะรวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวมากขึ้น โดยคำนึงถึงเป้าหมายและผลประโยชน์ร่วมกันของอาเซียนทั้งกลุ่มเป็นหลัก อีกทั้ง ได้มีการปรับทัศนคติและท่าทีของอาเซียนให้มีการตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปในภูมิภาคและในโลก อย่างไรก็ตาม การทำให้อาเซียนมีความแข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพมากขึ้นจะไม่ยึดกับ การจัดตั้งองค์กรเหนือชาติขึ้นมา แต่จะเน้นไปที่ความร่วมมือระหว่างกันมากกว่า ซึ่งเป็นวิธีทางของ อาเซียนโดยความร่วมมือต่างๆ จะตั้งอยู่บนพื้นฐานของการกำหนดโครงสร้างที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งจะตอบสนองต่อสถานการณ์ของโลกและจะมีความเป็นทางการน้อยลง
ในตอนหนึ่งของการสัมมนาฯ นายประดาปฯ ได้กล่าวถึงพัฒนาการของความเป็นประชาธิปไตยในอาเซียนว่า ในปัจจุบันสมาชิกอาเซียนหลายประเทศได้ปฏิรูปการเมืองเพื่อพัฒนาประเทศไปตามครรลองระบอบประชาธิปไตยมากขึ้น แม้ว่าหนทางยังยาวไกลและเต็มไปด้วยอุปสรรคนานาประการก็ตาม ซึ่งในเรื่องนี้ถือได้ว่าประชาชนชาวไทยมีประสบการณ์ต่อระบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยมายาวนานกว่าใครเป็นเวลากว่า 60 ปี สำหรับนักวิจารณ์บางคนอาจจะมองว่า ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติหันเหความสนใจไปยังประเทศอื่น เนื่องจากประสบกับความไม่แน่นอน แต่สำหรับประชาชนชาวไทยแล้วระบอบประชาธิปไตยจะเป็นระบบที่รับประกันสันติภาพ เสถียรภาพและความมั่งคั่งอย่างแท้จริงสำหรับประเทศชาติและประชาชน เราได้ประจักษ์มาแล้วในอดีตในหลายๆ โอกาสว่า การปกครองที่ดี โปร่งใส ชอบธรรม รับผิดชอบและ ตรวจสอบได้จะเป็นรูปแบบที่ดีที่สุดสำหรับประชาชน
อีกประเทศหนึ่งที่นายประดาปฯ ได้กล่าวถึงคือสิงคโปร์ ซึ่งเป็นประเทศสมาชิก อาเซียนซึ่งประสบความสำเร็จเนื่องมาจากวิสัยทัศน์ของผู้นำและเป็นประเทศที่ทราบดีถึงข้อดีและ ข้อเสียของระบบประชาธิปไตย เมื่อไม่นานมานี้นาย ลี เซียน หลุง รองนายกรัฐมนตรีของสิงคโปร์ ได้กล่าวต่อนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยนันยางว่า สิงคโปร์จะต้องเผชิญกับปัญหาใหญ่ 5 ประการ หากจะให้ประเทศชาติประสบความสำเร็จและมีความก้าวหน้าต่อไปนั่นคือ 1. มีการปกครองที่เปิดกว้างมากขึ้น 2. มีคณะผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพ 3. ต้องมีความกลมกลืนระหว่างเชื้อชาติ ศาสนาของคนในชาติ 4. ต้องลดช่องว่างระหว่างคนรวยคนจน และ 5. จะต้องทำให้คนสิงคโปร์ตั้งถิ่นฐานอยู่ในสิงคโปร์ ไม่ละทิ้งประเทศ
นาย ลี เซียน หลุง ฯ ยอมรับว่า ในอดีตที่ผ่านมาสิงคโปร์ประสบความสำเร็จอย่างดีภายในภูมิภาคนี้ อย่างไรก็ตาม นายประดาปฯ ได้ให้ความเห็นต่อที่ประชุมสัมมนาฯ ว่า อนาคตของสิงคโปร์ขึ้นอยู่กับภูมิภาคอาเซียนที่มีสันติภาพมีความมั่นคงและความมั่งคั่ง
ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า ปัจจัยทางด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ระดับการพัฒนา ขนาดของประเทศ และจำนวนประชากรล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่แต่ละประเทศจะนำมาใช้ประกอบการกำหนดแนวนโยบายการพัฒนาประเทศของตน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-