1. สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องระบบการเงินโดยรวมในช่วงไตรมาสแรกของปี 2543 ค่อนข้างตึงตัว เนื่องจากสถาบันการเงินส่วนใหญ่ต้องการใช้เงินบาทเพื่อ 1) สำรองเงินไว้เผื่อการเบิกถอนออกไปใช้จ่ายของประชาชนในช่วงเทศกาลตรุษจีนและการเลือกตั้งส.ว. 2) ยังคงมีการส่งมอบเงินบาทตามสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศ (swap) ที่ครบกำหนดให้กับ ธปท. เป็น บางส่วน 3) สถาบันการเงินซื้อหลักทรัพย์เพิ่มขึ้นและเตรียมสภาพคล่องสำหรับระบบการชำระเงิน RTGS 4) ประชาชนถอนเงินฝากจากสถาบันการเงินเพื่อไปลงทุนในตราสารประเภทอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า อาทิ พันธบัตรออมทรัพย์ หุ้นกู้ เป็นต้น 5) ธนาคารไทยเพิ่มความระมัดระวังในการปล่อยกู้ให้กับสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ และ 6) ช่วงปลายไตรมาสเป็นช่วงการปิดบัญชีประจำปีของธุรกิจและธนาคารญี่ปุ่น ทำให้มีการถอนเงินจากประเทศไทยส่งกลับไปยังบริษัทแม่บ้าง
สถาบันการเงินที่ประสบปัญหาภาวะการเงินตึงตัว โดยส่วนใหญ่คือสาขาธนาคารพาณิชย์ ต่างประเทศ ซึ่งได้ปรับสภาพคล่องด้วยการกู้ในตลาด interbank ทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมระหว่างธนาคาร (interbank rate) ยังคงอยู่ในระดับสูง ขณะที่ ธนาคารพาณิชย์ไทยและสถาบันการเงินเฉพาะกิจยังคงมีสภาพคล่องส่วนเกินอยู่
อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินให้กู้ยืมของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ 4 แห่ง ไม่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดทั้งไตรมาส สภาพคล่องของระบบการเงิน ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2543 ค่อนข้างตึงตัว โดยสถาบันการเงินที่มีความต้องการกู้เงินบาทส่วนใหญ่ คือสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ ซึ่งได้ปรับสภาพคล่องด้วยการกู้ยืมระหว่างธนาคาร (interbank) เป็นส่วนใหญ่ และมีการกู้ยืมผ่านตลาดซื้อคืนพันธบัตรอีกจำนวนหนึ่ง ส่งผลให้สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศมีฐานะเป็นผู้กู้สุทธิในตลาดซื้อคืนพันธบัตร 1.6 พันล้านบาท ณ สิ้นไตรมาสแรก ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ไทยและสถาบันการเงินเฉพาะกิจยังคงมีสภาพคล่องส่วนเกินและนำเงินเข้ามาลงทุนในตลาดซื้อคืนพันธบัตรส่งผลให้มีฐานะเป็นผู้ลงทุนสุทธิ 92 และ 53 พันล้านบาท ในช่วงเวลาเดียวกัน
อัตราดอกเบี้ยตลาดเงิน เพิ่มสูงขึ้นตามภาวะสภาพคล่องตึงตัว โดยอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมระหว่างธนาคาร (interbank rate) เพิ่มจากเฉลี่ยร้อยละ 1.23 ในเดือนธันวาคม 2542 เป็น ร้อยละ 1.55 2.02 และ 2.66 ต่อปี ในเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ และมีนาคม 2543 ตามลำดับ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรอายุ 1 วัน ปรับเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.63 ในเดือนธันวาคม 2542 เป็นร้อยละ 0.79 0.72 และ 1.06 ต่อปี ในเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ และมีนาคม 2543 เช่นกัน และอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรอายุ 14 วัน ปรับเพิ่มจากร้อยละ 1.48 เป็นร้อยละ 1.53 1.34 และ 1.64 ต่อปี ในช่วงเวลาเดียวกัน
อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ อัตรา ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR และเงินฝากประจำ 3 เดือนของ 4 ธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ปรับลดจากร้อยละ 8.25-8.5 และ 3.75 ต่อปี ณ สิ้นปี 2542 เป็นร้อยละ 8.0-8.25 และ 3.5 ต่อปี ในเดือนมกราคม 2543 และทรงตัวต่อเนื่องจนถึงสิ้นเดือนมีนาคม 2543
2. เงินฝาก/สินเชื่อธนาคารพาณิชย์
ยอดคงค้างเงินฝากธนาคารพาณิชย์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมากในเดือนมกราคม 2543 เนื่องจากเงินฝากที่ประชาชนได้ถอนออกไปมากในช่วงสิ้นปีก่อนเพื่อรองรับ Y2K ได้ทยอยไหลกลับเข้าสู่ระบบมากขึ้น อย่างไรก็ตามมีแนวโน้มทรงตัวในเดือนกุมภาพันธ์ ก่อนที่จะลดลงในเดือนมีนาคม 2543 เนื่องจากมีการถอนเงินฝาก เพื่อไปลงทุนในหุ้นกู้ภาคเอกชนเป็นสำคัญ ดังนั้น โดยภาพรวมตลอดทั้งไตรมาส เงินฝากธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นสุทธิประมาณ 32 พันล้านบาท แต่เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน ลดลงร้อยละ 0.8 ต่อปี
การที่เงินฝากธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นไม่มากนัก เนื่องจากประชาชนมีการหันไปออมในรูปของการลงทุนในตราสารอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า อาทิ หุ้นกู้เอกชน เป็นต้น และในช่วงปลายไตรมาสเป็นช่วงการปิดบัญชีของธุรกิจและธนาคารของญี่ปุ่น จึงได้มีการถอนเงินฝาก และนำส่งคืนบริษัทแม่
แนวโน้มเงินให้สินเชื่อแก่ภาคเอกชนยังคงชะลอลง โดยสินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจลดลงอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งไตรมาส ตามการชำระคืนหนี้ต่างประเทศเป็นสำคัญ ขณะที่สินเชื่อที่มิใช่กิจการวิเทศธนกิจที่ได้ปรับเพิ่มขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2543 กลับมียอดลดลงอีกในเดือนมีนาคมนี้ โดยเป็นผลจากการที่ภาคเอกชนบางแห่ง มีการออกหุ้นกู้ เพื่อนำมาชำระคืนให้กับธนาคารพาณิชย์เป็นบางส่วน
เงินฝากธนาคารพาณิชย์ มียอด คงค้างเพิ่มขึ้นมากในเดือนมกราคม 2543 เนื่องจากเงินฝากที่ประชาชนได้ถอนออกไปมากในช่วงสิ้นปีก่อนเพื่อรองรับ Y2K ได้ทยอยไหลกลับเข้าสู่ระบบมากขึ้น แต่มี แนวโน้มทรงตัวในเดือนกุมภาพันธ์ ก่อนที่จะมียอดลดลงในเดือนมีนาคม 2543 เนื่องจาก 1) มีการถอนเงินฝากเพื่อไปลงทุนในหุ้นกู้ ภาคเอกชน ซึ่งมีการออกกันมากในเดือนนี้ และส่วนใหญ่เป็นไปเพื่อคืนหนี้เงินกู้ ต่างประเทศ 2) รัฐวิสาหกิจบางแห่งต้องส่งรายได้เข้ารัฐ จึงได้ถอนเงินฝากออกจากธนาคารพาณิชย์จำนวนหนึ่ง และ 3) เป็นช่วงปิดบัญชีประจำปีของญี่ปุ่น จึงมีการ ถอนเงินฝาก เพื่อส่งกลับบริษัทแม่ ดังนั้น โดยภาพรวมตลอดทั้งไตรมาส เงินฝากธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นสุทธิประมาณ 32 พันล้านบาท แต่เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน มียอดลดลงร้อยละ 0.8 ต่อปี ณ สิ้น ไตรมาสแรกของปี 2543
สินเชื่อที่ไม่ใช่กิจการวิเทศธนกิจ ลดลงร้อยละ 0.4 ต่อปี ณ สิ้นไตรมาสแรกของปี 2543 เนื่องจากภาคเอกชนบางแห่งมีการออกหุ้นกู้เพื่อมาชำระคืนให้กับธนาคารพาณิชย์เพิ่มมากขึ้น สำหรับ สินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจ (แปลงเป็นบาทด้วยอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ ณ 30 มิ.ย. 40) ลดลงร้อยละ 37.5 ต่อปี ในช่วงเวลาเดียวกัน อันเป็นผลจากการชำระคืนหนี้ ต่างประเทศ
โดยภาพรวมแล้ว สินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์ ที่คำนวณสินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจด้วยอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ ลดลงร้อยละ 3.8 ต่อปี และที่คำนวณด้วยอัตราตลาด ลดลงร้อยละ 5.2 ต่อปี ณ สิ้นไตรมาสแรกของปี 2543
3. ฐานเงินและปริมาณเงิน
ฐานเงินในช่วงไตรมาสแรกของปี 2543 มียอดคงค้างลดลง เนื่องจากเงินสดส่วนเกินในมือภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้นมากเมื่อปลายปีก่อนเพื่อรองรับ Y2K ได้ปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง
ปัจจัยที่ทำให้ปริมาณฐานเงินลดลงในไตรมาสแรกนี้ เนื่องจาก 1) การดูดซับ สภาพคล่องเงินบาทของทางการ ผ่านธุรกรรมสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า (swap) ที่ครบกำหนดเป็นบางส่วน และผ่านตลาดซื้อคืนพันธบัตร ทั้งนี้ เนื่องจากก่อนหน้านี้ทางการได้เสริมสภาพคล่องเข้าสู่ระบบเป็นจำนวนมาก เพื่อรองรับ Y2K จึงได้ทยอยดูดซับสภาพคล่องออกจากระบบในเวลาต่อมา และ 2) การลดลงของสินเชื่อแก่ภาครัฐ ตามปริมาณพันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่อยู่ ในมือ ธปท. ที่ครบกำหนดไถ่ถอน
ปริมาณเงิน M2A ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2543 ชะลอลงจากสิ้นปีก่อน ตามการลดลงของเงินสดในมือประชาชน ขณะที่เงินฝากของประชาชนที่ธนาคารพาณิชย์ มียอดคงค้างเพิ่มขึ้นเล็กน้อย สำหรับปริมาณเงิน M3 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2543 (ล่าสุด) ยังคงทรงตัวจากปลายปีก่อน
ฐานเงิน ณ สิ้นไตรมาสแรกของปี 2543 เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 1.8 ต่อปี โดยมียอดคงค้างเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนเป็นจำนวน 9 พันล้านบาท แต่เมื่อเทียบกับสิ้นปีก่อน มียอดคงค้างลดลง 125 พันล้านบาท เนื่องจากการลดลงของเงินสดในมือภาคเอกชนประมาณ 145 พันล้านบาท ขณะที่เงินฝากสถาบันการเงินที่ ธปท. เพิ่มขึ้น 20 พันล้านบาท
สาเหตุที่ทำให้ฐานเงินลดลงเนื่องจาก 1) การที่ทางการทยอยดูดซับสภาพคล่องที่เคยปล่อยออกไปตอนสิ้นปีเพื่อรองรับ Y2K กลับเข้ามา ผ่านการส่งมอบเงินบาทของสถาบันการเงินให้กับธปท. ตามสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าที่ครบกำหนดเป็นบางส่วน และผ่านตลาดซื้อคืน ทั้งนี้ ทางการยังคงดูแลและเสริมสภาพคล่องระหว่างเดือน ในช่วงที่เกิดภาวะเงินตึงตัวช่วงสั้นๆ และ 2) การลดลงของสินเชื่อสุทธิแก่ภาครัฐ ตามปริมาณพันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่อยู่ในมือธปท.ที่ครบกำหนดไถ่ถอน
ปริมาณเงิน M2A ในระบบธนาคารและบริษัทเงินทุน เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 0.4 ต่อปี ณ สิ้นไตรมาสแรกของปี 2543 โดยมียอดคงค้างเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนประมาณ 22 พันล้านบาท แต่ลดลง ตลอดทั้งไตรมาสประมาณ 34 พันล้านบาท จากสิ้นปีก่อน โดยองค์ประกอบสำคัญ ที่ทำให้ปริมาณเงินลดลง คือ 1) เงินสดในมือประชาชนเนื่องจากความต้องการถือเงินสดส่วนเกินของประชาชนเริ่มโน้มลงภายหลัง Y2K และ 2) เงินฝากที่บริษัทเงินทุนในรูป ตั๋วสัญญาใช้เงินมียอดลดลงเล็กน้อย ขณะที่ยอดคงค้างเงินฝากธนาคารพาณิชย์ยังคงเพิ่มขึ้นจากสิ้นปีก่อน
สำหรับปริมาณเงิน M3 ในระบบธนาคาร บริษัทเงินทุนและสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2543 (ข้อมูลล่าสุด) ขยายตัว ในอัตราร้อยละ 1.8 ต่อปี ค่อนข้างทรงตัวจากปลายปีก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
สภาพคล่องระบบการเงินโดยรวมในช่วงไตรมาสแรกของปี 2543 ค่อนข้างตึงตัว เนื่องจากสถาบันการเงินส่วนใหญ่ต้องการใช้เงินบาทเพื่อ 1) สำรองเงินไว้เผื่อการเบิกถอนออกไปใช้จ่ายของประชาชนในช่วงเทศกาลตรุษจีนและการเลือกตั้งส.ว. 2) ยังคงมีการส่งมอบเงินบาทตามสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศ (swap) ที่ครบกำหนดให้กับ ธปท. เป็น บางส่วน 3) สถาบันการเงินซื้อหลักทรัพย์เพิ่มขึ้นและเตรียมสภาพคล่องสำหรับระบบการชำระเงิน RTGS 4) ประชาชนถอนเงินฝากจากสถาบันการเงินเพื่อไปลงทุนในตราสารประเภทอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า อาทิ พันธบัตรออมทรัพย์ หุ้นกู้ เป็นต้น 5) ธนาคารไทยเพิ่มความระมัดระวังในการปล่อยกู้ให้กับสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ และ 6) ช่วงปลายไตรมาสเป็นช่วงการปิดบัญชีประจำปีของธุรกิจและธนาคารญี่ปุ่น ทำให้มีการถอนเงินจากประเทศไทยส่งกลับไปยังบริษัทแม่บ้าง
สถาบันการเงินที่ประสบปัญหาภาวะการเงินตึงตัว โดยส่วนใหญ่คือสาขาธนาคารพาณิชย์ ต่างประเทศ ซึ่งได้ปรับสภาพคล่องด้วยการกู้ในตลาด interbank ทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมระหว่างธนาคาร (interbank rate) ยังคงอยู่ในระดับสูง ขณะที่ ธนาคารพาณิชย์ไทยและสถาบันการเงินเฉพาะกิจยังคงมีสภาพคล่องส่วนเกินอยู่
อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินให้กู้ยืมของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ 4 แห่ง ไม่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดทั้งไตรมาส สภาพคล่องของระบบการเงิน ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2543 ค่อนข้างตึงตัว โดยสถาบันการเงินที่มีความต้องการกู้เงินบาทส่วนใหญ่ คือสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ ซึ่งได้ปรับสภาพคล่องด้วยการกู้ยืมระหว่างธนาคาร (interbank) เป็นส่วนใหญ่ และมีการกู้ยืมผ่านตลาดซื้อคืนพันธบัตรอีกจำนวนหนึ่ง ส่งผลให้สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศมีฐานะเป็นผู้กู้สุทธิในตลาดซื้อคืนพันธบัตร 1.6 พันล้านบาท ณ สิ้นไตรมาสแรก ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ไทยและสถาบันการเงินเฉพาะกิจยังคงมีสภาพคล่องส่วนเกินและนำเงินเข้ามาลงทุนในตลาดซื้อคืนพันธบัตรส่งผลให้มีฐานะเป็นผู้ลงทุนสุทธิ 92 และ 53 พันล้านบาท ในช่วงเวลาเดียวกัน
อัตราดอกเบี้ยตลาดเงิน เพิ่มสูงขึ้นตามภาวะสภาพคล่องตึงตัว โดยอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมระหว่างธนาคาร (interbank rate) เพิ่มจากเฉลี่ยร้อยละ 1.23 ในเดือนธันวาคม 2542 เป็น ร้อยละ 1.55 2.02 และ 2.66 ต่อปี ในเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ และมีนาคม 2543 ตามลำดับ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรอายุ 1 วัน ปรับเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.63 ในเดือนธันวาคม 2542 เป็นร้อยละ 0.79 0.72 และ 1.06 ต่อปี ในเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ และมีนาคม 2543 เช่นกัน และอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรอายุ 14 วัน ปรับเพิ่มจากร้อยละ 1.48 เป็นร้อยละ 1.53 1.34 และ 1.64 ต่อปี ในช่วงเวลาเดียวกัน
อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ อัตรา ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR และเงินฝากประจำ 3 เดือนของ 4 ธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ปรับลดจากร้อยละ 8.25-8.5 และ 3.75 ต่อปี ณ สิ้นปี 2542 เป็นร้อยละ 8.0-8.25 และ 3.5 ต่อปี ในเดือนมกราคม 2543 และทรงตัวต่อเนื่องจนถึงสิ้นเดือนมีนาคม 2543
2. เงินฝาก/สินเชื่อธนาคารพาณิชย์
ยอดคงค้างเงินฝากธนาคารพาณิชย์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมากในเดือนมกราคม 2543 เนื่องจากเงินฝากที่ประชาชนได้ถอนออกไปมากในช่วงสิ้นปีก่อนเพื่อรองรับ Y2K ได้ทยอยไหลกลับเข้าสู่ระบบมากขึ้น อย่างไรก็ตามมีแนวโน้มทรงตัวในเดือนกุมภาพันธ์ ก่อนที่จะลดลงในเดือนมีนาคม 2543 เนื่องจากมีการถอนเงินฝาก เพื่อไปลงทุนในหุ้นกู้ภาคเอกชนเป็นสำคัญ ดังนั้น โดยภาพรวมตลอดทั้งไตรมาส เงินฝากธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นสุทธิประมาณ 32 พันล้านบาท แต่เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน ลดลงร้อยละ 0.8 ต่อปี
การที่เงินฝากธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นไม่มากนัก เนื่องจากประชาชนมีการหันไปออมในรูปของการลงทุนในตราสารอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า อาทิ หุ้นกู้เอกชน เป็นต้น และในช่วงปลายไตรมาสเป็นช่วงการปิดบัญชีของธุรกิจและธนาคารของญี่ปุ่น จึงได้มีการถอนเงินฝาก และนำส่งคืนบริษัทแม่
แนวโน้มเงินให้สินเชื่อแก่ภาคเอกชนยังคงชะลอลง โดยสินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจลดลงอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งไตรมาส ตามการชำระคืนหนี้ต่างประเทศเป็นสำคัญ ขณะที่สินเชื่อที่มิใช่กิจการวิเทศธนกิจที่ได้ปรับเพิ่มขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2543 กลับมียอดลดลงอีกในเดือนมีนาคมนี้ โดยเป็นผลจากการที่ภาคเอกชนบางแห่ง มีการออกหุ้นกู้ เพื่อนำมาชำระคืนให้กับธนาคารพาณิชย์เป็นบางส่วน
เงินฝากธนาคารพาณิชย์ มียอด คงค้างเพิ่มขึ้นมากในเดือนมกราคม 2543 เนื่องจากเงินฝากที่ประชาชนได้ถอนออกไปมากในช่วงสิ้นปีก่อนเพื่อรองรับ Y2K ได้ทยอยไหลกลับเข้าสู่ระบบมากขึ้น แต่มี แนวโน้มทรงตัวในเดือนกุมภาพันธ์ ก่อนที่จะมียอดลดลงในเดือนมีนาคม 2543 เนื่องจาก 1) มีการถอนเงินฝากเพื่อไปลงทุนในหุ้นกู้ ภาคเอกชน ซึ่งมีการออกกันมากในเดือนนี้ และส่วนใหญ่เป็นไปเพื่อคืนหนี้เงินกู้ ต่างประเทศ 2) รัฐวิสาหกิจบางแห่งต้องส่งรายได้เข้ารัฐ จึงได้ถอนเงินฝากออกจากธนาคารพาณิชย์จำนวนหนึ่ง และ 3) เป็นช่วงปิดบัญชีประจำปีของญี่ปุ่น จึงมีการ ถอนเงินฝาก เพื่อส่งกลับบริษัทแม่ ดังนั้น โดยภาพรวมตลอดทั้งไตรมาส เงินฝากธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นสุทธิประมาณ 32 พันล้านบาท แต่เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน มียอดลดลงร้อยละ 0.8 ต่อปี ณ สิ้น ไตรมาสแรกของปี 2543
สินเชื่อที่ไม่ใช่กิจการวิเทศธนกิจ ลดลงร้อยละ 0.4 ต่อปี ณ สิ้นไตรมาสแรกของปี 2543 เนื่องจากภาคเอกชนบางแห่งมีการออกหุ้นกู้เพื่อมาชำระคืนให้กับธนาคารพาณิชย์เพิ่มมากขึ้น สำหรับ สินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจ (แปลงเป็นบาทด้วยอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ ณ 30 มิ.ย. 40) ลดลงร้อยละ 37.5 ต่อปี ในช่วงเวลาเดียวกัน อันเป็นผลจากการชำระคืนหนี้ ต่างประเทศ
โดยภาพรวมแล้ว สินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์ ที่คำนวณสินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจด้วยอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ ลดลงร้อยละ 3.8 ต่อปี และที่คำนวณด้วยอัตราตลาด ลดลงร้อยละ 5.2 ต่อปี ณ สิ้นไตรมาสแรกของปี 2543
3. ฐานเงินและปริมาณเงิน
ฐานเงินในช่วงไตรมาสแรกของปี 2543 มียอดคงค้างลดลง เนื่องจากเงินสดส่วนเกินในมือภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้นมากเมื่อปลายปีก่อนเพื่อรองรับ Y2K ได้ปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง
ปัจจัยที่ทำให้ปริมาณฐานเงินลดลงในไตรมาสแรกนี้ เนื่องจาก 1) การดูดซับ สภาพคล่องเงินบาทของทางการ ผ่านธุรกรรมสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า (swap) ที่ครบกำหนดเป็นบางส่วน และผ่านตลาดซื้อคืนพันธบัตร ทั้งนี้ เนื่องจากก่อนหน้านี้ทางการได้เสริมสภาพคล่องเข้าสู่ระบบเป็นจำนวนมาก เพื่อรองรับ Y2K จึงได้ทยอยดูดซับสภาพคล่องออกจากระบบในเวลาต่อมา และ 2) การลดลงของสินเชื่อแก่ภาครัฐ ตามปริมาณพันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่อยู่ ในมือ ธปท. ที่ครบกำหนดไถ่ถอน
ปริมาณเงิน M2A ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2543 ชะลอลงจากสิ้นปีก่อน ตามการลดลงของเงินสดในมือประชาชน ขณะที่เงินฝากของประชาชนที่ธนาคารพาณิชย์ มียอดคงค้างเพิ่มขึ้นเล็กน้อย สำหรับปริมาณเงิน M3 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2543 (ล่าสุด) ยังคงทรงตัวจากปลายปีก่อน
ฐานเงิน ณ สิ้นไตรมาสแรกของปี 2543 เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 1.8 ต่อปี โดยมียอดคงค้างเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนเป็นจำนวน 9 พันล้านบาท แต่เมื่อเทียบกับสิ้นปีก่อน มียอดคงค้างลดลง 125 พันล้านบาท เนื่องจากการลดลงของเงินสดในมือภาคเอกชนประมาณ 145 พันล้านบาท ขณะที่เงินฝากสถาบันการเงินที่ ธปท. เพิ่มขึ้น 20 พันล้านบาท
สาเหตุที่ทำให้ฐานเงินลดลงเนื่องจาก 1) การที่ทางการทยอยดูดซับสภาพคล่องที่เคยปล่อยออกไปตอนสิ้นปีเพื่อรองรับ Y2K กลับเข้ามา ผ่านการส่งมอบเงินบาทของสถาบันการเงินให้กับธปท. ตามสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าที่ครบกำหนดเป็นบางส่วน และผ่านตลาดซื้อคืน ทั้งนี้ ทางการยังคงดูแลและเสริมสภาพคล่องระหว่างเดือน ในช่วงที่เกิดภาวะเงินตึงตัวช่วงสั้นๆ และ 2) การลดลงของสินเชื่อสุทธิแก่ภาครัฐ ตามปริมาณพันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่อยู่ในมือธปท.ที่ครบกำหนดไถ่ถอน
ปริมาณเงิน M2A ในระบบธนาคารและบริษัทเงินทุน เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 0.4 ต่อปี ณ สิ้นไตรมาสแรกของปี 2543 โดยมียอดคงค้างเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนประมาณ 22 พันล้านบาท แต่ลดลง ตลอดทั้งไตรมาสประมาณ 34 พันล้านบาท จากสิ้นปีก่อน โดยองค์ประกอบสำคัญ ที่ทำให้ปริมาณเงินลดลง คือ 1) เงินสดในมือประชาชนเนื่องจากความต้องการถือเงินสดส่วนเกินของประชาชนเริ่มโน้มลงภายหลัง Y2K และ 2) เงินฝากที่บริษัทเงินทุนในรูป ตั๋วสัญญาใช้เงินมียอดลดลงเล็กน้อย ขณะที่ยอดคงค้างเงินฝากธนาคารพาณิชย์ยังคงเพิ่มขึ้นจากสิ้นปีก่อน
สำหรับปริมาณเงิน M3 ในระบบธนาคาร บริษัทเงินทุนและสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2543 (ข้อมูลล่าสุด) ขยายตัว ในอัตราร้อยละ 1.8 ต่อปี ค่อนข้างทรงตัวจากปลายปีก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-