อธิบดีกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยจากเมืองหลวงได้เดินทางไปเข้าร่วมประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสกลุ่มเคร์นส์และการประชุมคณะกรรมการเกษตรสมัยพิเศษระหว่างวันที่ 22-27 กรกฎาคม 2544 โดยมีผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เข้าร่วมประชุมด้วย
การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสกลุ่มเคร์นส์
ที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสกลุ่มเคร์นส์ได้แสดงความกังวลว่าในการประชุมรัฐมนตรีขององค์การการค้าโลกที่กรุงโดฮา ประเทศการ์ตา ภายใต้การเปิดรอบการเจรจารอบใหม่ สมาชิก WTO ได้ให้ความสำคัญค่อนข้างมากกับเรื่องใหม่ๆ เช่น การลงทุนและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น และเรื่องการปฏิบัติตามพันธกรณี โดยได้ละเลยเรื่องการเจรจาเกษตร กลุ่มจึงเห็นว่าจะต้องผลักดันให้สมาชิก WTO เห็นความสำคัญกับการเจรจาเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง mandate ของการเจรจาเกษตรภายใต้การเปิดเจรจารอบการเจรจารอบใหม่ของ WTO จะต้องมากกว่ามาตรา 20 ของความตกลงเกษตรในรอบอุรุกวัย ที่กำหนดแต่เพียงให้มีการเจรจารอบใหม่เท่านั้น พร้อมกับเสนอว่าใน Doha Declaration จะต้องให้ความสำคัญกับการเจรจาเกษตร 5 เรื่อง คือ (1) การไม่เลือกปฏิบัติต่อสินค้าเกษตร (2) ระบุวัตถุประสงค์ของการเจรจาเกษตรที่ชัดเจน (3) ให้ความสำคัญกับ 3 เรื่องหลัก (การเปิดตลาด การอุดหนุนภายใน และการอุดหนุนส่งออก) (4) การให้แต้มต่อกับประเทศกำลังพัฒนา (S&D treatment) (5) มีกรอบเวลาการเจรจาเกษตรที่ชัดเจน ทั้งนี้ ไทยเป็นผู้เสนอให้มีเรื่องการให้แต้มต่อกับประเทศกำลังพัฒนาใน Declaration ดังกล่าว
นอกจากนี้ กลุ่มเคร์นส์ยังได้หารือกับสหรัฐฯ เกี่ยวกับท่าทีของกลุ่มเคร์นส์ข้างต้น แต่สหรัฐฯ แสดงท่าทีที่ผ่อนปรน ต่างจากเดิม โดยแจ้งว่า จะต้องพิจารณาถึงความเป็นไปได้และความเป็นจริง และอาจต้องหารือกับสหภาพยุโรปต่อไป ส่วนการหารือกับสหภาพยุโรปนั้น สหภาพยุโรปยืนยันว่า แม้ว่าจะมีการเปิดรอบการเจรจารอบใหม่ การเจรจาเกษตรยังคงจำกัดที่มาตรา 20 ทั้งนี้ ยังแจ้งว่า สหภาพยุโรป ให้ความสำคัญกับเรื่อง Non-trade concern โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องความปลอดภัยของอาหาร ที่รวมถึง Precautionary Principle
กลุ่มเคร์นส์จะมีการประชุมระดับรัฐมนตรีในระหว่างวันที่ 3-5 กันยายน 2544 ณ นคร ปุนตา เดล เอสเต ประเทศอุรุกวัย เพื่อผลักดันให้มีผลทางการเมืองในเรื่องการเจรจาสินค้าเกษตรต่อการประชุมรัฐมนตรีขององค์การการค้าโลกที่ประเทศการ์ตา ในเดือนพฤศจิกายน 2544 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จะเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมดังกล่าว
การประชุมคณะกรรมการเกษตรสมัยพิเศษ
การประชุมคณะกรรมการเกษตรสมัยพิเศษนั้น มีประเด็นพิจารณา 6 เรื่อง คือ การอุดหนุนส่งออก การให้สินเชื่อเพื่อการส่งออก รัฐวิสาหกิจเพื่อการค้า การจำกัดและการเก็บภาษีส่งออก ความมั่นคงด้านอาหาร และความปลอดภัยของอาหาร ในการประชุมครั้งนี้ ประเทศกำลังพัฒนาได้เข้าร่วมการเจรจาอย่างแข็งขัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเรื่องการอุดหนุนส่งออกและความมั่นคงด้านอาหาร
การอุดหนุนส่งออก กลุ่มเคร์นส์ รวมทั้งไทย สหรัฐฯ และประเทศกำลังพัฒนาผลักดันให้มีการยกเลิก การอุดหนุนส่งออกโดยเร็วเนื่องจากเป็นมาตรการที่บิดเบือนการค้ามากที่สุด แต่ สหภาพยุโรป สวิตเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่นและพวกยังคงยืนยันให้ลดการอุดหนุนส่งออกลงเท่านั้นเช่นที่ได้ดำเนินการในรอบอุรุกวัย
การให้สินเชื่อเพื่อการส่งออกนั้น สมาชิกส่วนใหญ่ ยกเว้นสหรัฐฯ ที่เห็นว่าควรมีการจัดทำระเบียบวินัยที่เข้มงวดในเรื่องการให้สินเชื่อเพื่อการส่งออกเนื่องจากมีผลเป็นการอุดหนุนส่งออกที่บิดเบือนการค้า แต่สหรัฐฯ ยังคงคัดค้าน โดยเห็นว่าการให้สินเชื่อเพื่อการส่งออกเป็นการช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาในเรื่องความมั่นคงของอาหาร และได้ยกตัวอย่างการให้สินเชื่อเพื่อการส่งออกแก่ประเทศในเอเชียเมื่อมีการเกิดวิกฤติการณ์ทางการเงินในเอเชีย
รัฐวิสาหกิจเพื่อการค้า สมาชิกส่วนใหญ่เห็นความสำคัญของการมีกฎระเบียบเรื่องการดำเนินการของรัฐวิสาหกิจที่เป็นผู้นำเข้าและส่งออก ที่อาจมีผลต่อการเปิดตลาดและการบิดเบือนการค้าในเรื่องการอุดหนุนส่งออก รวมทั้งเสนอให้มีการแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการนำเข้าและส่งออก เช่น ราคาและต้นทุน ด้วย
การจำกัดและการเก็บภาษีส่งออกนั้น สมาชิกต่างเห็นว่ามีผลต่อความมั่นคงด้านอาหาร ควร ที่จะยกเลิก โดยให้มีการยกเลิกการเก็บภาษีขั้นบันได (tariff escalation) ด้วยเพราะเป็นการกีดกันการ ส่งออกสินค้าเกษตรพื้นฐาน ในขณะที่เป็นการส่งเสริมสินค้าเกษตรแปรรูป ทั้งนี้ สหรัฐฯ และประเทศกำลังพัฒนา ได้เสนอให้มีข้อยกเว้นให้ประเทศกำลังพัฒนาใช้มาตรการภาษีส่งออกได้เนื่องจากเป็นการช่วยเหลือรายได้ของรัฐ
ความมั่นคงด้านอาหาร กลุ่มเคร์นส์ สหรัฐฯ และประเทศกำลังพัฒนาต่างเรียกร้องให้มีการค้าเสรีสินค้าเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การยกเลิกการอุดหนุนส่งออก เพราะจะช่วยสนับสนุนความมั่นคงด้านอาหารในประเทศกำลังพัฒนา นอกจากนี้ ประเทศกำลังพัฒนายังได้เสนอให้มี "development box หรือ food security box" เพื่อให้แต้มต่อแก่ประเทศกำลังพัฒนา อาทิในเรื่องการคงหรือไม่ต้องลดภาษีนำเข้า การให้ความยืดหยุ่นในการอุดหนุนการผลิตภายใน และการให้มีกองทุนด้านการเงิน เพื่อช่วยเหลือประเทศยากจน เป็นต้น ในขณะที่ ญี่ปุ่น สวิตเซอร์แลนด์ และนอร์เวย์เห็นว่าความมั่นคงด้านอาหารเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับประเทศพัฒนาแล้ว โดยจะต้องใช้นโยบายที่สนับสนุนเรื่องการเกษตรหลายบทบาท (multifunctionality of agriculture) สหภาพยุโรปนั้น ไม่เห็นด้วยกับกลุ่มเคร์นส์และไม่เห็นด้วยกับการมีกองทุนด้านการเงินสำหรับประเทศกำลังพัฒนา
ความปลอดภัยของอาหารนั้น สหภาพยุโรปเสนอให้นำเรื่องความปลอดภัยของอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเรื่อง Precautionary Principle เข้ามาเจรจาเพื่อจัดทำ guideline ให้ชัดเจน ส่วนญี่ปุ่นเสนอเรื่องสินค้า GMOs รวมทั้งเรื่องการปิดฉลากและการบังคับการแจ้งข้อมูล กลุ่มเคร์นส์ รวมทั้งไทย สหรัฐฯ และประเทศกำลังพัฒนา เห็นว่า ความปลอดภัยของอาหารไม่อยู่ในกรอบการเจรจาเกษตร ควรพิจารณาเรื่องนี้ภายใต้ความตกลง SPS และ TBT การจัดทำ guideline เรื่อง Precautionary Principle ควรดำเนินการในองค์การระหว่างประเทศที่ทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานด้านสุขอนามัย
คณะกรรมการเกษตรสมัยพิเศษจะประชุมครั้งต่อไปในวันที่ 24-26 กันยายน 2544 โดยจะมีประเด็นพิจารณา 5 เรื่อง คือ Rural development, Geographical indications, Green box, Blue box, และ Special agricultural measures กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์จะจัดประชุมเพื่อหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดท่าทีของไทยในเรื่องดังกล่าวต่อไป
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-
การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสกลุ่มเคร์นส์
ที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสกลุ่มเคร์นส์ได้แสดงความกังวลว่าในการประชุมรัฐมนตรีขององค์การการค้าโลกที่กรุงโดฮา ประเทศการ์ตา ภายใต้การเปิดรอบการเจรจารอบใหม่ สมาชิก WTO ได้ให้ความสำคัญค่อนข้างมากกับเรื่องใหม่ๆ เช่น การลงทุนและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น และเรื่องการปฏิบัติตามพันธกรณี โดยได้ละเลยเรื่องการเจรจาเกษตร กลุ่มจึงเห็นว่าจะต้องผลักดันให้สมาชิก WTO เห็นความสำคัญกับการเจรจาเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง mandate ของการเจรจาเกษตรภายใต้การเปิดเจรจารอบการเจรจารอบใหม่ของ WTO จะต้องมากกว่ามาตรา 20 ของความตกลงเกษตรในรอบอุรุกวัย ที่กำหนดแต่เพียงให้มีการเจรจารอบใหม่เท่านั้น พร้อมกับเสนอว่าใน Doha Declaration จะต้องให้ความสำคัญกับการเจรจาเกษตร 5 เรื่อง คือ (1) การไม่เลือกปฏิบัติต่อสินค้าเกษตร (2) ระบุวัตถุประสงค์ของการเจรจาเกษตรที่ชัดเจน (3) ให้ความสำคัญกับ 3 เรื่องหลัก (การเปิดตลาด การอุดหนุนภายใน และการอุดหนุนส่งออก) (4) การให้แต้มต่อกับประเทศกำลังพัฒนา (S&D treatment) (5) มีกรอบเวลาการเจรจาเกษตรที่ชัดเจน ทั้งนี้ ไทยเป็นผู้เสนอให้มีเรื่องการให้แต้มต่อกับประเทศกำลังพัฒนาใน Declaration ดังกล่าว
นอกจากนี้ กลุ่มเคร์นส์ยังได้หารือกับสหรัฐฯ เกี่ยวกับท่าทีของกลุ่มเคร์นส์ข้างต้น แต่สหรัฐฯ แสดงท่าทีที่ผ่อนปรน ต่างจากเดิม โดยแจ้งว่า จะต้องพิจารณาถึงความเป็นไปได้และความเป็นจริง และอาจต้องหารือกับสหภาพยุโรปต่อไป ส่วนการหารือกับสหภาพยุโรปนั้น สหภาพยุโรปยืนยันว่า แม้ว่าจะมีการเปิดรอบการเจรจารอบใหม่ การเจรจาเกษตรยังคงจำกัดที่มาตรา 20 ทั้งนี้ ยังแจ้งว่า สหภาพยุโรป ให้ความสำคัญกับเรื่อง Non-trade concern โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องความปลอดภัยของอาหาร ที่รวมถึง Precautionary Principle
กลุ่มเคร์นส์จะมีการประชุมระดับรัฐมนตรีในระหว่างวันที่ 3-5 กันยายน 2544 ณ นคร ปุนตา เดล เอสเต ประเทศอุรุกวัย เพื่อผลักดันให้มีผลทางการเมืองในเรื่องการเจรจาสินค้าเกษตรต่อการประชุมรัฐมนตรีขององค์การการค้าโลกที่ประเทศการ์ตา ในเดือนพฤศจิกายน 2544 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จะเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมดังกล่าว
การประชุมคณะกรรมการเกษตรสมัยพิเศษ
การประชุมคณะกรรมการเกษตรสมัยพิเศษนั้น มีประเด็นพิจารณา 6 เรื่อง คือ การอุดหนุนส่งออก การให้สินเชื่อเพื่อการส่งออก รัฐวิสาหกิจเพื่อการค้า การจำกัดและการเก็บภาษีส่งออก ความมั่นคงด้านอาหาร และความปลอดภัยของอาหาร ในการประชุมครั้งนี้ ประเทศกำลังพัฒนาได้เข้าร่วมการเจรจาอย่างแข็งขัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเรื่องการอุดหนุนส่งออกและความมั่นคงด้านอาหาร
การอุดหนุนส่งออก กลุ่มเคร์นส์ รวมทั้งไทย สหรัฐฯ และประเทศกำลังพัฒนาผลักดันให้มีการยกเลิก การอุดหนุนส่งออกโดยเร็วเนื่องจากเป็นมาตรการที่บิดเบือนการค้ามากที่สุด แต่ สหภาพยุโรป สวิตเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่นและพวกยังคงยืนยันให้ลดการอุดหนุนส่งออกลงเท่านั้นเช่นที่ได้ดำเนินการในรอบอุรุกวัย
การให้สินเชื่อเพื่อการส่งออกนั้น สมาชิกส่วนใหญ่ ยกเว้นสหรัฐฯ ที่เห็นว่าควรมีการจัดทำระเบียบวินัยที่เข้มงวดในเรื่องการให้สินเชื่อเพื่อการส่งออกเนื่องจากมีผลเป็นการอุดหนุนส่งออกที่บิดเบือนการค้า แต่สหรัฐฯ ยังคงคัดค้าน โดยเห็นว่าการให้สินเชื่อเพื่อการส่งออกเป็นการช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาในเรื่องความมั่นคงของอาหาร และได้ยกตัวอย่างการให้สินเชื่อเพื่อการส่งออกแก่ประเทศในเอเชียเมื่อมีการเกิดวิกฤติการณ์ทางการเงินในเอเชีย
รัฐวิสาหกิจเพื่อการค้า สมาชิกส่วนใหญ่เห็นความสำคัญของการมีกฎระเบียบเรื่องการดำเนินการของรัฐวิสาหกิจที่เป็นผู้นำเข้าและส่งออก ที่อาจมีผลต่อการเปิดตลาดและการบิดเบือนการค้าในเรื่องการอุดหนุนส่งออก รวมทั้งเสนอให้มีการแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการนำเข้าและส่งออก เช่น ราคาและต้นทุน ด้วย
การจำกัดและการเก็บภาษีส่งออกนั้น สมาชิกต่างเห็นว่ามีผลต่อความมั่นคงด้านอาหาร ควร ที่จะยกเลิก โดยให้มีการยกเลิกการเก็บภาษีขั้นบันได (tariff escalation) ด้วยเพราะเป็นการกีดกันการ ส่งออกสินค้าเกษตรพื้นฐาน ในขณะที่เป็นการส่งเสริมสินค้าเกษตรแปรรูป ทั้งนี้ สหรัฐฯ และประเทศกำลังพัฒนา ได้เสนอให้มีข้อยกเว้นให้ประเทศกำลังพัฒนาใช้มาตรการภาษีส่งออกได้เนื่องจากเป็นการช่วยเหลือรายได้ของรัฐ
ความมั่นคงด้านอาหาร กลุ่มเคร์นส์ สหรัฐฯ และประเทศกำลังพัฒนาต่างเรียกร้องให้มีการค้าเสรีสินค้าเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การยกเลิกการอุดหนุนส่งออก เพราะจะช่วยสนับสนุนความมั่นคงด้านอาหารในประเทศกำลังพัฒนา นอกจากนี้ ประเทศกำลังพัฒนายังได้เสนอให้มี "development box หรือ food security box" เพื่อให้แต้มต่อแก่ประเทศกำลังพัฒนา อาทิในเรื่องการคงหรือไม่ต้องลดภาษีนำเข้า การให้ความยืดหยุ่นในการอุดหนุนการผลิตภายใน และการให้มีกองทุนด้านการเงิน เพื่อช่วยเหลือประเทศยากจน เป็นต้น ในขณะที่ ญี่ปุ่น สวิตเซอร์แลนด์ และนอร์เวย์เห็นว่าความมั่นคงด้านอาหารเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับประเทศพัฒนาแล้ว โดยจะต้องใช้นโยบายที่สนับสนุนเรื่องการเกษตรหลายบทบาท (multifunctionality of agriculture) สหภาพยุโรปนั้น ไม่เห็นด้วยกับกลุ่มเคร์นส์และไม่เห็นด้วยกับการมีกองทุนด้านการเงินสำหรับประเทศกำลังพัฒนา
ความปลอดภัยของอาหารนั้น สหภาพยุโรปเสนอให้นำเรื่องความปลอดภัยของอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเรื่อง Precautionary Principle เข้ามาเจรจาเพื่อจัดทำ guideline ให้ชัดเจน ส่วนญี่ปุ่นเสนอเรื่องสินค้า GMOs รวมทั้งเรื่องการปิดฉลากและการบังคับการแจ้งข้อมูล กลุ่มเคร์นส์ รวมทั้งไทย สหรัฐฯ และประเทศกำลังพัฒนา เห็นว่า ความปลอดภัยของอาหารไม่อยู่ในกรอบการเจรจาเกษตร ควรพิจารณาเรื่องนี้ภายใต้ความตกลง SPS และ TBT การจัดทำ guideline เรื่อง Precautionary Principle ควรดำเนินการในองค์การระหว่างประเทศที่ทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานด้านสุขอนามัย
คณะกรรมการเกษตรสมัยพิเศษจะประชุมครั้งต่อไปในวันที่ 24-26 กันยายน 2544 โดยจะมีประเด็นพิจารณา 5 เรื่อง คือ Rural development, Geographical indications, Green box, Blue box, และ Special agricultural measures กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์จะจัดประชุมเพื่อหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดท่าทีของไทยในเรื่องดังกล่าวต่อไป
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-