ภาวะเศรษฐกิจโดยทั่วไปของภาคตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงไตรมาสแรกของปี 2544 ดีขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนเล็กน้อย เนื่องจากปัจจัยสำคัญคือ การใช้จ่ายภาคเอกชนขยายตัวสูงขึ้น พิจารณาจากยอดจำหน่ายรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ปริมาณการใช้ไฟฟ้า (ทั้งการใช้ไฟฟ้าเพื่อที่อยู่อาศัยและการใช้ไฟฟ้าเพื่อธุรกิจและอุตสาหกรรม) ภาษีมูลค่าเพิ่ม สินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล จำนวนแรงงานที่เดินทางไปทำงานต่างประเทศ เงินโอนกลับจากแรงงานที่ไปทำงานในต่างประเทศเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ไทยยังคงเกินดุลการค้าลาว รวมทั้งภาครัฐยังคงใช้นโยบายการขาดดุลงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยที่น่าเป็นห่วง ได้แก่ ราคาสินค้าเกษตรสำคัญปรับตัวลดลง สถาบันการเงินยังคงระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อแก่ธุรกิจรายย่อย และความต้องการแรงงานในภาคฯลดลง ทั้งนี้ นักลงทุนและประชาชนยังรอดูความชัดเจนของนโยบายเศรษฐกิจและการเงินของรัฐบาลชุดใหม่ก่อนตัดสินใจลงทุนต่อไป
การผลิตภาคเกษตร ในช่วงไตรมาสแรกปีนี้พืชผลเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อยโรงงาน ส่วนใหญ่ได้เสร็จสิ้นการเก็บเกี่ยวแล้ว ผลผลิตเริ่มทยอยออกสู่ท้องตลาด ราคาข้าวลดลงเนื่องจากข้าวนาปรังเริ่มออกสู่ตลาด ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ราคาลดลง เนื่องจากการนำผลผลิตในสต๊อกออกจำหน่ายเป็นจำนวนมาก ส่วนมันสำปะหลังและอ้อยโรงงานราคาปรับตัวสูงขึ้น
การผลิตนอกภาคเกษตร ขยายตัวเนื่องจากการใช้จ่ายภาคเอกชนเพิ่มขึ้น โดยปริมาณการซื้อขายรถยนต์และรถจักรยายนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.5 และร้อยละ 27.9 ตามลำดับ ปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นทั้งการใช้ไฟฟ้าเพื่อที่อยู่อาศัยและการใช้ไฟฟ้าในธุรกิจและอุตสาหกรรม
ภาคการก่อสร้าง ยังคงทรงตัว ส่วนใหญ่เป็นการก่อสร้างที่อยู่อาศัยและการก่อสร้างอาคารพาณิชย์ในจังหวัดหลักของภาคฯ สำหรับการก่อสร้างภาครัฐยังคงเป็นการก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป ในช่วงไตรมาสแรกปี 2544 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 เป็นผลจากดัชนีราคาสินค้าหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 ขณะที่ดัชนีราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 1.2
ด้านการจ้างงาน ในช่วงไตรมาสแรกปีนี้มีความต้องการแรงงาน 16,090 อัตรา ลดลง ร้อยละ 19.3 โดยมีผู้สมัครงาน 11,134 คน ลดลงร้อยละ 22.0 และมีผู้ได้รับการบรรจุงาน 3,666 คน ลดลงร้อยละ 40.5
ภาคการเงิน ณ สิ้นมีนาคม 2544 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีสาขาธนาคารพาณิชย์ ทั้งสิ้น 507 สำนักงาน (รวมสาขาย่อย 54 สำนักงาน) มีเงินฝากคงค้าง 254,487.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 9.4 ในขณะที่สินเชื่อคงค้าง 212,552.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 9.4 เนื่องจากการโอนหนี้ ที่มีปัญหากลับไปบริหารที่ส่วนกลางเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ และส่วนหนึ่งเป็นการตัดหนี้สูญ เป็นผลทำให้อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากลดลงจากร้อยละ 100.8 มาอยู่ที่ร้อยละ 83.5 ในไตรมาสนี้ โดยธนาคารพาณิชย์ยังคงเข้มงวดในการพิจารณาปล่อยสินเชื่อรายใหม่เพื่อป้องกันมิให้เกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้น ด้านอัตราดอกเบี้ยโดยทั่วไปของธนาคารพาณิชย์ ทั้งเงินกู้และเงินฝากปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
สำหรับเงินโอนของผู้ที่ไปทำงานในต่างประเทศมีทั้งสิ้น 8,115.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.3 เนื่องจากค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงในช่วงไตรมาสแรกปีนี้ ประกอบกับความนิยมในการเดินทางไปทำงานในต่างประเทศยังคงมีมากอย่างต่อเนื่อง
ภาคการคลัง ในช่วงไตรมาสแรกปีนี้ รัฐบาลจัดเก็บรายได้ในภาคฯ ได้ทั้งสิ้น 3,555.5 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 10.6 เนื่องจากการจัดเก็บภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก ลดลงร้อยละ 32.5 และภาษีสุราลดลงร้อยละ 24.5 จากการที่บริษัทที่ได้รับสัมปทานโรงงานสุรา ในปีก่อนยังไม่ดำเนินการผลิตใหม่ เนื่องจากยังมีสินค้าค้างสต๊อกอยู่จำนวนมาก สำหรับภาษีที่ จัดเก็บได้เพิ่มขึ้น ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีมูลค่าเพิ่ม ทางด้านรายจ่ายมี 40,955.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.7 ทั้งนี้ เป็นผลจากการจัดสรรเงินอุดหนุนในโครงการถ่ายโอนงานหรือกิจกรรมการบริการสาธารณะให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำให้เงินในงบประมาณขาดดุล 37,399.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ภาวะการค้าชายแดนไทย-ลาว ในช่วงไตรมาสแรกปี 2544 มูลค่าการค้าชายแดน ไทย-ลาว 4,724.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการส่งออก 3,588.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 สินค้าที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า 490.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 72.5 สินค้าบริโภคในครัวเรือน 394.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.6 มีการนำเข้า 1,136.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.3 สินค้านำเข้าที่สำคัญยังคงเป็นไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ 883.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6
ภาคการเงิน
ธนาคารพาณิชย์
ณ สิ้นมีนาคม 2544 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีสาขาธนาคารพาณิชย์ทั้งสิ้น 507 สำนักงาน (รวมสาขาย่อย 54 สำนักงาน) ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน 13 สำนักงาน เนื่องจากการลดขนาดองค์กรเพื่อความคล่องตัวและเป็นการลดต้นทุนของธนาคารพาณิชย์บางแห่ง
จากข้อมูลเบื้องต้นในไตรมาสแรกของปี 2544 เงินฝากธนาคารพาณิชย์มียอดคงค้าง 254,487.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ในขณะที่สินเชื่อคงค้าง 212,552.0 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.4 เนื่องจากการโอนหนี้ที่มีปัญหากลับไปบริหารที่ส่วนกลางเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ และส่วนหนึ่งเป็นการตัดหนี้สูญ เป็นผลทำให้อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากลดลงจากร้อยละ 100.8 มาอยู่ที่ร้อยละ 83.5 ในไตรมาสนี้
ยโสธรเป็นจังหวัดที่มีอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากสูงสุด คิดเป็นร้อยละ 130.7 รองลงมา ได้แก่ อุบลราชธานี ร้อยละ 112.3 และมุกดาหารร้อยละ 111.3 ในขณะที่จังหวัดชัยภูมิมีอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากต่ำที่สุดในภาคฯ คิดเป็นร้อยละ 64.5
เงินฝากสินเชื่อธนาคารพาณิชย์
(หน่วย : ล้านบาท)
รายการ 2543 2544
ไตรมาสแรก ไตรมาส 4 ไตรมาสแรก
เงินฝาก (ล้านบาท) 232,684.00 241,050.30 254,487.7 P
-0.5 -8.1 -9.4
สินเชื่อ (ล้านบาท) 234,633.10 194,867.40 212,552.0 P
(-5.7) (-17.2) (-9.4)
สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝาก (ร้อยละต่อปี) 100.8 80.8 83.5
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน
P : ข้อมูลเบื้องต้น
จากการสอบถามธนาคารพาณิชย์บางแห่งในภาคฯ พบว่าการให้สินเชื่อรายใหม่มีน้อย สำหรับการให้สินเชื่อรายใหม่จะเป็นสินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลในหมวดสินเชื่อเพื่อการเคหะ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยจะเป็นการอนุมัติรายย่อยที่มีมูลค่าไม่มาก สำหรับสินเชื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเริ่มมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นแต่ยังไม่มาก ทั้งนี้เป็นผลจากการสนับสนุนสินเชื่อดังกล่าวของธนาคารพาณิชย์บางแห่ง สำหรับการให้สินเชื่อรายใหม่โดยรวมธนาคารพาณิชย์ยังคงเข้มงวดและพิจารณาจากความสามารถในการชำระหนี้เป็นหลัก เพื่อป้องกันมิให้เกิดหนี้ที่ไม่ก่อรายได้ที่อาจเพิ่มขึ้น
ในด้านอัตราดอกเบี้ยโดยทั่วไปของธนาคารพาณิชย์ในไตรมาสแรกปีนี้มีการปรับลดลง โดยเฉพาะในเดือนกุมภาพันธ์ซึ่งมีการปรับลดลงมาก เนื่องจากระบบธนาคารพาณิชย์มีสภาพคล่องส่วนเกินอยู่ในระดับสูง จึงมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเพื่อลดภาระต้นทุนของธนาคาร ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่อยู่ระหว่างร้อยละ 2.50-3.25 ต่อปี มาอยู่ระหว่างร้อยละ 1.75-3.00 ต่อปี ในไตรมาสนี้ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่อยู่ระหว่างร้อยละ3.25-4.50 ต่อปี มาอยู่ระหว่างร้อยละ 2.50-4.50 ต่อปี ทางด้านสินเชื่อ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR ลดลงจากระหว่างร้อยละ 8.00-9.75 ต่อปี มาอยู่ระหว่างร้อยละ 7.25-9.00 ต่อปีในไตรมาสแรกปีนี้ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับลูกค้าทั่วไปลดลงจากระหว่างร้อยละ 11.25-13.25 ต่อปี มาอยู่ระหว่างร้อยละ 10.25-13.25 ต่อปีในไตรมาสนี้ สำหรับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยคาดว่าจะทรงตัวในระดับต่ำต่อไปอีกระยะหนึ่ง
ความเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ย
(ร้อยละต่อปี)
รายการ 2543 2544
ไตรมาสแรก ไตรมาส 4 ไตรมาสแรก
เงินฝาก
ประจำ 12 เดือน 3.25-4.50 3.00-4.50 2.50-4.50
ประจำ 6 เดือน 3.00-4.00 2.50-3.75 2.25-3.75
ประจำ 3 เดือน 3.00-4.00 2.50-3.75 2.25-3.75
ออมทรัพย์ 2.50-3.25 2.25-3.00 1.75-3.00
สินเชื่อ
ลูกค้าทั่วไป 11.25-13.25 10.75-13.25 10.25-13.25
MLR 8.00-9.75 7.50-9.00 7.25-9.00
MRR 8.50-10.50 8.00-9.75 7.75-9.75
ที่มา : ธนาคารพาณิชย์ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
ในไตรมาสแรกปีนี้ในภาคฯ ปริมาณการใช้เช็คที่ผ่านสำนักหักบัญชีมีทั้งสิ้น 1,022,469 ฉบับ คิดเป็นมูลค่า 85,615.8 ล้านบาท (เฉลี่ยฉบับละ 83,734 บาท) เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกัน ปีก่อนปริมาณเช็คเรียกเก็บเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 และมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 จากการสอบถามผู้รับและผู้จ่ายส่วนหนึ่ง เริ่มมั่นใจในการใช้เช็คกับธุรกรรมการค้ามากขึ้น ทั้งนี้ในไตรมาสแรกปีนี้เมื่อเทียบกับไตรมาสสุดท้ายปีก่อน ปริมาณเช็คคืนเพราะไม่มีเงินต่อเช็คเรียกเก็บ จำนวนฉบับลดลงร้อยละ 9.7 และมูลค่าลดลงร้อยละ 9.2 จากข้อมูลเบื้องต้นในไตรมาสแรกปีนี้ผู้ที่ไปทำงานในต่างประเทศแล้วโอนเงินกลับภูมิลำเนาผ่านระบบธนาคารพาณิชย์ในภาคฯ ทั้งสิ้น 8,115.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.3 เนื่องจากค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงในช่วงไตรมาสแรกปีนี้ โดยอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 41.67 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ ในขณะที่ช่วงเดียวกันปีก่อนเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 37.65 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้เมื่อแปลงค่ากลับเป็นเงินบาทจะมีมูลค่าสูงขึ้น ประกอบกับความนิยมในการเดินทางไปทำงานในต่างประเทศจากแรงงานในภาคฯ ยังคงมีอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง
ธนาคารออมสิน
ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้สาขาธนาคารออมสินในภาค 134 สำนักงานรับฝากเงิน 14,709.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 2.2 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน รับฝากเงิน 15,046.3 ล้านบาท เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลดลง ขณะที่มีการถอนเงิน 14,855.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.0 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ถอนเงิน 12,480.4 ล้านบาท ทำให้มีเงินฝากคงค้าง 37,574.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 32,027.6 ล้านบาท
เงินฝากธนาคารออมสิน
(หน่วย : ล้านบาท)
รายการ 2543 2544
ไตรมาสแรก ไตรมาส 4 ไตรมาสแรก
เงินรับฝาก 15,046.30 12,573.40 14,709.90
-12.5 -7.1 (-2.2)
เงินถอน 12,480.40 10,997.10 14,855.80
-0.9 (-8.3) -19
เงินฝากคงค้าง 32,027.60 35,576.70 37,574.50
-10.9 -20.8 -17.3
ที่มา : ธนาคารออมสิน
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ในช่วงไตรมาสแรกปี 2544 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรให้สินเชื่อรวมทั้งสิ้น 35,954.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.0 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ให้สินเชื่อ 30,212.3 ล้านบาท เนื่องจากสินเชื่อในจังหวัดนครราชสีมาเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ ด้านการรับชำระคืน 35,342.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.8 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 28,093.7 ล้านบาท เนื่องจากการชำระคืนของเกษตรกรในจังหวัดนครราชสีมาเพิ่มขึ้น จากการประชาสัมพันธ์นโยบายปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (ซึ่งเริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคมปีก่อน) และนโยบายส่งเสริมให้เกษตรกรชำระหนี้ที่สัมฤทธิ์ผล ทำให้มียอดสินเชื่อคงค้าง 75,636.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ยอดคงค้าง 75,560.6 ล้านบาท
สินเชื่อธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
(หน่วย : ล้านบาท)
รายการ 2543 2544
ไตรมาสแรก ไตรมาส 4 ไตรมาสแรก
ให้กู้ 30,212.30 7,079.30 35,954.10
-14.6 -5.5 -19
ชำระคืน 28,093.70 7,427.00 35,342.90
-12.4 -12.2 -25.8
สินเชื่อคงค้าง 72,560.60 75,025.10 75,636.30
-9.9 -6.5 -4.2
ที่มา : ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ธนาคารอาคารสงเคราะห์
ในช่วงไตรมาสแรกปีนี้ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ในภาคมีเงินฝากคงค้าง 3,448.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.6 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 2,488.0 ล้านบาท แต่ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับไตรมาสสุดท้ายของปีก่อน ซึ่งมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 69.6 โดยเงินฝากส่วนใหญ่เป็นเงินฝากประจำคงค้าง 2,783.1 ล้านบาท(คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 80.7) เพิ่มขึ้นร้อยละ 54.5 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 1,801.8 ล้านบาท เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำโดยเฉพาะ เงินฝากประจำ 2 ปี ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยจูงใจมากกว่าเงินฝากประเภทอื่น ทำให้มีลูกค้านำเงินมาฝากเพิ่มขึ้นมาก โดยส่วนหนึ่งเป็นลูกค้ากลุ่มเดิมของธนาคารที่เปลี่ยนมาฝากบัญชีเงินฝากประจำแทน ขณะที่สินเชื่อคงค้าง 26,319.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนคงค้าง 26,110.0 ล้านบาท
เงินฝาก-สินเชื่อธนาคารอาคารสงเคราะห์
(หน่วย : ล้านบาท)
รายการ 2543 2544
ไตรมาสแรก ไตรมาส 4 ไตรมาสแรก
เงินฝากคงค้าง 2,488.00 3,501.10 3,448.50
-27 -69.6 -38.6
สินเชื่อคงค้าง 26,110.00 26,300.10 26,319.40
(-2.6) (-1.8) (0.8)(0.8)
ที่มา : ธนาคารอาคารสงเคราะห์
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน
บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ในปีนี้สาขาบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือรวม 9 สำนักงานได้รับการอนุมัติวงเงิน 2,600.0 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 17.3 ของวงเงินอนุมัติรวม 15,000 ล้านบาท ซึ่งคิดอัตราดอกเบี้ย MLR+1% ต่อปี โดยช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ สาขาบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยในภาคฯ อนุมัติสินเชื่อ 43 โครงการ เป็นเงิน 785.3 ล้านบาท เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนอนุมัติสินเชื่อ 42 โครงการ เป็นเงิน 545.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 และร้อยละ 43.9 ตามลำดับ เนื่องจากยังคงให้การสนับสนุนทางการเงินแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) นอกจากนี้ในช่วงปลายปีที่ผ่านมามีการจัดตั้งศูนย์พัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อให้บริการคำปรึกษาและแก้ไขปัญหาแก่ผู้ประกอบการ ทั้งในส่วนที่เป็นลูกค้าและผู้ประกอบการทั่วไป
จำนวนโครงการและเงินให้กู้บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
(หน่วย : ล้านบาท)
รายการ 2543 2544
ไตรมาสแรก ไตรมาส 4 ไตรมาสแรก
จำนวน (โครงการ) 42 46 43
-55.6 -21.1 -2.4
เงินให้กู้ 545.9 1,051.30 785.3
-74.8 -45.8 -43.9
ที่มา : บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน
บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม
ในปีนี้ สาขาบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพิ่มขึ้นจำนวน 2 สำนักงาน ได้แก่ สาขาจังหวัดอุดรธานี และจังหวัดอุบลราชธานี รวมทั้งสิ้น 4 สำนักงานได้รับอนุมัติวงเงินสินเชื่อทั้งปี 1,000.0 ล้านบาท(คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 13.3 ของวงเงินอนุมัติรวม 7,500.0 ล้านบาท) ซึ่งคิดอัตราดอกเบี้ย MLR+1-2 % ต่อปี โดยในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้อนุมัติสินเชื่อ13 โครงการ (เท่ากับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน) เป็นเงิน 121.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 292.6 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เป็นเงิน 31.0 ล้านบาท เนื่องจากนโยบายเร่งรัดการให้สินเชื่อตั้งแต่ต้นปี และการเร่งส่งเสริมการประชาสัมพันธ์องค์กร ทำให้ลูกค้ารู้จักและมาใช้บริการมากขึ้น
จำนวนโครงการและเงินให้กู้บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม
(หน่วย : ล้านบาท)
รายการ 2543 2544
ไตรมาสแรก ไตรมาส 4 ไตรมาสแรก
จำนวน (โครงการ) 13 16 13
(n.a.) -23.1 0
เงินให้กู้ 31 83.8 121.7
(n.a.) -47 -292.6
ที่มา : บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน
การคลัง
ในช่วงไตรมาสแรก ปี 2544 รายได้รัฐบาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดเก็บได้ 3,555.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 10.6 เทียบจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 3,979.0 ล้านบาท เนื่องจากการจัดเก็บภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก 214.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 32.5 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 317.8 ล้านบาท ผลจากอัตราดอกเบี้ยลดลง และภาษีสุรา 1,151.5 ล้านบาท ลดลง ร้อยละ 24.5 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 1,524.5 ล้านบาท จากการที่บริษัทที่ได้รับสัมปทาน โรงงานสุราในปีก่อนยังไม่ดำเนินการผลิตใหม่ เนื่องจากยังมีสินค้าค้างสต็อกอยู่เป็นจำนวนมาก ส่วนภาษีที่จัดเก็บได้เพิ่มขึ้น ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 876.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.3 เนื่องจากเป็นช่วงครบกำหนดการยื่นชำระภาษีตามแบบ ภ.ง.ด.91 และภาษีมูลค่าเพิ่ม 683.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.9 ผลจากการขยายฐานภาษี
ทางด้านรายจ่าย 40,955.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.7 จากไตรมาสเดียวกันของ ปีก่อน 37,008.1 ล้านบาท เนื่องจากรายจ่ายลงทุน 16,910.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.4 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 12,775.6 ล้านบาท เป็นผลจากการเบิกจ่ายของหมวดเงินอุดหนุน 10,803.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 77.2 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 6,096.8 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการจัดสรรเงินอุดหนุนในโครงการถ่ายโอนงานหรือกิจกรรมการบริการสาธารณะให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำให้เงินในงบประมาณขาดดุล 37,399.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนขาดดุล 33,029.1 ล้านบาท ในส่วนของรายจ่ายตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (มิยาซาวา) เบิกจ่าย 145.4 ล้านบาท เมื่อรวมเงินส่วนนี้รายจ่ายของภาครัฐบาลในภาคมีวงเงินรวม 41,100.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.7 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 37,798.8 ล้านบาท
การจัดเก็บภาษีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
(หน่วย : ล้านบาท)
รายการ 2543 2544
ไตรมาสแรก ไตรมาส 4 ไตรมาสแรก
รายได้ 3,979.00 3,281.20 3,555.50
(n.a.) (-4.8) (-10.6)
- ภาษี 3,441.00 2,832.50 3,183.70
(n.a.) (-9.3) (-7.5)
- อื่น ๆ 538 448.7 371.8
(n.a.) -37.8 (-30.9)
รายจ่าย 37,008.10 34,267.20 40,955.10
(n.a.) -6.3 -10.7
- รายจ่ายประจำ 24,232.50 23,190.50 24,044.40
(n.a.) -6.1 (-0.8)
- รายจ่ายลงทุน 12,775.60 11,076.70 16,910.70
(n.a.) -6.9 -32.4
เกินดุล (+) ขาดดุล (-) 33,029.10 -30,986.00 -37,399.60
รายจ่ายตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐ 790.7 115.4 145.4
รายจ่ายรวม 37,798.80 34,382.60 41,100.50
(n.a.) -3.7 -8.7
ที่มา : สำนักงานคลังจังหวัด สำนักงานสรรพากรจังหวัด และสำนักงานสรรพสามิตจังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บ หมายถึง อัตราการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
รายจ่ายตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (มิยาซาวา) ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ สิ้นเดือน มีนาคม 2544 มีวงเงินอนุมัติทั้งสิ้น 12,288.0 ล้านบาท เบิกจ่าย 12,002.0 ล้านบาท หรือร้อยละ 97.7 ของวงเงินอนุมัติ ส่วนใหญ่เป็นการเบิกจ่ายใช้ในโครงการสร้างงาน 7,069.0 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 58.9 ส่วนวงเงินอนุมัติที่เหลืออยู่ 286.0 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นโครงการก่อสร้าง ทำให้มีการขยายระยะเวลาโครงการออกไปอีก คาดว่าจะเสร็จสิ้นโครงการเดือนกันยายน 2544
ระดับราคา
อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2544 ดูจากดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 เป็นผลจากดัชนีราคาสินค้าหมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหารเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 ขณะที่ดัชนีราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 1.2 แสดงให้เห็นว่าผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากปีก่อนยังไม่ส่งผลรุนแรงต่อระดับราคาสินค้าโดยทั่วไป เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรส่วนใหญ่ลดลง
หมวดอาหารและเครื่องดื่ม ส่วนใหญ่สินค้ามีราคาลดลงเมื่อเทียบจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ไม่ว่าจะเป็นหมวดไข่และผลิตภัณฑ์นมลดลงร้อยละ 2.8 หมวดเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ลดลงร้อยละ 1.9 หมวดเนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ และสัตว์น้ำลดลงร้อยละ 2.2 และหมวดข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งลดลงร้อยละ 1.8
ดัชนีราคาผู้บริโภคและดัชนีราคาขายส่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
รายการ 2543 2544
ไตรมาสแรก ไตรมาส 4 ไตรมาสแรก
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป 132.9 134.6 134.4
-0.6 -1.7 -1.1
อาหารและเครื่องดื่ม 140 139.3 138.3
(-2.1) (-0.9) (-1.2)
อื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่ม 128.7 131.5 131.7
-2.1 -3.1 -2.3
ที่มา : กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บแสดงการเปลี่ยนแปลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน
หมวดอื่นที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่ม หมวดสินค้าที่มีราคาเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด คือ หมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสารเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 ซึ่งเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาพาหนะและค่ารถยนต์รับจ้างสาธารณะ หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 หมวดเคหสถานเครื่องเรือนเครื่องใช้ในบ้านเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 และหมวดเครื่องนุ่งห่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7
การจ้างงาน
ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ แรงงานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เดินทางไปทำงานต่างประเทศยังคงเพิ่มขึ้นจากช่วงเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยมีแรงงานเดินทางไปจำนวน 31,770 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากค่าจ้างแรงงานที่สูงจูงใจและการส่งเสริมจากสถาบันการเงิน ประเทศไต้หวันเป็นประเทศที่แรงงานนิยมเดินทางไปมากที่สุด
จังหวัดอุดรธานีมีแรงงานเดินทางไปทำงานมากที่สุด 5,932 คน รองลงมาเป็นจังหวัดนครราชสีมา 4,563 คน และจังหวัดขอนแก่น 3,088 คน สำหรับการจัดหางานของภาครัฐในภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบว่ามีตำแหน่งงานว่าง 17,230 อัตรา ลดลงร้อยละ 13.6 โดยมีผู้สมัครงานจำนวน 11,227 คน ลดลงร้อยละ 21.4 และมี ผู้ได้รับการบรรจุงาน 3,819 คน ลดลงร้อยละ 38.0 จำนวนผู้ที่ได้รับการบรรจุต่ำกว่าจำนวนตำแหน่งงานที่ว่างเป็นจำนวนมาก เป็นเพราะคุณสมบัติไม่เหมาะสมกับตำแหน่งงาน
การจ้างงานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
รายการ 2543 2544
ไตรมาสแรก ไตรมาส 4 ไตรมาสแรก
การจ้างงาน : คน 1/
ผู้สมัครงาน 14,288 10,363 11,227
(-11.7) -10.7 (-21.4)
ตำแหน่งงานว่าง 19,956 21,112 17,230
-107 -58 (-13.6)
การบรรจุงาน 6,161 4,346 3,819
(-8.0) -10.2 (-38.0)
แรงงานต่างประเทศ 2/ 30,112 27,535 31,770
-47.8 (-17.9) -5.5
ที่มา : 1/ ศูนย์ข้อมูลตลาดแรงงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
2/ สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ กรมการจัดหางาน
-ยังมีต่อ-
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยที่น่าเป็นห่วง ได้แก่ ราคาสินค้าเกษตรสำคัญปรับตัวลดลง สถาบันการเงินยังคงระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อแก่ธุรกิจรายย่อย และความต้องการแรงงานในภาคฯลดลง ทั้งนี้ นักลงทุนและประชาชนยังรอดูความชัดเจนของนโยบายเศรษฐกิจและการเงินของรัฐบาลชุดใหม่ก่อนตัดสินใจลงทุนต่อไป
การผลิตภาคเกษตร ในช่วงไตรมาสแรกปีนี้พืชผลเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อยโรงงาน ส่วนใหญ่ได้เสร็จสิ้นการเก็บเกี่ยวแล้ว ผลผลิตเริ่มทยอยออกสู่ท้องตลาด ราคาข้าวลดลงเนื่องจากข้าวนาปรังเริ่มออกสู่ตลาด ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ราคาลดลง เนื่องจากการนำผลผลิตในสต๊อกออกจำหน่ายเป็นจำนวนมาก ส่วนมันสำปะหลังและอ้อยโรงงานราคาปรับตัวสูงขึ้น
การผลิตนอกภาคเกษตร ขยายตัวเนื่องจากการใช้จ่ายภาคเอกชนเพิ่มขึ้น โดยปริมาณการซื้อขายรถยนต์และรถจักรยายนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.5 และร้อยละ 27.9 ตามลำดับ ปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นทั้งการใช้ไฟฟ้าเพื่อที่อยู่อาศัยและการใช้ไฟฟ้าในธุรกิจและอุตสาหกรรม
ภาคการก่อสร้าง ยังคงทรงตัว ส่วนใหญ่เป็นการก่อสร้างที่อยู่อาศัยและการก่อสร้างอาคารพาณิชย์ในจังหวัดหลักของภาคฯ สำหรับการก่อสร้างภาครัฐยังคงเป็นการก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป ในช่วงไตรมาสแรกปี 2544 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 เป็นผลจากดัชนีราคาสินค้าหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 ขณะที่ดัชนีราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 1.2
ด้านการจ้างงาน ในช่วงไตรมาสแรกปีนี้มีความต้องการแรงงาน 16,090 อัตรา ลดลง ร้อยละ 19.3 โดยมีผู้สมัครงาน 11,134 คน ลดลงร้อยละ 22.0 และมีผู้ได้รับการบรรจุงาน 3,666 คน ลดลงร้อยละ 40.5
ภาคการเงิน ณ สิ้นมีนาคม 2544 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีสาขาธนาคารพาณิชย์ ทั้งสิ้น 507 สำนักงาน (รวมสาขาย่อย 54 สำนักงาน) มีเงินฝากคงค้าง 254,487.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 9.4 ในขณะที่สินเชื่อคงค้าง 212,552.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 9.4 เนื่องจากการโอนหนี้ ที่มีปัญหากลับไปบริหารที่ส่วนกลางเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ และส่วนหนึ่งเป็นการตัดหนี้สูญ เป็นผลทำให้อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากลดลงจากร้อยละ 100.8 มาอยู่ที่ร้อยละ 83.5 ในไตรมาสนี้ โดยธนาคารพาณิชย์ยังคงเข้มงวดในการพิจารณาปล่อยสินเชื่อรายใหม่เพื่อป้องกันมิให้เกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้น ด้านอัตราดอกเบี้ยโดยทั่วไปของธนาคารพาณิชย์ ทั้งเงินกู้และเงินฝากปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
สำหรับเงินโอนของผู้ที่ไปทำงานในต่างประเทศมีทั้งสิ้น 8,115.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.3 เนื่องจากค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงในช่วงไตรมาสแรกปีนี้ ประกอบกับความนิยมในการเดินทางไปทำงานในต่างประเทศยังคงมีมากอย่างต่อเนื่อง
ภาคการคลัง ในช่วงไตรมาสแรกปีนี้ รัฐบาลจัดเก็บรายได้ในภาคฯ ได้ทั้งสิ้น 3,555.5 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 10.6 เนื่องจากการจัดเก็บภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก ลดลงร้อยละ 32.5 และภาษีสุราลดลงร้อยละ 24.5 จากการที่บริษัทที่ได้รับสัมปทานโรงงานสุรา ในปีก่อนยังไม่ดำเนินการผลิตใหม่ เนื่องจากยังมีสินค้าค้างสต๊อกอยู่จำนวนมาก สำหรับภาษีที่ จัดเก็บได้เพิ่มขึ้น ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีมูลค่าเพิ่ม ทางด้านรายจ่ายมี 40,955.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.7 ทั้งนี้ เป็นผลจากการจัดสรรเงินอุดหนุนในโครงการถ่ายโอนงานหรือกิจกรรมการบริการสาธารณะให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำให้เงินในงบประมาณขาดดุล 37,399.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ภาวะการค้าชายแดนไทย-ลาว ในช่วงไตรมาสแรกปี 2544 มูลค่าการค้าชายแดน ไทย-ลาว 4,724.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการส่งออก 3,588.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 สินค้าที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า 490.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 72.5 สินค้าบริโภคในครัวเรือน 394.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.6 มีการนำเข้า 1,136.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.3 สินค้านำเข้าที่สำคัญยังคงเป็นไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ 883.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6
ภาคการเงิน
ธนาคารพาณิชย์
ณ สิ้นมีนาคม 2544 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีสาขาธนาคารพาณิชย์ทั้งสิ้น 507 สำนักงาน (รวมสาขาย่อย 54 สำนักงาน) ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน 13 สำนักงาน เนื่องจากการลดขนาดองค์กรเพื่อความคล่องตัวและเป็นการลดต้นทุนของธนาคารพาณิชย์บางแห่ง
จากข้อมูลเบื้องต้นในไตรมาสแรกของปี 2544 เงินฝากธนาคารพาณิชย์มียอดคงค้าง 254,487.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ในขณะที่สินเชื่อคงค้าง 212,552.0 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.4 เนื่องจากการโอนหนี้ที่มีปัญหากลับไปบริหารที่ส่วนกลางเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ และส่วนหนึ่งเป็นการตัดหนี้สูญ เป็นผลทำให้อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากลดลงจากร้อยละ 100.8 มาอยู่ที่ร้อยละ 83.5 ในไตรมาสนี้
ยโสธรเป็นจังหวัดที่มีอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากสูงสุด คิดเป็นร้อยละ 130.7 รองลงมา ได้แก่ อุบลราชธานี ร้อยละ 112.3 และมุกดาหารร้อยละ 111.3 ในขณะที่จังหวัดชัยภูมิมีอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากต่ำที่สุดในภาคฯ คิดเป็นร้อยละ 64.5
เงินฝากสินเชื่อธนาคารพาณิชย์
(หน่วย : ล้านบาท)
รายการ 2543 2544
ไตรมาสแรก ไตรมาส 4 ไตรมาสแรก
เงินฝาก (ล้านบาท) 232,684.00 241,050.30 254,487.7 P
-0.5 -8.1 -9.4
สินเชื่อ (ล้านบาท) 234,633.10 194,867.40 212,552.0 P
(-5.7) (-17.2) (-9.4)
สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝาก (ร้อยละต่อปี) 100.8 80.8 83.5
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน
P : ข้อมูลเบื้องต้น
จากการสอบถามธนาคารพาณิชย์บางแห่งในภาคฯ พบว่าการให้สินเชื่อรายใหม่มีน้อย สำหรับการให้สินเชื่อรายใหม่จะเป็นสินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลในหมวดสินเชื่อเพื่อการเคหะ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยจะเป็นการอนุมัติรายย่อยที่มีมูลค่าไม่มาก สำหรับสินเชื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเริ่มมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นแต่ยังไม่มาก ทั้งนี้เป็นผลจากการสนับสนุนสินเชื่อดังกล่าวของธนาคารพาณิชย์บางแห่ง สำหรับการให้สินเชื่อรายใหม่โดยรวมธนาคารพาณิชย์ยังคงเข้มงวดและพิจารณาจากความสามารถในการชำระหนี้เป็นหลัก เพื่อป้องกันมิให้เกิดหนี้ที่ไม่ก่อรายได้ที่อาจเพิ่มขึ้น
ในด้านอัตราดอกเบี้ยโดยทั่วไปของธนาคารพาณิชย์ในไตรมาสแรกปีนี้มีการปรับลดลง โดยเฉพาะในเดือนกุมภาพันธ์ซึ่งมีการปรับลดลงมาก เนื่องจากระบบธนาคารพาณิชย์มีสภาพคล่องส่วนเกินอยู่ในระดับสูง จึงมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเพื่อลดภาระต้นทุนของธนาคาร ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่อยู่ระหว่างร้อยละ 2.50-3.25 ต่อปี มาอยู่ระหว่างร้อยละ 1.75-3.00 ต่อปี ในไตรมาสนี้ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 12 เดือนลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่อยู่ระหว่างร้อยละ3.25-4.50 ต่อปี มาอยู่ระหว่างร้อยละ 2.50-4.50 ต่อปี ทางด้านสินเชื่อ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MLR ลดลงจากระหว่างร้อยละ 8.00-9.75 ต่อปี มาอยู่ระหว่างร้อยละ 7.25-9.00 ต่อปีในไตรมาสแรกปีนี้ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับลูกค้าทั่วไปลดลงจากระหว่างร้อยละ 11.25-13.25 ต่อปี มาอยู่ระหว่างร้อยละ 10.25-13.25 ต่อปีในไตรมาสนี้ สำหรับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยคาดว่าจะทรงตัวในระดับต่ำต่อไปอีกระยะหนึ่ง
ความเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ย
(ร้อยละต่อปี)
รายการ 2543 2544
ไตรมาสแรก ไตรมาส 4 ไตรมาสแรก
เงินฝาก
ประจำ 12 เดือน 3.25-4.50 3.00-4.50 2.50-4.50
ประจำ 6 เดือน 3.00-4.00 2.50-3.75 2.25-3.75
ประจำ 3 เดือน 3.00-4.00 2.50-3.75 2.25-3.75
ออมทรัพย์ 2.50-3.25 2.25-3.00 1.75-3.00
สินเชื่อ
ลูกค้าทั่วไป 11.25-13.25 10.75-13.25 10.25-13.25
MLR 8.00-9.75 7.50-9.00 7.25-9.00
MRR 8.50-10.50 8.00-9.75 7.75-9.75
ที่มา : ธนาคารพาณิชย์ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
ในไตรมาสแรกปีนี้ในภาคฯ ปริมาณการใช้เช็คที่ผ่านสำนักหักบัญชีมีทั้งสิ้น 1,022,469 ฉบับ คิดเป็นมูลค่า 85,615.8 ล้านบาท (เฉลี่ยฉบับละ 83,734 บาท) เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกัน ปีก่อนปริมาณเช็คเรียกเก็บเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 และมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 จากการสอบถามผู้รับและผู้จ่ายส่วนหนึ่ง เริ่มมั่นใจในการใช้เช็คกับธุรกรรมการค้ามากขึ้น ทั้งนี้ในไตรมาสแรกปีนี้เมื่อเทียบกับไตรมาสสุดท้ายปีก่อน ปริมาณเช็คคืนเพราะไม่มีเงินต่อเช็คเรียกเก็บ จำนวนฉบับลดลงร้อยละ 9.7 และมูลค่าลดลงร้อยละ 9.2 จากข้อมูลเบื้องต้นในไตรมาสแรกปีนี้ผู้ที่ไปทำงานในต่างประเทศแล้วโอนเงินกลับภูมิลำเนาผ่านระบบธนาคารพาณิชย์ในภาคฯ ทั้งสิ้น 8,115.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.3 เนื่องจากค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงในช่วงไตรมาสแรกปีนี้ โดยอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 41.67 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ ในขณะที่ช่วงเดียวกันปีก่อนเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 37.65 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้เมื่อแปลงค่ากลับเป็นเงินบาทจะมีมูลค่าสูงขึ้น ประกอบกับความนิยมในการเดินทางไปทำงานในต่างประเทศจากแรงงานในภาคฯ ยังคงมีอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง
ธนาคารออมสิน
ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้สาขาธนาคารออมสินในภาค 134 สำนักงานรับฝากเงิน 14,709.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 2.2 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน รับฝากเงิน 15,046.3 ล้านบาท เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลดลง ขณะที่มีการถอนเงิน 14,855.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.0 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ถอนเงิน 12,480.4 ล้านบาท ทำให้มีเงินฝากคงค้าง 37,574.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 32,027.6 ล้านบาท
เงินฝากธนาคารออมสิน
(หน่วย : ล้านบาท)
รายการ 2543 2544
ไตรมาสแรก ไตรมาส 4 ไตรมาสแรก
เงินรับฝาก 15,046.30 12,573.40 14,709.90
-12.5 -7.1 (-2.2)
เงินถอน 12,480.40 10,997.10 14,855.80
-0.9 (-8.3) -19
เงินฝากคงค้าง 32,027.60 35,576.70 37,574.50
-10.9 -20.8 -17.3
ที่มา : ธนาคารออมสิน
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ในช่วงไตรมาสแรกปี 2544 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรให้สินเชื่อรวมทั้งสิ้น 35,954.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.0 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ให้สินเชื่อ 30,212.3 ล้านบาท เนื่องจากสินเชื่อในจังหวัดนครราชสีมาเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ ด้านการรับชำระคืน 35,342.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.8 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 28,093.7 ล้านบาท เนื่องจากการชำระคืนของเกษตรกรในจังหวัดนครราชสีมาเพิ่มขึ้น จากการประชาสัมพันธ์นโยบายปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (ซึ่งเริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคมปีก่อน) และนโยบายส่งเสริมให้เกษตรกรชำระหนี้ที่สัมฤทธิ์ผล ทำให้มียอดสินเชื่อคงค้าง 75,636.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ยอดคงค้าง 75,560.6 ล้านบาท
สินเชื่อธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
(หน่วย : ล้านบาท)
รายการ 2543 2544
ไตรมาสแรก ไตรมาส 4 ไตรมาสแรก
ให้กู้ 30,212.30 7,079.30 35,954.10
-14.6 -5.5 -19
ชำระคืน 28,093.70 7,427.00 35,342.90
-12.4 -12.2 -25.8
สินเชื่อคงค้าง 72,560.60 75,025.10 75,636.30
-9.9 -6.5 -4.2
ที่มา : ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ธนาคารอาคารสงเคราะห์
ในช่วงไตรมาสแรกปีนี้ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ในภาคมีเงินฝากคงค้าง 3,448.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.6 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 2,488.0 ล้านบาท แต่ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับไตรมาสสุดท้ายของปีก่อน ซึ่งมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 69.6 โดยเงินฝากส่วนใหญ่เป็นเงินฝากประจำคงค้าง 2,783.1 ล้านบาท(คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 80.7) เพิ่มขึ้นร้อยละ 54.5 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 1,801.8 ล้านบาท เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำโดยเฉพาะ เงินฝากประจำ 2 ปี ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยจูงใจมากกว่าเงินฝากประเภทอื่น ทำให้มีลูกค้านำเงินมาฝากเพิ่มขึ้นมาก โดยส่วนหนึ่งเป็นลูกค้ากลุ่มเดิมของธนาคารที่เปลี่ยนมาฝากบัญชีเงินฝากประจำแทน ขณะที่สินเชื่อคงค้าง 26,319.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนคงค้าง 26,110.0 ล้านบาท
เงินฝาก-สินเชื่อธนาคารอาคารสงเคราะห์
(หน่วย : ล้านบาท)
รายการ 2543 2544
ไตรมาสแรก ไตรมาส 4 ไตรมาสแรก
เงินฝากคงค้าง 2,488.00 3,501.10 3,448.50
-27 -69.6 -38.6
สินเชื่อคงค้าง 26,110.00 26,300.10 26,319.40
(-2.6) (-1.8) (0.8)(0.8)
ที่มา : ธนาคารอาคารสงเคราะห์
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน
บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ในปีนี้สาขาบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือรวม 9 สำนักงานได้รับการอนุมัติวงเงิน 2,600.0 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 17.3 ของวงเงินอนุมัติรวม 15,000 ล้านบาท ซึ่งคิดอัตราดอกเบี้ย MLR+1% ต่อปี โดยช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ สาขาบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยในภาคฯ อนุมัติสินเชื่อ 43 โครงการ เป็นเงิน 785.3 ล้านบาท เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนอนุมัติสินเชื่อ 42 โครงการ เป็นเงิน 545.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 และร้อยละ 43.9 ตามลำดับ เนื่องจากยังคงให้การสนับสนุนทางการเงินแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) นอกจากนี้ในช่วงปลายปีที่ผ่านมามีการจัดตั้งศูนย์พัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อให้บริการคำปรึกษาและแก้ไขปัญหาแก่ผู้ประกอบการ ทั้งในส่วนที่เป็นลูกค้าและผู้ประกอบการทั่วไป
จำนวนโครงการและเงินให้กู้บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
(หน่วย : ล้านบาท)
รายการ 2543 2544
ไตรมาสแรก ไตรมาส 4 ไตรมาสแรก
จำนวน (โครงการ) 42 46 43
-55.6 -21.1 -2.4
เงินให้กู้ 545.9 1,051.30 785.3
-74.8 -45.8 -43.9
ที่มา : บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน
บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม
ในปีนี้ สาขาบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพิ่มขึ้นจำนวน 2 สำนักงาน ได้แก่ สาขาจังหวัดอุดรธานี และจังหวัดอุบลราชธานี รวมทั้งสิ้น 4 สำนักงานได้รับอนุมัติวงเงินสินเชื่อทั้งปี 1,000.0 ล้านบาท(คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 13.3 ของวงเงินอนุมัติรวม 7,500.0 ล้านบาท) ซึ่งคิดอัตราดอกเบี้ย MLR+1-2 % ต่อปี โดยในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้อนุมัติสินเชื่อ13 โครงการ (เท่ากับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน) เป็นเงิน 121.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 292.6 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เป็นเงิน 31.0 ล้านบาท เนื่องจากนโยบายเร่งรัดการให้สินเชื่อตั้งแต่ต้นปี และการเร่งส่งเสริมการประชาสัมพันธ์องค์กร ทำให้ลูกค้ารู้จักและมาใช้บริการมากขึ้น
จำนวนโครงการและเงินให้กู้บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม
(หน่วย : ล้านบาท)
รายการ 2543 2544
ไตรมาสแรก ไตรมาส 4 ไตรมาสแรก
จำนวน (โครงการ) 13 16 13
(n.a.) -23.1 0
เงินให้กู้ 31 83.8 121.7
(n.a.) -47 -292.6
ที่มา : บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน
การคลัง
ในช่วงไตรมาสแรก ปี 2544 รายได้รัฐบาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดเก็บได้ 3,555.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 10.6 เทียบจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 3,979.0 ล้านบาท เนื่องจากการจัดเก็บภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก 214.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 32.5 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 317.8 ล้านบาท ผลจากอัตราดอกเบี้ยลดลง และภาษีสุรา 1,151.5 ล้านบาท ลดลง ร้อยละ 24.5 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 1,524.5 ล้านบาท จากการที่บริษัทที่ได้รับสัมปทาน โรงงานสุราในปีก่อนยังไม่ดำเนินการผลิตใหม่ เนื่องจากยังมีสินค้าค้างสต็อกอยู่เป็นจำนวนมาก ส่วนภาษีที่จัดเก็บได้เพิ่มขึ้น ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 876.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.3 เนื่องจากเป็นช่วงครบกำหนดการยื่นชำระภาษีตามแบบ ภ.ง.ด.91 และภาษีมูลค่าเพิ่ม 683.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.9 ผลจากการขยายฐานภาษี
ทางด้านรายจ่าย 40,955.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.7 จากไตรมาสเดียวกันของ ปีก่อน 37,008.1 ล้านบาท เนื่องจากรายจ่ายลงทุน 16,910.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.4 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 12,775.6 ล้านบาท เป็นผลจากการเบิกจ่ายของหมวดเงินอุดหนุน 10,803.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 77.2 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 6,096.8 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการจัดสรรเงินอุดหนุนในโครงการถ่ายโอนงานหรือกิจกรรมการบริการสาธารณะให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำให้เงินในงบประมาณขาดดุล 37,399.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนขาดดุล 33,029.1 ล้านบาท ในส่วนของรายจ่ายตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (มิยาซาวา) เบิกจ่าย 145.4 ล้านบาท เมื่อรวมเงินส่วนนี้รายจ่ายของภาครัฐบาลในภาคมีวงเงินรวม 41,100.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.7 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 37,798.8 ล้านบาท
การจัดเก็บภาษีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
(หน่วย : ล้านบาท)
รายการ 2543 2544
ไตรมาสแรก ไตรมาส 4 ไตรมาสแรก
รายได้ 3,979.00 3,281.20 3,555.50
(n.a.) (-4.8) (-10.6)
- ภาษี 3,441.00 2,832.50 3,183.70
(n.a.) (-9.3) (-7.5)
- อื่น ๆ 538 448.7 371.8
(n.a.) -37.8 (-30.9)
รายจ่าย 37,008.10 34,267.20 40,955.10
(n.a.) -6.3 -10.7
- รายจ่ายประจำ 24,232.50 23,190.50 24,044.40
(n.a.) -6.1 (-0.8)
- รายจ่ายลงทุน 12,775.60 11,076.70 16,910.70
(n.a.) -6.9 -32.4
เกินดุล (+) ขาดดุล (-) 33,029.10 -30,986.00 -37,399.60
รายจ่ายตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐ 790.7 115.4 145.4
รายจ่ายรวม 37,798.80 34,382.60 41,100.50
(n.a.) -3.7 -8.7
ที่มา : สำนักงานคลังจังหวัด สำนักงานสรรพากรจังหวัด และสำนักงานสรรพสามิตจังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บ หมายถึง อัตราการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
รายจ่ายตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (มิยาซาวา) ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ สิ้นเดือน มีนาคม 2544 มีวงเงินอนุมัติทั้งสิ้น 12,288.0 ล้านบาท เบิกจ่าย 12,002.0 ล้านบาท หรือร้อยละ 97.7 ของวงเงินอนุมัติ ส่วนใหญ่เป็นการเบิกจ่ายใช้ในโครงการสร้างงาน 7,069.0 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 58.9 ส่วนวงเงินอนุมัติที่เหลืออยู่ 286.0 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นโครงการก่อสร้าง ทำให้มีการขยายระยะเวลาโครงการออกไปอีก คาดว่าจะเสร็จสิ้นโครงการเดือนกันยายน 2544
ระดับราคา
อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2544 ดูจากดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 เป็นผลจากดัชนีราคาสินค้าหมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหารเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 ขณะที่ดัชนีราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 1.2 แสดงให้เห็นว่าผลกระทบจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากปีก่อนยังไม่ส่งผลรุนแรงต่อระดับราคาสินค้าโดยทั่วไป เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรส่วนใหญ่ลดลง
หมวดอาหารและเครื่องดื่ม ส่วนใหญ่สินค้ามีราคาลดลงเมื่อเทียบจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ไม่ว่าจะเป็นหมวดไข่และผลิตภัณฑ์นมลดลงร้อยละ 2.8 หมวดเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ลดลงร้อยละ 1.9 หมวดเนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ และสัตว์น้ำลดลงร้อยละ 2.2 และหมวดข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งลดลงร้อยละ 1.8
ดัชนีราคาผู้บริโภคและดัชนีราคาขายส่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
รายการ 2543 2544
ไตรมาสแรก ไตรมาส 4 ไตรมาสแรก
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป 132.9 134.6 134.4
-0.6 -1.7 -1.1
อาหารและเครื่องดื่ม 140 139.3 138.3
(-2.1) (-0.9) (-1.2)
อื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่ม 128.7 131.5 131.7
-2.1 -3.1 -2.3
ที่มา : กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บแสดงการเปลี่ยนแปลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน
หมวดอื่นที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่ม หมวดสินค้าที่มีราคาเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด คือ หมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสารเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 ซึ่งเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาพาหนะและค่ารถยนต์รับจ้างสาธารณะ หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 หมวดเคหสถานเครื่องเรือนเครื่องใช้ในบ้านเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 และหมวดเครื่องนุ่งห่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7
การจ้างงาน
ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ แรงงานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เดินทางไปทำงานต่างประเทศยังคงเพิ่มขึ้นจากช่วงเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยมีแรงงานเดินทางไปจำนวน 31,770 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากค่าจ้างแรงงานที่สูงจูงใจและการส่งเสริมจากสถาบันการเงิน ประเทศไต้หวันเป็นประเทศที่แรงงานนิยมเดินทางไปมากที่สุด
จังหวัดอุดรธานีมีแรงงานเดินทางไปทำงานมากที่สุด 5,932 คน รองลงมาเป็นจังหวัดนครราชสีมา 4,563 คน และจังหวัดขอนแก่น 3,088 คน สำหรับการจัดหางานของภาครัฐในภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบว่ามีตำแหน่งงานว่าง 17,230 อัตรา ลดลงร้อยละ 13.6 โดยมีผู้สมัครงานจำนวน 11,227 คน ลดลงร้อยละ 21.4 และมี ผู้ได้รับการบรรจุงาน 3,819 คน ลดลงร้อยละ 38.0 จำนวนผู้ที่ได้รับการบรรจุต่ำกว่าจำนวนตำแหน่งงานที่ว่างเป็นจำนวนมาก เป็นเพราะคุณสมบัติไม่เหมาะสมกับตำแหน่งงาน
การจ้างงานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
รายการ 2543 2544
ไตรมาสแรก ไตรมาส 4 ไตรมาสแรก
การจ้างงาน : คน 1/
ผู้สมัครงาน 14,288 10,363 11,227
(-11.7) -10.7 (-21.4)
ตำแหน่งงานว่าง 19,956 21,112 17,230
-107 -58 (-13.6)
การบรรจุงาน 6,161 4,346 3,819
(-8.0) -10.2 (-38.0)
แรงงานต่างประเทศ 2/ 30,112 27,535 31,770
-47.8 (-17.9) -5.5
ที่มา : 1/ ศูนย์ข้อมูลตลาดแรงงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
2/ สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ กรมการจัดหางาน
-ยังมีต่อ-
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-