แท็ก
ข้าวโพด
1.สถานการณ์สินค้า
1.1 สินค้าที่มีปัญหา
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่มีปัญหา
1.2 สินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
ข้าวโพด : ราคาข้าวโพดมีแนวโน้มลดลง
สถานการณ์การผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2543/44 คาดว่ามีผลผลิต 4.484 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 4.390 ล้านตันของปีก่อนร้อยละ 2.14 โดยที่มีพื้นที่ปลูกมี 8.154 ล้านไร่ เพิ่มขึ้นจาก 8.052 ล้านไร่ของพื้นที่ปลูกปีก่อนร้อยละ 1.27 ผลผลิตต่อไร่คาดว่าได้ 550 กิโลกรัมเพิ่มขึ้นจากไร่ละ 545 กิโลกรัมของปีก่อนร้อยละ 0.92 ทั้งนี้เนื่องจากราคาปีที่ผ่านมาจูงใจให้เกษตรกรขยายการผลิต และข้าวโพดได้รับน้ำฝนเพียงพอต่อการเจริญเติบโต เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้เมล็ดพันธุ์ลูกผสมทำให้ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น ข้าวโพดที่ผลิตได้คาดว่าจะเพียงพอกับความต้องการใช้ซึ่งมีประมาณ 4.0 - 4.3 ล้านตัน ขณะนี้ข้าวโพดรุ่น 1 เกษตรกรทยอยปลูกเพิ่มขึ้น พื้นที่ที่ปลูกก่อนมีการเจริญเติบโตทางลำต้นและใบ คาดว่าผลผลิตจะเริ่มออกสู่ตลาดประมาณเดือนกรกฎาคม และข้าวโพดจะทยอยออกสู่ตลาดมากขึ้นซึ่งมากที่สุดในช่วงเดือนกันยายน - ตุลาคม ราคาข้าวโพดความชื้นไม่เกิน 14 % ที่เกษตรกรได้รับในเดือนมิถุนายนมีราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.39 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 4.84 บาทในเดือนพฤษภาคม ราคาลดลงร้อยละ 9.30 คาดว่าราคาจะโน้มลดลงอีกเมื่อผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้นในเดือนกันยายน-ตุลาคม
จากสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้นคาดว่าราคาจะโน้มลดลงในช่วง 1 - 2 เดือนหน้า เนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดมากและข้าวโพดมีความชื้นสูง ประกอบกับเมื่อต้นปี 2543 โรงงานอาหารสัตว์ได้นำเข้าข้าวโพดจากต่างประเทศมาใช้และเก็บเป็นสต็อกก่อนที่ข้าวโพดฤดูใหม่จะออกสู่ตลาด ข้อคิดเห็น
เพื่อมิให้เกษตรกรได้รับความเดือดร้อนจากราคาข้าวโพดลดลงในช่วงเก็บเกี่ยวมาก รัฐบาลควรดำเนินการดังนี้
1.ให้เงินทุนหมุนเวียนแก่สหกรณ์การเกษตรและกลุ่มเกษตรกรที่มีเครื่องอบลดความชื้น เพื่อรวบรวมข้าวโพดจากสมาชิก
2. ให้องค์การตลาดเพื่อเกษตรกรและกระทรวงพาณิชย์ ดำเนินการรับจำนำข้าวโพดจากเกษตรกรในช่วงต้นฤดู นอกจากนี้กระทรวงพาณิชย์ควรใช้เงินคชก. เพื่อปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำแก่พ่อค้าพืชไร่ เพื่อให้มีเงินหมุนเวียนสำหรับรับซื้อข้าวโพด
โครงการจัดหาปุ๋ย : โครงการจัดหาปุ๋ยเคมีเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ปี 2543
ปริมาณการนำเข้าปุ๋ยเคมี เฉพาะด่านท่าเรือคลองเตย ซึ่งเป็นร้อยละประมาณ 70 ของปริมาณการนำเข้าทั้งหมด ของช่วงเดือนมกราคมถึงพฤษภาคม 2543 นี้ มีปริมาณ686,580 เมตริกตัน เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณการนำเข้าช่วงเดียวกันของปีก่อน (มค.-พค. 2542 ปริมาณ 707,570 เมตริกตัน) แล้วลดลง 20,990 เมตริกตันหรือลดลงร้อยละ2.97 โดยมีปริมาณการนำเข้าปุ๋ยยูเรียประมาณร้อยละ 37.77 และ 42.10 ของปริมาณนำเข้าปุ๋ยทุกชนิดในช่วงเดียวกันของปี 2542 และ ปี 2543 ตามลำดับ ปุ๋ยยูเรียช่วงเดียวกันของปี 2543 นี้มีปริมาณนำเข้าสูงกว่าช่วงเดียวกันของปี 2542 ร้อยละ 8.15 และราคาปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) ในตลาดกรุงเทพฯ เดือนพฤษภาคม 2543 ราคาเมตริกตันละ 6,000 บาท เมื่อเปรียบเทียบกับราคา 5,200 บาท ของเดือนเดียวกันปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 15.38
จากนโยบายแทรกแซงตลาดปุ๋ยเคมีในปริมาณไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2542 เห็นชอบโครงการจัดหาปุ๋ยเคมีเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ปี 2542 โดยให้องค์กรเกษตรกรเป็นผู้รักษา และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบหมายให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ และกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดหาปุ๋ยเคมีตามความต้องการของสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ผลการดำเนินการจัดหาปุ๋ยเคมีครั้งแรกของทั้ง 2 กรม ต่ำกว่าเป้าหมาย เนื่องจากเป็นปีแรกและองค์กรเกษตรกรยังไม่กระจ่างในนโยบายนี้ ประกอบกับเงินบางส่วนได้รับล่าช้า แต่มีประโยชน์โดยตรงต่อเกษตรกร โดยมีอำนาจในการต่อรองมากขึ้น ในปีนี้ เกษตรกรได้ยื่นขอรับ เงินสนับสนุนผ่านทั้ง 2 กรม นี้มาก กระทรวงฯ จึงพิจารณาแล้วเห็นควรดำเนินงานโครงการจัดหาปุ๋ยเคมีเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในปี 2543 อีก โดยใช้หลักการเดิมที่กรมฯ ได้เห็นชอบแล้วในปีแรก (2542) สรุปเป้าหมาย ปี 2543 จัดหาปุ๋ยข้าว สูตร 16-20-0, 16-16-8 และ สูตรอื่น ๆ ที่ต้องการ รวม 340,000 เมตริกตัน และปุ๋ยพืชไร่ไม้ผล-ไม้ยืนต้น สูตร 15-15-15 และอื่น ๆ อีกรวม 155,000 เมตริกตัน วงเงินร้อยละ 80 คิดเป็นประมาณ 2,885.40 ล้านบาท ขณะนี้กำลังรอการพิจารณาจากคณะรัฐมนตรี ดังนั้น เพื่อให้ได้รับปุ๋ยเคมีตรงกับความต้องการทั้งชนิด ปริมาณและเวลา เกษตรกรที่สนใจโครงการฯ นี้ โปรดรีบติดต่อเจ้าหน้าที่ของกรมส่งเสริมการเกษตรและกรมส่งเสริม-สหกรณ์ เพื่อขอรับเงินสนับสนุนต่อไป มติ คชก. : การแทรกแซงตลาด
จากการประชุมคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ครั้งที่ 7/2543 เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2543 ที่ประชุมมีมติ ดังนี้
1. การแทรกแซงตลาดมะพร้าว ปี 2543
1.1 กำหนดราคาเป้าหมายนำเนื้อมะพร้าวแห้ง 90% (ทับสะแก) จากเดิมกิโลกรัมละ 9.37 บาท เป็นกิโลกรัมละ 10.74 บาท สำหรับในแหล่งผลิตอื่น ๆ ให้กำหนดโดยเทียบเคียงจากฐานราคาเป้าหมายนำเนื้อมะพร้าวแห้ง 90% (ทับสะแก) โดยวิธีคำนวณราคาในแต่ละจังหวัด เพิ่ม/ลด ได้ตามสัดส่วนราคาตลาดและคุณภาพสินค้า
1.2 ปรับเปลี่ยนวิธีการแทรกแซงที่ได้อนุมัติให้กระทรวงมหาดไทย เป็นผู้ดำเนินการไปแล้ว เป็นดังนี้
อนุมัติเงินทุนหมุนเวียน 100 ล้านบาท ให้องค์การคลังสินค้านำไปใช้หมุนเวียนรับซื้อเนื้อมะพร้าวแห้ง 90% จากเกษตรกร/สถาบันเกษตรกร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และจังหวัดแหล่งผลิตที่สำคัญอื่น ๆ ในราคานำตลาด เมื่อราคาต่ำกว่าหรือคาดว่าจะต่ำกว่าราคาเป้าหมายนำเพื่อจำหน่ายต่อไป ระยะเวลารับซื้อ มิถุนายน-กันยายน 2543 โดยให้หักค่าใช้จ่ายได้ไม่เกินร้อยละ 3 ของวงเงินดำเนินการ สำหรับค่าใช้จ่ายส่วนที่เกินร้อยละ 3 ให้ขอเบิกเพิ่มได้ตามที่จ่ายจริง โดยให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณา
ให้กระทรวงมหาดไทย โอนเงินจำนวน 100 ล้านบาท ที่ได้รับจัดสรรคืนกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) โดยเร่งด่วน และเมื่อ อคส. เบิกเงินจำนวน 100 ล้านบาท จากกรมบัญชีกลางได้แล้ว ให้นำเงินจำนวน 20 ล้านบาท ส่งคืนโครงการช่วยเหลือสินค้าเกษตรที่มีปัญหาเร่งด่วน ปี 2543 ต่อไป
2. การแทรกแซงตลาดเงาะ ปี 2543
2.1 อนุมัติเงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ย จำนวน 400 ล้านบาท เพื่อแทรกแซงตลาดเงาะ ดังนี้
1) จำนวน 200 ล้านบาท ให้กรมการค้าภายใน นำไปจัดสรรให้โรงงานผลไม้กระป๋องที่เข้าร่วมโครงการยืม เพื่อใช้รับซื้อเงาะจากเกษตรกร/สถาบันเกษตรกร ปริมาณ 20,000 ตัน ในราคานำตลาด และ/หรือให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) รับจำนำผลิตภัณฑ์แปรรูปจากโรงงานผลไม้กระป๋องที่เข้าร่วมโครงการ
- ระยะเวลารับซื้อ/จำนำ มิถุนายน - สิงหาคม 2543
- ระยะเวลาไถ่ถอนภายใน เมษายน 2544
- ระยะเวลาโครงการ มิถุนายน 2543- พฤษภาคม 2544 โดยให้หักค่าใช้จ่ายได้ไม่เกินร้อยละ 3 ของวงเงินดำเนินการ
2) จำนวน 200 ล้านบาท ให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ นำไปให้สหกรณ์สุราษฎร์ธานี จำกัด ยืม เพื่อใช้รับซื้อเงาะจากเกษตรกร/กลุ่มเกษตรกรจังหวัดภาคใต้ ปริมาณ 20,000 ตัน ในราคานำตลาด เพื่อระบายออกนอกแหล่งผลิตและ/หรือเพื่อส่งออก
- ระยะเวลารับซื้อ กรกฎาคม - สิงหาคม 2543
- ระยะเวลาโครงการ กรกฏาคม - กันยายน 2543 โดยให้หักค่าใช้จ่ายได้ไม่เกินร้อยละ 3 ของวงเงินดำเนินการ และให้เบิกจ่ายเงินได้ โดยไม่ต้องรอปิดบัญชี โครงการแทรกแซงตลาดเงาะภาคตะวันออก ปี 2542
2.2 กำหนดราคาเป้าหมายนำ ณ แหล่งผลิต กก.ละ 9.57 บาท
3. การใช้เงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาการรวมตัวเรียกร้อง ด้านราคาข้าวเปลือกของเกษตรกรเป็นการเร่งด่วน ตามโครงการแทรกแซงตลาดข้าวสาร ปี 2542/43 ของ อคส.
- อนุมัติเงินทุนหมุนเวียน จำนวน 200 ล้านบาท ให้องค์การคลังสินค้าใช้ในการรับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรเพิ่มเติม เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการรวมตัวเรียกร้องด้านราคาข้าวเปลือกของเกษตรกรเป็นการเร่งด่วนต่อไปอีกระยะหนึ่ง คือ ถึงเดือนกรกฏาคม 2543
4. ขยายระยะเวลาโครงการแทรกแซงตลาดน้ำมันปาล์ม ปี 2542
4.1 อนุมัติให้ขยายระยะเวลาโครงการแทรกแซงตลาดน้ำมันปาล์ม ปี 2542 จากสิ้นสุดเดือนมิถุนายน 2543 เป็นสิ้นสุดเดือนสิงหาคม 2543
4.2 อนุมัติให้เพิ่มช่องทางการจำหน่ายน้ำมันปาล์มดิบภายในประเทศของ อคส. ส่วนที่ยังเหลืออยู่อีกจำนวน 44,239 ตัน ตามโครงการแทรกแซงตลาดปาล์มน้ำมัน ปี 2542 โดยคณะอนุกรรมการพิจารณาส่งออกน้ำมันปาล์มดิบ พิจารณาการจำหน่ายภายในประเทศ รวมทั้งการกำหนดแนวทาง วิธีการ และราคาที่เหมาะสม รวมทั้งช่วงเวลาจำหน่ายเช่นเดียวกับการส่งออก แล้วเสนอให้ประธานคณะกรรมการ คชก. เป็นผู้พิจารณาอนุมัติต่อไป
5. การระบายมันสำปะหลังตามโครงการแทรกแซงตลาดมันอัดเม็ดและแป้งมันสำปะหลัง ประจำปี 2542/43
5.1ให้ปรับองค์ประกอบของคณะอนุกรรมการกำกับดูแลและติดตามการดำเนินการแทรกแซงตลาดมันสำปะหลัง ฤดูการผลิต 2542/43 โดยให้เพิ่มผู้แทนจากมูลนิธิ-สถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย และผู้แทนกระทรวงการคลัง สำหรับผู้แทนจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำนวน 3 คน ให้คงไว้
5.2 ให้คณะอนุกรรมการระบายมันสำปะหลัง มีหน้าที่ระบายมันอัดเม็ดและแป้งมันสำปะหลัง ในส่วนที่ยังไม่หลุดจำนำได้ด้วย โดยให้เร่งดำเนินการเพื่อมิให้สินค้าเหลือไปถึงฤดูใหม่
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 20 ประจำวันที่ 12 - 18 มิ.ย. 2543--
-สส-
1.1 สินค้าที่มีปัญหา
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่มีปัญหา
1.2 สินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
ข้าวโพด : ราคาข้าวโพดมีแนวโน้มลดลง
สถานการณ์การผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2543/44 คาดว่ามีผลผลิต 4.484 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 4.390 ล้านตันของปีก่อนร้อยละ 2.14 โดยที่มีพื้นที่ปลูกมี 8.154 ล้านไร่ เพิ่มขึ้นจาก 8.052 ล้านไร่ของพื้นที่ปลูกปีก่อนร้อยละ 1.27 ผลผลิตต่อไร่คาดว่าได้ 550 กิโลกรัมเพิ่มขึ้นจากไร่ละ 545 กิโลกรัมของปีก่อนร้อยละ 0.92 ทั้งนี้เนื่องจากราคาปีที่ผ่านมาจูงใจให้เกษตรกรขยายการผลิต และข้าวโพดได้รับน้ำฝนเพียงพอต่อการเจริญเติบโต เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้เมล็ดพันธุ์ลูกผสมทำให้ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น ข้าวโพดที่ผลิตได้คาดว่าจะเพียงพอกับความต้องการใช้ซึ่งมีประมาณ 4.0 - 4.3 ล้านตัน ขณะนี้ข้าวโพดรุ่น 1 เกษตรกรทยอยปลูกเพิ่มขึ้น พื้นที่ที่ปลูกก่อนมีการเจริญเติบโตทางลำต้นและใบ คาดว่าผลผลิตจะเริ่มออกสู่ตลาดประมาณเดือนกรกฎาคม และข้าวโพดจะทยอยออกสู่ตลาดมากขึ้นซึ่งมากที่สุดในช่วงเดือนกันยายน - ตุลาคม ราคาข้าวโพดความชื้นไม่เกิน 14 % ที่เกษตรกรได้รับในเดือนมิถุนายนมีราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.39 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 4.84 บาทในเดือนพฤษภาคม ราคาลดลงร้อยละ 9.30 คาดว่าราคาจะโน้มลดลงอีกเมื่อผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้นในเดือนกันยายน-ตุลาคม
จากสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้นคาดว่าราคาจะโน้มลดลงในช่วง 1 - 2 เดือนหน้า เนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดมากและข้าวโพดมีความชื้นสูง ประกอบกับเมื่อต้นปี 2543 โรงงานอาหารสัตว์ได้นำเข้าข้าวโพดจากต่างประเทศมาใช้และเก็บเป็นสต็อกก่อนที่ข้าวโพดฤดูใหม่จะออกสู่ตลาด ข้อคิดเห็น
เพื่อมิให้เกษตรกรได้รับความเดือดร้อนจากราคาข้าวโพดลดลงในช่วงเก็บเกี่ยวมาก รัฐบาลควรดำเนินการดังนี้
1.ให้เงินทุนหมุนเวียนแก่สหกรณ์การเกษตรและกลุ่มเกษตรกรที่มีเครื่องอบลดความชื้น เพื่อรวบรวมข้าวโพดจากสมาชิก
2. ให้องค์การตลาดเพื่อเกษตรกรและกระทรวงพาณิชย์ ดำเนินการรับจำนำข้าวโพดจากเกษตรกรในช่วงต้นฤดู นอกจากนี้กระทรวงพาณิชย์ควรใช้เงินคชก. เพื่อปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำแก่พ่อค้าพืชไร่ เพื่อให้มีเงินหมุนเวียนสำหรับรับซื้อข้าวโพด
โครงการจัดหาปุ๋ย : โครงการจัดหาปุ๋ยเคมีเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ปี 2543
ปริมาณการนำเข้าปุ๋ยเคมี เฉพาะด่านท่าเรือคลองเตย ซึ่งเป็นร้อยละประมาณ 70 ของปริมาณการนำเข้าทั้งหมด ของช่วงเดือนมกราคมถึงพฤษภาคม 2543 นี้ มีปริมาณ686,580 เมตริกตัน เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณการนำเข้าช่วงเดียวกันของปีก่อน (มค.-พค. 2542 ปริมาณ 707,570 เมตริกตัน) แล้วลดลง 20,990 เมตริกตันหรือลดลงร้อยละ2.97 โดยมีปริมาณการนำเข้าปุ๋ยยูเรียประมาณร้อยละ 37.77 และ 42.10 ของปริมาณนำเข้าปุ๋ยทุกชนิดในช่วงเดียวกันของปี 2542 และ ปี 2543 ตามลำดับ ปุ๋ยยูเรียช่วงเดียวกันของปี 2543 นี้มีปริมาณนำเข้าสูงกว่าช่วงเดียวกันของปี 2542 ร้อยละ 8.15 และราคาปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) ในตลาดกรุงเทพฯ เดือนพฤษภาคม 2543 ราคาเมตริกตันละ 6,000 บาท เมื่อเปรียบเทียบกับราคา 5,200 บาท ของเดือนเดียวกันปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 15.38
จากนโยบายแทรกแซงตลาดปุ๋ยเคมีในปริมาณไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2542 เห็นชอบโครงการจัดหาปุ๋ยเคมีเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ปี 2542 โดยให้องค์กรเกษตรกรเป็นผู้รักษา และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบหมายให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ และกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดหาปุ๋ยเคมีตามความต้องการของสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ผลการดำเนินการจัดหาปุ๋ยเคมีครั้งแรกของทั้ง 2 กรม ต่ำกว่าเป้าหมาย เนื่องจากเป็นปีแรกและองค์กรเกษตรกรยังไม่กระจ่างในนโยบายนี้ ประกอบกับเงินบางส่วนได้รับล่าช้า แต่มีประโยชน์โดยตรงต่อเกษตรกร โดยมีอำนาจในการต่อรองมากขึ้น ในปีนี้ เกษตรกรได้ยื่นขอรับ เงินสนับสนุนผ่านทั้ง 2 กรม นี้มาก กระทรวงฯ จึงพิจารณาแล้วเห็นควรดำเนินงานโครงการจัดหาปุ๋ยเคมีเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในปี 2543 อีก โดยใช้หลักการเดิมที่กรมฯ ได้เห็นชอบแล้วในปีแรก (2542) สรุปเป้าหมาย ปี 2543 จัดหาปุ๋ยข้าว สูตร 16-20-0, 16-16-8 และ สูตรอื่น ๆ ที่ต้องการ รวม 340,000 เมตริกตัน และปุ๋ยพืชไร่ไม้ผล-ไม้ยืนต้น สูตร 15-15-15 และอื่น ๆ อีกรวม 155,000 เมตริกตัน วงเงินร้อยละ 80 คิดเป็นประมาณ 2,885.40 ล้านบาท ขณะนี้กำลังรอการพิจารณาจากคณะรัฐมนตรี ดังนั้น เพื่อให้ได้รับปุ๋ยเคมีตรงกับความต้องการทั้งชนิด ปริมาณและเวลา เกษตรกรที่สนใจโครงการฯ นี้ โปรดรีบติดต่อเจ้าหน้าที่ของกรมส่งเสริมการเกษตรและกรมส่งเสริม-สหกรณ์ เพื่อขอรับเงินสนับสนุนต่อไป มติ คชก. : การแทรกแซงตลาด
จากการประชุมคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ครั้งที่ 7/2543 เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2543 ที่ประชุมมีมติ ดังนี้
1. การแทรกแซงตลาดมะพร้าว ปี 2543
1.1 กำหนดราคาเป้าหมายนำเนื้อมะพร้าวแห้ง 90% (ทับสะแก) จากเดิมกิโลกรัมละ 9.37 บาท เป็นกิโลกรัมละ 10.74 บาท สำหรับในแหล่งผลิตอื่น ๆ ให้กำหนดโดยเทียบเคียงจากฐานราคาเป้าหมายนำเนื้อมะพร้าวแห้ง 90% (ทับสะแก) โดยวิธีคำนวณราคาในแต่ละจังหวัด เพิ่ม/ลด ได้ตามสัดส่วนราคาตลาดและคุณภาพสินค้า
1.2 ปรับเปลี่ยนวิธีการแทรกแซงที่ได้อนุมัติให้กระทรวงมหาดไทย เป็นผู้ดำเนินการไปแล้ว เป็นดังนี้
อนุมัติเงินทุนหมุนเวียน 100 ล้านบาท ให้องค์การคลังสินค้านำไปใช้หมุนเวียนรับซื้อเนื้อมะพร้าวแห้ง 90% จากเกษตรกร/สถาบันเกษตรกร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และจังหวัดแหล่งผลิตที่สำคัญอื่น ๆ ในราคานำตลาด เมื่อราคาต่ำกว่าหรือคาดว่าจะต่ำกว่าราคาเป้าหมายนำเพื่อจำหน่ายต่อไป ระยะเวลารับซื้อ มิถุนายน-กันยายน 2543 โดยให้หักค่าใช้จ่ายได้ไม่เกินร้อยละ 3 ของวงเงินดำเนินการ สำหรับค่าใช้จ่ายส่วนที่เกินร้อยละ 3 ให้ขอเบิกเพิ่มได้ตามที่จ่ายจริง โดยให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณา
ให้กระทรวงมหาดไทย โอนเงินจำนวน 100 ล้านบาท ที่ได้รับจัดสรรคืนกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) โดยเร่งด่วน และเมื่อ อคส. เบิกเงินจำนวน 100 ล้านบาท จากกรมบัญชีกลางได้แล้ว ให้นำเงินจำนวน 20 ล้านบาท ส่งคืนโครงการช่วยเหลือสินค้าเกษตรที่มีปัญหาเร่งด่วน ปี 2543 ต่อไป
2. การแทรกแซงตลาดเงาะ ปี 2543
2.1 อนุมัติเงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ย จำนวน 400 ล้านบาท เพื่อแทรกแซงตลาดเงาะ ดังนี้
1) จำนวน 200 ล้านบาท ให้กรมการค้าภายใน นำไปจัดสรรให้โรงงานผลไม้กระป๋องที่เข้าร่วมโครงการยืม เพื่อใช้รับซื้อเงาะจากเกษตรกร/สถาบันเกษตรกร ปริมาณ 20,000 ตัน ในราคานำตลาด และ/หรือให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) รับจำนำผลิตภัณฑ์แปรรูปจากโรงงานผลไม้กระป๋องที่เข้าร่วมโครงการ
- ระยะเวลารับซื้อ/จำนำ มิถุนายน - สิงหาคม 2543
- ระยะเวลาไถ่ถอนภายใน เมษายน 2544
- ระยะเวลาโครงการ มิถุนายน 2543- พฤษภาคม 2544 โดยให้หักค่าใช้จ่ายได้ไม่เกินร้อยละ 3 ของวงเงินดำเนินการ
2) จำนวน 200 ล้านบาท ให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ นำไปให้สหกรณ์สุราษฎร์ธานี จำกัด ยืม เพื่อใช้รับซื้อเงาะจากเกษตรกร/กลุ่มเกษตรกรจังหวัดภาคใต้ ปริมาณ 20,000 ตัน ในราคานำตลาด เพื่อระบายออกนอกแหล่งผลิตและ/หรือเพื่อส่งออก
- ระยะเวลารับซื้อ กรกฎาคม - สิงหาคม 2543
- ระยะเวลาโครงการ กรกฏาคม - กันยายน 2543 โดยให้หักค่าใช้จ่ายได้ไม่เกินร้อยละ 3 ของวงเงินดำเนินการ และให้เบิกจ่ายเงินได้ โดยไม่ต้องรอปิดบัญชี โครงการแทรกแซงตลาดเงาะภาคตะวันออก ปี 2542
2.2 กำหนดราคาเป้าหมายนำ ณ แหล่งผลิต กก.ละ 9.57 บาท
3. การใช้เงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาการรวมตัวเรียกร้อง ด้านราคาข้าวเปลือกของเกษตรกรเป็นการเร่งด่วน ตามโครงการแทรกแซงตลาดข้าวสาร ปี 2542/43 ของ อคส.
- อนุมัติเงินทุนหมุนเวียน จำนวน 200 ล้านบาท ให้องค์การคลังสินค้าใช้ในการรับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรเพิ่มเติม เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการรวมตัวเรียกร้องด้านราคาข้าวเปลือกของเกษตรกรเป็นการเร่งด่วนต่อไปอีกระยะหนึ่ง คือ ถึงเดือนกรกฏาคม 2543
4. ขยายระยะเวลาโครงการแทรกแซงตลาดน้ำมันปาล์ม ปี 2542
4.1 อนุมัติให้ขยายระยะเวลาโครงการแทรกแซงตลาดน้ำมันปาล์ม ปี 2542 จากสิ้นสุดเดือนมิถุนายน 2543 เป็นสิ้นสุดเดือนสิงหาคม 2543
4.2 อนุมัติให้เพิ่มช่องทางการจำหน่ายน้ำมันปาล์มดิบภายในประเทศของ อคส. ส่วนที่ยังเหลืออยู่อีกจำนวน 44,239 ตัน ตามโครงการแทรกแซงตลาดปาล์มน้ำมัน ปี 2542 โดยคณะอนุกรรมการพิจารณาส่งออกน้ำมันปาล์มดิบ พิจารณาการจำหน่ายภายในประเทศ รวมทั้งการกำหนดแนวทาง วิธีการ และราคาที่เหมาะสม รวมทั้งช่วงเวลาจำหน่ายเช่นเดียวกับการส่งออก แล้วเสนอให้ประธานคณะกรรมการ คชก. เป็นผู้พิจารณาอนุมัติต่อไป
5. การระบายมันสำปะหลังตามโครงการแทรกแซงตลาดมันอัดเม็ดและแป้งมันสำปะหลัง ประจำปี 2542/43
5.1ให้ปรับองค์ประกอบของคณะอนุกรรมการกำกับดูแลและติดตามการดำเนินการแทรกแซงตลาดมันสำปะหลัง ฤดูการผลิต 2542/43 โดยให้เพิ่มผู้แทนจากมูลนิธิ-สถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย และผู้แทนกระทรวงการคลัง สำหรับผู้แทนจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำนวน 3 คน ให้คงไว้
5.2 ให้คณะอนุกรรมการระบายมันสำปะหลัง มีหน้าที่ระบายมันอัดเม็ดและแป้งมันสำปะหลัง ในส่วนที่ยังไม่หลุดจำนำได้ด้วย โดยให้เร่งดำเนินการเพื่อมิให้สินค้าเหลือไปถึงฤดูใหม่
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 20 ประจำวันที่ 12 - 18 มิ.ย. 2543--
-สส-