บันทึกการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๑
ครั้งที่ ๘ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันพฤหัสบดีที่ ๒๒ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๔๔
ณ ตึกรัฐสภา
---------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมสำหรับการพิจารณาระเบียบวาระกระทู้ถามแล้ว
นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทนราษฎร และนายบุญชง วีสมหมาย
รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สอง ขึ้นบัลลังก์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร
กล่าวเปิดประชุม และดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระกระทู้ถาม ตามลำดับ
คือ
๑. กระทู้ถามสด
๑.๑ กระทู้ถาม ของ นายธีระชัย แสนแก้ว เรื่อง การระบาด
ของโรคหนอนกออ้อยและโรคใบขาว โดย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและ
สหกรณ์ เป็นผู้ตอบ โดยในระหว่างการพิจารณากระทู้ถามเรื่องนี้รองประธานสภา
ผู้แทนราษฎรคนที่สองได้ดำเนินการประชุมต่อ
๑.๒ กระทู้ถาม ของ นายเชน เทือกสุบรรณ เรื่อง ความเดือดร้อน
จากโรคระบาดสัตว์ โดย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นผู้ตอบ
๑.๓ กระทู้ถาม ของ นายตรีพล เจาะจิตต์ เรื่อง ปัญหาการพัก
ชำระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อย ๓ ปี ถาม นายกรัฐมนตรี ซึ่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
(นายวราเทพ รัตนากร) ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบ
๒. กระทู้ถามทั่วไป
๒.๑ กระทู้ถาม ของ นายเสกสรรค์ แสนภูมิ เรื่อง การแก้ไข
ทะเบียนตำรับยาซึ่งมีตัวยาฟีนิลโปรปาโนลามีน (Phenylpropanolamine)
เป็นส่วนผสม ถาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ซึ่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบ
๒.๒ กระทู้ถาม ของ นายวิชาญ มีนชัยนันท์ เรื่อง ปัญหา
น้ำเน่าเสียในนิคมอุตสาหกรรมบางชัน เขตมีนบุรี ถาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
อุตสาหกรรม ซึ่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้รับมอบหมายให้
เป็นผู้ตอบ
๒.๓ กระทู้ถาม ของ นายเปรมศักดิ์ เพียยุระ เรื่อง การส่งเสริม
กิจการมหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ โดย รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย
เป็นผู้ตอบ
ต่อจากนั้น ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้แจ้งให้
ที่ประชุมรับทราบเรื่องที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๔ (สมัยสามัญทั่วไป) วันศุกร์ที่ ๙
มีนาคม ๒๕๔๔ ได้รับทราบรายงานการตรวจสอบงบดุล งบรายรับ - รายจ่าย
เงินกองทุนประกันสังคม ประจำปี ๒๕๔๒ ตามมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติ
ประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันสังคม
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๗
ที่ประชุมรับทราบ
หลังจากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้ขึ้นมาปฏิบัติหน้าที่ต่อ โดย
เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระเรื่องที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑
ปีที่ ๑ ครั้งที่ ๖ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพฤหัสบดีที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๔๔ มีมติ
ให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อน คือ ญัตติเกี่ยวกับปัญหาภัยแล้งและอุทกภัย จำนวน
๖ ฉบับ คือ
๑. ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาฯ ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษา
ปัญหาอุทกภัย ซึ่ง นายไพร พัฒโน กับคณะ เป็นผู้เสนอ
๒. ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาปัญหา
ภัยแล้งและน้ำท่วมที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี ซึ่ง นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน และ
นายจาตุรงค์ เพ็งนรพัฒน์ เป็นผู้เสนอ
๓. ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาฯ ร่วมกันพิจารณาศึกษาหาแนวทางแก้ไขปัญหาภัยแล้งอย่างเป็นระบบ
ซึ่ง นายเปรมศักดิ์ เพียยุระ เป็นผู้เสนอ
๔. ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษา
แก้ปัญหาภัยแล้ง ซึ่ง นายสุทัศน์ เงินหมื่น กับคณะ เป็นผู้เสนอ
๕. ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาฯ พิจารณาตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ
เพื่อพิจารณาศึกษาปัญหาภัยแล้ง ซึ่ง นายภูมิ สาระผล กับคณะ เป็นผู้เสนอ
๖. ญัตติ เรื่อง ขอให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหา
ภัยแล้ง และอุทกภัยที่เกิดขึ้นทุกปี ซึ่ง นายประสิทธิ์ ชัยวิรัตนะ เป็นผู้เสนอ
เมื่อผู้เสนอได้แถลงเหตุผล ตามลำดับ สมาชิกฯ อภิปราย โดย
รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง ได้ขึ้นมาปฏิบัติหน้าที่แทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายสรอรรถ
กลิ่นประทุม) ได้ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติให้ตั้ง
คณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมาพิจารณาศึกษาเรื่องดังกล่าวตามข้อเสนอของญัตติ
ตามลำดับที่ ๑, ๒, ๔, ๕ และ ๖ และให้ส่งญัตติตามลำดับที่ ๓ ให้คณะรัฐมนตรีรับไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญ ฯ จำนวน ๓๕ คน
เพื่อพิจารณาเรื่องดังกล่าว ประกอบด้วย
๑. นายอุดมศักดิ์ อัศวรางกูร ๒. นายสมาน วงศ์วรายุทธ
๓. นายชัยณรงค์ วาสนะสมสิทธิ์ ๔. นายสมศักดิ์ สิงหลกะ
๕. นายวิรัตน์ ขาวอุปถัมภ์ ๖. นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน
๗. นายภูมิ สาระผล ๘. นายอรรถสิทธิ์ กาญจนสินิทธ์
๙. นายจินดา วงศ์สวัสดิ์ ๑๐. นายทองดี มนิสสาร
๑๑. พันจ่าอากาศโท กิตติคุณ นาคะบุตร ๑๒. นายณัฐพล เกียรติวินัยสกุล
๑๓. นายสมบัติ รัตโน ๑๔. นางสาวตรีนุช เทียนทอง
๑๕. นายพรศักดิ์ เจริญประเสริฐ ๑๖. นายพินิจ จันทร์สมบูรณ์
๑๗. นายวิทยา บุรณศิริ ๑๘. นายวุฒิพงศ์ ฉายแสง
๑๙. จ่าสิบเอก อนันต์ สุขสันต์ ๒๐. นายจาตุรงค์ เพ็งนรพัฒน์
๒๑. นายไพร พัฒโน ๒๒. นายนราพัฒน์ แก้วทอง
๒๓. นายไพศาล จันทวารา ๒๔. นายไพบูลย์ พิมพ์พิสิฐถาวร
๒๕. นายสุชาติ แก้วนาโพธิ์ ๒๖. นายทรงชัย วงศ์สวัสดิ์
๒๗. นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ ๒๘. นางคมคาย พลบุตร
๒๙. นายชูวงศ์ ฉายะบุตร ๓๐. นายชัย ชิดชอบ
๓๑. นายวิสันต์ เดชเสน ๓๒. นายเฉลิมชัย อุฬารกุล
๓๓. นายสมชัย ฉัตรพัฒนศิริ ๓๔. นายประสิทธิ์ ชัยวิรัตนะ
๓๕. นายต่อพงศ์ ไชยสาส์น
ที่ประชุมได้ลงมติให้คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเรื่องดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลา ๓๐ วัน
เลิกประชุมเวลา ๒๐.๔๘ นาฬิกา
(นางศิริลักษณ์ ปั้นบำรุงกิจ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ฝ่ายรายงานการประชุม
กองการประชุม
โทร. ๒๔๔๑๑๑๕-๖
โทรสาร ๒๔๔๑๑๑๕-๖
ครั้งที่ ๘ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันพฤหัสบดีที่ ๒๒ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๔๔
ณ ตึกรัฐสภา
---------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมสำหรับการพิจารณาระเบียบวาระกระทู้ถามแล้ว
นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทนราษฎร และนายบุญชง วีสมหมาย
รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สอง ขึ้นบัลลังก์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร
กล่าวเปิดประชุม และดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระกระทู้ถาม ตามลำดับ
คือ
๑. กระทู้ถามสด
๑.๑ กระทู้ถาม ของ นายธีระชัย แสนแก้ว เรื่อง การระบาด
ของโรคหนอนกออ้อยและโรคใบขาว โดย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและ
สหกรณ์ เป็นผู้ตอบ โดยในระหว่างการพิจารณากระทู้ถามเรื่องนี้รองประธานสภา
ผู้แทนราษฎรคนที่สองได้ดำเนินการประชุมต่อ
๑.๒ กระทู้ถาม ของ นายเชน เทือกสุบรรณ เรื่อง ความเดือดร้อน
จากโรคระบาดสัตว์ โดย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นผู้ตอบ
๑.๓ กระทู้ถาม ของ นายตรีพล เจาะจิตต์ เรื่อง ปัญหาการพัก
ชำระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อย ๓ ปี ถาม นายกรัฐมนตรี ซึ่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
(นายวราเทพ รัตนากร) ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบ
๒. กระทู้ถามทั่วไป
๒.๑ กระทู้ถาม ของ นายเสกสรรค์ แสนภูมิ เรื่อง การแก้ไข
ทะเบียนตำรับยาซึ่งมีตัวยาฟีนิลโปรปาโนลามีน (Phenylpropanolamine)
เป็นส่วนผสม ถาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ซึ่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบ
๒.๒ กระทู้ถาม ของ นายวิชาญ มีนชัยนันท์ เรื่อง ปัญหา
น้ำเน่าเสียในนิคมอุตสาหกรรมบางชัน เขตมีนบุรี ถาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
อุตสาหกรรม ซึ่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้รับมอบหมายให้
เป็นผู้ตอบ
๒.๓ กระทู้ถาม ของ นายเปรมศักดิ์ เพียยุระ เรื่อง การส่งเสริม
กิจการมหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ โดย รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย
เป็นผู้ตอบ
ต่อจากนั้น ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้แจ้งให้
ที่ประชุมรับทราบเรื่องที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๔ (สมัยสามัญทั่วไป) วันศุกร์ที่ ๙
มีนาคม ๒๕๔๔ ได้รับทราบรายงานการตรวจสอบงบดุล งบรายรับ - รายจ่าย
เงินกองทุนประกันสังคม ประจำปี ๒๕๔๒ ตามมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติ
ประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันสังคม
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๗
ที่ประชุมรับทราบ
หลังจากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้ขึ้นมาปฏิบัติหน้าที่ต่อ โดย
เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระเรื่องที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑
ปีที่ ๑ ครั้งที่ ๖ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพฤหัสบดีที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๔๔ มีมติ
ให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อน คือ ญัตติเกี่ยวกับปัญหาภัยแล้งและอุทกภัย จำนวน
๖ ฉบับ คือ
๑. ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาฯ ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษา
ปัญหาอุทกภัย ซึ่ง นายไพร พัฒโน กับคณะ เป็นผู้เสนอ
๒. ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาปัญหา
ภัยแล้งและน้ำท่วมที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี ซึ่ง นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน และ
นายจาตุรงค์ เพ็งนรพัฒน์ เป็นผู้เสนอ
๓. ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาฯ ร่วมกันพิจารณาศึกษาหาแนวทางแก้ไขปัญหาภัยแล้งอย่างเป็นระบบ
ซึ่ง นายเปรมศักดิ์ เพียยุระ เป็นผู้เสนอ
๔. ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษา
แก้ปัญหาภัยแล้ง ซึ่ง นายสุทัศน์ เงินหมื่น กับคณะ เป็นผู้เสนอ
๕. ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาฯ พิจารณาตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ
เพื่อพิจารณาศึกษาปัญหาภัยแล้ง ซึ่ง นายภูมิ สาระผล กับคณะ เป็นผู้เสนอ
๖. ญัตติ เรื่อง ขอให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหา
ภัยแล้ง และอุทกภัยที่เกิดขึ้นทุกปี ซึ่ง นายประสิทธิ์ ชัยวิรัตนะ เป็นผู้เสนอ
เมื่อผู้เสนอได้แถลงเหตุผล ตามลำดับ สมาชิกฯ อภิปราย โดย
รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง ได้ขึ้นมาปฏิบัติหน้าที่แทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายสรอรรถ
กลิ่นประทุม) ได้ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้ลงมติให้ตั้ง
คณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมาพิจารณาศึกษาเรื่องดังกล่าวตามข้อเสนอของญัตติ
ตามลำดับที่ ๑, ๒, ๔, ๕ และ ๖ และให้ส่งญัตติตามลำดับที่ ๓ ให้คณะรัฐมนตรีรับไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญ ฯ จำนวน ๓๕ คน
เพื่อพิจารณาเรื่องดังกล่าว ประกอบด้วย
๑. นายอุดมศักดิ์ อัศวรางกูร ๒. นายสมาน วงศ์วรายุทธ
๓. นายชัยณรงค์ วาสนะสมสิทธิ์ ๔. นายสมศักดิ์ สิงหลกะ
๕. นายวิรัตน์ ขาวอุปถัมภ์ ๖. นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน
๗. นายภูมิ สาระผล ๘. นายอรรถสิทธิ์ กาญจนสินิทธ์
๙. นายจินดา วงศ์สวัสดิ์ ๑๐. นายทองดี มนิสสาร
๑๑. พันจ่าอากาศโท กิตติคุณ นาคะบุตร ๑๒. นายณัฐพล เกียรติวินัยสกุล
๑๓. นายสมบัติ รัตโน ๑๔. นางสาวตรีนุช เทียนทอง
๑๕. นายพรศักดิ์ เจริญประเสริฐ ๑๖. นายพินิจ จันทร์สมบูรณ์
๑๗. นายวิทยา บุรณศิริ ๑๘. นายวุฒิพงศ์ ฉายแสง
๑๙. จ่าสิบเอก อนันต์ สุขสันต์ ๒๐. นายจาตุรงค์ เพ็งนรพัฒน์
๒๑. นายไพร พัฒโน ๒๒. นายนราพัฒน์ แก้วทอง
๒๓. นายไพศาล จันทวารา ๒๔. นายไพบูลย์ พิมพ์พิสิฐถาวร
๒๕. นายสุชาติ แก้วนาโพธิ์ ๒๖. นายทรงชัย วงศ์สวัสดิ์
๒๗. นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ ๒๘. นางคมคาย พลบุตร
๒๙. นายชูวงศ์ ฉายะบุตร ๓๐. นายชัย ชิดชอบ
๓๑. นายวิสันต์ เดชเสน ๓๒. นายเฉลิมชัย อุฬารกุล
๓๓. นายสมชัย ฉัตรพัฒนศิริ ๓๔. นายประสิทธิ์ ชัยวิรัตนะ
๓๕. นายต่อพงศ์ ไชยสาส์น
ที่ประชุมได้ลงมติให้คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเรื่องดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลา ๓๐ วัน
เลิกประชุมเวลา ๒๐.๔๘ นาฬิกา
(นางศิริลักษณ์ ปั้นบำรุงกิจ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ฝ่ายรายงานการประชุม
กองการประชุม
โทร. ๒๔๔๑๑๑๕-๖
โทรสาร ๒๔๔๑๑๑๕-๖