เศรษฐกิจภาคเหนือครึ่งแรกปี 2544 ชะลอตัวลงในหลายภาคเศรษฐกิจ โดยเฉพาะ ภาคการส่งออก ลดลงร้อยละ 4.1 จากผลกระทบการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ประกอบกับการส่งออกผ่านชายแดนลดลงจากปีก่อนค่อนข้างมาก เพราะประเทศเพื่อนบ้านเข้มงวดการนำสินค้าเข้า และการปิดด่านการค้าชายแดน ส่วนการนำเข้าลดลงร้อยละ 2.8 ดุลการค้าเกินดุล 58.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนที่เกินดุล 68.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. ทางด้าน ภาคเกษตร ราคา พืชผลเกษตรสำคัญเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 3.0 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 8.7 ปีก่อน แต่ปริมาณผลผลิตพืชสำคัญโดยเฉลี่ยลดลงร้อยละ 8.2 ทำให้รายได้เกษตรกรลดลงร้อยละ 5.2 ส่วน ภาคบริการ แสดงทิศทางที่ชะลอตัวลง ส่วนหนึ่งเกิดจากจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติชะลอลง โดยเฉพาะญี่ปุ่นที่ประสบปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัว ขณะที่นักท่องเที่ยวชาวยุโรปเริ่มชะลอตัว เนื่องจากข่าวไม่สงบตามแนว ชายแดนไทย-พม่า จากหลายภาคเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงดังกล่าว ทำให้ การใช้จ่ายภาคเอกชน ชะลอตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน และเป็นผลให้ ภาคอุตสาหกรรม ที่ผลิตเพื่อส่งออกและการบริโภคในประเทศชะลอตัวตามไปด้วย อย่างไรก็ดี ภาคเหมืองแร่ ขยายตัวจากปีก่อน โดยเฉพาะการผลิตลิกไนต์เพิ่มขึ้นมาก เพื่อใช้ผลิตไฟฟ้าทดแทนน้ำมันเตาที่ราคาสูงขึ้น สำหรับ ภาคการเงิน ยังคงมีสภาพคล่องอยู่ในเกณฑ์สูง เนื่องจากเงินฝากยังคงขยายตัวสูงกว่าสินเชื่ออย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้มีรายละเอียดดังนี้
ภาคการเกษตร ผลผลิตพืชสำคัญที่ออกในช่วงครึ่งปีแรกลดลงจากระยะเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 8.2 เนื่องจากเกษตรกรลดพื้นที่เพาะปลูกเพราะราคาปีก่อนไม่จูงใจ ประกอบกับสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวยเช่นปีก่อน พืชสำคัญได้แก่ ข้าวนาปรัง และ อ้อย ผลผลิตลดลงร้อยละ 6.4 และ ร้อยละ13.7 เหลือ 1.7 ล้านเมตริกตัน และ 10.9 ล้านเมตริกตัน เนื่องจากเกษตรกรลดพื้นที่เพาะปลูก ส่วน ลิ้นจี่ และ ใบยาเวอร์จิเนีย ผลผลิตลดลงร้อยละ 33.3 และร้อยละ 3.9 เหลือ 34,980 เมตริกตัน และ 10,385 เมตริกตัน จากสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย ขณะที่ มันสำปะหลัง และ ถั่วเขียว ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 และร้อยละ 5.0 เป็น 2.4 ล้านเมตริกตัน และ 70,281 เมตริกตัน อย่างไรก็ดี ภาพรวมราคาเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.0 ตามภาวะราคา สินค้าเกษตรในตลาดโลก โดยราคาอ้อยเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.0 เป็นเมตริกตันละ 648 บาท ถั่วเขียวราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.5 เป็นกิโลกรัมละ 15.43 บาท และมันสำปะหลังราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1 เป็นกิโลกรัมละ 0.57 บาท ขณะที่ราคาพืชสำคัญอื่นมีแนวโน้มลดลง ส่งผลให้รายได้เกษตรกรลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนประมาณร้อยละ 5.2 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 1.4 ปีก่อน
นอกภาคเกษตร การผลิต ภาคอุตสาหกรรม มีแนวโน้มลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมผลิตน้ำตาลลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.2 เป็น 1.0 ล้านเมตริกตัน เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 ปีก่อน ตามปริมาณอ้อยที่ลดลง มูลค่าการผลิตเพื่อส่งออกของนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จังหวัดลำพูน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 ชะลอตัวเมื่อเทียบกับเพิ่มขึ้นร้อยละ 44.3 ระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากความต้องการจากต่างประเทศชะลอตัวตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงโดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และกลุ่มประเทศในแถบเอเซีย ขณะที่การ ผลิตสังกะสี เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 เป็น 50,042.3 เมตริกตัน เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 3.7 ระยะเดียวกันปีก่อน ตามความต้องการใช้ภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น เช่น อุตสาหกรรมเคลือบผิวโลหะ ช่วง 5 เดือนแรกของปี 2544 การผลิต ภาคเหมืองแร่ ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน โดยเฉพาะ การผลิต ลิกไนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.4 เป็น 9.1 ล้านเมตริกตัน เพื่อใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าทดแทนการใช้น้ำมันเตาที่ราคาสูงขึ้น หินปูน เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.4 เป็น 2.3 ล้านเมตริกตัน ตามแนวโน้มของภาคการก่อสร้างที่เริ่มปรับตัวดีขึ้นหลังจาก ซบเซามากว่า 3 ปี ทั้งนี้การผลิต น้ำมันดิบ และ ก๊าซธรรมชาติ อยู่ในระดับใกล้เคียงกับปีก่อน เนื่องจากโรงงานเดินเครื่องจักรเกือบเต็มกำลังผลิตแล้ว ขณะที่การผลิตแร่สังกะสีลดลงถึงร้อยละ 64.9 เหลือ 37,560 เมตริกตัน เนื่องจากปริมาณแร่เหลือน้อยต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ภาคบริการ แสดงทิศทางชะลอตัวจากปัจจัยภาคการใช้จ่ายและจำนวนนักท่องเที่ยวชาวไทย และชาวต่างประเทศที่ชะลอตัว โดยเฉพาะชาวญี่ปุ่นที่ประสบปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัว ขณะที่นักท่องเที่ยวชาวยุโรปเริ่มชะลอตัวเนื่องจากข่าวความไม่สงบชายแดนไทย-พม่า
การใช้จ่ายภาคเอกชน แสดงทิศทางที่ชะลอตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน ช่วงครึ่งแรกปี 2544 โดย ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียน ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2544 เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.0 เป็น 63,621 คัน ชะลอตัวเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 46.4 ระยะเดียวกันปีก่อน ขณะที่ ปริมาณรถยนต์จดทะเบียน (รถยนต์นั่งส่วนบุคคลและรถยนต์นั่งเชิงพาณิชย์) ลดลงร้อยละ 9.4 เหลือ 12,008 คัน เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 60.3 ระยะเดียวกันปีก่อน โดยลดลงมากในส่วนของการจดทะเบียนรถบรรทุกส่วนบุคคลถึงร้อยละ 17.0 เหลือ 7,625 คัน ตามรายได้เกษตรกรที่ลดลง ขณะที่รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.1 ชะลอตัวเมื่อเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 67.0 ปีก่อน อย่างไรก็ดี ภาษีมูลค่าเพิ่ม (คิดฐานภาษีร้อยละ 7) ในช่วงครึ่งแรกของปี 2544 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 21.1 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 ปีก่อน ส่วนใหญ่เกิดจากการเร่งรัดจัดเก็บและเป็นเบี้ยปรับเงินเพิ่มของอุตสาหกรรมน้ำตาลเป็นสำคัญ
การลงทุน/ก่อสร้าง ช่วงครึ่งแรกปี 2544 การลงทุนภาคเอกชนโดยรวมอยู่ในภาวะซบเซา โดย โครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน ลดลงทั้งจำนวนโครงการและเงินลงทุนร้อยละ 3.6 และร้อยละ 21.0 เหลือ 27 โครงการ และ 4,295.0 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าเพื่อการส่งออกในเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จังหวัดลำพูน ในเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2544 จำนวน เงินลงทุนของอุตสาหกรรมโรงงานตั้งใหม่ จำนวน 228 โรงงาน ลดลงร้อยละ 18.7 เหลือ 939.3 ล้านบาท คาดว่าโรงงานอุตสาหกรรมตั้งใหม่จะรองรับจำนวนแรงงานได้ทั้งสิ้น 3,649 อัตรา เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับ 3,579 อัตราในปีก่อน อย่างไรก็ดี สัญญาณการก่อสร้างภาคเอกชนมีทิศทางที่ดีขึ้น พื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างในเขต เทศบาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.6 เป็น 280.0 พันตารางเมตร เร่งตัวขึ้นเมื่อเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2 ระยะเดียวกันปีก่อน โดยเพิ่มขึ้นมากในส่วนของการก่อสร้างประเภทอาคารพาณิชยกรรม และประเภทที่อยู่อาศัยร้อยละ 33.2 และ ร้อยละ 29.2 เป็น 74.1 พันตารางเมตร และ 158.9 พันตารางเมตร ตามลำดับ
ฐานะการคลังรัฐบาล ในภาคเหนือมีเงินในงบประมาณขาดดุล 49,602.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเทียบกับที่ขาดดุล 48,624.1 ล้านบาท ระยะเดียวกันปีก่อน รายจ่ายของรัฐบาล เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.1 เป็น 55,026.6 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 ปีก่อน โดยรายจ่ายประจำเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.3 เป็น 35,301.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นมากในหมวดรายจ่ายอื่น และงบกลางร้อยละ 42.8 และร้อยละ 8.8 เป็น 677.1 ล้านบาท และ 6,246.5 ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนรายจ่ายลงทุนเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.8 เป็น 19,724.8 ล้านบาท โดยเฉพาะรายจ่ายในหมวดเงินอุดหนุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.3 เป็น 9,747.4 ล้านบาท เพื่อจ่ายเงินอุดหนุนให้กับสถาบันการศึกษา และการจ่ายโอนให้องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ขณะที่ รายได้ของรัฐบาล เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.2 เป็น 5,424.6 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 12.1 ระยะเดียวกันปีก่อน โดยการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 เป็น 2,130.9 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นมากในส่วนที่จัดเก็บจากเงินได้ร้อยละ 16.7 เป็น 1,624.3 ล้านบาท ขณะที่การจัดเก็บภาษีจากรายได้ดอกเบี้ยลดลงร้อยละ 20.3 เหลือ 506.6 ล้านบาท) ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 21.1 และ 12.8 เป็น 1,766.9 และ 952.4 ล้านบาท ตามลำดับ เนื่องจากการเร่งรัดจัดเก็บภาษีเป็นสำคัญ
การค้าต่างประเทศ มูลค่า การส่งออก ลดลงร้อยละ 4.1 เหลือ 592.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.3 ระยะเดียวกันปีก่อน (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 26,143.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ.12.2) โดยมูลค่าการส่งออกของนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 เป็น 470.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. ชะลอลงเมื่อเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 44.3 ระยะเดียวกันปีก่อน จากความต้องการของต่างประเทศที่ชะลอลงตามภาวะเศรษฐกิจโลก ขณะที่การส่งออกผ่านชายแดนลดลงร้อยละ 42.4 เหลือ 57.1 ล้านดอลลาร์ สรอ.เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.4 ระยะเดียวกัน ปีก่อน (ในรูปเงินบาทมูลค่า 2,521.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 32.3) โดยเฉพาะการส่งออกไปพม่าลดลงร้อยละ 62.2 เหลือ 32.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. (ในรูปเงินบาทมูลค่า 1,448.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 55.7) จากการเข้มงวดการนำเข้าและปัญหาความขัดแย้งด้านชายแดน ทางด้าน การนำเข้า ลดลงร้อยละ 2.8 เหลือ 534.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.2 ระยะเดียวกัน ปีก่อน (ในรูปเงินบาทมูลค่า 23,503.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 13.2) ส่วนใหญ่เป็นการลดการ นำเข้าวัตถุดิบของนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเป็นสำคัญ ขณะที่การนำเข้าผ่านชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 53.8 เป็น 32.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยเป็นการนำเข้าจากพม่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 69.5 เป็น 20.4 ล้าน ดอลลาร์ สรอ. ส่วนหนึ่งเป็นการทำพิธีศุลกากรนำเข้านำเข้าแร่สังกะสีผ่านทางด่านแม่สอด นอกจากนั้นเป็นการนำเข้าโคมีชีวิต อาหารทะเล และเฟอร์นิเจอร์ไม้ ดุลการค้า เกินดุล 58.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนที่เกินดุล 68.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. (ในรูปเงินบาทมูลค่า 2,640.7 ล้านบาท เทียบกับที่เกินดุล 2,534.6 ล้านบาทปีก่อน)
ระดับราคา สินค้าสูงขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.5 จากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ร้อยละ 0.8 ตามราคาสินค้ากลุ่มผักและผลไม้เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 4.1 เนื่องจากผลผลิตลดลงจากภาวะอากาศไม่เอื้ออำนวย รองลงมาคือกลุ่มข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์โดยกลุ่มแป้งราคาสูงขึ้นร้อยละ 4.8 จากความต้องการข้าวหอมมะลิที่มีอย่างต่อเนื่อง ส่วน ราคาสินค้าหมวดไม่รวมอาหารและเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 สูงขึ้นจากราคากลุ่มไฟฟ้า เชื้อเพลิงและน้ำประปาที่ปรับตัวสูงขึ้นถึงร้อยละ 11.1 ตามการปรับขึ้นราคาค่าไฟฟ้า รองลงมาได้แก่หมวดยานพาหนะ การขนส่งและสื่อสารสูงขึ้นร้อยละ 6.6 ตามราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น
ภาคการเงิน ยังคงมีสภาพคล่องอยู่ในเกณฑ์สูงเนื่องจากเงินฝากยังขยายตัวสูงกว่าสินเชื่ออย่างต่อเนื่อง ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2544 มียอด เงินฝาก คงค้างทั้งสิ้น 276.7 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.0 ขณะที่มียอด สินเชื่อ คงค้างทั้งสิ้น 172.8 พันล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.0 อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินให้กู้ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 4 แห่ง ปรับตัวลดลงจากสิ้นปีก่อนร้อยละ 0.5 ต่อปี ตามภาวะสภาพคล่องที่มีอยู่สูงในระบบ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์และเงินฝากประจำ 3 เดือน ลดลงเหลือร้อยละ 2.00 ต่อปี และร้อยละ 2.50 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้แก่ลูกค้าชั้นดี (MLR) อยู่ที่ระดับร้อยละ 7.25-7.75 ต่อปี ด้าน ปริมาณการใช้เช็ค ผ่านสำนักงานหักบัญชี ในช่วงครึ่งแรกปี 2544 มีปริมาณเช็คเรียกเก็บทั้งสิ้น 2,158,825 ฉบับ มูลค่า 141,943.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะ เดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.8 และร้อยละ 0.7 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 และร้อยละ 0.6 ทางด้าน ปริมาณเช็คคืน มีจำนวน 40,659 ฉบับ มูลค่า 2,157.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 0.6 และร้อยละ 7.1 ตามลำดับ สัดส่วน ปริมาณและมูลค่าเช็คคืนต่อเช็คเรียกเก็บ ร้อยละ 1.9 และร้อยละ 1.5 ใกล้เคียงกับปีก่อน
--ส่วนวิชาการ/ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ--
-ยก-
ภาคการเกษตร ผลผลิตพืชสำคัญที่ออกในช่วงครึ่งปีแรกลดลงจากระยะเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 8.2 เนื่องจากเกษตรกรลดพื้นที่เพาะปลูกเพราะราคาปีก่อนไม่จูงใจ ประกอบกับสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวยเช่นปีก่อน พืชสำคัญได้แก่ ข้าวนาปรัง และ อ้อย ผลผลิตลดลงร้อยละ 6.4 และ ร้อยละ13.7 เหลือ 1.7 ล้านเมตริกตัน และ 10.9 ล้านเมตริกตัน เนื่องจากเกษตรกรลดพื้นที่เพาะปลูก ส่วน ลิ้นจี่ และ ใบยาเวอร์จิเนีย ผลผลิตลดลงร้อยละ 33.3 และร้อยละ 3.9 เหลือ 34,980 เมตริกตัน และ 10,385 เมตริกตัน จากสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย ขณะที่ มันสำปะหลัง และ ถั่วเขียว ผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 และร้อยละ 5.0 เป็น 2.4 ล้านเมตริกตัน และ 70,281 เมตริกตัน อย่างไรก็ดี ภาพรวมราคาเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.0 ตามภาวะราคา สินค้าเกษตรในตลาดโลก โดยราคาอ้อยเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.0 เป็นเมตริกตันละ 648 บาท ถั่วเขียวราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.5 เป็นกิโลกรัมละ 15.43 บาท และมันสำปะหลังราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1 เป็นกิโลกรัมละ 0.57 บาท ขณะที่ราคาพืชสำคัญอื่นมีแนวโน้มลดลง ส่งผลให้รายได้เกษตรกรลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนประมาณร้อยละ 5.2 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 1.4 ปีก่อน
นอกภาคเกษตร การผลิต ภาคอุตสาหกรรม มีแนวโน้มลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมผลิตน้ำตาลลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.2 เป็น 1.0 ล้านเมตริกตัน เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 ปีก่อน ตามปริมาณอ้อยที่ลดลง มูลค่าการผลิตเพื่อส่งออกของนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จังหวัดลำพูน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 ชะลอตัวเมื่อเทียบกับเพิ่มขึ้นร้อยละ 44.3 ระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากความต้องการจากต่างประเทศชะลอตัวตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงโดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และกลุ่มประเทศในแถบเอเซีย ขณะที่การ ผลิตสังกะสี เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 เป็น 50,042.3 เมตริกตัน เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 3.7 ระยะเดียวกันปีก่อน ตามความต้องการใช้ภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น เช่น อุตสาหกรรมเคลือบผิวโลหะ ช่วง 5 เดือนแรกของปี 2544 การผลิต ภาคเหมืองแร่ ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน โดยเฉพาะ การผลิต ลิกไนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.4 เป็น 9.1 ล้านเมตริกตัน เพื่อใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าทดแทนการใช้น้ำมันเตาที่ราคาสูงขึ้น หินปูน เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.4 เป็น 2.3 ล้านเมตริกตัน ตามแนวโน้มของภาคการก่อสร้างที่เริ่มปรับตัวดีขึ้นหลังจาก ซบเซามากว่า 3 ปี ทั้งนี้การผลิต น้ำมันดิบ และ ก๊าซธรรมชาติ อยู่ในระดับใกล้เคียงกับปีก่อน เนื่องจากโรงงานเดินเครื่องจักรเกือบเต็มกำลังผลิตแล้ว ขณะที่การผลิตแร่สังกะสีลดลงถึงร้อยละ 64.9 เหลือ 37,560 เมตริกตัน เนื่องจากปริมาณแร่เหลือน้อยต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ภาคบริการ แสดงทิศทางชะลอตัวจากปัจจัยภาคการใช้จ่ายและจำนวนนักท่องเที่ยวชาวไทย และชาวต่างประเทศที่ชะลอตัว โดยเฉพาะชาวญี่ปุ่นที่ประสบปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัว ขณะที่นักท่องเที่ยวชาวยุโรปเริ่มชะลอตัวเนื่องจากข่าวความไม่สงบชายแดนไทย-พม่า
การใช้จ่ายภาคเอกชน แสดงทิศทางที่ชะลอตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน ช่วงครึ่งแรกปี 2544 โดย ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียน ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2544 เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.0 เป็น 63,621 คัน ชะลอตัวเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 46.4 ระยะเดียวกันปีก่อน ขณะที่ ปริมาณรถยนต์จดทะเบียน (รถยนต์นั่งส่วนบุคคลและรถยนต์นั่งเชิงพาณิชย์) ลดลงร้อยละ 9.4 เหลือ 12,008 คัน เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 60.3 ระยะเดียวกันปีก่อน โดยลดลงมากในส่วนของการจดทะเบียนรถบรรทุกส่วนบุคคลถึงร้อยละ 17.0 เหลือ 7,625 คัน ตามรายได้เกษตรกรที่ลดลง ขณะที่รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.1 ชะลอตัวเมื่อเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 67.0 ปีก่อน อย่างไรก็ดี ภาษีมูลค่าเพิ่ม (คิดฐานภาษีร้อยละ 7) ในช่วงครึ่งแรกของปี 2544 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 21.1 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 ปีก่อน ส่วนใหญ่เกิดจากการเร่งรัดจัดเก็บและเป็นเบี้ยปรับเงินเพิ่มของอุตสาหกรรมน้ำตาลเป็นสำคัญ
การลงทุน/ก่อสร้าง ช่วงครึ่งแรกปี 2544 การลงทุนภาคเอกชนโดยรวมอยู่ในภาวะซบเซา โดย โครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน ลดลงทั้งจำนวนโครงการและเงินลงทุนร้อยละ 3.6 และร้อยละ 21.0 เหลือ 27 โครงการ และ 4,295.0 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าเพื่อการส่งออกในเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จังหวัดลำพูน ในเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2544 จำนวน เงินลงทุนของอุตสาหกรรมโรงงานตั้งใหม่ จำนวน 228 โรงงาน ลดลงร้อยละ 18.7 เหลือ 939.3 ล้านบาท คาดว่าโรงงานอุตสาหกรรมตั้งใหม่จะรองรับจำนวนแรงงานได้ทั้งสิ้น 3,649 อัตรา เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับ 3,579 อัตราในปีก่อน อย่างไรก็ดี สัญญาณการก่อสร้างภาคเอกชนมีทิศทางที่ดีขึ้น พื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างในเขต เทศบาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.6 เป็น 280.0 พันตารางเมตร เร่งตัวขึ้นเมื่อเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2 ระยะเดียวกันปีก่อน โดยเพิ่มขึ้นมากในส่วนของการก่อสร้างประเภทอาคารพาณิชยกรรม และประเภทที่อยู่อาศัยร้อยละ 33.2 และ ร้อยละ 29.2 เป็น 74.1 พันตารางเมตร และ 158.9 พันตารางเมตร ตามลำดับ
ฐานะการคลังรัฐบาล ในภาคเหนือมีเงินในงบประมาณขาดดุล 49,602.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเทียบกับที่ขาดดุล 48,624.1 ล้านบาท ระยะเดียวกันปีก่อน รายจ่ายของรัฐบาล เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.1 เป็น 55,026.6 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 ปีก่อน โดยรายจ่ายประจำเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.3 เป็น 35,301.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นมากในหมวดรายจ่ายอื่น และงบกลางร้อยละ 42.8 และร้อยละ 8.8 เป็น 677.1 ล้านบาท และ 6,246.5 ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนรายจ่ายลงทุนเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.8 เป็น 19,724.8 ล้านบาท โดยเฉพาะรายจ่ายในหมวดเงินอุดหนุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.3 เป็น 9,747.4 ล้านบาท เพื่อจ่ายเงินอุดหนุนให้กับสถาบันการศึกษา และการจ่ายโอนให้องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ขณะที่ รายได้ของรัฐบาล เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.2 เป็น 5,424.6 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 12.1 ระยะเดียวกันปีก่อน โดยการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 เป็น 2,130.9 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นมากในส่วนที่จัดเก็บจากเงินได้ร้อยละ 16.7 เป็น 1,624.3 ล้านบาท ขณะที่การจัดเก็บภาษีจากรายได้ดอกเบี้ยลดลงร้อยละ 20.3 เหลือ 506.6 ล้านบาท) ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 21.1 และ 12.8 เป็น 1,766.9 และ 952.4 ล้านบาท ตามลำดับ เนื่องจากการเร่งรัดจัดเก็บภาษีเป็นสำคัญ
การค้าต่างประเทศ มูลค่า การส่งออก ลดลงร้อยละ 4.1 เหลือ 592.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.3 ระยะเดียวกันปีก่อน (ในรูปเงินบาทมีมูลค่า 26,143.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ.12.2) โดยมูลค่าการส่งออกของนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 เป็น 470.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. ชะลอลงเมื่อเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 44.3 ระยะเดียวกันปีก่อน จากความต้องการของต่างประเทศที่ชะลอลงตามภาวะเศรษฐกิจโลก ขณะที่การส่งออกผ่านชายแดนลดลงร้อยละ 42.4 เหลือ 57.1 ล้านดอลลาร์ สรอ.เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.4 ระยะเดียวกัน ปีก่อน (ในรูปเงินบาทมูลค่า 2,521.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 32.3) โดยเฉพาะการส่งออกไปพม่าลดลงร้อยละ 62.2 เหลือ 32.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. (ในรูปเงินบาทมูลค่า 1,448.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 55.7) จากการเข้มงวดการนำเข้าและปัญหาความขัดแย้งด้านชายแดน ทางด้าน การนำเข้า ลดลงร้อยละ 2.8 เหลือ 534.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.2 ระยะเดียวกัน ปีก่อน (ในรูปเงินบาทมูลค่า 23,503.1 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 13.2) ส่วนใหญ่เป็นการลดการ นำเข้าวัตถุดิบของนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือเป็นสำคัญ ขณะที่การนำเข้าผ่านชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 53.8 เป็น 32.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยเป็นการนำเข้าจากพม่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 69.5 เป็น 20.4 ล้าน ดอลลาร์ สรอ. ส่วนหนึ่งเป็นการทำพิธีศุลกากรนำเข้านำเข้าแร่สังกะสีผ่านทางด่านแม่สอด นอกจากนั้นเป็นการนำเข้าโคมีชีวิต อาหารทะเล และเฟอร์นิเจอร์ไม้ ดุลการค้า เกินดุล 58.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนที่เกินดุล 68.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. (ในรูปเงินบาทมูลค่า 2,640.7 ล้านบาท เทียบกับที่เกินดุล 2,534.6 ล้านบาทปีก่อน)
ระดับราคา สินค้าสูงขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.5 จากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ร้อยละ 0.8 ตามราคาสินค้ากลุ่มผักและผลไม้เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 4.1 เนื่องจากผลผลิตลดลงจากภาวะอากาศไม่เอื้ออำนวย รองลงมาคือกลุ่มข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์โดยกลุ่มแป้งราคาสูงขึ้นร้อยละ 4.8 จากความต้องการข้าวหอมมะลิที่มีอย่างต่อเนื่อง ส่วน ราคาสินค้าหมวดไม่รวมอาหารและเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 สูงขึ้นจากราคากลุ่มไฟฟ้า เชื้อเพลิงและน้ำประปาที่ปรับตัวสูงขึ้นถึงร้อยละ 11.1 ตามการปรับขึ้นราคาค่าไฟฟ้า รองลงมาได้แก่หมวดยานพาหนะ การขนส่งและสื่อสารสูงขึ้นร้อยละ 6.6 ตามราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น
ภาคการเงิน ยังคงมีสภาพคล่องอยู่ในเกณฑ์สูงเนื่องจากเงินฝากยังขยายตัวสูงกว่าสินเชื่ออย่างต่อเนื่อง ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2544 มียอด เงินฝาก คงค้างทั้งสิ้น 276.7 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.0 ขณะที่มียอด สินเชื่อ คงค้างทั้งสิ้น 172.8 พันล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.0 อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินให้กู้ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 4 แห่ง ปรับตัวลดลงจากสิ้นปีก่อนร้อยละ 0.5 ต่อปี ตามภาวะสภาพคล่องที่มีอยู่สูงในระบบ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์และเงินฝากประจำ 3 เดือน ลดลงเหลือร้อยละ 2.00 ต่อปี และร้อยละ 2.50 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้แก่ลูกค้าชั้นดี (MLR) อยู่ที่ระดับร้อยละ 7.25-7.75 ต่อปี ด้าน ปริมาณการใช้เช็ค ผ่านสำนักงานหักบัญชี ในช่วงครึ่งแรกปี 2544 มีปริมาณเช็คเรียกเก็บทั้งสิ้น 2,158,825 ฉบับ มูลค่า 141,943.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะ เดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.8 และร้อยละ 0.7 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 และร้อยละ 0.6 ทางด้าน ปริมาณเช็คคืน มีจำนวน 40,659 ฉบับ มูลค่า 2,157.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 0.6 และร้อยละ 7.1 ตามลำดับ สัดส่วน ปริมาณและมูลค่าเช็คคืนต่อเช็คเรียกเก็บ ร้อยละ 1.9 และร้อยละ 1.5 ใกล้เคียงกับปีก่อน
--ส่วนวิชาการ/ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ--
-ยก-