นราธิวาส
ภาพรวมเศรษฐกิจของจังหวัดนราธิวาสในปี 2543 ขยายตัวเล็กน้อยต่อเนื่องจากกลางปีก่อน เนื่องจากการผลิตและการค้า
ยางพาราคึกคักขึ้น ขณะเดียวกันผลผลิตลองกองเพิ่มขึ้นมาก และราคาอยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตามในช่วงปลายปีเศรษฐกิจชะลอลงเล็กน้อย
เนื่องจากภาวะ ฝนตกหนักและเกิดน้ำท่วมในช่วงปลายเดือนธันวาคม สร้างความเสียหายให้กับพื้นที่ทางการเกษตร
ภาคการเกษตร
ยางพารา ภาวะการผลิตยางพาราของจังหวัดมีแนวโน้มดีขึ้น เนื่องจากปริมาณผลผลิตที่เกษตรกรเก็บเกี่ยวได้มีปริมาณเพิ่มขึ้น
ส่วนสถานการณ ์ด้านราคาในปี 2543 ราคาจำหน่ายยางพาราภายในจังหวัดนราธิวาสปรับตัวสูงขึ้นจากปีก่อนตามภาวะในตลาดโลก ซึ่งปริมาณ
ความต้องการซื้อยางของประเทศผู้ใช้ยางเพิ่มขึ้น ในปีนี้ราคายางแผ่นดิบชั้น 3 ที่เกษตรกรจำหน่ายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.59 บาท เพิ่มขึ้น
จากปีก่อนร้อยละ 19.3
ประมง การทำประมงในจังหวัดนราธิวาสส่วนใหญ่เป็นการทำประมงพื้นบ้านและประมงชายฝั่ง ซึ่งภาวะการจับสัตว์น้ำในช่วงปีนี้
ประสบกับ ปัญหาต้นทุนน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น และปริมาณสัตว์น้ำที่ร่อยหรอลง อย่างไรก็ตามจากรายงานขององค์การสะพานปลาจังหวัดนราธิวาส
ในปีนี้ปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้และนำขึ้นที่ ท่าเทียบเรือองค์การสะพานปลา 8,070 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 81.2 คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น
212.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับปีก่อนที่มีมูลค่าเพียง 84.1 ล้านบาท
ไม้ผล ในปีนี้ผลผลิตออกมากตามการเพิ่มขึ้นของพื้นที่ให้ผล โดยเฉพาะลองกองซึ่งเป็นผลไม้ที่ทำรายได้ให้กับจังหวัด ในปีนี้มีผลผลิต
7,209.49 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 52.6 ขณะเดียวกันราคาจำหน่ายอยู่ในระดับสูง เฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.78 บาท แต่เมื่อเทียบกับ
ปีก่อนลดลงร้อยละ 7.1
นอกภาคการเกษตร
การท่องเที่ยว ภาพรวมของการท่องเที่ยวของจังหวัดนราธิวาส ส่วนใหญ่เป็น นักท่องเที่ยวเดินทางจากประเทศมาเลเซียเดินทาง
เข้ามาจับจ่ายใช้สอยสินค้าชนิดต่าง ๆ และ ท่องเที่ยวตามแหล่งบันเทิง โดยปีนี้มีชาวต่างประเทศที่เดินทางผ่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัด
นราธิวาส 69,739 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 ในจำนวนนี้เป็นนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซีย 44,158 คน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนลดลงเล็กน้อย
ร้อยละ 0.5 ขณะที่มีชาวสิงคโปร์เดินทางเข้ามา 2,402 คน และชาติอื่น ๆ 23,179 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.7 และ 17.2 ตามลำดับ
การค้า จากภาวะเศรษฐกิจที่กระเตื้องขึ้นจากการดำเนินนโยบายการเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เป็นผลให้ประชาชนมีการจับจ่าย
ใช้สอยกันมากขึ้น ทำให้ภาวะค้าปลีกค้าส่งเริ่มปรับตัวดีขึ้น เช่นเดียวกับการค้ายานพาหนะ จากจำนวนรถที่มีการจดทะเบียนใหม่ในปีนี้ รถยนต์นั่ง
ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน จำนวน 207 คัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 61.7 รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล 501 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 และรถจักรยานยนต์
9,762 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.6
การค้าระหว่างประเทศผ่านด่านศุลกากรในจังหวัดนราธิวาสส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าสินค้าไม้แปรรูป เครื่องจักรและอุปกรณ์ รวม
ไปถึงสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภคต่าง ๆ มูลค่าการ นำเข้าในปีนี้รวมทั้งสิ้น 1,547.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.6 ขณะที่การส่งออกกลับ
มีมูลค่าลดลง โดยมีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 971.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 0.4
การลงทุน การจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคลของธุรกิจรายใหม่ในจังหวัดนราธิวาสมีจำนวน 64 ราย ทุนจดทะเบียนรวม 72.4 ล้านบาท
ใกล้เคียงกับปีก่อนที่มีจำนวน 67 ราย ทุนจดทะเบียนรวม 71.8 ล้านบาท ขณะที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนไม่มีอนุมัติการ ส่งเสริม
การลงทุนในจังหวัดนราธิวาสในปีนี้ ต่างจากในปีก่อนที่มีจำนวน 3 ราย เงินลงทุนรวม 395.0 ล้านบาท และจ้างงาน 412 คน ส่วนการก่อสร้าง
และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวเพียง เล็กน้อย เนื่องจากข้อจำกัดทางด้านกำลังซื้อของประชาชนในธุรกิจนี้ การขออนุญาตเพื่อทำการ ก่อสร้าง
ในเขตเทศบาลในจังหวัดนราธิวาสในปีนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 46,538 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0 เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน จำแนกได้เป็นพื้นที่
ก่อสร้างเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย 26,750 ตารางเมตร พื้นที่ก่อสร้างเพื่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ 19,672 ตารางเมตร และเพื่อการพาณิชย์ 116 ตารางเมตร
การจ้างงาน การจ้างงานภายในจังหวัดนราธิวาสชะลอลงจากตัวเลขซึ่งจากตัวเลขของสำนักงานจัดหางานจังหวัดนราธิวาสในปีนี้
มีตำแหน่งงานว่าง 1,886 อัตรา ลดลงจากร้อยละ 8.4 ขณะเดียวกันมีผู้มาสมัครงานทั้งสิ้น 759 คน และได้รับการบรรจุงานทั้งสิ้น 427 อัตรา
ลดลงร้อยละ 58.0 และ 27.1 ตามลำดับ
การคลัง การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการต่าง ๆ ในจังหวัดนราธิวาสชะลอลงเล็กน้อย โดยมีจำนวนเงินที่เบิกจ่ายทั้งสิ้น
4,855.9 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 0.4 ขณะที่จัดเก็บภาษีอากรได้ 388.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.4 เนื่องจากจัดเก็บภาษีสรรพากร
ได้ลดลง โดยจัดเก็บได้ 366.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.9 ขณะที่ ภาษีศุลกากรจัดเก็บได้ 20.5 ล้านบาท และภาษีสรรพสามิต 1.4 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 และ 4.0 ตามลำดับ
การเงินการธนาคาร การรับจ่ายเงินสดของผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทยจังหวัดนราธิวาสขยายตัวทั้งในด้านรับและด้านจ่าย
สาเหตุสำคัญเนื่องมาจากการฟื้นตัวของภาพรวมเศรษฐกิจของจังหวัด ทำให้ประชาชนมีการจับจ่ายใช้สอยกันมากและเกิดการหมุนเวียนของเงิน
ในระบบ โดยมีเงินสดจ่าย 11,023.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 22.2 เมื่อเทียบกับปีก่อน ขณะที่มีเงินสดรับเข้า 4,416.7 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.2 เช่นเดียวกับการโอนเงินระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทยกับผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย มีการโอนเงินออก 11,358.4
ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.9 และเงินโอนเข้า 9,717.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6
การใช้เช็คภายในจังหวัดนราธิวาส จากจำนวนเช็คที่ผ่านสำนักหักบัญชีในปีนี้มีจำนวน 110,167 ฉบับ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 6.1
เป็นมูลค่า 9,764.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 0.8
ในปี 2543 สภาพคล่องทางการเงินของธนาคารพาณิชย์มีจำนวนมาก ทำให้อัตรา ดอกเบี้ยปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การระดม
เงินฝากของธนาคารพาณิชย์ไม่ขยายตัวมากนัก ยอดคงค้างเงินฝากของสาขาธนาคารพาณิชย์ทั้ง 23 สำนักงานในจังหวัดนราธิวาส ณ สิ้นเดือน
ธันวาคม 9,491.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปีก่อนร้อยละ 7.0 จำแนกได้เป็นเงินฝากประจำ 6,503.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.1 เงินฝาก
ออมทรัพย์ 2,773.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.7 และเงินฝากกระแสรายวัน 213.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.8
การให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ในจังหวัดนราธิวาส มียอดสินเชื่อคงค้าง ณ สิ้นเดือนธันวาคม 5,866.9 ล้านบาท ลดลงจากสิ้นปี
ก่อนร้อยละ 12.2 จำแนกได้เป็นเงินให้กู้ 3,468.0 ล้านบาท เงินเบิกเกินบัญชี 2,151.2 ล้านบาท และสินเชื่อจากตั๋วเงินและอื่น ๆ 247.7
ล้านบาท ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาเงินสินเชื่อในจังหวัดนราธิวาสจำแนกตามวัตถุประสงค์ ส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อค้าปลีก ค้าส่ง 2,295.4 ล้านบาท ลดลง
จากปีก่อนร้อยละ 7.3 รองลงมาได้แก่ สินเชื่อบริโภคส่วนบุคคลและสินเชื่อเพื่อการก่อสร้าง มียอดคงค้าง 1,268.4 และ 1,030.1 ล้านบาท
ลดลงร้อยละ 4.5 และ 6.8 ตามลำดับ โดยมีสัดส่วนเงินให้สินเชื่อต่อเงินฝากร้อยละ 61.8
การระดมเงินฝากของธนาคารออมสินในจังหวัดนราธิวาส 4 สำนักงาน มียอดเงินฝากคงค้าง ณ สิ้นเดือนธันวาคม 1,355.5 ล้านบาท
เปรียบเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนซึ่งมียอดคงค้าง 1,211.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9 ส่วนการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินอื่น ได้แก่
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรสามารถปล่อยสินเชื่อในปีนี้ทั้งสิ้น 571.4 ล้านบาท ลดลง ร้อยละ 7.5 ขณะที่บรรษัทเงินทุน
อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยปล่อยกู้ให้กับลูกค้าในจังหวัดนราธิวาสทั้งสิ้น 5 ราย เงินให้สินเชื่อรวม 61.0 ล้านบาท เปรียบเทียบ กับปีก่อนที่มี
จำนวน 3 รายเงินให้สินเชื่อรวม 28.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว
แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจจังหวัดนราธิวาสในปี 2544
เศรษฐกิจจังหวัดนราธิวาสในปี 2544 คาดว่าจะขยายตัวดีขึ้น เนื่องจากการใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ประกอบกับภาวะ
การค้าและปริมาณผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญของจังหวัดขยายตัวจากสภาพอากาศที่เหมาะสมทั้งผลผลิตยางพาราและไม้ผล แม้ว่าในภาคการ
ท่องเที่ยวของสุไหงโก-ลกจะมีแนวโน้มชะลอลงตามเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้าน แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันและในอนาคตอันใกล้มีการปรับตัว
ในทิศทางที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่มุ่งเน้นตลาดนักท่องเที่ยวจาก ประเทศมาเลเซียไปสู่ตลาดนักท่องเที่ยวชาติอื่น ๆ และตลาดในประเทศ
โดยมีการส่งเสริมการท่องเที่ยวในเชิงอนุรักษ์และเน้นด้าน ศิลปวัฒนธรรมมากขึ้น ซึ่งจะสร้างรายได้ให้กับท้องถิ่น
เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจที่สำคัญ จังหวัดนราธิวาส
เครื่องชี้ 2541 2542 2543 43/42
1. การเกษตร
ราคาสินค้าที่สำคัญ (บาท/กก.)
ยางแผ่นดิบคุณภาพ 3 23.13 18.09 21.59 19.3
2. การท่องเที่ยว
ชาวต่างประเทศผ่านตรวจคนเข้าเมือง (คน) 75,660 66,143 69,739 5.4
มาเลเซีย 55,304 44,364 44,158 -0.5
สิงคโปร์ 2,226 2,007 2,402 19.7
ชาติอื่น ๆ 18,130 19,772 23,179 17.2
3. การค้า
3.1 รถยนต์จดทะเบียนใหม่ (คัน)
รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน 119 128 207 61.7
รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล 354 462 501 8.4
รถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ (คัน) 9,285 7,713 9,762 26.6
3.2 การค้าระหว่างประเทศ (ล้านบาท)
มูลค่าการส่งออก 767.2 975.8 971.6 -0.4
มูลค่าการนำเข้า 1,036.50 1,303.90 1,547.00 18.6
4. การลงทุน
4.1 กิจการได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน
จำนวน (ราย) 2 3 0 -100
เงินลงทุน (ล้านบาท) 188.3 395 0 -100
การจ้างงาน (คน) 167 412 0 -100
4.2 การจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคล
จำนวน (ราย) 67 67 64 -4.5
ทุนจดทะเบียน (ล้านบาท) 68.9 71.8 72.4 0.8
4.3 พื้นที่อนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาล
(ตารางเมตร) 35,401 42,326 46,538 10
ที่อยู่อาศัย 20,495 25,927 26,750 3.2
การพาณิชย์ 8,897 3,065 116 -96.2
การบริการ 3,043 8,428 0 -100
อื่น ๆ 2,966 4,906 19,672 301
5. ค่าจ้างและการจัดหางาน
5.1 ค่าจ้างขั้นต่ำ (บาท/วัน) 130 130 130 0
5.2 การจัดหางาน
ตำแหน่งงานว่าง (อัตรา) 1,541 2,060 1,886 -8.4
ผู้สมัครงาน (คน) 1,247 1,806 759 -58
การบรรจุงาน (คน) 443 586 427 -27.1
6. การคลัง (ล้านบาท)
6.1 การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการ 4,458.60 4,874.60 4,855.90 -0.4
6.2 การจัดเก็บภาษีอากร 493.8 406.8 388.6 -4.4
สรรพากร 478.8 385.5 366.7 -4.9
สรรพสามิต 1.5 1 1.4 139
ศุลกากร 13.5 20.1 20.5 2
7. การเงิน
7.1 การรับ-จ่ายเงินสดผ่านผู้แทน ธปท.
(ล้านบาท)
เงินสดรับ 3,356.40 3,128.40 4,416.70 41.2
เงินสดจ่าย 7,457.30 9,018.90 11,023.00 22.2
7.2 การโอนเงินระหว่าง ธปท. กับผู้แทน
(ล้านบาท)
เงินโอนออก 8,954.90 10,625.20 11,358.40 6.9
เงินโอนเข้า 8,480.70 9,472.20 9,717.50 2.6
7.3 การใช้เช็คผ่านสำนักหักบัญชี
ปริมาณ (ฉบับ) 113,910 103,845 110,167 6.1
มูลค่า (ล้านบาท) 13,100.30 9,840.60 9,764.00 -0.8
สัดส่วนมูลค่าเช็คคืนเพราะไม่มีเงิน
ต่อเช็ครับเข้ารวม (ร้อยละ) 2.2 1.1 0.8
7.4 ธนาคารพาณิชย์
จำนวน (สำนักงาน) 24 24 23 -4.2
เงินฝาก (ล้านบาท) 9,197.70 8,868.30 9,491.80 7
กระแสรายวัน 146.1 151.6 213.4 40.8
ออมทรัพย์ 1,831.00 2,139.40 2,773.90 29.7
ประจำ 7,218.80 6,577.10 6,503.80 -1.1
อื่น ๆ 1.8 0.2 0.7 250
สินเชื่อ (ล้านบาท) 7,132.60 6,685.30 5,866.90 -12.2
เงินเบิกเกินบัญชี 3,137.00 2,680.60 2,151.20 -19.7
เงินให้กู้ 3,757.50 3,756.00 3,468.00 -7.7
ตั๋วเงินและอื่น ๆ 238.1 248.7 247.7 -0.4
สินเชื่อแยกตามวัตถุประสงค์ที่สำคัญ
การเกษตร 429 391.4 354.6 -9.4
เหมืองแร่ 69.3 75.7 72.5 -4.2
การอุตสาหกรรม 537 541.2 502.9 -7.1
การรับเหมาก่อสร้าง 1,163.40 1,104.70 1,030.10 -6.8
การค้าส่งออก 50.1 40.6 34.8 -14.3
การค้าปลีกค้าส่ง 2,586.30 2,477.30 2,295.40 -7.3
ธุรกิจการเงิน 52.2 10.7 9.5 -11.2
ธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ 236.8 190.1 139.4 -26.7
สาธารณูปโภค 28.6 33.9 31 -8.6
การบริการ 514.1 491 371 -24.4
การบริโภคส่วนบุคคล 1,465.80 1,328.70 1,268.40 -4.5
สินเชื่อ/เงินฝาก (ร้อยละ) 77.5 75.4 61.8
7.5 ธนาคารออมสิน
จำนวน (สำนักงาน) 6 6 6 0
เงินฝาก (ล้านบาท) 1,047.00 1,211.80 1,355.50 11.9
7.6 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
สินเชื่อ (ล้านบาท) 355.7 617.7 571.4 -7.5
7.7 บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
จำนวน (ราย) - 3 5 66.7
สินเชื่อ (ล้านบาท) - 28 61 117.9
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
ภาพรวมเศรษฐกิจของจังหวัดนราธิวาสในปี 2543 ขยายตัวเล็กน้อยต่อเนื่องจากกลางปีก่อน เนื่องจากการผลิตและการค้า
ยางพาราคึกคักขึ้น ขณะเดียวกันผลผลิตลองกองเพิ่มขึ้นมาก และราคาอยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตามในช่วงปลายปีเศรษฐกิจชะลอลงเล็กน้อย
เนื่องจากภาวะ ฝนตกหนักและเกิดน้ำท่วมในช่วงปลายเดือนธันวาคม สร้างความเสียหายให้กับพื้นที่ทางการเกษตร
ภาคการเกษตร
ยางพารา ภาวะการผลิตยางพาราของจังหวัดมีแนวโน้มดีขึ้น เนื่องจากปริมาณผลผลิตที่เกษตรกรเก็บเกี่ยวได้มีปริมาณเพิ่มขึ้น
ส่วนสถานการณ ์ด้านราคาในปี 2543 ราคาจำหน่ายยางพาราภายในจังหวัดนราธิวาสปรับตัวสูงขึ้นจากปีก่อนตามภาวะในตลาดโลก ซึ่งปริมาณ
ความต้องการซื้อยางของประเทศผู้ใช้ยางเพิ่มขึ้น ในปีนี้ราคายางแผ่นดิบชั้น 3 ที่เกษตรกรจำหน่ายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.59 บาท เพิ่มขึ้น
จากปีก่อนร้อยละ 19.3
ประมง การทำประมงในจังหวัดนราธิวาสส่วนใหญ่เป็นการทำประมงพื้นบ้านและประมงชายฝั่ง ซึ่งภาวะการจับสัตว์น้ำในช่วงปีนี้
ประสบกับ ปัญหาต้นทุนน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น และปริมาณสัตว์น้ำที่ร่อยหรอลง อย่างไรก็ตามจากรายงานขององค์การสะพานปลาจังหวัดนราธิวาส
ในปีนี้ปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้และนำขึ้นที่ ท่าเทียบเรือองค์การสะพานปลา 8,070 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 81.2 คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น
212.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับปีก่อนที่มีมูลค่าเพียง 84.1 ล้านบาท
ไม้ผล ในปีนี้ผลผลิตออกมากตามการเพิ่มขึ้นของพื้นที่ให้ผล โดยเฉพาะลองกองซึ่งเป็นผลไม้ที่ทำรายได้ให้กับจังหวัด ในปีนี้มีผลผลิต
7,209.49 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 52.6 ขณะเดียวกันราคาจำหน่ายอยู่ในระดับสูง เฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.78 บาท แต่เมื่อเทียบกับ
ปีก่อนลดลงร้อยละ 7.1
นอกภาคการเกษตร
การท่องเที่ยว ภาพรวมของการท่องเที่ยวของจังหวัดนราธิวาส ส่วนใหญ่เป็น นักท่องเที่ยวเดินทางจากประเทศมาเลเซียเดินทาง
เข้ามาจับจ่ายใช้สอยสินค้าชนิดต่าง ๆ และ ท่องเที่ยวตามแหล่งบันเทิง โดยปีนี้มีชาวต่างประเทศที่เดินทางผ่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัด
นราธิวาส 69,739 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 ในจำนวนนี้เป็นนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซีย 44,158 คน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนลดลงเล็กน้อย
ร้อยละ 0.5 ขณะที่มีชาวสิงคโปร์เดินทางเข้ามา 2,402 คน และชาติอื่น ๆ 23,179 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.7 และ 17.2 ตามลำดับ
การค้า จากภาวะเศรษฐกิจที่กระเตื้องขึ้นจากการดำเนินนโยบายการเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เป็นผลให้ประชาชนมีการจับจ่าย
ใช้สอยกันมากขึ้น ทำให้ภาวะค้าปลีกค้าส่งเริ่มปรับตัวดีขึ้น เช่นเดียวกับการค้ายานพาหนะ จากจำนวนรถที่มีการจดทะเบียนใหม่ในปีนี้ รถยนต์นั่ง
ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน จำนวน 207 คัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 61.7 รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล 501 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 และรถจักรยานยนต์
9,762 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.6
การค้าระหว่างประเทศผ่านด่านศุลกากรในจังหวัดนราธิวาสส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าสินค้าไม้แปรรูป เครื่องจักรและอุปกรณ์ รวม
ไปถึงสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภคต่าง ๆ มูลค่าการ นำเข้าในปีนี้รวมทั้งสิ้น 1,547.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.6 ขณะที่การส่งออกกลับ
มีมูลค่าลดลง โดยมีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 971.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 0.4
การลงทุน การจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคลของธุรกิจรายใหม่ในจังหวัดนราธิวาสมีจำนวน 64 ราย ทุนจดทะเบียนรวม 72.4 ล้านบาท
ใกล้เคียงกับปีก่อนที่มีจำนวน 67 ราย ทุนจดทะเบียนรวม 71.8 ล้านบาท ขณะที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนไม่มีอนุมัติการ ส่งเสริม
การลงทุนในจังหวัดนราธิวาสในปีนี้ ต่างจากในปีก่อนที่มีจำนวน 3 ราย เงินลงทุนรวม 395.0 ล้านบาท และจ้างงาน 412 คน ส่วนการก่อสร้าง
และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวเพียง เล็กน้อย เนื่องจากข้อจำกัดทางด้านกำลังซื้อของประชาชนในธุรกิจนี้ การขออนุญาตเพื่อทำการ ก่อสร้าง
ในเขตเทศบาลในจังหวัดนราธิวาสในปีนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 46,538 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0 เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน จำแนกได้เป็นพื้นที่
ก่อสร้างเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย 26,750 ตารางเมตร พื้นที่ก่อสร้างเพื่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ 19,672 ตารางเมตร และเพื่อการพาณิชย์ 116 ตารางเมตร
การจ้างงาน การจ้างงานภายในจังหวัดนราธิวาสชะลอลงจากตัวเลขซึ่งจากตัวเลขของสำนักงานจัดหางานจังหวัดนราธิวาสในปีนี้
มีตำแหน่งงานว่าง 1,886 อัตรา ลดลงจากร้อยละ 8.4 ขณะเดียวกันมีผู้มาสมัครงานทั้งสิ้น 759 คน และได้รับการบรรจุงานทั้งสิ้น 427 อัตรา
ลดลงร้อยละ 58.0 และ 27.1 ตามลำดับ
การคลัง การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการต่าง ๆ ในจังหวัดนราธิวาสชะลอลงเล็กน้อย โดยมีจำนวนเงินที่เบิกจ่ายทั้งสิ้น
4,855.9 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 0.4 ขณะที่จัดเก็บภาษีอากรได้ 388.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.4 เนื่องจากจัดเก็บภาษีสรรพากร
ได้ลดลง โดยจัดเก็บได้ 366.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.9 ขณะที่ ภาษีศุลกากรจัดเก็บได้ 20.5 ล้านบาท และภาษีสรรพสามิต 1.4 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 และ 4.0 ตามลำดับ
การเงินการธนาคาร การรับจ่ายเงินสดของผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทยจังหวัดนราธิวาสขยายตัวทั้งในด้านรับและด้านจ่าย
สาเหตุสำคัญเนื่องมาจากการฟื้นตัวของภาพรวมเศรษฐกิจของจังหวัด ทำให้ประชาชนมีการจับจ่ายใช้สอยกันมากและเกิดการหมุนเวียนของเงิน
ในระบบ โดยมีเงินสดจ่าย 11,023.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 22.2 เมื่อเทียบกับปีก่อน ขณะที่มีเงินสดรับเข้า 4,416.7 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.2 เช่นเดียวกับการโอนเงินระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทยกับผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย มีการโอนเงินออก 11,358.4
ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.9 และเงินโอนเข้า 9,717.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6
การใช้เช็คภายในจังหวัดนราธิวาส จากจำนวนเช็คที่ผ่านสำนักหักบัญชีในปีนี้มีจำนวน 110,167 ฉบับ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 6.1
เป็นมูลค่า 9,764.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 0.8
ในปี 2543 สภาพคล่องทางการเงินของธนาคารพาณิชย์มีจำนวนมาก ทำให้อัตรา ดอกเบี้ยปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การระดม
เงินฝากของธนาคารพาณิชย์ไม่ขยายตัวมากนัก ยอดคงค้างเงินฝากของสาขาธนาคารพาณิชย์ทั้ง 23 สำนักงานในจังหวัดนราธิวาส ณ สิ้นเดือน
ธันวาคม 9,491.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปีก่อนร้อยละ 7.0 จำแนกได้เป็นเงินฝากประจำ 6,503.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.1 เงินฝาก
ออมทรัพย์ 2,773.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.7 และเงินฝากกระแสรายวัน 213.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.8
การให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ในจังหวัดนราธิวาส มียอดสินเชื่อคงค้าง ณ สิ้นเดือนธันวาคม 5,866.9 ล้านบาท ลดลงจากสิ้นปี
ก่อนร้อยละ 12.2 จำแนกได้เป็นเงินให้กู้ 3,468.0 ล้านบาท เงินเบิกเกินบัญชี 2,151.2 ล้านบาท และสินเชื่อจากตั๋วเงินและอื่น ๆ 247.7
ล้านบาท ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาเงินสินเชื่อในจังหวัดนราธิวาสจำแนกตามวัตถุประสงค์ ส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อค้าปลีก ค้าส่ง 2,295.4 ล้านบาท ลดลง
จากปีก่อนร้อยละ 7.3 รองลงมาได้แก่ สินเชื่อบริโภคส่วนบุคคลและสินเชื่อเพื่อการก่อสร้าง มียอดคงค้าง 1,268.4 และ 1,030.1 ล้านบาท
ลดลงร้อยละ 4.5 และ 6.8 ตามลำดับ โดยมีสัดส่วนเงินให้สินเชื่อต่อเงินฝากร้อยละ 61.8
การระดมเงินฝากของธนาคารออมสินในจังหวัดนราธิวาส 4 สำนักงาน มียอดเงินฝากคงค้าง ณ สิ้นเดือนธันวาคม 1,355.5 ล้านบาท
เปรียบเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนซึ่งมียอดคงค้าง 1,211.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9 ส่วนการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินอื่น ได้แก่
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรสามารถปล่อยสินเชื่อในปีนี้ทั้งสิ้น 571.4 ล้านบาท ลดลง ร้อยละ 7.5 ขณะที่บรรษัทเงินทุน
อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยปล่อยกู้ให้กับลูกค้าในจังหวัดนราธิวาสทั้งสิ้น 5 ราย เงินให้สินเชื่อรวม 61.0 ล้านบาท เปรียบเทียบ กับปีก่อนที่มี
จำนวน 3 รายเงินให้สินเชื่อรวม 28.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว
แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจจังหวัดนราธิวาสในปี 2544
เศรษฐกิจจังหวัดนราธิวาสในปี 2544 คาดว่าจะขยายตัวดีขึ้น เนื่องจากการใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ประกอบกับภาวะ
การค้าและปริมาณผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญของจังหวัดขยายตัวจากสภาพอากาศที่เหมาะสมทั้งผลผลิตยางพาราและไม้ผล แม้ว่าในภาคการ
ท่องเที่ยวของสุไหงโก-ลกจะมีแนวโน้มชะลอลงตามเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้าน แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันและในอนาคตอันใกล้มีการปรับตัว
ในทิศทางที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่มุ่งเน้นตลาดนักท่องเที่ยวจาก ประเทศมาเลเซียไปสู่ตลาดนักท่องเที่ยวชาติอื่น ๆ และตลาดในประเทศ
โดยมีการส่งเสริมการท่องเที่ยวในเชิงอนุรักษ์และเน้นด้าน ศิลปวัฒนธรรมมากขึ้น ซึ่งจะสร้างรายได้ให้กับท้องถิ่น
เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจที่สำคัญ จังหวัดนราธิวาส
เครื่องชี้ 2541 2542 2543 43/42
1. การเกษตร
ราคาสินค้าที่สำคัญ (บาท/กก.)
ยางแผ่นดิบคุณภาพ 3 23.13 18.09 21.59 19.3
2. การท่องเที่ยว
ชาวต่างประเทศผ่านตรวจคนเข้าเมือง (คน) 75,660 66,143 69,739 5.4
มาเลเซีย 55,304 44,364 44,158 -0.5
สิงคโปร์ 2,226 2,007 2,402 19.7
ชาติอื่น ๆ 18,130 19,772 23,179 17.2
3. การค้า
3.1 รถยนต์จดทะเบียนใหม่ (คัน)
รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน 119 128 207 61.7
รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล 354 462 501 8.4
รถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ (คัน) 9,285 7,713 9,762 26.6
3.2 การค้าระหว่างประเทศ (ล้านบาท)
มูลค่าการส่งออก 767.2 975.8 971.6 -0.4
มูลค่าการนำเข้า 1,036.50 1,303.90 1,547.00 18.6
4. การลงทุน
4.1 กิจการได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน
จำนวน (ราย) 2 3 0 -100
เงินลงทุน (ล้านบาท) 188.3 395 0 -100
การจ้างงาน (คน) 167 412 0 -100
4.2 การจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคล
จำนวน (ราย) 67 67 64 -4.5
ทุนจดทะเบียน (ล้านบาท) 68.9 71.8 72.4 0.8
4.3 พื้นที่อนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาล
(ตารางเมตร) 35,401 42,326 46,538 10
ที่อยู่อาศัย 20,495 25,927 26,750 3.2
การพาณิชย์ 8,897 3,065 116 -96.2
การบริการ 3,043 8,428 0 -100
อื่น ๆ 2,966 4,906 19,672 301
5. ค่าจ้างและการจัดหางาน
5.1 ค่าจ้างขั้นต่ำ (บาท/วัน) 130 130 130 0
5.2 การจัดหางาน
ตำแหน่งงานว่าง (อัตรา) 1,541 2,060 1,886 -8.4
ผู้สมัครงาน (คน) 1,247 1,806 759 -58
การบรรจุงาน (คน) 443 586 427 -27.1
6. การคลัง (ล้านบาท)
6.1 การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการ 4,458.60 4,874.60 4,855.90 -0.4
6.2 การจัดเก็บภาษีอากร 493.8 406.8 388.6 -4.4
สรรพากร 478.8 385.5 366.7 -4.9
สรรพสามิต 1.5 1 1.4 139
ศุลกากร 13.5 20.1 20.5 2
7. การเงิน
7.1 การรับ-จ่ายเงินสดผ่านผู้แทน ธปท.
(ล้านบาท)
เงินสดรับ 3,356.40 3,128.40 4,416.70 41.2
เงินสดจ่าย 7,457.30 9,018.90 11,023.00 22.2
7.2 การโอนเงินระหว่าง ธปท. กับผู้แทน
(ล้านบาท)
เงินโอนออก 8,954.90 10,625.20 11,358.40 6.9
เงินโอนเข้า 8,480.70 9,472.20 9,717.50 2.6
7.3 การใช้เช็คผ่านสำนักหักบัญชี
ปริมาณ (ฉบับ) 113,910 103,845 110,167 6.1
มูลค่า (ล้านบาท) 13,100.30 9,840.60 9,764.00 -0.8
สัดส่วนมูลค่าเช็คคืนเพราะไม่มีเงิน
ต่อเช็ครับเข้ารวม (ร้อยละ) 2.2 1.1 0.8
7.4 ธนาคารพาณิชย์
จำนวน (สำนักงาน) 24 24 23 -4.2
เงินฝาก (ล้านบาท) 9,197.70 8,868.30 9,491.80 7
กระแสรายวัน 146.1 151.6 213.4 40.8
ออมทรัพย์ 1,831.00 2,139.40 2,773.90 29.7
ประจำ 7,218.80 6,577.10 6,503.80 -1.1
อื่น ๆ 1.8 0.2 0.7 250
สินเชื่อ (ล้านบาท) 7,132.60 6,685.30 5,866.90 -12.2
เงินเบิกเกินบัญชี 3,137.00 2,680.60 2,151.20 -19.7
เงินให้กู้ 3,757.50 3,756.00 3,468.00 -7.7
ตั๋วเงินและอื่น ๆ 238.1 248.7 247.7 -0.4
สินเชื่อแยกตามวัตถุประสงค์ที่สำคัญ
การเกษตร 429 391.4 354.6 -9.4
เหมืองแร่ 69.3 75.7 72.5 -4.2
การอุตสาหกรรม 537 541.2 502.9 -7.1
การรับเหมาก่อสร้าง 1,163.40 1,104.70 1,030.10 -6.8
การค้าส่งออก 50.1 40.6 34.8 -14.3
การค้าปลีกค้าส่ง 2,586.30 2,477.30 2,295.40 -7.3
ธุรกิจการเงิน 52.2 10.7 9.5 -11.2
ธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ 236.8 190.1 139.4 -26.7
สาธารณูปโภค 28.6 33.9 31 -8.6
การบริการ 514.1 491 371 -24.4
การบริโภคส่วนบุคคล 1,465.80 1,328.70 1,268.40 -4.5
สินเชื่อ/เงินฝาก (ร้อยละ) 77.5 75.4 61.8
7.5 ธนาคารออมสิน
จำนวน (สำนักงาน) 6 6 6 0
เงินฝาก (ล้านบาท) 1,047.00 1,211.80 1,355.50 11.9
7.6 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
สินเชื่อ (ล้านบาท) 355.7 617.7 571.4 -7.5
7.7 บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
จำนวน (ราย) - 3 5 66.7
สินเชื่อ (ล้านบาท) - 28 61 117.9
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-