เศรษฐกิจจังหวัดกำแพงเพชรปี 2542 ขยายตัวหลังจากหดตัวลงเมื่อปีก่อน โดยผลผลิตพืชที่สำคัญของจังหวัดเพิ่มขึ้นได้แก่ อ้อยและข้าวนาปี ภาคเหมืองแร่เพิ่มขึ้นตามความต้องการของส่วนกลาง ส่วนภาค อุตสาหกรรมลดลงตามการผลิตน้ำตาลทราย เนื่องจากการย้ายโรงงานอุตสาหกรรมน้ำตาลไปยังภาคอีสาน ทางด้านการใช้จ่ายภาคเอกชนมีการปรับตัวดีขึ้น ผลจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ที่ต่ำลง รวมทั้งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นปัจจัยกระตุ้นการใช้จ่าย ส่วนภาคการลงทุน/ก่อสร้างยังคงซบเซา แต่เริ่มมีทิศทางดีขึ้นจากปีก่อน ภาคการเงินลดลงทั้งเงินฝากและสินเชื่อ แต่การใช้จ่ายภาครัฐบาลเพิ่มขึ้นตามนโยบายเพิ่มการใช้จ่ายของรัฐบาล
ภาคเกษตร ผลผลิตพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นจากปีก่อน เนื่องจากภาวะอากาศที่เหมาะสม และปริมาณน้ำฝนที่มีการกระจายตัวดีตลอดทั้งปี โดย อ้อย ผลผลิตเพิ่มขึ้นจากปีการผลิตก่อน ร้อยละ 11.5 ข้าวนาปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 สำหรับ ข้าวนาปรัง กลับเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 26.4 จากที่คาดการณ์ไว้เมื่อสิ้นปีว่าผลผลิตจะลดลงเนื่องจากเกรงปัญหาภาวะแล้งในปีนี้ สำหรับภาวะน้ำท่วมในเขตภาคเหนือช่วงไตรมาส 4 ของปีนี้ ในส่วนของจังหวัดกำแพงเพชรได้รับความเสียหายไม่มากนัก เนื่องจากพืชที่สำคัญได้ทำการเก็บเกี่ยวเสร็จแล้ว แต่กระทบทางด้านคุณภาพของผลผลิตโดยเฉพาะความชื้นของข้าวเปลือก ทางด้านราคาพืชผลเกษตร ส่วนใหญ่ที่ต่ำลงจากปีก่อนส่งผลให้รายได้ของเกษตรลดลงจากปีก่อนประมาณร้อยละ 10.0
นอกภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรมลดลงจากปีก่อน ถึงแม้ว่าในปีนี้ผลผลิตอ้อยอยู่ในเกณฑ์ดี แต่เนื่องจากมีการย้ายโรงงานน้ำตาลมิตรสยามซึ่งมีกำลังการผลิตสูงแห่งหนึ่งของจังหวัดไปยังภาคอีสาน ส่งผลให้ ปริมาณการผลิตน้ำตาลทรายของจังหวัดลดลงเหลือเพียง 200,637 เมตริกตัน หรือลดลงร้อยละ 16.3 แต่ถ้า พิจารณาเฉพาะโรงงานที่เหลือในปีที่ผ่านมามีการผลิตน้ำตาลเพิ่มขึ้นในทุกโรง ภาคเหมืองแร่ เพิ่มขึ้นตามความ ต้องการของส่วนกลางเป็นสำคัญ การผลิตหินอ่อนเพิ่มขึ้นจากปีก่อนกว่าเท่าตัว น้ำมันดิบเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.1 และ หินปูนเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6 ขณะที่การผลิตก๊าซธรรมชาติลดลงร้อยละ 5.9 การใช้จ่ายภาคเอกชน ปรับตัวดีขึ้น จากยอดการจดทะเบียนรถยนต์เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 28.8 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 61.2 ปีก่อน ปัจจัยที่สำคัญคือ การถอนเงินฝากบางส่วนของประชาชนในภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อซื้อรถยนต์กันมากขึ้น ส่วนยอดจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ในปีนี้ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 32.2 ต่ำลงเมื่อเทียบกับที่ลดลงร้อยละ 43.5 ปีที่แล้ว ภาษีมูลค่าเพิ่มแม้ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 5.9 เหลือ 128 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.3 ปีก่อน จากการปรับลดอัตราจัดเก็บ แต่เมื่อเทียบในอัตราภาษีร้อยละ 7 เดียวกันแล้วกลับเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.2 เทียบกับที่ลดลง ร้อยละ 7.3 ปีก่อน
การลงทุน/ก่อสร้าง การลงทุน ยังคงซบเซา จำนวนโรงงานอุตสาหกรรมที่เปิดกิจการใหม่ใน ปีนี้ 10 แห่ง ยังคงเท่ากับปีก่อน แต่เงินลงทุนเพิ่มสูงเกือบ 4 เท่าตัว ทางด้านธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังคงซบเซาจากปัญหาอุปทานส่วนเกินเหลืออยู่มาก ประกอบกับธนาคารพาณิชย์ยังคงเข้มงวดการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ การก่อสร้าง พื้นที่ที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างในเขตเทศบาลลดลงจากปีก่อนร้อยละ 3.7 เหลือ 21,217 ตารางเมตร ต่ำลงเมื่อเทียบกับที่ลดลงร้อยละ 70.1 ปีก่อน อย่างไรก็ตาม ภาครัฐมีส่วนช่วยให้การก่อสร้างโดยรวมหดตัวไม่มากเช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา
ภาคการเงิน ปริมาณเงินนำฝากและเบิกถอนของสาขาธนาคารพาณิชย์ในจังหวัดกำแพงเพชร ที่ผู้แทน ธนาคารแห่งประเทศไทย (คลังจังหวัดกำแพงเพชร) จำนวน 18,003 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 6.7 โดยการเบิกถอนของธนาคารพาณิชย์ที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 15.0 ตามการเร่งรัดการเบิกจ่ายของภาครัฐเป็นสำคัญ ขณะที่ปริมาณเงินนำฝากของธนาคารพาณิชย์ก็เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 จากปีก่อนเช่นกัน
เงินฝากที่สาขาธนาคารพาณิชย์ในจังหวัดกำแพงเพชร ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 มียอดคงค้างทั้งสิ้น 7,591 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 9.1 เนื่องจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารเป็นสำคัญ เงินฝากลดลงทั้งในเขตอำเภอเมืองและอำเภอรอบนอก สินเชื่อ มียอดคงค้างทั้งสิ้น 7,228 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 21.4 จากการเข้มงวดการให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ อีกทั้งลูกค้าที่มีศักยภาพในการกู้เงินยังไม่มีความต้องการสินเชื่อเพื่อการลงทุน โดยลดลงมากจากสินเชื่อเพื่อการสาธารณูปโภค สินเชื่อเพื่อการอุตสาหกรรม และสินเชื่อเพื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ปริมาณการใช้เช็ค ลดลงทั้งปริมาณและ มูลค่าลดลงร้อยละ 1.6 และร้อยละ 33.27 เนื่องจากธนาคารพาณิชย์เข้มงวดในการใช้เช็คของภาคธุรกิจ ทางด้าน เช็คคืนลดลงเช่นกัน สัดส่วนมูลค่าเช็คคืนต่อเช็คเรียกเก็บร้อยละ 6.5 เทียบกับ 10.9 ปีก่อน
สำหรับความก้าวหน้าทางด้านการประนอมหนี้ปรากฏว่า ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 จากรายงานของสาขาธนาคารพาณิชย์มีสินเชื่อที่อยู่ในขบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ จำนวนทั้งสิ้น 890 ราย วงเงิน 1,367.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 876 ราย วงเงิน 1,322.5 ล้านบาท ประกอบด้วยที่อยู่ในระหว่างการปรับปรุงโครงสร้าง หนี้จำนวน 69 ราย วงเงิน 209.7 ล้านบาท และปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วเสร็จจำนวน 821 ราย เป็นเงิน 1,157.6 ล้านบาท
ฐานะการคลังรัฐบาลจังหวัดกำแพงเพชร ปีงบประมาณ 2542 เงินในงบประมาณขาดดุล 4,348.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเทียบกับที่ขาดดุล 4,225.4 ล้านบาทปีก่อน จากรายจ่ายของรัฐบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 เป็น 4,780.2 ล้านบาท ตามนโยบายเร่งการใช้จ่ายของภาครัฐเมื่อรวมเงินนอกงบประมาณทำให้เงินสดขาดดุล 731.4 ล้านบาท เทียบกับที่เกินดุล 47.2 ล้านบาทปีก่อน สำหรับเงินโครงการมิยาซาวาของจังหวัดกำแพงเพชร วงเงินที่ได้รับอนุมัติ 399 ล้านบาท มีการเบิกจ่ายไปแล้ว 341.4 ล้านบาท หรือร้อยละ 85.5 ของวงเงินอนุมัติ ส่วนใหญ่เป็นโครงการเกี่ยวกับการสร้างงาน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ภาคเกษตร ผลผลิตพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นจากปีก่อน เนื่องจากภาวะอากาศที่เหมาะสม และปริมาณน้ำฝนที่มีการกระจายตัวดีตลอดทั้งปี โดย อ้อย ผลผลิตเพิ่มขึ้นจากปีการผลิตก่อน ร้อยละ 11.5 ข้าวนาปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 สำหรับ ข้าวนาปรัง กลับเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 26.4 จากที่คาดการณ์ไว้เมื่อสิ้นปีว่าผลผลิตจะลดลงเนื่องจากเกรงปัญหาภาวะแล้งในปีนี้ สำหรับภาวะน้ำท่วมในเขตภาคเหนือช่วงไตรมาส 4 ของปีนี้ ในส่วนของจังหวัดกำแพงเพชรได้รับความเสียหายไม่มากนัก เนื่องจากพืชที่สำคัญได้ทำการเก็บเกี่ยวเสร็จแล้ว แต่กระทบทางด้านคุณภาพของผลผลิตโดยเฉพาะความชื้นของข้าวเปลือก ทางด้านราคาพืชผลเกษตร ส่วนใหญ่ที่ต่ำลงจากปีก่อนส่งผลให้รายได้ของเกษตรลดลงจากปีก่อนประมาณร้อยละ 10.0
นอกภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรมลดลงจากปีก่อน ถึงแม้ว่าในปีนี้ผลผลิตอ้อยอยู่ในเกณฑ์ดี แต่เนื่องจากมีการย้ายโรงงานน้ำตาลมิตรสยามซึ่งมีกำลังการผลิตสูงแห่งหนึ่งของจังหวัดไปยังภาคอีสาน ส่งผลให้ ปริมาณการผลิตน้ำตาลทรายของจังหวัดลดลงเหลือเพียง 200,637 เมตริกตัน หรือลดลงร้อยละ 16.3 แต่ถ้า พิจารณาเฉพาะโรงงานที่เหลือในปีที่ผ่านมามีการผลิตน้ำตาลเพิ่มขึ้นในทุกโรง ภาคเหมืองแร่ เพิ่มขึ้นตามความ ต้องการของส่วนกลางเป็นสำคัญ การผลิตหินอ่อนเพิ่มขึ้นจากปีก่อนกว่าเท่าตัว น้ำมันดิบเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.1 และ หินปูนเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6 ขณะที่การผลิตก๊าซธรรมชาติลดลงร้อยละ 5.9 การใช้จ่ายภาคเอกชน ปรับตัวดีขึ้น จากยอดการจดทะเบียนรถยนต์เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 28.8 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 61.2 ปีก่อน ปัจจัยที่สำคัญคือ การถอนเงินฝากบางส่วนของประชาชนในภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อซื้อรถยนต์กันมากขึ้น ส่วนยอดจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ในปีนี้ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 32.2 ต่ำลงเมื่อเทียบกับที่ลดลงร้อยละ 43.5 ปีที่แล้ว ภาษีมูลค่าเพิ่มแม้ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 5.9 เหลือ 128 ล้านบาท เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.3 ปีก่อน จากการปรับลดอัตราจัดเก็บ แต่เมื่อเทียบในอัตราภาษีร้อยละ 7 เดียวกันแล้วกลับเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.2 เทียบกับที่ลดลง ร้อยละ 7.3 ปีก่อน
การลงทุน/ก่อสร้าง การลงทุน ยังคงซบเซา จำนวนโรงงานอุตสาหกรรมที่เปิดกิจการใหม่ใน ปีนี้ 10 แห่ง ยังคงเท่ากับปีก่อน แต่เงินลงทุนเพิ่มสูงเกือบ 4 เท่าตัว ทางด้านธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังคงซบเซาจากปัญหาอุปทานส่วนเกินเหลืออยู่มาก ประกอบกับธนาคารพาณิชย์ยังคงเข้มงวดการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ การก่อสร้าง พื้นที่ที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างในเขตเทศบาลลดลงจากปีก่อนร้อยละ 3.7 เหลือ 21,217 ตารางเมตร ต่ำลงเมื่อเทียบกับที่ลดลงร้อยละ 70.1 ปีก่อน อย่างไรก็ตาม ภาครัฐมีส่วนช่วยให้การก่อสร้างโดยรวมหดตัวไม่มากเช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา
ภาคการเงิน ปริมาณเงินนำฝากและเบิกถอนของสาขาธนาคารพาณิชย์ในจังหวัดกำแพงเพชร ที่ผู้แทน ธนาคารแห่งประเทศไทย (คลังจังหวัดกำแพงเพชร) จำนวน 18,003 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 6.7 โดยการเบิกถอนของธนาคารพาณิชย์ที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 15.0 ตามการเร่งรัดการเบิกจ่ายของภาครัฐเป็นสำคัญ ขณะที่ปริมาณเงินนำฝากของธนาคารพาณิชย์ก็เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 จากปีก่อนเช่นกัน
เงินฝากที่สาขาธนาคารพาณิชย์ในจังหวัดกำแพงเพชร ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 มียอดคงค้างทั้งสิ้น 7,591 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 9.1 เนื่องจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารเป็นสำคัญ เงินฝากลดลงทั้งในเขตอำเภอเมืองและอำเภอรอบนอก สินเชื่อ มียอดคงค้างทั้งสิ้น 7,228 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 21.4 จากการเข้มงวดการให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ อีกทั้งลูกค้าที่มีศักยภาพในการกู้เงินยังไม่มีความต้องการสินเชื่อเพื่อการลงทุน โดยลดลงมากจากสินเชื่อเพื่อการสาธารณูปโภค สินเชื่อเพื่อการอุตสาหกรรม และสินเชื่อเพื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ปริมาณการใช้เช็ค ลดลงทั้งปริมาณและ มูลค่าลดลงร้อยละ 1.6 และร้อยละ 33.27 เนื่องจากธนาคารพาณิชย์เข้มงวดในการใช้เช็คของภาคธุรกิจ ทางด้าน เช็คคืนลดลงเช่นกัน สัดส่วนมูลค่าเช็คคืนต่อเช็คเรียกเก็บร้อยละ 6.5 เทียบกับ 10.9 ปีก่อน
สำหรับความก้าวหน้าทางด้านการประนอมหนี้ปรากฏว่า ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 จากรายงานของสาขาธนาคารพาณิชย์มีสินเชื่อที่อยู่ในขบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ จำนวนทั้งสิ้น 890 ราย วงเงิน 1,367.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 876 ราย วงเงิน 1,322.5 ล้านบาท ประกอบด้วยที่อยู่ในระหว่างการปรับปรุงโครงสร้าง หนี้จำนวน 69 ราย วงเงิน 209.7 ล้านบาท และปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วเสร็จจำนวน 821 ราย เป็นเงิน 1,157.6 ล้านบาท
ฐานะการคลังรัฐบาลจังหวัดกำแพงเพชร ปีงบประมาณ 2542 เงินในงบประมาณขาดดุล 4,348.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเทียบกับที่ขาดดุล 4,225.4 ล้านบาทปีก่อน จากรายจ่ายของรัฐบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 เป็น 4,780.2 ล้านบาท ตามนโยบายเร่งการใช้จ่ายของภาครัฐเมื่อรวมเงินนอกงบประมาณทำให้เงินสดขาดดุล 731.4 ล้านบาท เทียบกับที่เกินดุล 47.2 ล้านบาทปีก่อน สำหรับเงินโครงการมิยาซาวาของจังหวัดกำแพงเพชร วงเงินที่ได้รับอนุมัติ 399 ล้านบาท มีการเบิกจ่ายไปแล้ว 341.4 ล้านบาท หรือร้อยละ 85.5 ของวงเงินอนุมัติ ส่วนใหญ่เป็นโครงการเกี่ยวกับการสร้างงาน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-