นโยบายทั่วไป
ประเทศอิหร่านมีรายได้หลักในอดีตถึงปัจจุบันจากอุตสาหกรรมการผลิตน้ำมัน เมื่อใดที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกตกต่ำลงเศรษฐกิจของประเทศก็จะถูกกระทบกระเทือน ดังนั้น อิหร่านจึงมีการเริ่มดำเนินนโยบายสร้างความหลายหลายแก่ระบบการผลิต และในขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนการปรับเปลี่ยนกฎระเบียบทางการค้าให้เข้ากับสถานการณ์ของโลก แต่ถูกขัดขวางจากฝ่ายอนุรักษ์นิยม (ฝ่ายผู้นำสูงสุด) อย่างไรก็ตาม ในช่วงระยะเวลา 5 ปีข้างหน้าคาดว่าจะมีการปฏิรูประบบการค้าภายในประเทศอิหร่าน ฉะนั้น ยุทธศาสตร์ของไทยต่ออิหร่านในช่วงระยะเวลา 5 ปีข้างหน้าควรจะต้องเตรียมพร้อมที่จะเข้าไปมีส่วนแบ่งในตลาดภายในของอิหร่าน เมื่อระบบการค้าของอิหร่านมีความเป็นสากลมากขึ้นปลอดโปร่งจากเงื่อนไขและอุปสรรคทางการค้าดังเช่นปัจจุบัน
นอกจากนี้ อิหร่านยังมีนโยบายเร่งพัฒนาประเทศด้านเศรษฐกิจโดยส่งเสริมความสัมพันธ์กับประเทศเอกราชใหม่ที่แยกตัวออกมาจากอดีตสหภาพโซเวียต (ประเทศเอเชียกลาง) เพื่อหวังเป็นประตูออกสู่อ่าวเปอร์เซียสำหรับประเทศในเอเชียกลาง อย่างไรก็ดี ขณะนี้อิหร่านถูกสหรัฐฯ และประเทศตะวันตกบางประเทศคว่ำบาตรทางการค้า จึงจำเป็นต้องหันมาขยายความสัมพันธ์กับประเทศต่าง ๆ ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ตามนโยบาย Look East ของอิหร่าน
ประเทศไทยได้พยายามเน้นการส่งเสริมความสัมพันธ์ในด้านเศรษฐกิจกับอิหร่านเป็นหลัก (เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาทางการเมืองและการถูกโจมตีจากประเทศตะวันตก) โดยการค้าส่วนใหญ่ยังคงผ่านพ่อค้าคนกลาง คือ ดูไบ ทั้งสองประเทศได้ตกลงที่จะส่งเสริมการค้าในสินค้าที่ไม่ใช่น้ำมันระหว่างกัน และเห็นพ้องกันว่าควรมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้านการค้า รวมทั้งกระตุ้นให้ภาคเอกชนมีบทบาทในการส่งเสริมการค้าระหว่างกันมากขึ้น ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงที่จะขจัดอุปสรรคทางการค้าระหว่างกัน โดยฝ่ายไทยได้เสนอให้อิหร่านปรับเงื่อนไขทางการค้าให้มีความเป็นสากลมากขึ้น นอกจากนั้น ยังได้ตกลงกันที่จะให้มีการเพิ่มพูนความร่วมมือด้านการเงิน การธนาคาร เพื่อเป็นกลไกในการเสริมสร้างการค้าระหว่างกัน และการลงทุนร่วมในโครงการต่าง ๆ ตลอดจนความร่วมมือการประมง ด้านการสื่อสารและคมนาคม ด้านการท่องเที่ยวและศุลกากร เป็นต้น และอิหร่านยังได้ยื่นข้อเสนอเพื่อความตกลงกับไทยในด้านการขนส่งสามฝ่ายระหว่างไทย อิหร่าน และเตอร์กเมนิสถาน โดยมีกรุงเตหะรานเป็นจุดเชื่อมโยง ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาดำเนินการ
นโยบายแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจด้านอื่นที่รัฐบาลอิหร่านเห็นว่าควรเร่งแก้ไข คือ การชำระหนี้ต่างประเทศ ให้หมดโดยเร็ว และดำเนินการพัฒนาเศรษฐกิจในด้านต่าง ๆ โดยออกเป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ มีระยะเวลาการดำเนินการในแต่ละแผนทั้งหมด 5 ปีเครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจ
KEY ECONOMIC INDICATORS
ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ 162.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (1998)
รายได้ประชาชาติต่อหัว 2,500 เหรียญสหรัฐฯ (1998)
การเติบโตทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 2
มูลค่าสินค้าส่งออก (FOB) 21 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (1997)
มูลค่าสินค้านำเข้า (CIF) 15 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (1997)
อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 17
นโยบายการนำเข้า
อิหร่านมีนโยบายที่จะรักษาดุลการค้าระหว่างประเทศเป็นหลัก ส่วนนโยบายรองได้แก่ การส่งเสริมการส่งออกสินค้า Non-oil และส่งเสริมการค้าขายกับกลุ่มประเทศในทวีปเอเชียให้มากขึ้น จากนโยบายการค้าดังกล่าวอิหร่านได้กำหนดกฎการค้าหลัก คือ ก่อนที่จะมีการนำเข้าสินค้าใด ๆ ต้องมีการส่งออกก่อนแล้วจึงนำเงินที่ได้จากการส่งออกหรือซื้อสิทธิ์ในการส่งออกสินค้าจากผู้อื่นมาใช้ในการนำเข้า จะนำเข้าโดยไม่มีการส่งออก สินค้าได้เฉพาะสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ เช่น ยารักษาโรค และเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นเท่านั้น
นอกจากนี้ สินค้าใดที่อิหร่านสามารถผลิตได้เองอย่างเพียงพอใช้ภายในประเทศจะห้ามมิให้นำเข้า ยกเว้นผลิตได้ไม่เพียงพอหรือขาดแคลนจะอนุญาตให้นำเข้าได้เป็นครั้งคราวภายใต้จำนวนที่กำหนดได้แน่นอน
รัฐบาลอิหร่านจะมีการประเมินและปรับปรุงนโยบายการนำเข้าของประเทศทุกๆสิ้นปี Iranian Calendar Year และจะมีผลบังคับใช้ในปีต่อไป นโยบายดังกล่าวจะจัดพิมพ์โดยกระทรวงพาณิชย์ของอิหร่าน กฎระเบียบการนำเข้าสินค้านี้จะแบ่งสินค้าออกเป็น 3 ประเภท คือช สินค้าที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์ของอิหร่านเรียบร้อยแล้วสามารถนำเข้าได้โดยไม่มีข้อห้ามใดๆ
-สินค้าที่สามารถนำเข้าได้ในบ้างช่วงเวลาเท่านั้นขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้บริโภคในประเทศขณะนั้น การจะนำสินค้าในหมวดนี้ต้องขออนุญาตจากรัฐบาลอิหร่านเสียก่อน
- สินค้าที่ห้ามนำเข้าเด็ดขาด รวมทั้งสินค้าทุกชนิดที่มาจากประเทศอิสราเอลและยูโกสลาเวีย สินค้าที่ไม่ต้องขออนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์ของอิหร่านก่อนการนำเข้า คือ กาแฟ ใบชาแห้ง เครื่องเทศ ธัญพืช แป้ง แป้งข้าวโพด ผงมอลค์ เมล็ดข้าว พืชสมุนไพร วัตถุดิบใช้สำหรับการย้อมผ้า ลูกเกด น้ำผลไม้ และเครื่องดื่มชนิดผง
กฎระเบียบทางการค้า
หากผู้ส่งออกต้องการส่งสินค้าไปยังประเทศอิหร่านควรตรวจเช็คข้อมูลและกฎระเบียบในการนำเข้าให้ละเอียดถี่ถ้วนเสียก่อน เนื่องจากรัฐบาลอิหร่านมีการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบอยู่ตลอดเวลา
อิหร่านคิดภาษีศุลกากรโดยใช้ Ad Valorem เป็นพื้นฐาน และมีการพิจารณาปรับขึ้นทุก ๆ สิ้นปี Iranian Calendar Year (ก่อน March 21) ตั้งแต่เดือนธันวาคม 1997 เป็นต้นมา รัฐบาลอิหร่านได้ขึ้นภาษีสินค้านำเข้าเป็นร้อยละ 10 เนื่องจากต้องการปกป้องผู้ผลิตในประเทศจากประเทศคู่แข่งอื่น ๆ
สินค้าที่นำเข้าเพื่อใช้ในการลงทุนและวัตถุดิบต่าง ๆ อาจได้รับการยกเว้นภาษีศุลกากรเช่นเดียวกับสินค้าเวช- ภัณฑ์ แป้งสาลี และสินค้าที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวันต่าง ๆ แต่อย่างไรก็ตาม สินค้าที่นำเข้าส่วนใหญ่นอกจากจะต้องเสียค่าธรรมเนียมในการขอใบอนุญาตนำเข้าและภาษีนำเข้าแล้ว ยังต้องเสียภาษีการค้าต่าง ๆ อีกด้วย การชำระภาษีนำเข้าจะต้องจ่ายในรูปของเงิน Rial และใช้อัตราแลกเปลี่ยนที่ The Central Bank ของอิหร่านกำหนดไว้เท่านั้น
พิธีการศุลกากร
ผู้ส่งออกควรสอบถามผู้นำเข้าชาวอิหร่านถึงเอกสารการนำเข้าที่จำเป็นต้องใช้และปฏิบัติตามคำแนะนำต่าง ๆ ของผู้นำเข้าเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการผิดพลาด นอกจากนี้ เอกสารการนำเข้าต่าง ๆ จะต้องมีเลขทะเบียนของผู้นำเข้า ปรากฏอยู่ด้วย (ผู้ส่งออกสามารถขอจากผู้นำเข้าได้เลย) ดังนั้น ผู้ส่งออกจะต้องยังไม่ทำการขนส่งสินค้าจากท่าเรือจนกว่าจะได้รับเลขประจำตัวจากผู้นำเข้าเสียก่อน
ใบอนุญาตนำเข้า
สินค้าที่นำเข้ามายังอิหร่านทุกชนิดจะต้องขออนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์ของอิหร่านก่อน (ยกเว้นสินค้าประเภทอาวุธยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ เวชภัณฑ์ และสินค้าของชำร่วยหรือของฝากที่นำเข้ามาโดยนักท่องเที่ยวทั่วไป)
สิทธิการนำเข้าชั่วคราว
สินค้านำเข้าโดยมีจุดประสงค์เพื่อการโฆษณาหรือเป็นสินค้าตัวอย่างจะได้รับการยกเว้นภาษี ถ้าสินค้านั้นมีจำนวนหรือมูลค่าการนำเข้าที่ไม่มากนัก หรือไม่สามารถใช้งานได้จริง โดยผู้ส่งออกอาจให้ผุ้นำเข้ารับรองว่าจะส่งออกภายในเวลาที่ได้แจ้งไว้จริง
สินค้าที่ห้ามนำเข้า
สินค้าที่ห้ามนำเข้าโดยเด็ดขาด คือ สินค้าที่อาจมีผลกระทบต่อศาสนามุสลิมและสินค้าที่อาจเป็นอันตรายต่อสถานการณ์ในประเทศ ซึ่งได้แก่ สินค้าที่ทำจากเนื้อหมูทุกชนิด, สิ่งพิมพ์ที่เกี่ยวกับศาสนาและรูปปั้นต่างๆ, เครื่องแบบทหาร, สินค้าประเภทอาวุธปืน (Firearms), กระสุน, ฝิ่นและสารที่ทำให้เสพติดทุกชนิด, เครื่องดื่มแอลกอฮอล์, สินค้าที่เกี่ยวกับการพนันทุกชนิด, ของเก่า (Antique), วิทยุสื่อสาร, เครื่องสำอาง, เครื่องประดับเพชร พลอย, สินค้าที่ทำจากน้ำมัน, โทรศัพท์ และ Modem, ขนสัตว์, อุปกรณ์เกี่ยวกับวิทยุโทรทัศน์ และงานศิลปะ
นอกจากนี้ ในปี 1995 รัฐบาลอิหร่านได้ออกกฎหมายห้ามนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยหลายชนิด เช่น เครื่องดื่มต่าง ๆ ของเล่น บุหรี่ ช็อคโกแล็ต หมากฝรั่ง และท๊อฟฟี่ เพื่อรักษาค่าเงินของประเทศในขณะนั้น
การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
รัฐบาลอิหร่านแบ่งอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราเป็น 2 ประเภท คือ
- อัตราแลกเปลี่ยนอย่างเป็นทางการ ใช้ในการชำระราคาสินค้านำเข้าพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น สินค้าอาหาร ยาและเวชภัณฑ์ต่าง ๆ และวัตถุดิบสำหรับภาคอุตสาหกรรมในประเทศ อัตราแลกเปลี่ยนจะประมาณ US$ 1 = 1,750 Rials
- อัตราแลกเปลี่ยนเพื่อใช้ในการส่งออก ใช้ในการชำระราคาสินค้านำเข้าทั่วไป โดยจะมีอัตราแลกเปลี่ยนประมาณ US$ 1 = 3,000 Rials
- อัตรานักท่องเที่ยว 5,750 Rials/$1USD
- อัตราตลาดมืด 9.000 Rials/$1USD (ไม่แนะนำเนื่องจากผิดกฎหมายของประเทศ)
การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศจะถูกควบคุมโดย The Central Bank (The Bank Markazi Jomhouri Islami Iran) ซึ่งจะต้องแลกผ่านทางธนาคารเท่านั้น และการชำระเงินค่าสินค้าที่นำเข้าโดยใช้เงินสกุลอื่นจะต้องมีใบรับรองว่าได้แลกเงินสกุลนั้นมาจากธนาคารของอิหร่าน จึงจะสามารถนำสินค้าออกมาจากศุลกากรได้
วิธีการชำระเงินจะใช้ระบบ L/C ส่วนการชำระเงินล่วงหน้าจะนิยมจ่ายก่อนประมาณร้อยละ 25 ของมูลค่าสินค้าทั้งหมด และโดยปกติแล้วจะให้เครดิตหรือระยะเวลาในการชำระเงินตั้งแต่ 120 - 160 วัน
มาตรฐานสินค้า
สินค้าที่นำเข้ามายังอิหร่านจะต้องได้รับการตรวจสอบคุณภาพหรือรับรองจากกระทรวงหรือหน่วยงานรัฐบาลที่เกี่ยวข้องก่อนนำเข้ามาในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงสาธารณสุข
สินค้าบางชนิดก่อนที่จะนำเข้ามายังอิหร่านก็จะต้องมีการทดลองหรือตรวจสอบคุณภาพสินค้าตัวอย่างเสียก่อน เพื่อพิสูจน์ว่าส่วนประกอบและคุณภาพของสินค้านั้น ๆ ตรงกับข้อมูลที่ปรากฎอยู่บนฉลากสินค้าจริงและไม่มีส่วนผสมที่เป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค ผู้ส่งออกจะต้องเสียค่าธรรมเนียมในการตรวจสอบคุณภาพนี้
สำหรับสินค้าอาหารและสินค้าเกษตร อิหร่านไม่อนุญาตให้นำเข้าสินค้าที่มีส่วนผสมของสาร Saccharine ยกเว้นจะเป็นสินค้าอาหารและเครื่องดื่มที่ใช้สำหรับผู้บริโภคที่เป็นโรคเบาหวาน แต่ต้องได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุขของอิหร่านก่อนการนำเข้า
สินค้าประเภทอาหารสัตว์ ยาฆ่าแมลง น้ำยาฆ่าเชื้อโรค เซรุ่ม วัคซีน ยารักษาสัตว์ชนิดต่าง ๆ ยาแก้อักเสบ และเคมีภัณฑ์ จะต้องได้รับการอนุญาตจาก Veterinary Department of the Ministry of Agriculture ก่อนนำเข้า
การนำเข้าสินค้าประเภทสัตว์มีชีวิต ผักและผลไม้สด เมล็ดพันธุ์พืชจะต้องได้รับ Health Certificate เพื่อเป็นการรับรองจากประเทศของผู้ส่งออก และต้องขออนุญาตจากกระทรวงเกษตรของอิหร่านก่อนการนำเข้า
ข้อกำหนดในการปิดฉลากและเครื่องหมายการค้า
อิหร่านได้ออกกฎหมายห้ามการใช้ภาษาต่างชาติอื่น ๆ ในการปิดฉลากสินค้าต้องใช้ภาษา Persian หรือ Farsi เท่านั้น รวมไปถึงเครื่องหมายการค้าทุกชนิด
ฉลากสินค้าจะต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับสินค้านั้น ๆ เช่น วิธีการใช้งาน รายละเอียดสินค้า ส่วนผสม วัน เดือน ปีที่ผลิต วันหมดอายุ สถานที่ผลิต ชื่อผู้ผลิตเป็นภาษา Persian ทั้งหมด
กลยุทธ์การเข้าสู่ตลาด
แม้ว่านโยบายและกฎเกณฑ์ทางการค้าของอิหร่านจะจัดว่าเป็นอุปสรรคสำคัญในการทำการค้า แต่ในความเป็นจริงการนำสินค้าเข้าสู่ประเทศเป็นการนำเข้าโดยการลักลอบไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของสินค้านำเข้าทั้งหมด
การตกลงธุรกิจกับชาวอิหร่าน หากผู้นำเข้าอิหร่านคำนวณราคาสินค้าที่จะสั่งนำเข้าแล้วเห็นว่ามีช่องทางที่จะทำกำไรให้แก่ตนผู้นำเข้านั้น จะสั่งซื้อสินค้าโดยไม่คำนึงถึงภาษีหรือข้อจำกัดข้างต้นนัก การสั่งซื้อสินค้าจะทำโดยผู้ส่งออกมีหน้าที่ส่งมอบและรับเงินค่าสินค้า ส่วนการหาวิธีนำสินค้าเข้าสู่ท้องตลาดเป็นหน้าที่ของผู้นำเข้า แต่ก่อนที่จะมีการทำสัญญาการค้า ชาวอิหร่านมักจะมีการเจรจาให้ตนเองได้รับผลประโยชน์มากที่สุด และการชำระเงินก็จะต้องทำโดยการเปิด L/C เท่านั้น
การส่งเสริมการขายสามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
- การติดต่อเยี่ยมเยือนห้างร้านและบริษัท แนะนำศักยภาพสินค้าไทย เชิญผู้นำเข้ามาเยือนงานแสดงสินค้าและจัดคณะผู้แทนการค้ามาเจรจาธุรกิจกับผู้ส่งออกไทย
- การสนับสนุนให้อิหร่านเข้าเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก (WTO) ซึ่งจะทำให้อิหร่านมีพันธะกรณีที่จะต้องเปิดตลาดการค้าเสรีเช่นประเทศสมาชิกทั่วไป ซึ่งจะทำให้ส่งออกสินค้าทุกชนิดที่อยู่ในข้อตกลงไปยังอิหร่านได้
รสนิยม ความต้องการสินค้า พฤติกรรมของผู้บริโภคทั่วไป
ชาวอิหร่านนิยมสินค้าที่มีคุณภาพแต่ราคาถูกเนื่องจากสภาพเศรษฐกิจบังคับ นอกจากนั้น ยังนิยมสินค้าที่มีสีสันฉูดฉาด เช่น สีเขียว แดง และเหลือง รวมทั้งสินค้าที่มีวิทยาการแปลกใหม่
ชาวอิหร่านซึ่งเป็นมุสลิมไม่รับประทานเนื้อหมูและไม่ดื่มแอลกอฮอล์ ยิ่งไปกว่านั้นการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอล- กอฮอล์ผสมอยู่เป็นการผิดกฎหมายในประเทศอิหร่าน ข้าวและขนมปังจัดเป็นอาหารหลักของประเทศและโยเกิร์ตที่จะเสริฟพร้อมข้าวหรืออาหารอื่น ๆ เช่น ผัก ผลไม้สด ส่วนเนยแข็งก็มีการบริโภคอย่างแพร่หลายเช่นกัน
อาหารที่รับประทานจะนิยมรสเปรี้ยวและเค็มเป็นหลัก ไม่ชอบอาหารรสจัดโดยเฉพาะรสเผ็ด วัฒนธรรมในการรับประทานค่อนข้างเป็นแนวอนุรักษ์นิยม คือ ไม่ชอบอาหารที่แปลกไปจากเดิม
ช่องทางการจำหน่าย
ช่องทางการค้าที่เหมาะสมที่สุดในการทำการค้ากับประเทศอิหร่าน คือ การค้าในเขตการค้าเสรี (Free Trade Zone) ซึ่งประกอบด้วยเกาะคีช (Kish) เกาะเคชม์ (Qeshm) และเมืองท่าซาบาฮาร์ (Chabahar) ทั้งสามแห่งนี้เป็นบริเวณที่ไม่อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์การค้าอิหร่านเบื้องต้น ผู้ส่งออกจึงสามารถส่งสินค้าทุกชนิดไปยังบริเวณทั้งสามแห่งนี้ได้และยังเป็นบริเวณที่รัฐบาลอิหร่านสนับสนุนเพื่อแข่งขันกับรัฐดูไบในการเป็นประตูผ่านไปยังกลุ่มประเทศ CIS ด้วย
(ที่มา : กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์)
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 14/2543 วันที่ 31 กรกฎาคม 2543--
-อน-
ประเทศอิหร่านมีรายได้หลักในอดีตถึงปัจจุบันจากอุตสาหกรรมการผลิตน้ำมัน เมื่อใดที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกตกต่ำลงเศรษฐกิจของประเทศก็จะถูกกระทบกระเทือน ดังนั้น อิหร่านจึงมีการเริ่มดำเนินนโยบายสร้างความหลายหลายแก่ระบบการผลิต และในขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนการปรับเปลี่ยนกฎระเบียบทางการค้าให้เข้ากับสถานการณ์ของโลก แต่ถูกขัดขวางจากฝ่ายอนุรักษ์นิยม (ฝ่ายผู้นำสูงสุด) อย่างไรก็ตาม ในช่วงระยะเวลา 5 ปีข้างหน้าคาดว่าจะมีการปฏิรูประบบการค้าภายในประเทศอิหร่าน ฉะนั้น ยุทธศาสตร์ของไทยต่ออิหร่านในช่วงระยะเวลา 5 ปีข้างหน้าควรจะต้องเตรียมพร้อมที่จะเข้าไปมีส่วนแบ่งในตลาดภายในของอิหร่าน เมื่อระบบการค้าของอิหร่านมีความเป็นสากลมากขึ้นปลอดโปร่งจากเงื่อนไขและอุปสรรคทางการค้าดังเช่นปัจจุบัน
นอกจากนี้ อิหร่านยังมีนโยบายเร่งพัฒนาประเทศด้านเศรษฐกิจโดยส่งเสริมความสัมพันธ์กับประเทศเอกราชใหม่ที่แยกตัวออกมาจากอดีตสหภาพโซเวียต (ประเทศเอเชียกลาง) เพื่อหวังเป็นประตูออกสู่อ่าวเปอร์เซียสำหรับประเทศในเอเชียกลาง อย่างไรก็ดี ขณะนี้อิหร่านถูกสหรัฐฯ และประเทศตะวันตกบางประเทศคว่ำบาตรทางการค้า จึงจำเป็นต้องหันมาขยายความสัมพันธ์กับประเทศต่าง ๆ ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ตามนโยบาย Look East ของอิหร่าน
ประเทศไทยได้พยายามเน้นการส่งเสริมความสัมพันธ์ในด้านเศรษฐกิจกับอิหร่านเป็นหลัก (เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาทางการเมืองและการถูกโจมตีจากประเทศตะวันตก) โดยการค้าส่วนใหญ่ยังคงผ่านพ่อค้าคนกลาง คือ ดูไบ ทั้งสองประเทศได้ตกลงที่จะส่งเสริมการค้าในสินค้าที่ไม่ใช่น้ำมันระหว่างกัน และเห็นพ้องกันว่าควรมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้านการค้า รวมทั้งกระตุ้นให้ภาคเอกชนมีบทบาทในการส่งเสริมการค้าระหว่างกันมากขึ้น ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงที่จะขจัดอุปสรรคทางการค้าระหว่างกัน โดยฝ่ายไทยได้เสนอให้อิหร่านปรับเงื่อนไขทางการค้าให้มีความเป็นสากลมากขึ้น นอกจากนั้น ยังได้ตกลงกันที่จะให้มีการเพิ่มพูนความร่วมมือด้านการเงิน การธนาคาร เพื่อเป็นกลไกในการเสริมสร้างการค้าระหว่างกัน และการลงทุนร่วมในโครงการต่าง ๆ ตลอดจนความร่วมมือการประมง ด้านการสื่อสารและคมนาคม ด้านการท่องเที่ยวและศุลกากร เป็นต้น และอิหร่านยังได้ยื่นข้อเสนอเพื่อความตกลงกับไทยในด้านการขนส่งสามฝ่ายระหว่างไทย อิหร่าน และเตอร์กเมนิสถาน โดยมีกรุงเตหะรานเป็นจุดเชื่อมโยง ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาดำเนินการ
นโยบายแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจด้านอื่นที่รัฐบาลอิหร่านเห็นว่าควรเร่งแก้ไข คือ การชำระหนี้ต่างประเทศ ให้หมดโดยเร็ว และดำเนินการพัฒนาเศรษฐกิจในด้านต่าง ๆ โดยออกเป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ มีระยะเวลาการดำเนินการในแต่ละแผนทั้งหมด 5 ปีเครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจ
KEY ECONOMIC INDICATORS
ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ 162.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (1998)
รายได้ประชาชาติต่อหัว 2,500 เหรียญสหรัฐฯ (1998)
การเติบโตทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 2
มูลค่าสินค้าส่งออก (FOB) 21 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (1997)
มูลค่าสินค้านำเข้า (CIF) 15 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (1997)
อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 17
นโยบายการนำเข้า
อิหร่านมีนโยบายที่จะรักษาดุลการค้าระหว่างประเทศเป็นหลัก ส่วนนโยบายรองได้แก่ การส่งเสริมการส่งออกสินค้า Non-oil และส่งเสริมการค้าขายกับกลุ่มประเทศในทวีปเอเชียให้มากขึ้น จากนโยบายการค้าดังกล่าวอิหร่านได้กำหนดกฎการค้าหลัก คือ ก่อนที่จะมีการนำเข้าสินค้าใด ๆ ต้องมีการส่งออกก่อนแล้วจึงนำเงินที่ได้จากการส่งออกหรือซื้อสิทธิ์ในการส่งออกสินค้าจากผู้อื่นมาใช้ในการนำเข้า จะนำเข้าโดยไม่มีการส่งออก สินค้าได้เฉพาะสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ เช่น ยารักษาโรค และเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นเท่านั้น
นอกจากนี้ สินค้าใดที่อิหร่านสามารถผลิตได้เองอย่างเพียงพอใช้ภายในประเทศจะห้ามมิให้นำเข้า ยกเว้นผลิตได้ไม่เพียงพอหรือขาดแคลนจะอนุญาตให้นำเข้าได้เป็นครั้งคราวภายใต้จำนวนที่กำหนดได้แน่นอน
รัฐบาลอิหร่านจะมีการประเมินและปรับปรุงนโยบายการนำเข้าของประเทศทุกๆสิ้นปี Iranian Calendar Year และจะมีผลบังคับใช้ในปีต่อไป นโยบายดังกล่าวจะจัดพิมพ์โดยกระทรวงพาณิชย์ของอิหร่าน กฎระเบียบการนำเข้าสินค้านี้จะแบ่งสินค้าออกเป็น 3 ประเภท คือช สินค้าที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์ของอิหร่านเรียบร้อยแล้วสามารถนำเข้าได้โดยไม่มีข้อห้ามใดๆ
-สินค้าที่สามารถนำเข้าได้ในบ้างช่วงเวลาเท่านั้นขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้บริโภคในประเทศขณะนั้น การจะนำสินค้าในหมวดนี้ต้องขออนุญาตจากรัฐบาลอิหร่านเสียก่อน
- สินค้าที่ห้ามนำเข้าเด็ดขาด รวมทั้งสินค้าทุกชนิดที่มาจากประเทศอิสราเอลและยูโกสลาเวีย สินค้าที่ไม่ต้องขออนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์ของอิหร่านก่อนการนำเข้า คือ กาแฟ ใบชาแห้ง เครื่องเทศ ธัญพืช แป้ง แป้งข้าวโพด ผงมอลค์ เมล็ดข้าว พืชสมุนไพร วัตถุดิบใช้สำหรับการย้อมผ้า ลูกเกด น้ำผลไม้ และเครื่องดื่มชนิดผง
กฎระเบียบทางการค้า
หากผู้ส่งออกต้องการส่งสินค้าไปยังประเทศอิหร่านควรตรวจเช็คข้อมูลและกฎระเบียบในการนำเข้าให้ละเอียดถี่ถ้วนเสียก่อน เนื่องจากรัฐบาลอิหร่านมีการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบอยู่ตลอดเวลา
อิหร่านคิดภาษีศุลกากรโดยใช้ Ad Valorem เป็นพื้นฐาน และมีการพิจารณาปรับขึ้นทุก ๆ สิ้นปี Iranian Calendar Year (ก่อน March 21) ตั้งแต่เดือนธันวาคม 1997 เป็นต้นมา รัฐบาลอิหร่านได้ขึ้นภาษีสินค้านำเข้าเป็นร้อยละ 10 เนื่องจากต้องการปกป้องผู้ผลิตในประเทศจากประเทศคู่แข่งอื่น ๆ
สินค้าที่นำเข้าเพื่อใช้ในการลงทุนและวัตถุดิบต่าง ๆ อาจได้รับการยกเว้นภาษีศุลกากรเช่นเดียวกับสินค้าเวช- ภัณฑ์ แป้งสาลี และสินค้าที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวันต่าง ๆ แต่อย่างไรก็ตาม สินค้าที่นำเข้าส่วนใหญ่นอกจากจะต้องเสียค่าธรรมเนียมในการขอใบอนุญาตนำเข้าและภาษีนำเข้าแล้ว ยังต้องเสียภาษีการค้าต่าง ๆ อีกด้วย การชำระภาษีนำเข้าจะต้องจ่ายในรูปของเงิน Rial และใช้อัตราแลกเปลี่ยนที่ The Central Bank ของอิหร่านกำหนดไว้เท่านั้น
พิธีการศุลกากร
ผู้ส่งออกควรสอบถามผู้นำเข้าชาวอิหร่านถึงเอกสารการนำเข้าที่จำเป็นต้องใช้และปฏิบัติตามคำแนะนำต่าง ๆ ของผู้นำเข้าเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการผิดพลาด นอกจากนี้ เอกสารการนำเข้าต่าง ๆ จะต้องมีเลขทะเบียนของผู้นำเข้า ปรากฏอยู่ด้วย (ผู้ส่งออกสามารถขอจากผู้นำเข้าได้เลย) ดังนั้น ผู้ส่งออกจะต้องยังไม่ทำการขนส่งสินค้าจากท่าเรือจนกว่าจะได้รับเลขประจำตัวจากผู้นำเข้าเสียก่อน
ใบอนุญาตนำเข้า
สินค้าที่นำเข้ามายังอิหร่านทุกชนิดจะต้องขออนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์ของอิหร่านก่อน (ยกเว้นสินค้าประเภทอาวุธยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ เวชภัณฑ์ และสินค้าของชำร่วยหรือของฝากที่นำเข้ามาโดยนักท่องเที่ยวทั่วไป)
สิทธิการนำเข้าชั่วคราว
สินค้านำเข้าโดยมีจุดประสงค์เพื่อการโฆษณาหรือเป็นสินค้าตัวอย่างจะได้รับการยกเว้นภาษี ถ้าสินค้านั้นมีจำนวนหรือมูลค่าการนำเข้าที่ไม่มากนัก หรือไม่สามารถใช้งานได้จริง โดยผู้ส่งออกอาจให้ผุ้นำเข้ารับรองว่าจะส่งออกภายในเวลาที่ได้แจ้งไว้จริง
สินค้าที่ห้ามนำเข้า
สินค้าที่ห้ามนำเข้าโดยเด็ดขาด คือ สินค้าที่อาจมีผลกระทบต่อศาสนามุสลิมและสินค้าที่อาจเป็นอันตรายต่อสถานการณ์ในประเทศ ซึ่งได้แก่ สินค้าที่ทำจากเนื้อหมูทุกชนิด, สิ่งพิมพ์ที่เกี่ยวกับศาสนาและรูปปั้นต่างๆ, เครื่องแบบทหาร, สินค้าประเภทอาวุธปืน (Firearms), กระสุน, ฝิ่นและสารที่ทำให้เสพติดทุกชนิด, เครื่องดื่มแอลกอฮอล์, สินค้าที่เกี่ยวกับการพนันทุกชนิด, ของเก่า (Antique), วิทยุสื่อสาร, เครื่องสำอาง, เครื่องประดับเพชร พลอย, สินค้าที่ทำจากน้ำมัน, โทรศัพท์ และ Modem, ขนสัตว์, อุปกรณ์เกี่ยวกับวิทยุโทรทัศน์ และงานศิลปะ
นอกจากนี้ ในปี 1995 รัฐบาลอิหร่านได้ออกกฎหมายห้ามนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยหลายชนิด เช่น เครื่องดื่มต่าง ๆ ของเล่น บุหรี่ ช็อคโกแล็ต หมากฝรั่ง และท๊อฟฟี่ เพื่อรักษาค่าเงินของประเทศในขณะนั้น
การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
รัฐบาลอิหร่านแบ่งอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราเป็น 2 ประเภท คือ
- อัตราแลกเปลี่ยนอย่างเป็นทางการ ใช้ในการชำระราคาสินค้านำเข้าพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น สินค้าอาหาร ยาและเวชภัณฑ์ต่าง ๆ และวัตถุดิบสำหรับภาคอุตสาหกรรมในประเทศ อัตราแลกเปลี่ยนจะประมาณ US$ 1 = 1,750 Rials
- อัตราแลกเปลี่ยนเพื่อใช้ในการส่งออก ใช้ในการชำระราคาสินค้านำเข้าทั่วไป โดยจะมีอัตราแลกเปลี่ยนประมาณ US$ 1 = 3,000 Rials
- อัตรานักท่องเที่ยว 5,750 Rials/$1USD
- อัตราตลาดมืด 9.000 Rials/$1USD (ไม่แนะนำเนื่องจากผิดกฎหมายของประเทศ)
การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศจะถูกควบคุมโดย The Central Bank (The Bank Markazi Jomhouri Islami Iran) ซึ่งจะต้องแลกผ่านทางธนาคารเท่านั้น และการชำระเงินค่าสินค้าที่นำเข้าโดยใช้เงินสกุลอื่นจะต้องมีใบรับรองว่าได้แลกเงินสกุลนั้นมาจากธนาคารของอิหร่าน จึงจะสามารถนำสินค้าออกมาจากศุลกากรได้
วิธีการชำระเงินจะใช้ระบบ L/C ส่วนการชำระเงินล่วงหน้าจะนิยมจ่ายก่อนประมาณร้อยละ 25 ของมูลค่าสินค้าทั้งหมด และโดยปกติแล้วจะให้เครดิตหรือระยะเวลาในการชำระเงินตั้งแต่ 120 - 160 วัน
มาตรฐานสินค้า
สินค้าที่นำเข้ามายังอิหร่านจะต้องได้รับการตรวจสอบคุณภาพหรือรับรองจากกระทรวงหรือหน่วยงานรัฐบาลที่เกี่ยวข้องก่อนนำเข้ามาในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงสาธารณสุข
สินค้าบางชนิดก่อนที่จะนำเข้ามายังอิหร่านก็จะต้องมีการทดลองหรือตรวจสอบคุณภาพสินค้าตัวอย่างเสียก่อน เพื่อพิสูจน์ว่าส่วนประกอบและคุณภาพของสินค้านั้น ๆ ตรงกับข้อมูลที่ปรากฎอยู่บนฉลากสินค้าจริงและไม่มีส่วนผสมที่เป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค ผู้ส่งออกจะต้องเสียค่าธรรมเนียมในการตรวจสอบคุณภาพนี้
สำหรับสินค้าอาหารและสินค้าเกษตร อิหร่านไม่อนุญาตให้นำเข้าสินค้าที่มีส่วนผสมของสาร Saccharine ยกเว้นจะเป็นสินค้าอาหารและเครื่องดื่มที่ใช้สำหรับผู้บริโภคที่เป็นโรคเบาหวาน แต่ต้องได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุขของอิหร่านก่อนการนำเข้า
สินค้าประเภทอาหารสัตว์ ยาฆ่าแมลง น้ำยาฆ่าเชื้อโรค เซรุ่ม วัคซีน ยารักษาสัตว์ชนิดต่าง ๆ ยาแก้อักเสบ และเคมีภัณฑ์ จะต้องได้รับการอนุญาตจาก Veterinary Department of the Ministry of Agriculture ก่อนนำเข้า
การนำเข้าสินค้าประเภทสัตว์มีชีวิต ผักและผลไม้สด เมล็ดพันธุ์พืชจะต้องได้รับ Health Certificate เพื่อเป็นการรับรองจากประเทศของผู้ส่งออก และต้องขออนุญาตจากกระทรวงเกษตรของอิหร่านก่อนการนำเข้า
ข้อกำหนดในการปิดฉลากและเครื่องหมายการค้า
อิหร่านได้ออกกฎหมายห้ามการใช้ภาษาต่างชาติอื่น ๆ ในการปิดฉลากสินค้าต้องใช้ภาษา Persian หรือ Farsi เท่านั้น รวมไปถึงเครื่องหมายการค้าทุกชนิด
ฉลากสินค้าจะต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับสินค้านั้น ๆ เช่น วิธีการใช้งาน รายละเอียดสินค้า ส่วนผสม วัน เดือน ปีที่ผลิต วันหมดอายุ สถานที่ผลิต ชื่อผู้ผลิตเป็นภาษา Persian ทั้งหมด
กลยุทธ์การเข้าสู่ตลาด
แม้ว่านโยบายและกฎเกณฑ์ทางการค้าของอิหร่านจะจัดว่าเป็นอุปสรรคสำคัญในการทำการค้า แต่ในความเป็นจริงการนำสินค้าเข้าสู่ประเทศเป็นการนำเข้าโดยการลักลอบไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของสินค้านำเข้าทั้งหมด
การตกลงธุรกิจกับชาวอิหร่าน หากผู้นำเข้าอิหร่านคำนวณราคาสินค้าที่จะสั่งนำเข้าแล้วเห็นว่ามีช่องทางที่จะทำกำไรให้แก่ตนผู้นำเข้านั้น จะสั่งซื้อสินค้าโดยไม่คำนึงถึงภาษีหรือข้อจำกัดข้างต้นนัก การสั่งซื้อสินค้าจะทำโดยผู้ส่งออกมีหน้าที่ส่งมอบและรับเงินค่าสินค้า ส่วนการหาวิธีนำสินค้าเข้าสู่ท้องตลาดเป็นหน้าที่ของผู้นำเข้า แต่ก่อนที่จะมีการทำสัญญาการค้า ชาวอิหร่านมักจะมีการเจรจาให้ตนเองได้รับผลประโยชน์มากที่สุด และการชำระเงินก็จะต้องทำโดยการเปิด L/C เท่านั้น
การส่งเสริมการขายสามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
- การติดต่อเยี่ยมเยือนห้างร้านและบริษัท แนะนำศักยภาพสินค้าไทย เชิญผู้นำเข้ามาเยือนงานแสดงสินค้าและจัดคณะผู้แทนการค้ามาเจรจาธุรกิจกับผู้ส่งออกไทย
- การสนับสนุนให้อิหร่านเข้าเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก (WTO) ซึ่งจะทำให้อิหร่านมีพันธะกรณีที่จะต้องเปิดตลาดการค้าเสรีเช่นประเทศสมาชิกทั่วไป ซึ่งจะทำให้ส่งออกสินค้าทุกชนิดที่อยู่ในข้อตกลงไปยังอิหร่านได้
รสนิยม ความต้องการสินค้า พฤติกรรมของผู้บริโภคทั่วไป
ชาวอิหร่านนิยมสินค้าที่มีคุณภาพแต่ราคาถูกเนื่องจากสภาพเศรษฐกิจบังคับ นอกจากนั้น ยังนิยมสินค้าที่มีสีสันฉูดฉาด เช่น สีเขียว แดง และเหลือง รวมทั้งสินค้าที่มีวิทยาการแปลกใหม่
ชาวอิหร่านซึ่งเป็นมุสลิมไม่รับประทานเนื้อหมูและไม่ดื่มแอลกอฮอล์ ยิ่งไปกว่านั้นการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอล- กอฮอล์ผสมอยู่เป็นการผิดกฎหมายในประเทศอิหร่าน ข้าวและขนมปังจัดเป็นอาหารหลักของประเทศและโยเกิร์ตที่จะเสริฟพร้อมข้าวหรืออาหารอื่น ๆ เช่น ผัก ผลไม้สด ส่วนเนยแข็งก็มีการบริโภคอย่างแพร่หลายเช่นกัน
อาหารที่รับประทานจะนิยมรสเปรี้ยวและเค็มเป็นหลัก ไม่ชอบอาหารรสจัดโดยเฉพาะรสเผ็ด วัฒนธรรมในการรับประทานค่อนข้างเป็นแนวอนุรักษ์นิยม คือ ไม่ชอบอาหารที่แปลกไปจากเดิม
ช่องทางการจำหน่าย
ช่องทางการค้าที่เหมาะสมที่สุดในการทำการค้ากับประเทศอิหร่าน คือ การค้าในเขตการค้าเสรี (Free Trade Zone) ซึ่งประกอบด้วยเกาะคีช (Kish) เกาะเคชม์ (Qeshm) และเมืองท่าซาบาฮาร์ (Chabahar) ทั้งสามแห่งนี้เป็นบริเวณที่ไม่อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์การค้าอิหร่านเบื้องต้น ผู้ส่งออกจึงสามารถส่งสินค้าทุกชนิดไปยังบริเวณทั้งสามแห่งนี้ได้และยังเป็นบริเวณที่รัฐบาลอิหร่านสนับสนุนเพื่อแข่งขันกับรัฐดูไบในการเป็นประตูผ่านไปยังกลุ่มประเทศ CIS ด้วย
(ที่มา : กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์)
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 14/2543 วันที่ 31 กรกฎาคม 2543--
-อน-