ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นเพราะราคาพลังงานเป็นสำคัญ
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเดือนกุมภาพันธ์ 2544 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.5 และเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.5 ทั้งนี้ เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 0.1 และหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารร้อยละ 0.7 โดยในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม หมวดไข่และผลิตภัณฑ์นมเพิ่มขึ้นมากที่สุด (ร้อยละ 0.9) เนื่องจากเกษตรกรลดปริมาณการเลี้ยงไก่ ประกอบกับสภาพอากาศร้อนทำให้ผลผลิตลดลง รองลงมา ได้แก่ หมวดผักและ ผลไม้ (ร้อยละ 0.3) ตามปริมาณผักบางชนิดที่ลดลง อาทิ กะหล่ำปลี และมะเขือเทศสีดา ส่วนในหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหาร ราคาหมวดเคหสถานเพิ่มขึ้นมากที่สุด (ร้อยละ 1.5) เนื่องจากค่ากระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้นตามต้นทุนราคาเชื้อเพลิง รองลงมา ได้แก่ หมวดพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร (ร้อยละ 0.7) เนื่องจากราคาน้ำมันเบนซินปรับขึ้นตามราคา น้ำมันสำเร็จรูปของสิงคโปร์
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเดือนกุมภาพันธ์ 2544 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.9 และเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.1
ดัชนีราคาผู้ผลิตปรับตัวสูงขึ้น
ดัชนีราคาผู้ผลิตเดือนกุมภาพันธ์ 2544 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.7 และเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 0.2 เป็นผลจากการสูงขึ้นของราคาทุกหมวด โดย หมวดผลผลิตเกษตรกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 หมวด ผลิตภัณฑ์แร่และเชื้อเพลิงร้อยละ 2.4 และหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมร้อยละ 0.1 โดยในหมวดผลผลิตเกษตรกรรม ราคาหมวดผลผลิตจากการประมงเพิ่มขึ้นมาก (ร้อยละ 3.4) เนื่องจากเป็นช่วงปิดอ่าวไทย ทำให้ปริมาณสินค้าเข้าสู่ตลาดน้อย หมวดผลิตภัณฑ์แร่และเชื้อเพลิง ราคาหมวดลิกไนต์ปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้นสูงสุด (ร้อยละ 6.2) และหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สินค้าหมวดย่อยที่ราคาสูงขึ้นมาก ได้แก่ หมวดไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ (ร้อยละ 0.6) อาทิ ไม้ยางแปรรูป และเครื่องไม้ประกอบอาคาร หมวดเยื่อกระดาษ ผลิตภัณฑ์กระดาษและสิ่งพิมพ์ (ร้อยละ 0.6) ตามราคาต้นทุนวัตถุดิบนำเข้าที่สูงขึ้น และหมวดเคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์เคมีและเส้นใยสังเคราะห์ (ร้อยละ 0.6) ปรับราคาตามต้นทุนการผลิต
--ทีมพยากรณ์และนโยบาย/ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเดือนกุมภาพันธ์ 2544 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.5 และเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.5 ทั้งนี้ เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 0.1 และหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารร้อยละ 0.7 โดยในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม หมวดไข่และผลิตภัณฑ์นมเพิ่มขึ้นมากที่สุด (ร้อยละ 0.9) เนื่องจากเกษตรกรลดปริมาณการเลี้ยงไก่ ประกอบกับสภาพอากาศร้อนทำให้ผลผลิตลดลง รองลงมา ได้แก่ หมวดผักและ ผลไม้ (ร้อยละ 0.3) ตามปริมาณผักบางชนิดที่ลดลง อาทิ กะหล่ำปลี และมะเขือเทศสีดา ส่วนในหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหาร ราคาหมวดเคหสถานเพิ่มขึ้นมากที่สุด (ร้อยละ 1.5) เนื่องจากค่ากระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้นตามต้นทุนราคาเชื้อเพลิง รองลงมา ได้แก่ หมวดพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร (ร้อยละ 0.7) เนื่องจากราคาน้ำมันเบนซินปรับขึ้นตามราคา น้ำมันสำเร็จรูปของสิงคโปร์
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเดือนกุมภาพันธ์ 2544 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.9 และเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.1
ดัชนีราคาผู้ผลิตปรับตัวสูงขึ้น
ดัชนีราคาผู้ผลิตเดือนกุมภาพันธ์ 2544 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.7 และเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าร้อยละ 0.2 เป็นผลจากการสูงขึ้นของราคาทุกหมวด โดย หมวดผลผลิตเกษตรกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 หมวด ผลิตภัณฑ์แร่และเชื้อเพลิงร้อยละ 2.4 และหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมร้อยละ 0.1 โดยในหมวดผลผลิตเกษตรกรรม ราคาหมวดผลผลิตจากการประมงเพิ่มขึ้นมาก (ร้อยละ 3.4) เนื่องจากเป็นช่วงปิดอ่าวไทย ทำให้ปริมาณสินค้าเข้าสู่ตลาดน้อย หมวดผลิตภัณฑ์แร่และเชื้อเพลิง ราคาหมวดลิกไนต์ปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้นสูงสุด (ร้อยละ 6.2) และหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สินค้าหมวดย่อยที่ราคาสูงขึ้นมาก ได้แก่ หมวดไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ (ร้อยละ 0.6) อาทิ ไม้ยางแปรรูป และเครื่องไม้ประกอบอาคาร หมวดเยื่อกระดาษ ผลิตภัณฑ์กระดาษและสิ่งพิมพ์ (ร้อยละ 0.6) ตามราคาต้นทุนวัตถุดิบนำเข้าที่สูงขึ้น และหมวดเคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์เคมีและเส้นใยสังเคราะห์ (ร้อยละ 0.6) ปรับราคาตามต้นทุนการผลิต
--ทีมพยากรณ์และนโยบาย/ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-