นายเกริกไกร จีระแพทย์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ได้รับรายงานจากสำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงบรัสเซลส์ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2543 แจ้งความคืบหน้าในการปรับแก้ไขกฎระเบียบเพื่อให้สอดคล้องกับหลักการ “Farm to Fork ” หรือ “Farm to Table ” ที่คณะกรรมาธิการยุโรปมีจุดมุ่งหมายให้ครอบคลุมอย่างทั่วถึง ตลอดวงจรของอาหาร ตั้งแต่การผลิตจนถึงผู้บริโภค (entried food chain) และเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม ที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการด้านสุขอนามัยและการคุ้มครองผู้บริโภค (Commissioner for Health and Consumers Protection) ได้ยื่นข้อเสนอที่จะรวบรวมกฎใหม่ด้านความปลอดภัยของสุขอนามัยอาหาร (package of new food safety hygiene rules) ต่อที่ประชุมคณะมนตรีเกษตรของอียู โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางที่ White paper กำหนดไว้ โดยรวบรวมกฎระเบียบในปัจจุบันกว่า 17 รายการ และให้สะดวกต่อการปฏิบัติ ตลอดจนขยายขอบเขตการครอบคลุมให้กว้างขึ้น
นอกจากนี้ ยังได้มีการเสนอวิธีการใหม่ ๆ ที่สำคัญกล่าวคือ
1. ใช้ครอบคลุมผู้ประกอบกิจการ (ผู้ผลิต) ตลอดวงจรอาหาร ต้องรับผิดชอบเบื้องต้น (prime responsibility) โดยโครงการควบคุมด้วยตนเอง (safe-control programmes) และวิธีการที่ทันสมัยในการควบคุมความเสี่ยง
2. นำหลักเกณฑ์เรื่องหลักปฏบัติที่ดี (code of good practices) มาใช้ในการผลิตเบื้องต้นโดยเริ่มที่ฟาร์ม
3. การบังคับใช้ระบบวิเคราะห์ความเสี่ยงกับผู้ประกอบการแปรรูปอาหารทุกราย เช่น การควบคุมคุณภาพวัตถุดิบ การขจัดการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ การรักษาอุณหภูมิในช่วงเก็บในห้องเย็นและในระหว่างการขนส่ง เป็นต้น
4. บังคับให้มีการจดทะเบียนผู้ประกอบการที่ส่งอาหารและส่วนผสมที่ใช้ในการผลิตอาหาร เพื่อให้สามารถตรวจย้อนได้
5. ผู้ผลิตอาหารจะต้องกำหนดขั้นตอนการเพิกถอนหรือเก็บอาหารออกจากการวางจำหน่ายในกรณีที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขอนามัยของผู้บริโภค
สำหรับข้อเสนอประกอบด้วย กฎ ระเบียบ 4 รายการ คือ
1.) กฎระเบียบที่เกี่ยวกับสุขอนามัยอาหาร ให้มีความยืดหยุ่น (Flexibility) มากขึ้น การนำกฎระเบียบมาตรฐานเดียวด้านสุขอนามัย (harmonised hygiene rule) มาใช้กับการผลิตอาหารพื้นเมืองและกิจการประกอบอาหารในชนบทห่างไกล ประเทศสมาชิกอียูต้องรับผิดชอบในการปรับกฎระเบียบดังกล่าวให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น แต่จะต้องคงมาตรฐานความปลอดภัยของอาหารไว้ นอกจากนี้การนำระบบ HACCP มาใช้กับอุตสาหกรรมขนาดเล็กและขนาดกลาง (SMEs) โดยไม่จำเป็นต้องให้มีพนักงานที่มีความชำนาญดำเนินการ ทั้งนี้ ให้มีการจัดโครงการพิเศษเพื่อเอื้ออำนวยให้ SMEs นำระบบ HACCP มาใช้ในอนาคต เช่น การพัฒนาหลักปฏิบัติ Code of good hygienic practices ซึ่งจะช่วยให้สามารถควบคุมอันตราย (hazard) ได้
2.) กำหนดกฎระเบียบเฉพาะสำหรับอาหารที่มีแหล่งกำเนิดจากสัตว์ โดยครอบคลุมอย่างกว้างขวาง ที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับการส่งออกของไทย คือ สินค้าและผลิตภัณฑ์ประมง ((รวมหอยสองฝา (Bivalve Mollusce)) สัตว์ปีก (ไก่)
3.) การควบคุมการนำเข้าจากประเทศที่สามและตรวจสอบผลิตภัณฑ์ที่มีแหล่งกำเนิดจากสัตว์ เพื่อการบริโภคของมนุษย์
4.) การควบคุมดูแลสุขภาพสัตว์ในการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีแหล่งกำเนิดจากสัตว์เพื่อการบริโภคของมนุษย์ เพื่อวางจำหน่ายและการนำเข้า โดยให้ประเทศสมาชิกมีสิทธิกำหนดมาตรการที่เห็นว่าเหมาะสมในการรับประกันความปลอดภัยของอาหารภายในประเทศได้ ในกรณีที่มีพื้นที่ห่างไกล (remote region)
ทั้งนี้ กฎระเบียบดังกล่าว จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2004 (พ.ศ. 2547) เป็นต้นไป สหภาพยุโรป (อียู) ได้กำหนดนโยบายความปลอดภัยของอาหารเพื่อเรียกความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอาหารในอียู กลับคืนมาหลังจากเกิดวิกฤตการณ์ด้านอาหาร รวมทั้ง เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินการ โดยคณะกรรมาธิการยุโรปได้ทบทวนระบบการผลิตอาหารให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค โดยระดมความคิด และรวบรวมข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารในทุกสาขาจัดทำเอกสารสมุดปกขาวว่าด้วยความปลอดภัยอาหาร (White paper on food safety) ขึ้น และคณะกรรมาธิการฯ ได้เห็นชอบรับสมุดปกขาว ตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม 2543
ประเทศไทยในฐานะประเทศผู้ส่งออกสินค้าอาหารที่สำคัญประเทศหนึ่งไปยังอียูจำเป็นต้องให้ความสนใจ และติดตามความคืบหน้าเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิด เพื่อเตรียมรับสถานการณ์และปรับระบบการผลิต การควบคุมคุณภาพของเราให้สอดคล้องกับกฎระเบียบที่อียูกำหนด เพื่อให้สามารถส่งสินค้าไปจำหน่ายยังประเทศในอียูได้อย่างมั่นคงสืบไป
ในการนี้ กรมการค้าต่างประเทศได้ร่วมกับสำนักพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงบรัสเซลส์ จัดจ้างบริษัทที่ปรึกษาต่างประเทศ เพื่อติดตาม ศึกษา และวิเคราะห์ผลกระทบจากสมุดปกขาวว่าด้วยความปลอดภัยอาหารของสหภาพยุโรปแล้ว และสำนักงานฯ ได้รายงานความคืบหน้าการจัดจ้างที่ปรึกษา โดยได้เพิ่มส่วนที่กรมการค้าต่างประเทศเสนอขอให้ศึกษาส่วนที่ยังขาดอยู่ คือ Traceability}Risk Mananagement Animal Welfare การเพิ่มระบบเตือนภัยล่วงหน้า (Early Warning System) และการเพิ่มข้อแนะนำเพื่อให้พร้อมเข้าร่วม Lobby ในกรณีที่ต้องใช้มาตรการโน้มน้าวด้วย--จบ--
--กรมการค้าต่างประเทศ สิงหาคม 2543--
-อน-
นอกจากนี้ ยังได้มีการเสนอวิธีการใหม่ ๆ ที่สำคัญกล่าวคือ
1. ใช้ครอบคลุมผู้ประกอบกิจการ (ผู้ผลิต) ตลอดวงจรอาหาร ต้องรับผิดชอบเบื้องต้น (prime responsibility) โดยโครงการควบคุมด้วยตนเอง (safe-control programmes) และวิธีการที่ทันสมัยในการควบคุมความเสี่ยง
2. นำหลักเกณฑ์เรื่องหลักปฏบัติที่ดี (code of good practices) มาใช้ในการผลิตเบื้องต้นโดยเริ่มที่ฟาร์ม
3. การบังคับใช้ระบบวิเคราะห์ความเสี่ยงกับผู้ประกอบการแปรรูปอาหารทุกราย เช่น การควบคุมคุณภาพวัตถุดิบ การขจัดการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ การรักษาอุณหภูมิในช่วงเก็บในห้องเย็นและในระหว่างการขนส่ง เป็นต้น
4. บังคับให้มีการจดทะเบียนผู้ประกอบการที่ส่งอาหารและส่วนผสมที่ใช้ในการผลิตอาหาร เพื่อให้สามารถตรวจย้อนได้
5. ผู้ผลิตอาหารจะต้องกำหนดขั้นตอนการเพิกถอนหรือเก็บอาหารออกจากการวางจำหน่ายในกรณีที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขอนามัยของผู้บริโภค
สำหรับข้อเสนอประกอบด้วย กฎ ระเบียบ 4 รายการ คือ
1.) กฎระเบียบที่เกี่ยวกับสุขอนามัยอาหาร ให้มีความยืดหยุ่น (Flexibility) มากขึ้น การนำกฎระเบียบมาตรฐานเดียวด้านสุขอนามัย (harmonised hygiene rule) มาใช้กับการผลิตอาหารพื้นเมืองและกิจการประกอบอาหารในชนบทห่างไกล ประเทศสมาชิกอียูต้องรับผิดชอบในการปรับกฎระเบียบดังกล่าวให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น แต่จะต้องคงมาตรฐานความปลอดภัยของอาหารไว้ นอกจากนี้การนำระบบ HACCP มาใช้กับอุตสาหกรรมขนาดเล็กและขนาดกลาง (SMEs) โดยไม่จำเป็นต้องให้มีพนักงานที่มีความชำนาญดำเนินการ ทั้งนี้ ให้มีการจัดโครงการพิเศษเพื่อเอื้ออำนวยให้ SMEs นำระบบ HACCP มาใช้ในอนาคต เช่น การพัฒนาหลักปฏิบัติ Code of good hygienic practices ซึ่งจะช่วยให้สามารถควบคุมอันตราย (hazard) ได้
2.) กำหนดกฎระเบียบเฉพาะสำหรับอาหารที่มีแหล่งกำเนิดจากสัตว์ โดยครอบคลุมอย่างกว้างขวาง ที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับการส่งออกของไทย คือ สินค้าและผลิตภัณฑ์ประมง ((รวมหอยสองฝา (Bivalve Mollusce)) สัตว์ปีก (ไก่)
3.) การควบคุมการนำเข้าจากประเทศที่สามและตรวจสอบผลิตภัณฑ์ที่มีแหล่งกำเนิดจากสัตว์ เพื่อการบริโภคของมนุษย์
4.) การควบคุมดูแลสุขภาพสัตว์ในการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีแหล่งกำเนิดจากสัตว์เพื่อการบริโภคของมนุษย์ เพื่อวางจำหน่ายและการนำเข้า โดยให้ประเทศสมาชิกมีสิทธิกำหนดมาตรการที่เห็นว่าเหมาะสมในการรับประกันความปลอดภัยของอาหารภายในประเทศได้ ในกรณีที่มีพื้นที่ห่างไกล (remote region)
ทั้งนี้ กฎระเบียบดังกล่าว จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2004 (พ.ศ. 2547) เป็นต้นไป สหภาพยุโรป (อียู) ได้กำหนดนโยบายความปลอดภัยของอาหารเพื่อเรียกความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอาหารในอียู กลับคืนมาหลังจากเกิดวิกฤตการณ์ด้านอาหาร รวมทั้ง เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินการ โดยคณะกรรมาธิการยุโรปได้ทบทวนระบบการผลิตอาหารให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค โดยระดมความคิด และรวบรวมข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารในทุกสาขาจัดทำเอกสารสมุดปกขาวว่าด้วยความปลอดภัยอาหาร (White paper on food safety) ขึ้น และคณะกรรมาธิการฯ ได้เห็นชอบรับสมุดปกขาว ตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม 2543
ประเทศไทยในฐานะประเทศผู้ส่งออกสินค้าอาหารที่สำคัญประเทศหนึ่งไปยังอียูจำเป็นต้องให้ความสนใจ และติดตามความคืบหน้าเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิด เพื่อเตรียมรับสถานการณ์และปรับระบบการผลิต การควบคุมคุณภาพของเราให้สอดคล้องกับกฎระเบียบที่อียูกำหนด เพื่อให้สามารถส่งสินค้าไปจำหน่ายยังประเทศในอียูได้อย่างมั่นคงสืบไป
ในการนี้ กรมการค้าต่างประเทศได้ร่วมกับสำนักพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงบรัสเซลส์ จัดจ้างบริษัทที่ปรึกษาต่างประเทศ เพื่อติดตาม ศึกษา และวิเคราะห์ผลกระทบจากสมุดปกขาวว่าด้วยความปลอดภัยอาหารของสหภาพยุโรปแล้ว และสำนักงานฯ ได้รายงานความคืบหน้าการจัดจ้างที่ปรึกษา โดยได้เพิ่มส่วนที่กรมการค้าต่างประเทศเสนอขอให้ศึกษาส่วนที่ยังขาดอยู่ คือ Traceability}Risk Mananagement Animal Welfare การเพิ่มระบบเตือนภัยล่วงหน้า (Early Warning System) และการเพิ่มข้อแนะนำเพื่อให้พร้อมเข้าร่วม Lobby ในกรณีที่ต้องใช้มาตรการโน้มน้าวด้วย--จบ--
--กรมการค้าต่างประเทศ สิงหาคม 2543--
-อน-