นางจันทรา บูรณฤกษ์ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่าตามที่โปแลนด์ได้ยื่นฟ้องต่อองค์กรระงับข้อพิพาทขององค์การการค้าโลก(WTO) กรณีไทยใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดสินค้าเหล็กชนิด H-Beam หรือเหล็กโครงสร้างรูปพรรณหน้าตัดรูปตัว H จากโปแลนด์ เมื่อเดือนตุลาคม 2542 นั้น ปรากฏว่าขณะนี้ WTO ได้ส่งคำตัดสินกรณีพิพาทการทุ่มตลาดเหล็กชนิดดังกล่าวจากโปแลนด์ ให้ประเทศสมาชิกรับรองเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2543 โดยคำตัดสินมีสาระสำคัญ 3 ประเด็น ดังนี้
1. โปแลนด์กล่าวหาว่าไทย เริ่มกระบวนการไต่สวนไม่ถูกต้องตามข้อกำหนด WTO แต่คณะพิจารณาตัดสินว่าไทยทำถูกต้อง
2. โปแลนด์กล่าวหาว่าไทย ไทยคำนวณอัตราการทุ่มตลาดไม่ถูกต้อง แต่คณะพิจารณาตัดสินว่าไทยทำถูกต้อง
3. โปแลนด์กล่าวหาว่า วิธีการวิเคราะห์ความเสียหายของไทยไม่เป็นไปตามข้อกำหนดของ WTO โดยคณะพิจารณาเห็นว่า เอกสารสำนวนของไทยมีการวิเคราะห์ความเสียหายถูกต้องตามข้อกำหนดของ WTO แต่เอกสารที่ไทยส่งให้บริษัท Huta Katowice ของโปแลนด์ไม่ได้แจ้งข้อมูลครบถ้วนตามที่ไทยมีการวิเคราะห์ความเสียหาย ทำให้บริษัท Huta Katowice ไม่ได้รับข้อมูลเพียงพอที่จะโต้แย้งการวิเคราะห์ของไทย คณะพิจารณาจึงตัดสินว่า “ไทยควรดำเนินการให้เป็นไปตามข้อกำหนดของ WTO ”
จากคำตัดสินของคณะพิจารณาเป็นที่ชัดเจนว่า ไทยชนะขาดใน 2 ประเด็นแรก แต่ในประเด็นที่สามยังไม่มีความชัดเจนที่จะต้องยกเลิกมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดหรือยังคงมาตรการต่อไป
ปัจจุบันกรณีพิพาทที่เกิดขึ้นในองค์กรระงับข้อพิพาทของ WTO ซึ่งคณะพิจารณามีคำตัดสินเหมือนกับประเด็นที่สามของไทยมีหลายกรณี เช่น กรณีการทุ่มตลาดสินค้าน้ำเชื่อม (HFCS) จากสหรัฐอเมริกาไปยังเม็กซิโก และกรณีการทุ่มตลาดสินค้าผ้าจากอินเดียไปยังสหภาพยุโรป โดยกรณีดังกล่าวไม่มีการยกเลิกการเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด เพียงแต่ได้มีการทบทวนการวิเคราะห์ความเสียหายใหม่ และยืนยันว่ามีความเสียหายเกิดขึ้นจริงแล้วยังคงเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดต่อไป
อย่างไรก็ตาม ไทยไม่เห็นด้วยกับคำตัดสินในประเด็นที่สามของคณะพิจารณา หากไทยต้องการคงมาตรการเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดต่อไป โดยไม่ทบทวนการวิเคราะห์ความเสียหาย ไทยยังมีสิทธิ์ที่จะอุทธรณ์คำตัดสินในประเด็นดังกล่าว ซึ่งกระบวนการพิจารณาและตัดสินต้องใช้เวลานานเป็นปี และในระหว่างที่มีการอุทธรณ์ไทยยังคงสามารถเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดต่อไปได้
ไทยมีจุดยืนที่ชัดเจนที่จะส่งเสริมการค้าเสรีและพร้อมที่จะตอบโต้การทุ่มตลาดจากทุกประเทศที่ดำเนินการค้าไม่เป็นธรรมและก่อให้เกิดความเสียหายแก่อุตสาหกรรมภายในของไทย สำหรับโปแลนด์นอกจากถูกเรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดจากประเทศไทยแล้ว ยังถูกเรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดจากหลายประเทศในภูมิภาคนี้ เช่น อินโดนีเซียและไต้หวัน เป็นต้น
--กรมการค้าต่างประเทศ ตุลาคม 2543--
-อน-
1. โปแลนด์กล่าวหาว่าไทย เริ่มกระบวนการไต่สวนไม่ถูกต้องตามข้อกำหนด WTO แต่คณะพิจารณาตัดสินว่าไทยทำถูกต้อง
2. โปแลนด์กล่าวหาว่าไทย ไทยคำนวณอัตราการทุ่มตลาดไม่ถูกต้อง แต่คณะพิจารณาตัดสินว่าไทยทำถูกต้อง
3. โปแลนด์กล่าวหาว่า วิธีการวิเคราะห์ความเสียหายของไทยไม่เป็นไปตามข้อกำหนดของ WTO โดยคณะพิจารณาเห็นว่า เอกสารสำนวนของไทยมีการวิเคราะห์ความเสียหายถูกต้องตามข้อกำหนดของ WTO แต่เอกสารที่ไทยส่งให้บริษัท Huta Katowice ของโปแลนด์ไม่ได้แจ้งข้อมูลครบถ้วนตามที่ไทยมีการวิเคราะห์ความเสียหาย ทำให้บริษัท Huta Katowice ไม่ได้รับข้อมูลเพียงพอที่จะโต้แย้งการวิเคราะห์ของไทย คณะพิจารณาจึงตัดสินว่า “ไทยควรดำเนินการให้เป็นไปตามข้อกำหนดของ WTO ”
จากคำตัดสินของคณะพิจารณาเป็นที่ชัดเจนว่า ไทยชนะขาดใน 2 ประเด็นแรก แต่ในประเด็นที่สามยังไม่มีความชัดเจนที่จะต้องยกเลิกมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดหรือยังคงมาตรการต่อไป
ปัจจุบันกรณีพิพาทที่เกิดขึ้นในองค์กรระงับข้อพิพาทของ WTO ซึ่งคณะพิจารณามีคำตัดสินเหมือนกับประเด็นที่สามของไทยมีหลายกรณี เช่น กรณีการทุ่มตลาดสินค้าน้ำเชื่อม (HFCS) จากสหรัฐอเมริกาไปยังเม็กซิโก และกรณีการทุ่มตลาดสินค้าผ้าจากอินเดียไปยังสหภาพยุโรป โดยกรณีดังกล่าวไม่มีการยกเลิกการเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด เพียงแต่ได้มีการทบทวนการวิเคราะห์ความเสียหายใหม่ และยืนยันว่ามีความเสียหายเกิดขึ้นจริงแล้วยังคงเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดต่อไป
อย่างไรก็ตาม ไทยไม่เห็นด้วยกับคำตัดสินในประเด็นที่สามของคณะพิจารณา หากไทยต้องการคงมาตรการเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดต่อไป โดยไม่ทบทวนการวิเคราะห์ความเสียหาย ไทยยังมีสิทธิ์ที่จะอุทธรณ์คำตัดสินในประเด็นดังกล่าว ซึ่งกระบวนการพิจารณาและตัดสินต้องใช้เวลานานเป็นปี และในระหว่างที่มีการอุทธรณ์ไทยยังคงสามารถเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดต่อไปได้
ไทยมีจุดยืนที่ชัดเจนที่จะส่งเสริมการค้าเสรีและพร้อมที่จะตอบโต้การทุ่มตลาดจากทุกประเทศที่ดำเนินการค้าไม่เป็นธรรมและก่อให้เกิดความเสียหายแก่อุตสาหกรรมภายในของไทย สำหรับโปแลนด์นอกจากถูกเรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดจากประเทศไทยแล้ว ยังถูกเรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดจากหลายประเทศในภูมิภาคนี้ เช่น อินโดนีเซียและไต้หวัน เป็นต้น
--กรมการค้าต่างประเทศ ตุลาคม 2543--
-อน-