หลังจากที่ประเทศไทยและหลายประเทศในเอเซียประสบปัญหาวิกฤตด้านการเงินและสถาบันการเงิน ได้เกิดมีคำถามมากมายว่า
ประเทศต่าง ๆ สามารถที่จะใช้ตัวแปรเศรษฐกิจตัวใดบ้างที่สามารถเป็นสัญญาณเตือนภัยเกี่ยวกับปัญหาระบบสถาบันการเงิน จากการรวบรวมผลการศึกษา
ของนัก
เศรษฐศาสตร์ในต่างประเทศพบว่า รัฐบาลประเทศต่าง ๆ สามารถใช้ตัวแปรเศรษฐกิจมหภาคและตัวแปรเศรษฐกิจจุลภาคหลายตัวเพื่อเป็น
สัญญาณบ่งบอกถึงความเชื่อมโยงกับอาการและความอ่อนแอของสถาบันการเงินภายในประเทศได้ดีระดับหนึ่ง
ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ตัวชี้วัดมหภาค ความเชื่อมโยงกับความอ่อนแอของระบบสถาบันการเงิน
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
1. อัตราเงินเฟ้อ สภาพแวดล้อมของเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูง และผันผวนมาก โดยทั่วไปจะส่งผลให้ระบบ
(อัตราเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภค % เฉลี่ยต่อปี) การเงินอ่อนแอ โดยทำให้สถาบันการเงิน ไม่สามารถทำหน้าที่สื่อกลางระหว่างผู้ออม
และผู้ลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งจะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาตราสารเงิน
กู้ระยะยาว การที่ระดับราคามีเสถียรภาพระดับหนึ่งถือได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญต่อการมี
ระบบสถาบันการเงินที่แข็งแกร่งและมีเสถียรภาพระดับอัตราเงินเฟ้ออ้างอิงที่ใช้
เป็นตัวชี้วัดปัญหา ในระบบสถาบันการเงินนั้นแตกต่างกันในแต่ละประเทศซึ่งต้อง
ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ด้านเงินเฟ้อของแต่ละประเทศ อย่างไรก็ตาม จากการ
รวบรวมผลการศึกษาพบว่า โดยทั่วไปแล้วหากอัตราเงินเฟ้อสูงกว่าร้อยละ 20
ระบบสถาบันการเงินจะเปราะบางและมีแนวโน้มว่าจะเกิดวิกฤตการณ์ระบบสถาบัน
การเงินได้ในประเทศส่วนใหญ่
2. ดุลการคลัง (% ต่อ GDP) การที่รัฐบาลประสบการขาดดุลงบประมาณจำนวนมากและต่อเนื่อง มักจะเป็นสัญญาณ
บ่งชี้ได้ว่า ขณะนั้นรัฐบาลมีแนวโน้มที่จะเพิ่มแรงกดดันในระบบการเงินมากขึ้นผ่าน
การแย่งสภาพคล่องในตลาดการเงินและตลาดทุน ซึ่งบ่อยครั้งจะส่งผลให้อัตรา
ดอกเบี้ยที่แท้จริงอยู่ในระดับที่สูงมากเกินไป และก่อให้เกิดปัญหาหนี้เสียจำนวนมาก
ในระบบการเงินตามมา ปัญหาระบบสถาบันการเงินจะรุนแรงยิ่งขึ้น หากอัตราการ
ออมของภาคเอกชนในประเทศนั้นอยู่ในระดับที่ต่ำ
3. ดุลบัญชีเดินสะพัด (% ต่อ GDP) การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดจำนวนมากจะส่งผลกระทบต่อระบบการเงิน ทั้งนี้
เนื่องจากการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในระดับที่สูงและต่อเนื่องมักจะนำไปสู่การ
สูญเสียทุนสำรองระหว่างประเทศ การไหลออกของเงินทุนและการกู้เงินทั้งจาก
ภายในและภายนอกประเทศ มากเกินควรเหตุการณ์วิกฤตเศรษฐกิจในหลายประเทศ
ปัจจุบันสะท้อนว่า การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในระดับที่สูงกว่าร้อยละ 8 ต่อ GDP
น่าจะเป็นอันตรายต่อระบบเศรษฐกิจและสถาบันการเงิน
4. สถานภาพด้านอัตราแลกเปลี่ยน การที่ระดับอัตราแลกเปลี่ยนมีค่าสูงกว่าที่ควรจะเป็นจะส่งผลให้เกิด การบิดเบือน
ด้านราคาขึ้นและจะกดดันให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงสูงขึ้น รวมทั้งจะนำไปสู่สภาวะ
ที่มีหนี้เสียเพิ่มขึ้นในระบบสถาบันการเงิน และก่อให้เกิดความอ่อนแอในระบบการเงิน
5. อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง บ่อยครั้งและในหลายกรณีวิกฤตการณ์สถาบันการเงินมีสาเหตุมาจากการที่อัตราดอกเบี้ย
- ด้านเงินฝาก ที่แท้จริงอยู่ในระดับที่สูงมากกว่าที่ควรจะเป็น โดยคงอยู่ในระดับดังกล่าวเป็นระยะเวลายาวนาน
- ด้านเงินกู้ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่แท้จริงที่สูงมากกว่าร้อยละ 10 อาจสะท้อนให้เห็น
ถึงการที่ธนาคารดำเนินธุรกรรมด้านการเงินที่เสี่ยงมากขึ้นอย่างไม่ ระมัดระวัง
ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่สูงมากกว่าร้อยละ 30 มักจะส่งผลให้เกิดการกู้เงิน
ที่ไม่มีประสิทธิภาพและชักจูงให้เกิดการไหลเข้าของเงินทุนจากต่างประเทศที่มี
ลักษณะเก็งกำไร ในตลาดหลักทรัพย์และระยะสั้น ในทางตรงกันข้ามอัตราดอกเบี้ย
ที่แท้จริงที่อยู่ในระดับต่ำหรือเป็นลบ จะส่งผลให้สถาบันการเงินไม่สามารถทำหน้าที่
สื่อกลางระหว่างผู้ฝากเงินและผู้กู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และก่อให้เกิดการจัดสรร
สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อภาคเศรษฐกิจสูงสุดและนำไปสู่ความอ่อนแอและ
วิกฤตการณ์สถาบันการเงินในที่สุดนอกจากนี้ ช่วงห่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยเงินกู้
และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากก็อาจใช้เป็นตัวชี้วัดความอ่อนแอของระบบสถาบันการ
เงินได้ดีระดับหนึ่งด้วย
6. การออมภายในประเทศ (% ต่อ GDP) จากการรวบรวมผลการศึกษาพบว่า อัตราการออมภายในประเทศ (โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งการออมของภาคเอกชน) จะมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับความอ่อนแอ
ของสถาบันการเงินเศรษฐกิจของประเทศเอเซียตะวันออก ซึ่งมีอัตราการออม
ในระดับที่สูง โดยทั่วไปแล้วจะมีระบบการเงินที่มีเสถียรภาพในขณะที่ประเทศใน
กลุ่มลาตินอเมริกา ซึ่งมีอัตราการออมต่ำ (น้อยกว่าร้อยละ 15 ต่อ GDP) โดยทั่วไปแล้วจะมีระบบสถาบันการเงินที่อ่อนแอ
ประเทศใดที่มีอัตราการออมภายในประเทศต่ำกว่าร้อยละ 20 ต่อ GDP
จัดได้ว่าเป็นประเทศที่ควรที่จะต้องระมัดระวังเกี่ยวกับ ปัญหาของระบบสถาบัน
การเงินที่อาจจะเกิดขึ้นได้
7. อัตราขยายตัวของเศรษฐกิจ เศรษฐกิจที่มีการเติบโตอย่างมีเสถียรภาพโดยทั่วไปจะสนับสนุนระบบการเงินที่มั่นคง
- ระดับ ในขณะที่เศรษฐกิจที่ประสบปัญหาชะลอตัวและมีความผันผวน ของธุรกรรมด้านเศรษฐกิจมาก
- ความผันผวน โดยทั่วไปมักจะมีความสัมพันธ์กับหรือสะท้อนถึงความอ่อนแอของสถาบันการเงิน
และก่อให้เกิดวิกฤตการณ์สถาบันการเงินได้
8. ส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยพันธบัตร ส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรเงินกู้ของประเทศกับอัตราดอกเบี้ย
กับอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาล ของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ จัดได้ว่าเป็นตัวแปรชี้วัดความมั่นใจของนักลงทุน
สหรัฐอเมริกา (U.S. T-bond) ที่มีต่อระบบการเงินได้ดี ส่วนต่างที่สูงมากกว่าร้อยละ 3 อาจสะท้อนให้เห็นถึง
ความเปราะบางของระบบสถาบันการเงินได้ ยกตัวอย่าง เช่น ในกรณีของ
แม๊กซิโก อาเจนติน่า และเวเนซูเอล่า ส่วนต่างนี้อยู่สูงมากกว่าร้อยละ 3
หลายเดือนก่อนที่ประเทศเหล่านี้ จะประสบปัญหาวิกฤตการณ์ด้านการเงิน
9. กระแสเงินทุนจากต่างประเทศ การลดลงของราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์อย่างมาก และโดยไม่คาดหวังเอาไว้
- การลงทุนโดยตรง ก่อนมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของความอ่อนแอในระบบการเงิน
- การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ นอกจากนี้ การเติบโตอย่างรวดเร็วของราคาหุ้นในตลาด โดยสืบเนื่องจากแรงกดดัน
ด้านการเก็งกำไร และสนับสนุนด้านธุรกรรมนี้ผ่านสินเชื่อจากสถาบันการเงิน
มักจะส่งผลให้ระบบการเงินมีความอ่อนแอ หากไม่มีการบริหารและจัดการที่ดี การ
ไหลเข้าของเงินทุนจากต่างประเทศจำนวนมาก และผันผวนสูงจะเพิ่มความเป็นไป
ได้ของการเกิดวิกฤตการณ์สถาบันการเงิน การไหลเข้าของเงินทุนจำนวนมากจะ
ส่งแรงกดดันให้อัตราแลกเปลี่ยนมีค่าที่สูงกว่าที่ควรจะเป็น และเป็นอุปสรรคต่อ
การส่งออก รวมทั้งทำให้การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดรุนแรงขึ้น ในทางกลับกันการ
ไหลออกของเงินทุนจำนวนมากโดยไม่มีการคาดหวังไว้ก่อนจะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย
สูงขึ้น และนำไปสู่ภาวะสินเชื่อด้อยคุณภาพและปัญหาในระบบสถาบันการเงิน การ
เพิ่มขึ้นอย่างมีเสถียรภาพของการลงทุนจากต่างประเทศ โดยทั่วไปถือว่าเป็นปัจจัย
ที่สำคัญในการส่งเสริมเสถียรภาพของระบบการเงิน ประเทศต่าง ๆ ควรระมัดระวัง
ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในระบบการเงินหากเงินทุนที่ไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์
อยู่สูงกว่า ร้อยละ 10 ต่อ GDP อย่างต่อเนื่อง
10. หนี้ต่างประเทศ ภาระหนี้ต่างประเทศในระดับที่สูง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากมีการกระจุกตัวมาก
- ระดับ ของอายุการไถ่ถอนระยะสั้นมีแนวโน้มที่จะสร้างปัญหาในระบบสถาบันการเงินได้
- โครงสร้างอายุการไถ่ถอน อัตราอ้างอิงชี้วัดวิกฤตการณ์ สถาบันการเงินของภาระหนี้ต่างประเทศนั้นแตกต่างกัน
ในแต่ละประเทศขึ้นอยู่กับขนาดของเศรษฐกิจ โครงสร้างของอายุการ
ไถ่ถอนหนี้ และโครงสร้างของเศรษฐกิจ
11. อัตราส่วนปริมาณเงินตามความหมายกว้าง (M2) ต่อ GDP อัตราส่วนของ M2 ต่อ GDP ที่สูงแสดงถึงระดับความลึกของระบบการเงินและสะท้อน
(M2/GDP) ความยืดหยุ่นและความสามารถของระบบการเงินในการปรับตัวต่อผลกระทบต่าง ๆ ได้ดี
อัตราส่วนของ M2 ต่อ GDP ที่น้อยกว่าร้อยละ 30 สะท้อนถึงความเสี่ยงที่ความอ่อนแอ
ของสถาบันการเงินจะก่อให้เกิดปัญหาระบบสถาบันการเงินได้
12. อัตราเพิ่มของสินเชื่อภายในประเทศ (ในรูปของค่าที่แท้จริง) การเพิ่มขึ้นของสินเชื่อในระดับที่สูงมากอาจก่อให้เกิดปัญหาในระบบการเงินได้
- ภาคเอกชน การศึกษาของนักเศรษฐศาสตร์บางท่านพบว่า การขยายตัวของสินเชื่อที่มากกว่า
- ภาครัฐบาล 2 เท่าของอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับวิกฤตการณ์
สถาบันการเงินในหลายประเทศ เนื่องจากการขยายตัวอย่างรวดเร็วของสินเชื่อ
ส่งผลให้คุณภาพของสินเชื่อด้อยลง เนื่องจากการประเมินสินเชื่อโดย ธนาคารขาด
ประสิทธิภาพและอาจสะท้อนภาวะการณ์ที่ธนาคารเร่งปล่อยสินเชื่อเพื่อ roll over
หนี้เสียเพื่อปิดบังปัญหาหนี้เสียของตนเอง
13. อัตราการค้า (ราคาสินค้าส่งออก/ราคาสินค้านำเข้า) ธนาคารที่ปล่อยสินเชื่อกระจุกตัวในกลุ่มธุรกิจส่งออกและนำเข้ามากกว่าร้อยละ
- แนวโน้ม 30 ซึ่งมีความเสี่ยงด้านความผันผวนของอัตราการค้า อาจส่งผลให้สถาบันการเงิน
- ความผันผวน มีปัญหาในอนาคตได้ เนื่องจากหากมีการผันผวนและเปลี่ยนแปลงในราคาสินค้าออก
และราคาสินค้านำเข้าในทิศทางที่กระทบต่อผลการประกอบการของธุรกิจหรือกลุ่ม
ธุรกิจส่งออกและนำเข้า ย่อมจะกระทบความสามารถในการชำระคืนเงินกู้ให้กับ
สถาบันการเงิน และส่งผลให้เกิดปัญหาวิกฤตการณ์ระบบสถาบันการเงินได้ การ
เปลี่ยนแปลงของอัตราการค้าอาจเกิดมาจากการลดลงของราคาสืบเนื่องมา
จากการปฏิรูประบบอัตราแลกเปลี่ยนหรือการเปลี่ยนแปลง นโยบายด้านการค้า
ระหว่างประเทศ
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ตัวชี้วัดจุลภาค ความเชื่อมโยงกับความอ่อนแอของระบบสถาบันการเงิน
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
1. ความเพียงพอของเงินกองทุน (เงินกองทุนของสถาบันการเงิน/ ความไม่เพียงพอของเงินกองทุนเพื่อรองรับหนี้เสียถือว่าเป็น ปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่ง
สินทรัพย์ทั้งหมด) ที่ส่งผลให้ระบบสถาบันการเงินอ่อนแอและก่อให้เกิดวิกฤตการณ์สถาบันการเงิน อัตรา
ส่วนกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงขั้นต่ำสุดที่กำหนดโดยธนาคารเพื่อการชำระเงินระหว่างประเทศ
(Bank for International Settlements | BIS) ร้อยละ 8 ถือว่าต่ำเกิน
ไปสำหรับประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ โดยปกติแล้วสถาบันการเงินในประเทศกำลังพัฒนา
ควรจะดำรงเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงตามมาตรฐาน BIS มากกว่าร้อยละ 8
ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่จะเกิดขึ้นในระบบการเงินอย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปก็สามารถ
ใช้อัตราร้อยละ 8 เป็นอัตราขั้นต่ำสุดที่บ่งชี้ถึงแนวโน้มของปัญหาและความอ่อนแอของระบบ
สถาบันการเงินได้
2. คุณภาพของสินทรัพย์ (หนี้เสีย /สินเชื่อทั้งหมด) สัดส่วนหนี้เสียต่อสินเชื่อทั้งหมดถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่สะท้อนความอ่อน
แอของระบบสถาบันการเงินได้ดีมาก จากผลงานวิจัยหลายชิ้นพบว่าสัดส่วนหนี้เสียต่อ
สินเชื่อที่มากกว่าร้อยละ 10 จัดได้ว่าเริ่มเป็นจุดอันตรายต่อระบบสถาบันการเงิน
และบ่อยครั้งนำไปสู่วิกฤตการณ์ของสถาบันการเงิน
3. อัตราส่วนของสินเชื่อต่อเงินฝาก อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากที่มากกว่าร้อยละ 100 บ่งชี้ว่าระบบธนาคารกำลังประสบปัญหา
ขีดจำกัดด้านการเงินหรืออาจสะท้อนว่าธนาคารต่าง ๆ ได้พึ่งพาตลาดเงินกู้ยืมระหว่าง
ธนาคารพาณิชย์ด้วยกันหรือพึ่งพาเงินกู้จากต่างประเทศมากเกินไป ซึ่งปัจจัยข้างต้นก่อ
ให้เกิดความอ่อนแอในระบบสถาบันการเงินอย่างไรก็ตามอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากที่
ต่ำกว่าร้อยละ 30 สะท้อนว่าระบบสถาบันการเงินมีระบบเครือข่ายสาขาที่อ่อนแอ
ซึ่งบ่งชี้ถึงความเสี่ยงด้านสินเชื่อและความอ่อนแอของระบบสถาบันการเงิน
4. อายุของฐานเงินฝากใน ระบบสถาบันการเงิน การที่เงินฝากของระบบธนาคารพาณิชย์มีโครงสร้างของอายุ
ที่สั้นมากสะท้อน ให้เห็นถึงการขาดความเชื่อมันโดยทั่วไปของประชาชนที่มีต่อระบบ
สถาบันการเงินซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาวิกฤตการณ์ของระบบการเงินตัวอย่างที่เห็นได้ชัด
ได้แก่กรณีในช่วงวิกฤตการณ์ของสถาบันการเงิน ในอาเจนตินาอายุของเงินฝากใน
ระบบธนาคารนั้นมีอายุเพียง 7 วัน เท่านั้นก่อนที่จะนำไปสู่ภาวะวิกฤตการณ์ด้านระบบ
การเงินในอาเจนตินา
5. อัตราส่วนเงินสดหมุนเวียนต่อเงินฝาก อัตราส่วนเงินสดหมุนเวียนต่อเงินฝากที่สูงมากโดยทั่วไปจะสะท้อนถึง การขาดความ
เชื่อมั่นในระบบสถาบันการเงินซึ่งนำไปสู่ความไม่มีประสิทธิภาพ ในการทำหน้าที่หลัก
ในฐานะผู้เชื่อมโยงผู้ฝากเงินและผู้กู้ของธนาคารพาณิชย์และส่งผลให้ระบบสถาบันการ
เงินอ่อนแอจนเกิดวิกฤตการณ์ระบบสถาบันการเงินได้
6. อัตราส่วนหนี้ต่อสินทรัพย์ของธุรกิจ ในระบบเศรษฐกิจที่มีธุรกิจจำนวนมากที่มีภาระหนี้สินสูง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากหนี้
นั้นเป็นหนี้ระยะสั้น) บ่อยครั้งมักจะนำไปสู่การแย่งสภาพคล่อง ในระบบอย่างไม่มี
ประสิทธิภาพและส่งผลให้ระบบสถาบันการเงินอ่อนแอ หากสถาบันการเงินจำนวนมาก
กว่า 1 ใน 3 มีอัตราส่วนหนี้ต่อสินทรัพย์มากกว่าร้อยละ 0.5 จัดได้ว่าระบบสถาบัน
การเงินนี้อ่อนแอและมีแนวโน้มที่จะเกิดวิกฤตด้านระบบสถาบันการเงินได้
7. สัดส่วนของธนาคารที่เป็นเจ้าของ โดยกลุ่มอุตสาหกรรมและกลุ่มสถาบันการเงิน(การปล่อยกู้ในกลุ่มเดียวกัน) การปล่อย
กู้ของธนาคารให้กับกลุ่มอุตสาหกรรมหรือกลุ่มสถาบันการเงินในเครือเดียวกันมาก
เกินไปโดยทั่วไปจะก่อให้เกิดปัญหาระบบสถาบันการเงิน เช่นในกรณีเกาหลีใต้ สถาบัน
การเงินปล่อยกู้ให้กลุ่ม conglomerate มากเกินไปจนก่อให้เกิดวิกฤตการณ์สถาบัน
การเงิน อัตราส่วนการปล่อยกู้ให้กับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดกลุ่มบุคคลหนึ่งไม่ควรจะ
เกินร้อยละ 25 เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาวิกฤตการณ์สถาบันการเงิน
8. การกระจุกตัวของสินเชื่อในธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์ การปล่อยสินเชื่อให้กับภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มากเกินไปถือว่า
เป็นสาเหตุสำคัญ ประการหนึ่งที่ก่อให้เกิดวิกฤตการณ์สถาบันการเงินทั้งนี้เนื่องจาก
จะทำให้เกิดธุรกรรมด้านการเก็งกำไรอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจฟองสบู่ อัตราส่วน
ของสินเชื่อที่ปล่อยให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไม่ควรกระจุกตัวเกินร้อยละ 30 ทั้งนี้เพื่อ
หลีกเลี่ยงปัญหาวิกฤตการณ์ระบบสถาบันการเงิน
9. อัตราส่วนรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย ต่อรายได้ทั้งหมด การที่อัตราส่วนของรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยต่อรายได้ทั้งหมดของธนาคาร
อยู่ในระดับที่สูงจัดได้ว่าเป็นเครื่องชี้ถึงความอ่อนแอในการดำเนินธุรกรรมหลักของระบบ
ธนาคารและสะท้อนว่าระบบสถาบันการเงินเริ่มที่จะดำเนินธุรกรรมที่มีความเสี่ยงมาก
ขึ้นซึ่งเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงของตลาด(ความเสี่ยง ด้านอัตราดอกเบี้ย ความเสี่ยงด้าน
อัตราแลกเปลี่ยนความเสี่ยงด้านตราสารอนุพันธ์และการค้ำประกัน (off-balance sheet))
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
นอกจากตัวแปรชี้วัดด้านมหภาคและจุลภาคข้างต้นที่สามารถวัดในเชิงปริมาณได้และสามารถนำมาใช้เป็นสัญญาณเตือนภัยปัญหาระบบสถาบันการเงินได้
ดีระดับหนึ่งแล้ว ยังมีตัวแปรอีกประเภทหนึ่ง (ตัวแปรประเภทโครงสร้าง/ระบบ) ซึ่งไม่สามารถวัดในเชิงปริมาณได้ แต่สามารถสะท้อนความอ่อนแอของระบบสถาบัน
การเงินได้ การพิจารณาสัญญาณเตือนภัยเกี่ยวกับปัญหาระบบสถาบันการเงินอย่างครบวงจรจึงมีความจำเป็นอย่างมากที่นอกจากจะต้องพิจารณาตัวแปรชี้วัดมหภาค
และจุลภาคแล้วยังจะต้องนำตัวแปรประเภทโครงสร้างหรือระบบเข้ามาพิจารณาร่วมด้วย ตัวแปรประเภทโครงสร้างหรือระบบดังกล่าว ได้แก่
1. โครงสร้างของระบบธนาคาร :
โครงสร้างระบบธนาคารที่มีการแข่งขันสูงย่อมจะแข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพสูงมากกว่าโครงสร้างระบบธนาคารที่มีการแข่งขันต่ำหรือค่อนข้าง
ผูกขาด
2. ระบบประกันเงินฝาก :
ระบบประกันเงินฝากที่ได้รับการออกแบบอย่างเหมาะสมพร้อมทั้งมีระบบการกำกับตรวจสอบสถาบันการเงินที่มีประสิทธิภาพจะส่งเสริมและสนับสนุน
เสถียรภาพของระบบสถาบันการเงิน
3. มาตรฐานบัญชีและการตรวจสอบ :
ระบบบัญชีและการตรวจสอบที่ไม่ได้มาตรฐานและคุณภาพต่ำจะส่งผล ให้เกิดการขาดความเชื่อมั่นในระบบการเงิน และทำให้ระบบสถาบันการ
เงินอ่อนแอ
4.สมรรถนะของการกำกับดูแลสถาบันการเงิน :
ระบบการกำกับดูแลสถาบันการเงินที่มีประสิทธิภาพ ถือว่าเป็นตัวแปรสำคัญมากประการหนึ่งที่ทำให้ระบบการเงินมีเสถียรภาพ หากระบบนี้ขาด
ประสิทธิภาพในประเทศใด ประเทศนั้นจะมีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะเกิดวิกฤตการณ์สถาบันการเงินได้
จากตัวแปรชี้วัดประเภทมหภาค ประเภทจุลภาค และประเภทโครงสร้างที่ได้กล่าวมาข้างต้น หากได้มีการจัดทำดัชนีชี้วัดวิกฤตระบบสถาบันการเงิน
ขึ้นมาโดยอาศัยตัวแปรทั้งหมดหรือบางส่วนน่าจะเป็นประโยชน์และสามารถใช้เป็นเครื่องมือที่ง่ายต่อการสื่อความหมายในการส่งสัญญาณเตือนภัย ปัญหาระบบ
สถาบันการเงินได้ดีระดับหนึ่ง ดัชนีชี้วัดตัวนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมาก สำหรับประเทศไทยในการป้องกันไม่ให้วิกฤตการณ์ระบบการเงินเกิดขึ้นอีกในประเทศไทย
หรือหากเกิดขึ้นอีกผลกระทบก็จะไม่รุนแรงเนื่องจากได้มีการเตรียมมาตรการรองรับไว้ก่อนล่วงหน้าแล้ว--จบ--
ดร. สมชัย สัจจพงษ์
อดิศร สวัสดิ์พาณิชย์
--สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง--
-อน-
ประเทศต่าง ๆ สามารถที่จะใช้ตัวแปรเศรษฐกิจตัวใดบ้างที่สามารถเป็นสัญญาณเตือนภัยเกี่ยวกับปัญหาระบบสถาบันการเงิน จากการรวบรวมผลการศึกษา
ของนัก
เศรษฐศาสตร์ในต่างประเทศพบว่า รัฐบาลประเทศต่าง ๆ สามารถใช้ตัวแปรเศรษฐกิจมหภาคและตัวแปรเศรษฐกิจจุลภาคหลายตัวเพื่อเป็น
สัญญาณบ่งบอกถึงความเชื่อมโยงกับอาการและความอ่อนแอของสถาบันการเงินภายในประเทศได้ดีระดับหนึ่ง
ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ตัวชี้วัดมหภาค ความเชื่อมโยงกับความอ่อนแอของระบบสถาบันการเงิน
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
1. อัตราเงินเฟ้อ สภาพแวดล้อมของเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูง และผันผวนมาก โดยทั่วไปจะส่งผลให้ระบบ
(อัตราเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภค % เฉลี่ยต่อปี) การเงินอ่อนแอ โดยทำให้สถาบันการเงิน ไม่สามารถทำหน้าที่สื่อกลางระหว่างผู้ออม
และผู้ลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งจะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาตราสารเงิน
กู้ระยะยาว การที่ระดับราคามีเสถียรภาพระดับหนึ่งถือได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญต่อการมี
ระบบสถาบันการเงินที่แข็งแกร่งและมีเสถียรภาพระดับอัตราเงินเฟ้ออ้างอิงที่ใช้
เป็นตัวชี้วัดปัญหา ในระบบสถาบันการเงินนั้นแตกต่างกันในแต่ละประเทศซึ่งต้อง
ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ด้านเงินเฟ้อของแต่ละประเทศ อย่างไรก็ตาม จากการ
รวบรวมผลการศึกษาพบว่า โดยทั่วไปแล้วหากอัตราเงินเฟ้อสูงกว่าร้อยละ 20
ระบบสถาบันการเงินจะเปราะบางและมีแนวโน้มว่าจะเกิดวิกฤตการณ์ระบบสถาบัน
การเงินได้ในประเทศส่วนใหญ่
2. ดุลการคลัง (% ต่อ GDP) การที่รัฐบาลประสบการขาดดุลงบประมาณจำนวนมากและต่อเนื่อง มักจะเป็นสัญญาณ
บ่งชี้ได้ว่า ขณะนั้นรัฐบาลมีแนวโน้มที่จะเพิ่มแรงกดดันในระบบการเงินมากขึ้นผ่าน
การแย่งสภาพคล่องในตลาดการเงินและตลาดทุน ซึ่งบ่อยครั้งจะส่งผลให้อัตรา
ดอกเบี้ยที่แท้จริงอยู่ในระดับที่สูงมากเกินไป และก่อให้เกิดปัญหาหนี้เสียจำนวนมาก
ในระบบการเงินตามมา ปัญหาระบบสถาบันการเงินจะรุนแรงยิ่งขึ้น หากอัตราการ
ออมของภาคเอกชนในประเทศนั้นอยู่ในระดับที่ต่ำ
3. ดุลบัญชีเดินสะพัด (% ต่อ GDP) การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดจำนวนมากจะส่งผลกระทบต่อระบบการเงิน ทั้งนี้
เนื่องจากการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในระดับที่สูงและต่อเนื่องมักจะนำไปสู่การ
สูญเสียทุนสำรองระหว่างประเทศ การไหลออกของเงินทุนและการกู้เงินทั้งจาก
ภายในและภายนอกประเทศ มากเกินควรเหตุการณ์วิกฤตเศรษฐกิจในหลายประเทศ
ปัจจุบันสะท้อนว่า การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในระดับที่สูงกว่าร้อยละ 8 ต่อ GDP
น่าจะเป็นอันตรายต่อระบบเศรษฐกิจและสถาบันการเงิน
4. สถานภาพด้านอัตราแลกเปลี่ยน การที่ระดับอัตราแลกเปลี่ยนมีค่าสูงกว่าที่ควรจะเป็นจะส่งผลให้เกิด การบิดเบือน
ด้านราคาขึ้นและจะกดดันให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงสูงขึ้น รวมทั้งจะนำไปสู่สภาวะ
ที่มีหนี้เสียเพิ่มขึ้นในระบบสถาบันการเงิน และก่อให้เกิดความอ่อนแอในระบบการเงิน
5. อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง บ่อยครั้งและในหลายกรณีวิกฤตการณ์สถาบันการเงินมีสาเหตุมาจากการที่อัตราดอกเบี้ย
- ด้านเงินฝาก ที่แท้จริงอยู่ในระดับที่สูงมากกว่าที่ควรจะเป็น โดยคงอยู่ในระดับดังกล่าวเป็นระยะเวลายาวนาน
- ด้านเงินกู้ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่แท้จริงที่สูงมากกว่าร้อยละ 10 อาจสะท้อนให้เห็น
ถึงการที่ธนาคารดำเนินธุรกรรมด้านการเงินที่เสี่ยงมากขึ้นอย่างไม่ ระมัดระวัง
ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่สูงมากกว่าร้อยละ 30 มักจะส่งผลให้เกิดการกู้เงิน
ที่ไม่มีประสิทธิภาพและชักจูงให้เกิดการไหลเข้าของเงินทุนจากต่างประเทศที่มี
ลักษณะเก็งกำไร ในตลาดหลักทรัพย์และระยะสั้น ในทางตรงกันข้ามอัตราดอกเบี้ย
ที่แท้จริงที่อยู่ในระดับต่ำหรือเป็นลบ จะส่งผลให้สถาบันการเงินไม่สามารถทำหน้าที่
สื่อกลางระหว่างผู้ฝากเงินและผู้กู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และก่อให้เกิดการจัดสรร
สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อภาคเศรษฐกิจสูงสุดและนำไปสู่ความอ่อนแอและ
วิกฤตการณ์สถาบันการเงินในที่สุดนอกจากนี้ ช่วงห่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยเงินกู้
และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากก็อาจใช้เป็นตัวชี้วัดความอ่อนแอของระบบสถาบันการ
เงินได้ดีระดับหนึ่งด้วย
6. การออมภายในประเทศ (% ต่อ GDP) จากการรวบรวมผลการศึกษาพบว่า อัตราการออมภายในประเทศ (โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งการออมของภาคเอกชน) จะมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับความอ่อนแอ
ของสถาบันการเงินเศรษฐกิจของประเทศเอเซียตะวันออก ซึ่งมีอัตราการออม
ในระดับที่สูง โดยทั่วไปแล้วจะมีระบบการเงินที่มีเสถียรภาพในขณะที่ประเทศใน
กลุ่มลาตินอเมริกา ซึ่งมีอัตราการออมต่ำ (น้อยกว่าร้อยละ 15 ต่อ GDP) โดยทั่วไปแล้วจะมีระบบสถาบันการเงินที่อ่อนแอ
ประเทศใดที่มีอัตราการออมภายในประเทศต่ำกว่าร้อยละ 20 ต่อ GDP
จัดได้ว่าเป็นประเทศที่ควรที่จะต้องระมัดระวังเกี่ยวกับ ปัญหาของระบบสถาบัน
การเงินที่อาจจะเกิดขึ้นได้
7. อัตราขยายตัวของเศรษฐกิจ เศรษฐกิจที่มีการเติบโตอย่างมีเสถียรภาพโดยทั่วไปจะสนับสนุนระบบการเงินที่มั่นคง
- ระดับ ในขณะที่เศรษฐกิจที่ประสบปัญหาชะลอตัวและมีความผันผวน ของธุรกรรมด้านเศรษฐกิจมาก
- ความผันผวน โดยทั่วไปมักจะมีความสัมพันธ์กับหรือสะท้อนถึงความอ่อนแอของสถาบันการเงิน
และก่อให้เกิดวิกฤตการณ์สถาบันการเงินได้
8. ส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยพันธบัตร ส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรเงินกู้ของประเทศกับอัตราดอกเบี้ย
กับอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาล ของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ จัดได้ว่าเป็นตัวแปรชี้วัดความมั่นใจของนักลงทุน
สหรัฐอเมริกา (U.S. T-bond) ที่มีต่อระบบการเงินได้ดี ส่วนต่างที่สูงมากกว่าร้อยละ 3 อาจสะท้อนให้เห็นถึง
ความเปราะบางของระบบสถาบันการเงินได้ ยกตัวอย่าง เช่น ในกรณีของ
แม๊กซิโก อาเจนติน่า และเวเนซูเอล่า ส่วนต่างนี้อยู่สูงมากกว่าร้อยละ 3
หลายเดือนก่อนที่ประเทศเหล่านี้ จะประสบปัญหาวิกฤตการณ์ด้านการเงิน
9. กระแสเงินทุนจากต่างประเทศ การลดลงของราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์อย่างมาก และโดยไม่คาดหวังเอาไว้
- การลงทุนโดยตรง ก่อนมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของความอ่อนแอในระบบการเงิน
- การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ นอกจากนี้ การเติบโตอย่างรวดเร็วของราคาหุ้นในตลาด โดยสืบเนื่องจากแรงกดดัน
ด้านการเก็งกำไร และสนับสนุนด้านธุรกรรมนี้ผ่านสินเชื่อจากสถาบันการเงิน
มักจะส่งผลให้ระบบการเงินมีความอ่อนแอ หากไม่มีการบริหารและจัดการที่ดี การ
ไหลเข้าของเงินทุนจากต่างประเทศจำนวนมาก และผันผวนสูงจะเพิ่มความเป็นไป
ได้ของการเกิดวิกฤตการณ์สถาบันการเงิน การไหลเข้าของเงินทุนจำนวนมากจะ
ส่งแรงกดดันให้อัตราแลกเปลี่ยนมีค่าที่สูงกว่าที่ควรจะเป็น และเป็นอุปสรรคต่อ
การส่งออก รวมทั้งทำให้การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดรุนแรงขึ้น ในทางกลับกันการ
ไหลออกของเงินทุนจำนวนมากโดยไม่มีการคาดหวังไว้ก่อนจะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย
สูงขึ้น และนำไปสู่ภาวะสินเชื่อด้อยคุณภาพและปัญหาในระบบสถาบันการเงิน การ
เพิ่มขึ้นอย่างมีเสถียรภาพของการลงทุนจากต่างประเทศ โดยทั่วไปถือว่าเป็นปัจจัย
ที่สำคัญในการส่งเสริมเสถียรภาพของระบบการเงิน ประเทศต่าง ๆ ควรระมัดระวัง
ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในระบบการเงินหากเงินทุนที่ไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์
อยู่สูงกว่า ร้อยละ 10 ต่อ GDP อย่างต่อเนื่อง
10. หนี้ต่างประเทศ ภาระหนี้ต่างประเทศในระดับที่สูง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากมีการกระจุกตัวมาก
- ระดับ ของอายุการไถ่ถอนระยะสั้นมีแนวโน้มที่จะสร้างปัญหาในระบบสถาบันการเงินได้
- โครงสร้างอายุการไถ่ถอน อัตราอ้างอิงชี้วัดวิกฤตการณ์ สถาบันการเงินของภาระหนี้ต่างประเทศนั้นแตกต่างกัน
ในแต่ละประเทศขึ้นอยู่กับขนาดของเศรษฐกิจ โครงสร้างของอายุการ
ไถ่ถอนหนี้ และโครงสร้างของเศรษฐกิจ
11. อัตราส่วนปริมาณเงินตามความหมายกว้าง (M2) ต่อ GDP อัตราส่วนของ M2 ต่อ GDP ที่สูงแสดงถึงระดับความลึกของระบบการเงินและสะท้อน
(M2/GDP) ความยืดหยุ่นและความสามารถของระบบการเงินในการปรับตัวต่อผลกระทบต่าง ๆ ได้ดี
อัตราส่วนของ M2 ต่อ GDP ที่น้อยกว่าร้อยละ 30 สะท้อนถึงความเสี่ยงที่ความอ่อนแอ
ของสถาบันการเงินจะก่อให้เกิดปัญหาระบบสถาบันการเงินได้
12. อัตราเพิ่มของสินเชื่อภายในประเทศ (ในรูปของค่าที่แท้จริง) การเพิ่มขึ้นของสินเชื่อในระดับที่สูงมากอาจก่อให้เกิดปัญหาในระบบการเงินได้
- ภาคเอกชน การศึกษาของนักเศรษฐศาสตร์บางท่านพบว่า การขยายตัวของสินเชื่อที่มากกว่า
- ภาครัฐบาล 2 เท่าของอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับวิกฤตการณ์
สถาบันการเงินในหลายประเทศ เนื่องจากการขยายตัวอย่างรวดเร็วของสินเชื่อ
ส่งผลให้คุณภาพของสินเชื่อด้อยลง เนื่องจากการประเมินสินเชื่อโดย ธนาคารขาด
ประสิทธิภาพและอาจสะท้อนภาวะการณ์ที่ธนาคารเร่งปล่อยสินเชื่อเพื่อ roll over
หนี้เสียเพื่อปิดบังปัญหาหนี้เสียของตนเอง
13. อัตราการค้า (ราคาสินค้าส่งออก/ราคาสินค้านำเข้า) ธนาคารที่ปล่อยสินเชื่อกระจุกตัวในกลุ่มธุรกิจส่งออกและนำเข้ามากกว่าร้อยละ
- แนวโน้ม 30 ซึ่งมีความเสี่ยงด้านความผันผวนของอัตราการค้า อาจส่งผลให้สถาบันการเงิน
- ความผันผวน มีปัญหาในอนาคตได้ เนื่องจากหากมีการผันผวนและเปลี่ยนแปลงในราคาสินค้าออก
และราคาสินค้านำเข้าในทิศทางที่กระทบต่อผลการประกอบการของธุรกิจหรือกลุ่ม
ธุรกิจส่งออกและนำเข้า ย่อมจะกระทบความสามารถในการชำระคืนเงินกู้ให้กับ
สถาบันการเงิน และส่งผลให้เกิดปัญหาวิกฤตการณ์ระบบสถาบันการเงินได้ การ
เปลี่ยนแปลงของอัตราการค้าอาจเกิดมาจากการลดลงของราคาสืบเนื่องมา
จากการปฏิรูประบบอัตราแลกเปลี่ยนหรือการเปลี่ยนแปลง นโยบายด้านการค้า
ระหว่างประเทศ
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ตัวชี้วัดจุลภาค ความเชื่อมโยงกับความอ่อนแอของระบบสถาบันการเงิน
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
1. ความเพียงพอของเงินกองทุน (เงินกองทุนของสถาบันการเงิน/ ความไม่เพียงพอของเงินกองทุนเพื่อรองรับหนี้เสียถือว่าเป็น ปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่ง
สินทรัพย์ทั้งหมด) ที่ส่งผลให้ระบบสถาบันการเงินอ่อนแอและก่อให้เกิดวิกฤตการณ์สถาบันการเงิน อัตรา
ส่วนกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงขั้นต่ำสุดที่กำหนดโดยธนาคารเพื่อการชำระเงินระหว่างประเทศ
(Bank for International Settlements | BIS) ร้อยละ 8 ถือว่าต่ำเกิน
ไปสำหรับประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ โดยปกติแล้วสถาบันการเงินในประเทศกำลังพัฒนา
ควรจะดำรงเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงตามมาตรฐาน BIS มากกว่าร้อยละ 8
ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่จะเกิดขึ้นในระบบการเงินอย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปก็สามารถ
ใช้อัตราร้อยละ 8 เป็นอัตราขั้นต่ำสุดที่บ่งชี้ถึงแนวโน้มของปัญหาและความอ่อนแอของระบบ
สถาบันการเงินได้
2. คุณภาพของสินทรัพย์ (หนี้เสีย /สินเชื่อทั้งหมด) สัดส่วนหนี้เสียต่อสินเชื่อทั้งหมดถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่สะท้อนความอ่อน
แอของระบบสถาบันการเงินได้ดีมาก จากผลงานวิจัยหลายชิ้นพบว่าสัดส่วนหนี้เสียต่อ
สินเชื่อที่มากกว่าร้อยละ 10 จัดได้ว่าเริ่มเป็นจุดอันตรายต่อระบบสถาบันการเงิน
และบ่อยครั้งนำไปสู่วิกฤตการณ์ของสถาบันการเงิน
3. อัตราส่วนของสินเชื่อต่อเงินฝาก อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากที่มากกว่าร้อยละ 100 บ่งชี้ว่าระบบธนาคารกำลังประสบปัญหา
ขีดจำกัดด้านการเงินหรืออาจสะท้อนว่าธนาคารต่าง ๆ ได้พึ่งพาตลาดเงินกู้ยืมระหว่าง
ธนาคารพาณิชย์ด้วยกันหรือพึ่งพาเงินกู้จากต่างประเทศมากเกินไป ซึ่งปัจจัยข้างต้นก่อ
ให้เกิดความอ่อนแอในระบบสถาบันการเงินอย่างไรก็ตามอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากที่
ต่ำกว่าร้อยละ 30 สะท้อนว่าระบบสถาบันการเงินมีระบบเครือข่ายสาขาที่อ่อนแอ
ซึ่งบ่งชี้ถึงความเสี่ยงด้านสินเชื่อและความอ่อนแอของระบบสถาบันการเงิน
4. อายุของฐานเงินฝากใน ระบบสถาบันการเงิน การที่เงินฝากของระบบธนาคารพาณิชย์มีโครงสร้างของอายุ
ที่สั้นมากสะท้อน ให้เห็นถึงการขาดความเชื่อมันโดยทั่วไปของประชาชนที่มีต่อระบบ
สถาบันการเงินซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาวิกฤตการณ์ของระบบการเงินตัวอย่างที่เห็นได้ชัด
ได้แก่กรณีในช่วงวิกฤตการณ์ของสถาบันการเงิน ในอาเจนตินาอายุของเงินฝากใน
ระบบธนาคารนั้นมีอายุเพียง 7 วัน เท่านั้นก่อนที่จะนำไปสู่ภาวะวิกฤตการณ์ด้านระบบ
การเงินในอาเจนตินา
5. อัตราส่วนเงินสดหมุนเวียนต่อเงินฝาก อัตราส่วนเงินสดหมุนเวียนต่อเงินฝากที่สูงมากโดยทั่วไปจะสะท้อนถึง การขาดความ
เชื่อมั่นในระบบสถาบันการเงินซึ่งนำไปสู่ความไม่มีประสิทธิภาพ ในการทำหน้าที่หลัก
ในฐานะผู้เชื่อมโยงผู้ฝากเงินและผู้กู้ของธนาคารพาณิชย์และส่งผลให้ระบบสถาบันการ
เงินอ่อนแอจนเกิดวิกฤตการณ์ระบบสถาบันการเงินได้
6. อัตราส่วนหนี้ต่อสินทรัพย์ของธุรกิจ ในระบบเศรษฐกิจที่มีธุรกิจจำนวนมากที่มีภาระหนี้สินสูง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากหนี้
นั้นเป็นหนี้ระยะสั้น) บ่อยครั้งมักจะนำไปสู่การแย่งสภาพคล่อง ในระบบอย่างไม่มี
ประสิทธิภาพและส่งผลให้ระบบสถาบันการเงินอ่อนแอ หากสถาบันการเงินจำนวนมาก
กว่า 1 ใน 3 มีอัตราส่วนหนี้ต่อสินทรัพย์มากกว่าร้อยละ 0.5 จัดได้ว่าระบบสถาบัน
การเงินนี้อ่อนแอและมีแนวโน้มที่จะเกิดวิกฤตด้านระบบสถาบันการเงินได้
7. สัดส่วนของธนาคารที่เป็นเจ้าของ โดยกลุ่มอุตสาหกรรมและกลุ่มสถาบันการเงิน(การปล่อยกู้ในกลุ่มเดียวกัน) การปล่อย
กู้ของธนาคารให้กับกลุ่มอุตสาหกรรมหรือกลุ่มสถาบันการเงินในเครือเดียวกันมาก
เกินไปโดยทั่วไปจะก่อให้เกิดปัญหาระบบสถาบันการเงิน เช่นในกรณีเกาหลีใต้ สถาบัน
การเงินปล่อยกู้ให้กลุ่ม conglomerate มากเกินไปจนก่อให้เกิดวิกฤตการณ์สถาบัน
การเงิน อัตราส่วนการปล่อยกู้ให้กับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดกลุ่มบุคคลหนึ่งไม่ควรจะ
เกินร้อยละ 25 เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาวิกฤตการณ์สถาบันการเงิน
8. การกระจุกตัวของสินเชื่อในธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์ การปล่อยสินเชื่อให้กับภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มากเกินไปถือว่า
เป็นสาเหตุสำคัญ ประการหนึ่งที่ก่อให้เกิดวิกฤตการณ์สถาบันการเงินทั้งนี้เนื่องจาก
จะทำให้เกิดธุรกรรมด้านการเก็งกำไรอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจฟองสบู่ อัตราส่วน
ของสินเชื่อที่ปล่อยให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไม่ควรกระจุกตัวเกินร้อยละ 30 ทั้งนี้เพื่อ
หลีกเลี่ยงปัญหาวิกฤตการณ์ระบบสถาบันการเงิน
9. อัตราส่วนรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย ต่อรายได้ทั้งหมด การที่อัตราส่วนของรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยต่อรายได้ทั้งหมดของธนาคาร
อยู่ในระดับที่สูงจัดได้ว่าเป็นเครื่องชี้ถึงความอ่อนแอในการดำเนินธุรกรรมหลักของระบบ
ธนาคารและสะท้อนว่าระบบสถาบันการเงินเริ่มที่จะดำเนินธุรกรรมที่มีความเสี่ยงมาก
ขึ้นซึ่งเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงของตลาด(ความเสี่ยง ด้านอัตราดอกเบี้ย ความเสี่ยงด้าน
อัตราแลกเปลี่ยนความเสี่ยงด้านตราสารอนุพันธ์และการค้ำประกัน (off-balance sheet))
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
นอกจากตัวแปรชี้วัดด้านมหภาคและจุลภาคข้างต้นที่สามารถวัดในเชิงปริมาณได้และสามารถนำมาใช้เป็นสัญญาณเตือนภัยปัญหาระบบสถาบันการเงินได้
ดีระดับหนึ่งแล้ว ยังมีตัวแปรอีกประเภทหนึ่ง (ตัวแปรประเภทโครงสร้าง/ระบบ) ซึ่งไม่สามารถวัดในเชิงปริมาณได้ แต่สามารถสะท้อนความอ่อนแอของระบบสถาบัน
การเงินได้ การพิจารณาสัญญาณเตือนภัยเกี่ยวกับปัญหาระบบสถาบันการเงินอย่างครบวงจรจึงมีความจำเป็นอย่างมากที่นอกจากจะต้องพิจารณาตัวแปรชี้วัดมหภาค
และจุลภาคแล้วยังจะต้องนำตัวแปรประเภทโครงสร้างหรือระบบเข้ามาพิจารณาร่วมด้วย ตัวแปรประเภทโครงสร้างหรือระบบดังกล่าว ได้แก่
1. โครงสร้างของระบบธนาคาร :
โครงสร้างระบบธนาคารที่มีการแข่งขันสูงย่อมจะแข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพสูงมากกว่าโครงสร้างระบบธนาคารที่มีการแข่งขันต่ำหรือค่อนข้าง
ผูกขาด
2. ระบบประกันเงินฝาก :
ระบบประกันเงินฝากที่ได้รับการออกแบบอย่างเหมาะสมพร้อมทั้งมีระบบการกำกับตรวจสอบสถาบันการเงินที่มีประสิทธิภาพจะส่งเสริมและสนับสนุน
เสถียรภาพของระบบสถาบันการเงิน
3. มาตรฐานบัญชีและการตรวจสอบ :
ระบบบัญชีและการตรวจสอบที่ไม่ได้มาตรฐานและคุณภาพต่ำจะส่งผล ให้เกิดการขาดความเชื่อมั่นในระบบการเงิน และทำให้ระบบสถาบันการ
เงินอ่อนแอ
4.สมรรถนะของการกำกับดูแลสถาบันการเงิน :
ระบบการกำกับดูแลสถาบันการเงินที่มีประสิทธิภาพ ถือว่าเป็นตัวแปรสำคัญมากประการหนึ่งที่ทำให้ระบบการเงินมีเสถียรภาพ หากระบบนี้ขาด
ประสิทธิภาพในประเทศใด ประเทศนั้นจะมีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะเกิดวิกฤตการณ์สถาบันการเงินได้
จากตัวแปรชี้วัดประเภทมหภาค ประเภทจุลภาค และประเภทโครงสร้างที่ได้กล่าวมาข้างต้น หากได้มีการจัดทำดัชนีชี้วัดวิกฤตระบบสถาบันการเงิน
ขึ้นมาโดยอาศัยตัวแปรทั้งหมดหรือบางส่วนน่าจะเป็นประโยชน์และสามารถใช้เป็นเครื่องมือที่ง่ายต่อการสื่อความหมายในการส่งสัญญาณเตือนภัย ปัญหาระบบ
สถาบันการเงินได้ดีระดับหนึ่ง ดัชนีชี้วัดตัวนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมาก สำหรับประเทศไทยในการป้องกันไม่ให้วิกฤตการณ์ระบบการเงินเกิดขึ้นอีกในประเทศไทย
หรือหากเกิดขึ้นอีกผลกระทบก็จะไม่รุนแรงเนื่องจากได้มีการเตรียมมาตรการรองรับไว้ก่อนล่วงหน้าแล้ว--จบ--
ดร. สมชัย สัจจพงษ์
อดิศร สวัสดิ์พาณิชย์
--สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง--
-อน-