อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับเป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการส่งออกสูงอยู่ใน 10 อันดับแรกของสินค้าส่งออกของไทย นอกจากนี้
ยังก่อให้เกิดการสร้างงานและเกิดอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่าง ๆ ตั้งแต่การทำเหมือง การเจียระไน การออกแบบ การทำและประกอบ
ตัวเรือน การผลิตเครื่องมือเครื่องจักรในการเจียระไนพลอย และการทำวัสดุหีบห่อ เป็นต้น อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับจึงเป็น
อุตสาหกรรมหลักประเภทหนึ่งที่สำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
การผลิต
จากการพิจารณาดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมของธนาคารแห่งประเทศไทย พบว่า ดัชนีผลผลิตเครื่องประดับในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544
มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากผู้ประกอบการได้ขยายตลาดการส่งออกไปยังตลาดอังกฤษ
ฝรั่งเศส และฮ่องกง มากขึ้น
ตารางที่ 1 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (2538 = 100)
2543 2544
ไตรมาสที่ 1 ไตรมาสที่ 2 ไตรมาสที่ 3 ไตรมาสที่ 4 ไตรมาสที่ 1 ไตรมาสที่ 2 ไตรมาสที่ 3
เครื่องประดับ 153.9 179.6 162.9 210.1 164.8 185.0 168.7
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย
การตลาด
1.ตลาดในประเทศ
ตลาดอัญมณีและเครื่องประดับ ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 จะเป็นการที่ลูกค้านำเครื่องประดับเดิมมาปรับเปลี่ยนรูปแบบมากกว่า
การซื้อสินค้าใหม่ สำหรับสินค้าที่นิยมคือ เครื่องประดับอัญมณีประเภทแหวน กำไล และสร้อย
แนวโน้มในไตรมาสที่ 4 คาดว่าจะมีการมูลค่าการจำหน่ายเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 3 เนื่องจากเป็นช่วงเทศกาลปีใหม่ โดยสินค้าที่
เป็นที่ต้องการของตลาดในประเทศยังคงเป็นเครื่องประดับอัญมณีประเภท แหวน กำไล และสร้อย
2.การส่งออก
การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 มีมูลค่า 462.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของ
ปีก่อนร้อยละ 8.9 เนื่องมาจากการขยายตัวของการส่งออกเครื่องประดับแท้ เครื่องประดับอัญมณีเทียม และอัญมณีสังเคราะห์ ทั้งนี้เครื่อง
ประดับแท้มีการขยายตัวมากที่สุด โดยเฉพาะเครื่องประดับทอง
ตลาดส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับที่สำคัญในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป อิสราเอล และญี่ปุ่น
โดยการส่งออกไปยังประเทศดังกล่าวมีมูลค่า 376 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือร้อยละ 81.4 ของมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับทั้งหมด
3.การนำเข้า
การนำเข้าเครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่ง และทองคำ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2544 มีมูลค่า 500.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น
จากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5 เนื่องมาจากการขยายตัวของการนำเข้าทองคำ ซึ่งเป็นผลจากการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการ
นำเข้าทองคำ ทองคำขาว ทองขาว และพาลาเดียม
ตลาดนำเข้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 3 ได้แก่ อินเดีย อิสราเอล สวิตเซอร์แลนด์ และออสเตรเลีย การนำเข้าจากประเทศดังกล่าว
มีมูลค่า 284.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือร้อยละ 56.9 ของมูลค่าการนำเข้าเครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่ง และทองคำ ทั้งหมด
มาตรการของรัฐ
คณะกรรมการว่าด้วยฉลากแห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 ได้ออกประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลากที่เกี่ยวข้อง
กับอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ จำนวน 2 ฉบับ ซึ่งมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2544 ได้แก่
1.ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 6 (พ.ศ.2544) เรื่อง ให้ทองรูปพรรณเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
2.ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2544) เรื่อง ให้อัญมณีเจียระไน และเครื่องประดับอัญมณีเจียระไนเป็น
สินค้าที่ควบคุมฉลาก
ประกาศทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวมีผลให้ผู้จำหน่ายสินค้าทองรูปพรรณ อัญมณีเจียระไน และเครื่องประดับอัญมณีเจียระไน จะต้องปิดฉลาก
สินค้าทุกชิ้น โดยระบุรายละเอียดต่าง ๆ เช่น ประเภทของสินค้า น้ำหนัก ความบริสุทธิ์ ราคา และที่ตั้งของสถานประกอบการ เป็นต้น ทั้งนี้
เพื่อป้องกันการหลอกลวงผู้บริโภคในประเทศ และส่งเสริมการท่องเที่ยว
สรุป
ภาพรวมของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 การส่งออกมีการขยายตัว แม้จะเกิดการชะลอตัว
ทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักของไทย เนื่องจากยังมีความต้องการจากตลาดดังกล่าว ซึ่งสินค้าที่มีการขยายตัวมาก
ได้แก่ เครื่องประดับแท้ โดยเฉพาะเครื่องประดับทองคำ และเครื่องประดับอัญมณีเทียม เพราะผู้บริโภคส่วนหนึ่งยังกังวลเรื่องการชะลอตัว
ทางเศรษฐกิจ จึงเปลี่ยนมาซื้อเครื่องประดับทองแทน สำหรับผู้บริโภคที่มีรายได้ระดับปานกลางถึงล่างหันมาให้ความสำคัญกับเครื่องประดับ
เทียมที่มีราคาถูกมากขึ้น สำหรับการนำเข้ามีการขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนเล็กน้อย และผลของพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 367 ว่าด้วย
การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการนำเข้าทองคำ ทองคำขาว ทองขาว และพาลาเดียม ซึ่งทำให้การนำเข้าทองคำมีการขยายตัวมากใน 2
ไตรมาสที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับปีก่อนนั้น เริ่มมีผลกระทบลดลงในไตรมาสที่ 3 เนื่องจากพระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน
2543
ตารางที่ 2 มูลค่าการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ
มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
ประเภท 2543 2543 2544 2543 2544 2543 2544
(มค. - มีค.) (มค. - มีค.) (เมย. - มิย.) (เมย. - มิย.) (กค.-กย.) (กค.-กย.)
อัญมณีและเครื่องประดับ 1,675.0 379.2 431.5 396.4 423.1 424.3 462.2
1. อัญมณีและเครื่องประดับแท้ 1,596.8 361.2 410.5 376.8 404.3 404.4 439.2
1.1 เพชร (กะรัต) 529.2 124.2 137.9 134.3 129.1 125.5 124.6
1.2 พลอยและไข่มุก 240.5 58.9 57.5 60.3 48.0 66.0 53.9
1.3 เครื่องประดับ 827.1 178.1 215.1 182.2 227.2 212.9 260.7
2. เครื่องประดับอัญมณีเทียม 63.3 14.2 17.6 15.3 15.8 16.4 19.1
3. อัญมณีสังเคราะห์ 14.9 3.8 3.4 4.3 3.0 3.5 3.9
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจการค้า กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
หมายเหตุ : ปี 2544 เป็นตัวเลขเบื้องต้น
ตารางที่ 3 มูลค่าการนำเข้าเครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ
มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
ประเภท 2543 2543 2544 2543 2544 2543 2544
(มค. - มีค.) (มค. - มีค.) (เมย. - มิย.) (เมย. - มิย.) (กค.-กย.) (กค.-กย.)
เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ 1,714.8 371.5 636.2 335.0 332.1 476.5 500.3
- เพชร 787.6 197.4 202.8 187.1 171.9 203.4 200.2
- ทองคำ 588.2 96.2 346.6 74.1 83.5 165.5 193.3
- พลอย 107.0 22.5 24.2 23.9 20.8 32.1 28.0
- เงิน 92.2 21.0 22.0 21.0 22.1 27.0 29.5
- อัญมณีสังเคราะห์ 25.4 6.6 6.3 6.6 6.6 6.1 7.7
- แพลทินัม 20.4 4.4 2.7 4.5 4.3 7.4 5.2
- ไข่มุก 13.1 4.6 3.9 1.5 1.2 5.6 3.4
- เครื่องประดับ 74.1 17.1 25.8 14.7 20.6 27.1 31.8
- อื่นๆ 6.8 1.7 1.9 1.6 1.1 2.3 1.2
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจการค้า กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
หมายเหตุ : ปี 2544 เป็นตัวเลขเบื้องต้น
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
ยังก่อให้เกิดการสร้างงานและเกิดอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่าง ๆ ตั้งแต่การทำเหมือง การเจียระไน การออกแบบ การทำและประกอบ
ตัวเรือน การผลิตเครื่องมือเครื่องจักรในการเจียระไนพลอย และการทำวัสดุหีบห่อ เป็นต้น อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับจึงเป็น
อุตสาหกรรมหลักประเภทหนึ่งที่สำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
การผลิต
จากการพิจารณาดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมของธนาคารแห่งประเทศไทย พบว่า ดัชนีผลผลิตเครื่องประดับในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544
มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากผู้ประกอบการได้ขยายตลาดการส่งออกไปยังตลาดอังกฤษ
ฝรั่งเศส และฮ่องกง มากขึ้น
ตารางที่ 1 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (2538 = 100)
2543 2544
ไตรมาสที่ 1 ไตรมาสที่ 2 ไตรมาสที่ 3 ไตรมาสที่ 4 ไตรมาสที่ 1 ไตรมาสที่ 2 ไตรมาสที่ 3
เครื่องประดับ 153.9 179.6 162.9 210.1 164.8 185.0 168.7
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย
การตลาด
1.ตลาดในประเทศ
ตลาดอัญมณีและเครื่องประดับ ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 จะเป็นการที่ลูกค้านำเครื่องประดับเดิมมาปรับเปลี่ยนรูปแบบมากกว่า
การซื้อสินค้าใหม่ สำหรับสินค้าที่นิยมคือ เครื่องประดับอัญมณีประเภทแหวน กำไล และสร้อย
แนวโน้มในไตรมาสที่ 4 คาดว่าจะมีการมูลค่าการจำหน่ายเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 3 เนื่องจากเป็นช่วงเทศกาลปีใหม่ โดยสินค้าที่
เป็นที่ต้องการของตลาดในประเทศยังคงเป็นเครื่องประดับอัญมณีประเภท แหวน กำไล และสร้อย
2.การส่งออก
การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 มีมูลค่า 462.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของ
ปีก่อนร้อยละ 8.9 เนื่องมาจากการขยายตัวของการส่งออกเครื่องประดับแท้ เครื่องประดับอัญมณีเทียม และอัญมณีสังเคราะห์ ทั้งนี้เครื่อง
ประดับแท้มีการขยายตัวมากที่สุด โดยเฉพาะเครื่องประดับทอง
ตลาดส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับที่สำคัญในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป อิสราเอล และญี่ปุ่น
โดยการส่งออกไปยังประเทศดังกล่าวมีมูลค่า 376 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือร้อยละ 81.4 ของมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับทั้งหมด
3.การนำเข้า
การนำเข้าเครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่ง และทองคำ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2544 มีมูลค่า 500.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น
จากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5 เนื่องมาจากการขยายตัวของการนำเข้าทองคำ ซึ่งเป็นผลจากการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการ
นำเข้าทองคำ ทองคำขาว ทองขาว และพาลาเดียม
ตลาดนำเข้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 3 ได้แก่ อินเดีย อิสราเอล สวิตเซอร์แลนด์ และออสเตรเลีย การนำเข้าจากประเทศดังกล่าว
มีมูลค่า 284.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือร้อยละ 56.9 ของมูลค่าการนำเข้าเครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่ง และทองคำ ทั้งหมด
มาตรการของรัฐ
คณะกรรมการว่าด้วยฉลากแห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 ได้ออกประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลากที่เกี่ยวข้อง
กับอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ จำนวน 2 ฉบับ ซึ่งมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2544 ได้แก่
1.ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 6 (พ.ศ.2544) เรื่อง ให้ทองรูปพรรณเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
2.ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2544) เรื่อง ให้อัญมณีเจียระไน และเครื่องประดับอัญมณีเจียระไนเป็น
สินค้าที่ควบคุมฉลาก
ประกาศทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวมีผลให้ผู้จำหน่ายสินค้าทองรูปพรรณ อัญมณีเจียระไน และเครื่องประดับอัญมณีเจียระไน จะต้องปิดฉลาก
สินค้าทุกชิ้น โดยระบุรายละเอียดต่าง ๆ เช่น ประเภทของสินค้า น้ำหนัก ความบริสุทธิ์ ราคา และที่ตั้งของสถานประกอบการ เป็นต้น ทั้งนี้
เพื่อป้องกันการหลอกลวงผู้บริโภคในประเทศ และส่งเสริมการท่องเที่ยว
สรุป
ภาพรวมของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 การส่งออกมีการขยายตัว แม้จะเกิดการชะลอตัว
ทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักของไทย เนื่องจากยังมีความต้องการจากตลาดดังกล่าว ซึ่งสินค้าที่มีการขยายตัวมาก
ได้แก่ เครื่องประดับแท้ โดยเฉพาะเครื่องประดับทองคำ และเครื่องประดับอัญมณีเทียม เพราะผู้บริโภคส่วนหนึ่งยังกังวลเรื่องการชะลอตัว
ทางเศรษฐกิจ จึงเปลี่ยนมาซื้อเครื่องประดับทองแทน สำหรับผู้บริโภคที่มีรายได้ระดับปานกลางถึงล่างหันมาให้ความสำคัญกับเครื่องประดับ
เทียมที่มีราคาถูกมากขึ้น สำหรับการนำเข้ามีการขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนเล็กน้อย และผลของพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 367 ว่าด้วย
การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการนำเข้าทองคำ ทองคำขาว ทองขาว และพาลาเดียม ซึ่งทำให้การนำเข้าทองคำมีการขยายตัวมากใน 2
ไตรมาสที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับปีก่อนนั้น เริ่มมีผลกระทบลดลงในไตรมาสที่ 3 เนื่องจากพระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน
2543
ตารางที่ 2 มูลค่าการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ
มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
ประเภท 2543 2543 2544 2543 2544 2543 2544
(มค. - มีค.) (มค. - มีค.) (เมย. - มิย.) (เมย. - มิย.) (กค.-กย.) (กค.-กย.)
อัญมณีและเครื่องประดับ 1,675.0 379.2 431.5 396.4 423.1 424.3 462.2
1. อัญมณีและเครื่องประดับแท้ 1,596.8 361.2 410.5 376.8 404.3 404.4 439.2
1.1 เพชร (กะรัต) 529.2 124.2 137.9 134.3 129.1 125.5 124.6
1.2 พลอยและไข่มุก 240.5 58.9 57.5 60.3 48.0 66.0 53.9
1.3 เครื่องประดับ 827.1 178.1 215.1 182.2 227.2 212.9 260.7
2. เครื่องประดับอัญมณีเทียม 63.3 14.2 17.6 15.3 15.8 16.4 19.1
3. อัญมณีสังเคราะห์ 14.9 3.8 3.4 4.3 3.0 3.5 3.9
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจการค้า กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
หมายเหตุ : ปี 2544 เป็นตัวเลขเบื้องต้น
ตารางที่ 3 มูลค่าการนำเข้าเครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ
มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
ประเภท 2543 2543 2544 2543 2544 2543 2544
(มค. - มีค.) (มค. - มีค.) (เมย. - มิย.) (เมย. - มิย.) (กค.-กย.) (กค.-กย.)
เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ 1,714.8 371.5 636.2 335.0 332.1 476.5 500.3
- เพชร 787.6 197.4 202.8 187.1 171.9 203.4 200.2
- ทองคำ 588.2 96.2 346.6 74.1 83.5 165.5 193.3
- พลอย 107.0 22.5 24.2 23.9 20.8 32.1 28.0
- เงิน 92.2 21.0 22.0 21.0 22.1 27.0 29.5
- อัญมณีสังเคราะห์ 25.4 6.6 6.3 6.6 6.6 6.1 7.7
- แพลทินัม 20.4 4.4 2.7 4.5 4.3 7.4 5.2
- ไข่มุก 13.1 4.6 3.9 1.5 1.2 5.6 3.4
- เครื่องประดับ 74.1 17.1 25.8 14.7 20.6 27.1 31.8
- อื่นๆ 6.8 1.7 1.9 1.6 1.1 2.3 1.2
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจการค้า กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
หมายเหตุ : ปี 2544 เป็นตัวเลขเบื้องต้น
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--