ข่าวในประเทศ
1. ธปท.ประกาศหลักเกณฑ์เพิ่มทางเลือกในการระดมทุนให้แก่สถาบันการเงิน นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า เพื่อเพิ่มทางเลือกในการระดมทุนให้แก่ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนมากขึ้น ธปท.จึงได้อนุญาตให้นำตราสารที่มีลักษณะคล้ายทุน (Hybrid Debt Capital Institution) นับเข้าเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 25 ส.ค.43 ตราสารดังกล่าวจะต้องเป็นตราสารหนี้ชนิดด้อยสิทธิที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 10 ปี ออกจำหน่ายโดยไม่มีบุคคลค้ำประกัน และไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน และเนื่องจากตราสารประเภทนี้สามารถนับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 โดยไม่ถูกจำกัดที่ร้อยละ 50 ของเงินกองทุนชั้นที่ 1 เหมือนหุ้นกู้ด้อยสิทธิทั่วไป จึงต้องมีคุณสมบัติใกล้เคียงตราสารทุนคือ สถาบันการเงินผู้ออกมีสิทธิเลื่อนการชำระดอกเบี้ยในกรณีที่ไม่มีกำไรจากการดำเนินงาน และไม่จ่ายเงินปันผลสำหรับหุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิ แต่ต้องเลื่อนการชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเฉพาะในกรณีที่การชำระดังกล่าวทำให้สถาบันการเงินมีอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงต่ำกว่าร้อยละ 0 หรือเมื่อ ธปท.เข้าแทรกแซงโดยมีคำสั่งลดทุนและเพิ่มทุน อย่างไรก็ตาม จากการประมาณการสถานะของธพ.เอกชน 9 แห่งพบว่ามีความสามารถในการออกตราสารประเภทนี้ได้ไม่เกิน 160,000 ล.บาท โดยขณะนี้ยังไม่มีธนาคารใดยื่นขอมาอย่างเป็นทางการ (แนวหน้า,มติชน 24)
2. บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทยวิเคราะห์เอ็นพีแอลของระบบ ธพ. บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ออกบทวิเคราะห์เรื่อง เอ็นพีแอลของไทยในเดือน ก.ค.43 ระบุว่า จากตัวเลขสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของ ธพ.ไทยที่ลดลงจากเดือน มิ.ย.43 เพียง 2 หมื่นล้านบาท โดยมียอดคงค้าง 1.49 ล้านล้านบาท หรือร้อยละ 34.95 ของสินเชื่อรวม เป็นการลดที่ชะลอตัวลงจากสองเดือนก่อนหน้า จึงคาดว่าสัดส่วนเอ็นพีแอลของระบบ ธพ. ในสิ้นปี คงไม่สามารถปรับลดเหลือร้อยละ 7.4 ตามที่คาดไว้ โดยน่าจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 16-18 ขณะที่สัดส่วนเอ็นพีแอลของ ธพ.ไทยจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 18-20 นอกจากนี้ การที่เศรษฐกิจมีแนวโน้มลดลงและราคาน้ำมันแพงขึ้น จะส่งผลให้เอ็นพีแอลที่ปรับโครงสร้างหนี้แล้วกลับมาเป็นเอ็นพีแอลใหม่อีกครั้งหนึ่ง รวมทั้งปัญหาเอ็นพีแอลรายใหม่ก็ยังอยู่ในระดับที่น่ากังวลต่อไปจนถึงปี 44.(ไทยโพสต์ 24)
3. ธปท.กล่าวถึงแผนการเพิ่มทุนของสถาบันการเงิน นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.กล่าวถึงแผนเพิ่มทุนของสถาบันการเงินในปี 43 ว่า ยังมีอีกหลายแห่งที่ต้องดำเนินการตามความจำเป็น แต่เนื่องจากทุนจดทะเบียนที่มีอยู่ขณะนี้เพียงพอต่อการกันสำรองหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ครบร้อยละ 100 จึงอาจไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนต้องเพิ่มทุนในปีนี้ จากการรวบรวมยอดเพิ่มทุนของระบบสถาบันการเงินนับตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.41 - 30 มิ.ย.43 พบว่า ระบบสถาบันการเงินเพิ่มทุนไปแล้ว 496,000 ล.บาท ในจำนวนนี้เป็นส่วนของ ธพ.จำนวน 440,000 ล.บาท ซึ่งมีแผนเพิ่มทุนอีก 60,000 ล.บาท เป็นส่วนบริษัทเงินทุนและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์จำนวน 56,000 ล.บาท คาดว่าจะมีแผนเพิ่มทุนอีก 10,000 ล.บาท ทั้งนี้ ตัวเลขการเพิ่มทุนดังกล่าวเป็นแผนของสถาบันการเงิน หากรายใดไม่สามารถเพิ่มทุนได้เพียงพอ ก็จะมีการลงนามในสัญญาเบื้องต้นกับ ธปท.เป็นรายๆ ไป (กรุงเทพธุรกิจ,ไทยรัฐ 24)
ข่าวต่างประเทศ
1. ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าลดลงร้อยละ 19.3 ในเดือน ก.ค.43 รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 24 ส.ค.43 ก.คลังญี่ปุ่นรายงานว่า เดือน ก.ค.43 ญี่ปุ่นเกินดุลการค้ามูลค่า 1.002 ล้านล้านเยน (9.37 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) ลดลงร้อยละ 19.3 จากระยะเดียวกันของปี 42 โดยเจ้าหน้าที่ของ ก.คลังญี่ปุ่นฯ กล่าวว่า แนวโน้มการเกินดุลการค้าของญี่ปุ่นยังไม่แน่นอน และคาดว่าในระยะสั้นการเกินดุลฯ จะไม่เพิ่มสูงมาก ซึ่งตั้งแต่ต้นปี 43 จนถึงปัจจุบัน ตัวเลขการเกินดุลฯ จะสลับกันระหว่างการขยายตัวและหดตัวมาตลอด สำหรับในเดือน ก.ค.43 การนำเข้าของญี่ปุ่นมีมูลค่า 3.307 ล้านล้านเยน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.1 จากระยะเดียวกันของปี 42 นำโดยการนำเข้าน้ำมันดิบ อุปกรณ์สำนักงาน และเซมิคอนดักเตอร์ ขณะที่การส่งออกเพิ่มขึ้นเล็กน้อย คิดเป็นมูลค่า 4.310 ล้านล้านเยน หรือเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2.2 จากระยะเดียวกันของปี 42 โดยในเดือน ก.ค.นี้ ญี่ปุ่นเกินดุลฯ กับ สรอ. ซึ่งเป็นประเทศคู่ค้ารายใหญ่ที่สุด มูลค่า 620.82 พัน ล.เยน หรือลดลงถึงร้อยละ 13.8 จากระยะเดียวกันปี 42 เกินดุลฯ กับสหภาพยุโรป (EU) มูลค่า 255.65 พัน ล.เยน หรือลดลงร้อยละ 10.4 แต่เกินดุลฯ กับเอเชียเพิ่มขึ้นอยู่ที่มูลค่า 443.99 พัน ล.เยน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1 จากระยะเดียวกันของปี 42 ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า การเกินดุลฯที่ลดลง ในเดือน ก.ค.43 สะท้อนให้เห็นถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่น ซึ่งทำให้มีการนำเข้าสินค้าเพิ่มมากขึ้น (รอยเตอร์ 24)
2. ผลิตภัณฑ์ในประเทศของมาเลเซียขยายตัวร้อยละ 8.8 ในไตรมาสที่ 2 ปี 43 รายงานจากกัวลาลัมเปอร์เมื่อวันที่ 23 ส.ค. 43 ธ. กลางมาเซีย เปิดเผยว่า ในไตรมาสที่ 2 ปี 43 ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (GDP) ขยายตัวร้อยละ 8.8 จากไตรมาสแรกของปี 42 แต่ชะลอตัวลงเล็กน้อยจากที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่า จะเติบโตร้อยละ 9.2 และลดลงจากตัวเลขปรับใหม่ที่ขยายตัวถึง ร้อยละ 11.9 จากตัวเลขเบื้องต้น ที่เติบโตร้อยละ 11.7ในไตรมาสแรกของปี 43 สำหรับในครึ่งแรกปี 43 GDP ของมาเลเซีย ขยายตัวร้อยละ 10.3 แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจขยายตัวในอัตราที่รวดเร็ว เมื่อเทียบกับตัวเลขปรับแล้วในปี 42 ที่ขยายตัวร้อยละ 5.8 (รอยเตอร์ 23)
3. ยอดขายบ้านมือสองของ สรอ. คาดว่าจะลดลงในเดือน ก.ค. 43 รายงานจากนิวยอร์กเมื่อวันที่ 23 ส.ค. 43 จากการสำรวจความคิดเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ โดยรอยเตอร์ คาดว่า ในเดือน ก.ค. 43 ยอดขายบ้านมือสองของ สรอ. น่าจะลดลงเหลือจำนวน 5.12 ล. หลังต่อปี จากจำนวน 5.23 ล. หลังในเดือน มิ.ย. 43 และลดลงร้อยละ 3.5 จากเดือน ก.ค. 42 ทั้งนี้ ตลาดที่อยู่อาศัยของ สรอ. ได้เริ่มชะลอตัวลงจากที่เคยขยายตัวอย่างมากนับตั้งแต่ ธ. กลาง สรอ. รณรงค์ให้เศรษฐกิจเติบโตชะลอลง โดยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยตั้งแต่เดือน มิ.ย. 42 เป็นต้นมา.(รอยเตอร์ 23)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 23ส.ค. 43 40.601(40.778)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน)ณสิ้นวันทำการ 23ส.ค.43 ซื้อ 40.4257 (40.5718) ขาย 40.7239 (40.8805)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,300 (5,300) ขาย 5,400 (5,400)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 29.46 (28.52)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.79 (16.79) ดีเซลหมุนเร็ว 13.89 (13.89)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท.ประกาศหลักเกณฑ์เพิ่มทางเลือกในการระดมทุนให้แก่สถาบันการเงิน นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า เพื่อเพิ่มทางเลือกในการระดมทุนให้แก่ธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนมากขึ้น ธปท.จึงได้อนุญาตให้นำตราสารที่มีลักษณะคล้ายทุน (Hybrid Debt Capital Institution) นับเข้าเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 25 ส.ค.43 ตราสารดังกล่าวจะต้องเป็นตราสารหนี้ชนิดด้อยสิทธิที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 10 ปี ออกจำหน่ายโดยไม่มีบุคคลค้ำประกัน และไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน และเนื่องจากตราสารประเภทนี้สามารถนับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 โดยไม่ถูกจำกัดที่ร้อยละ 50 ของเงินกองทุนชั้นที่ 1 เหมือนหุ้นกู้ด้อยสิทธิทั่วไป จึงต้องมีคุณสมบัติใกล้เคียงตราสารทุนคือ สถาบันการเงินผู้ออกมีสิทธิเลื่อนการชำระดอกเบี้ยในกรณีที่ไม่มีกำไรจากการดำเนินงาน และไม่จ่ายเงินปันผลสำหรับหุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิ แต่ต้องเลื่อนการชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเฉพาะในกรณีที่การชำระดังกล่าวทำให้สถาบันการเงินมีอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงต่ำกว่าร้อยละ 0 หรือเมื่อ ธปท.เข้าแทรกแซงโดยมีคำสั่งลดทุนและเพิ่มทุน อย่างไรก็ตาม จากการประมาณการสถานะของธพ.เอกชน 9 แห่งพบว่ามีความสามารถในการออกตราสารประเภทนี้ได้ไม่เกิน 160,000 ล.บาท โดยขณะนี้ยังไม่มีธนาคารใดยื่นขอมาอย่างเป็นทางการ (แนวหน้า,มติชน 24)
2. บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทยวิเคราะห์เอ็นพีแอลของระบบ ธพ. บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ออกบทวิเคราะห์เรื่อง เอ็นพีแอลของไทยในเดือน ก.ค.43 ระบุว่า จากตัวเลขสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของ ธพ.ไทยที่ลดลงจากเดือน มิ.ย.43 เพียง 2 หมื่นล้านบาท โดยมียอดคงค้าง 1.49 ล้านล้านบาท หรือร้อยละ 34.95 ของสินเชื่อรวม เป็นการลดที่ชะลอตัวลงจากสองเดือนก่อนหน้า จึงคาดว่าสัดส่วนเอ็นพีแอลของระบบ ธพ. ในสิ้นปี คงไม่สามารถปรับลดเหลือร้อยละ 7.4 ตามที่คาดไว้ โดยน่าจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 16-18 ขณะที่สัดส่วนเอ็นพีแอลของ ธพ.ไทยจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 18-20 นอกจากนี้ การที่เศรษฐกิจมีแนวโน้มลดลงและราคาน้ำมันแพงขึ้น จะส่งผลให้เอ็นพีแอลที่ปรับโครงสร้างหนี้แล้วกลับมาเป็นเอ็นพีแอลใหม่อีกครั้งหนึ่ง รวมทั้งปัญหาเอ็นพีแอลรายใหม่ก็ยังอยู่ในระดับที่น่ากังวลต่อไปจนถึงปี 44.(ไทยโพสต์ 24)
3. ธปท.กล่าวถึงแผนการเพิ่มทุนของสถาบันการเงิน นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.กล่าวถึงแผนเพิ่มทุนของสถาบันการเงินในปี 43 ว่า ยังมีอีกหลายแห่งที่ต้องดำเนินการตามความจำเป็น แต่เนื่องจากทุนจดทะเบียนที่มีอยู่ขณะนี้เพียงพอต่อการกันสำรองหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ครบร้อยละ 100 จึงอาจไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนต้องเพิ่มทุนในปีนี้ จากการรวบรวมยอดเพิ่มทุนของระบบสถาบันการเงินนับตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.41 - 30 มิ.ย.43 พบว่า ระบบสถาบันการเงินเพิ่มทุนไปแล้ว 496,000 ล.บาท ในจำนวนนี้เป็นส่วนของ ธพ.จำนวน 440,000 ล.บาท ซึ่งมีแผนเพิ่มทุนอีก 60,000 ล.บาท เป็นส่วนบริษัทเงินทุนและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์จำนวน 56,000 ล.บาท คาดว่าจะมีแผนเพิ่มทุนอีก 10,000 ล.บาท ทั้งนี้ ตัวเลขการเพิ่มทุนดังกล่าวเป็นแผนของสถาบันการเงิน หากรายใดไม่สามารถเพิ่มทุนได้เพียงพอ ก็จะมีการลงนามในสัญญาเบื้องต้นกับ ธปท.เป็นรายๆ ไป (กรุงเทพธุรกิจ,ไทยรัฐ 24)
ข่าวต่างประเทศ
1. ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าลดลงร้อยละ 19.3 ในเดือน ก.ค.43 รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 24 ส.ค.43 ก.คลังญี่ปุ่นรายงานว่า เดือน ก.ค.43 ญี่ปุ่นเกินดุลการค้ามูลค่า 1.002 ล้านล้านเยน (9.37 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) ลดลงร้อยละ 19.3 จากระยะเดียวกันของปี 42 โดยเจ้าหน้าที่ของ ก.คลังญี่ปุ่นฯ กล่าวว่า แนวโน้มการเกินดุลการค้าของญี่ปุ่นยังไม่แน่นอน และคาดว่าในระยะสั้นการเกินดุลฯ จะไม่เพิ่มสูงมาก ซึ่งตั้งแต่ต้นปี 43 จนถึงปัจจุบัน ตัวเลขการเกินดุลฯ จะสลับกันระหว่างการขยายตัวและหดตัวมาตลอด สำหรับในเดือน ก.ค.43 การนำเข้าของญี่ปุ่นมีมูลค่า 3.307 ล้านล้านเยน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.1 จากระยะเดียวกันของปี 42 นำโดยการนำเข้าน้ำมันดิบ อุปกรณ์สำนักงาน และเซมิคอนดักเตอร์ ขณะที่การส่งออกเพิ่มขึ้นเล็กน้อย คิดเป็นมูลค่า 4.310 ล้านล้านเยน หรือเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2.2 จากระยะเดียวกันของปี 42 โดยในเดือน ก.ค.นี้ ญี่ปุ่นเกินดุลฯ กับ สรอ. ซึ่งเป็นประเทศคู่ค้ารายใหญ่ที่สุด มูลค่า 620.82 พัน ล.เยน หรือลดลงถึงร้อยละ 13.8 จากระยะเดียวกันปี 42 เกินดุลฯ กับสหภาพยุโรป (EU) มูลค่า 255.65 พัน ล.เยน หรือลดลงร้อยละ 10.4 แต่เกินดุลฯ กับเอเชียเพิ่มขึ้นอยู่ที่มูลค่า 443.99 พัน ล.เยน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1 จากระยะเดียวกันของปี 42 ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า การเกินดุลฯที่ลดลง ในเดือน ก.ค.43 สะท้อนให้เห็นถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่น ซึ่งทำให้มีการนำเข้าสินค้าเพิ่มมากขึ้น (รอยเตอร์ 24)
2. ผลิตภัณฑ์ในประเทศของมาเลเซียขยายตัวร้อยละ 8.8 ในไตรมาสที่ 2 ปี 43 รายงานจากกัวลาลัมเปอร์เมื่อวันที่ 23 ส.ค. 43 ธ. กลางมาเซีย เปิดเผยว่า ในไตรมาสที่ 2 ปี 43 ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (GDP) ขยายตัวร้อยละ 8.8 จากไตรมาสแรกของปี 42 แต่ชะลอตัวลงเล็กน้อยจากที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่า จะเติบโตร้อยละ 9.2 และลดลงจากตัวเลขปรับใหม่ที่ขยายตัวถึง ร้อยละ 11.9 จากตัวเลขเบื้องต้น ที่เติบโตร้อยละ 11.7ในไตรมาสแรกของปี 43 สำหรับในครึ่งแรกปี 43 GDP ของมาเลเซีย ขยายตัวร้อยละ 10.3 แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจขยายตัวในอัตราที่รวดเร็ว เมื่อเทียบกับตัวเลขปรับแล้วในปี 42 ที่ขยายตัวร้อยละ 5.8 (รอยเตอร์ 23)
3. ยอดขายบ้านมือสองของ สรอ. คาดว่าจะลดลงในเดือน ก.ค. 43 รายงานจากนิวยอร์กเมื่อวันที่ 23 ส.ค. 43 จากการสำรวจความคิดเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ โดยรอยเตอร์ คาดว่า ในเดือน ก.ค. 43 ยอดขายบ้านมือสองของ สรอ. น่าจะลดลงเหลือจำนวน 5.12 ล. หลังต่อปี จากจำนวน 5.23 ล. หลังในเดือน มิ.ย. 43 และลดลงร้อยละ 3.5 จากเดือน ก.ค. 42 ทั้งนี้ ตลาดที่อยู่อาศัยของ สรอ. ได้เริ่มชะลอตัวลงจากที่เคยขยายตัวอย่างมากนับตั้งแต่ ธ. กลาง สรอ. รณรงค์ให้เศรษฐกิจเติบโตชะลอลง โดยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยตั้งแต่เดือน มิ.ย. 42 เป็นต้นมา.(รอยเตอร์ 23)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 23ส.ค. 43 40.601(40.778)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน)ณสิ้นวันทำการ 23ส.ค.43 ซื้อ 40.4257 (40.5718) ขาย 40.7239 (40.8805)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,300 (5,300) ขาย 5,400 (5,400)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 29.46 (28.52)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.79 (16.79) ดีเซลหมุนเร็ว 13.89 (13.89)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-