แท็ก
ตลาดทุน
ตามที่รัฐบาลได้จัดให้มีการประชุมหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องในด้านตลาดทุนทั้งภาคราชการและเอกชนเพื่อระดมความคิดเห็นในการกำหนดแนวทางการฟื้นฟูและพัฒนาตลาดทุนไทยเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2544 ณ โรงแรมรีเจนท์ กรุงเทพ ซึ่งที่ประชุมได้เน้นหามาตรการที่ปฏิบัติได้จริงและทันทีเพื่อให้เกิดผลในการฟื้นฟูและพัฒนาตลาดทุนไทยโดยเร็วที่สุด และได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณากำหนดรายละเอียดหรือดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ นั้น
ในวันนี้ (17 พฤษภาคม 2544) รัฐมนตรีว่ากระกระทรวงการคลังได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดมาสรุปผลความคืบหน้าการดำเนินการที่ได้รับมอบหมายไป เพื่อเร่งรัดดำเนินมาตรการต่างๆ ให้ออกมาและเกิดผลโดยเร็ว ซึ่งมีผลสรุป ดังนี้
1. มาตรการที่ได้พิจารณาเสร็จเรียบร้อยแล้วและจะนำเสนอรัฐมนตรีรับทราบและพิจารณาให้ความเห็นชอบ ในวันอังคารที่ 22 พฤษภาคม 2544 ประกอบด้วย
1.1 มาตรการด้านการพัฒนตลาดตราสารทุน
(1) ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล เพื่อจูงใจให้บริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ กระทรวงการคลังจะเสนอ พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร สำหรับ 3 กรณี
ก. บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อยู่ในปัจจุบัน : ลดอัตราภาษีจากร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 25 เฉพาะส่วนที่มีกำไรสุทธิไม่เกิน 300 ล้านบาท เป็นเวลา 5 รอบระยะเวลาบัญชี
ข. บริษัทใหม่ที่จะขอเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ : ลดอัตราภาษีจากร้อย 30 เป็นร้อยละ 25 เป็นเวลา 5 รอบระยะเวลาบัญชี
ค. บริษัทที่เข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ใหม่ (ตลาด MAI) : ลดอัตราภาษีจากร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 25 เป็นเวลา 5 รอบระยะเวลาบัญชี
ทั้งนี้ บริษัทใหม่ที่จะเข้ามาจดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์ฯ และบริษัทที่เข้าจดทะเบียน ในตลาด MAT จะต้องจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือ ตลาด MAI ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดทรัพย์ภายใน 3 ปี นับแต่วันที่พระราชกฤษฎาใช้บังคับ ซึ่งคาดว่าจะมีผลใช้บังคับตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชี 1 มกราคม 2545
(2) การออกหุ้นปันผล
กรมสรรพกรจะกำหนดวิธีการคำนวณราคาหุ้นปันผลในการเสียภาษี โดยให้ราคาหุ้นปันผลเท่ากับส่วนของกำไรสะสมที่จัดสรรเป็นหุ้นปันผลหารด้วยจำนวนหุ้นปันผล ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนให้บริษัทมีทางเลือกในการจ่ายผลตอบแทนให้แก่ผู้ถือหุ้นโดยการออกหุ้นปันผลแทนการจ่ายเงินปันผล ซึ่งจะส่งผลดีต่อสภาพคล่องของบริษัทในภาวะที่บริษัทมีปัญหาสภาพคล่องขณะเดียวกันผู้ถือหุ้นยังคงได้รับผลตอบแทนจากการลงทุน
(3) การแก้ไขหลักเกณฑ์ของการยกเว้นภาษีเงินได้กรณีกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
กรมสรรพกรจะออกประกาศอธิบดีกรมสรรพากรแก้ไขหลักเกณฑ์ใน 3 เรื่อง คือ
1) ให้ผู้ซื้อหน่วยลงทุนใน RMF สามารถโอนย้ายเงินจากกองทุนหนึ่งไปยังอีกกองทุนหนึ่งได้โดยยังคงได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเช่นเดิม
2) ผู้ถือหน่วยลงทุนมาแล้วไม่ต่ำกว่า 5 ปี เมื่อครบอายุ 55 ปี หรือทุพพลภาพ สามารถถือหน่วยลงทุนไปได้ โดยจะซื้อหน่วยลงทุนเพิ่มเติมบางส่วนหรือไม่ก็ได้
3) กรณีซื้อหน่วยลงทุนไม่ต่อเนื่องตามเงื่อนไข ให้คืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เคยได้รับเฉพาะในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยไม่มีภาระเบี้ยปรับ และหากได้มีการยื่นแบบแสดงรายการภาษีปรับปรุงการเสียภาษีช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ให้ถูกต้องภายในเดือนมีนาคม ก็จะได้รับสิทธิยกเว้นเพิ่มทั้งหมดด้วยและหากยังคงประสงค์จะปฏิบัติให้ถูกต้องต่อไป ก็ยังคงสามารถนับอายุถือหน่วยลงทุนต่อเนื่องไปได้และยังคงได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีด้วย
การจัดตั้ง RMF เป็นมาตรการจูงใจประชาชนทั่วไปเพิ่มการออมระยะยาว อันจะเป็นการส่งเสริมการระดมทุนและตลาดทุนอีกทางหนึ่ง
4) การลดภาระและค่าใช้จ่ายของบริษัทที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ใหม่ (MAI)
สำนักงาน ก.ล.ต. จะแก้ไขประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. เรื่องการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ และเรื่องการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์เพื่อยกเลิกการมีที่ปรึกษาทางการเงินในการประเมินมูลค่าของสินทรัพย์ (Due Diligence) ทั้งนี้ เพื่อเป็นมาตรการเสริมในการจูงใจให้บริการขนาดกลางและขนาดเล็กเข้าจดทะเบียนในตลาด MAI
5) การจูงใจให้บริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ให้คณะทำงานนำโดยตลาดหลักทรัพย์กำหนดโครงสร้างให้เชื่อมโยงระหว่างการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจาก BOI และการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
6) การแก้ไขอุปสรรคในเรื่องการเปิดเผยข้อมูลและมาตรฐานบัญชี
คณะทำงานซึ่งมีศาสตราจารย์สังเวียน อินทรวิชัย ที่ปรึกษารัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธาน ได้มีหนังสือถึงคณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี(ก.บช.) เพื่อขอให้พิจารณาทบทวนมาตรฐานบัญชีที่ใช้อยู่ในปัจจุบันที่มีปัญหาในทางปฏิบัติ เช่น เรื่องการด้อยค่าของสินทรัพย์ เรื่องการบัญชีสำหรับการปรับโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหา และเรื่องงบการเงินและการบัญชี สำหรับเงินลงทุนในบริษัทย่อย เป็นต้น และขอให้ ก.บช.กำหนดแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน รวมทั้งผ่อนผันคุณสมบัติผู้สอบบัญชีบริษัทจดทะเบียน นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.จะปรับปรุงหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับชื่อลูกค้ารายใหญ่ และหลักเกณฑ์การประเมินทรัพย์สินให้สอดคล้องกับภาวการณ์ปัจจุบันและสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ โดยกำหนดจะนำเสนอหลักเกณฑ์ให้คณะกรรมการ ก.ล.ต.พิจารณาในการประชุมในวันที่ 25 พฤษภาคม 2544
1.2 มาตรการด้านการพัฒนาตลาดตราสารหนี้
(1) การแก้ไขปัญหาของการทำธุรกิจ Securititsation
กระทรวงการคลังจะดำเนินการใน 2 เรื่องคือ
1) เสนอออกกฎกระทรวงตามความในประมวลรัษฎากร ให้ลูกหนี้ที่จะต้องชำระดอกเบี้ยให้สถาบันการเงิน ถ้าหนี้นั้นโอนมาให้นิติบุคคลเฉพาะกิจ (Special Parpose Vehicle-SPV) เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ให้ยังคงหักค่าลดหย่อนดอกเบี้ยการกู้ยืมเงินเพื่อที่อยู่อาศัยได้เช่นเดียวกับการชำระดอกเบี้ยให้สถาบันการเงินตามที่เคยมีสิทธิอยู่เดิม
2) อนุญาตให้ SPV นำสำรองมาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลได้แต่ SPV ยังคงต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนให้เกิดธุรกรรม Securitisation อันเป็นธุรกรรมที่ช่วยในการจำหน่ายสินเชื่อจากระบบธนาคารพาณิชย์ไปสู่ตลาดทุน ทำให้กลไกการทำงานของระบบการเงินมีความสมดุลยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันก็ช่วยให้ผู้ลงทุนมีตราสารที่มีคุณภาพดีได้เลือกลงทุนมากขึ้น
(2) การแก้ไขปัญหาของการทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนพันธบัตร
กระทรวงการคลังได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกายกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะแก่ผู้กู้ในการโอนหลักทรัพย์ไปเป็นประกันการกู้ยืม ในการทำธุรกิจในตลาดซื้อคืนพันธบัตร (Repo) เพื่อเพิ่มสภาพคล่องแก่สถาบันการเงินและเป็นการสร้างอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (Bench Mark) ในตลาด ซึ่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวจะเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเข้าคณะรัฐมนตรีในวันที่ 23 พฤษภาคม 2544
(3) การแก้ไขปัญหาการซื้อขายตราสารหนี้ใน 2 เรื่อง ได้แก่
1) กระทรวงการคลังจะเสนอร่างพระราชกฤษฎีกาให้จัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะของการซื้อขายตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ โดยธนาคาร ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และเครดิตฟองซิเอร์ และกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ บนฐานสุทธิ (net) ของแต่ละเดือนภาษีเพื่อส่งเสริมสภาพคล่องในตลาดรองตราสารหนี้และลดต้นทุนในการทำธุรกิจค้าตราสารหนี้
2) แก้ไขปัญหาความซ้ำซ้อนในการจัดเก็บภาษีจากดอกเบี้ย ส่วนลด และ Capital Gain โดยให้คงเก็บภาษี Capital Gain เมื่อมีการโอนเปลี่ยนมือตราสารหนี้และมีดอกเบี้ย เมื่อผู้ถือครองคนสุดท้ายได้รับดอกเบี้ย ให้เสียภาษีจากดอกเบี้ยที่ได้รับตามระยะเวลาที่ถือครองจริง
2. มาตรการที่ได้พิจารณาเรียบร้อยแล้วและจะต้องติดตามความคืบหน้า
2.1 มาตรการด้านตลาดตราสารทุน
(1) การนำรัฐวิสาหกิจเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
สำนักรัฐวิสาหกิจและหลักทรัพย์ของรัฐ กระทรวงการคลัง ได้กำหนดจะนำรัฐวิสาหกิจ 2 แห่ง ได้แก่ บริษัทอินเตอร์เน็ต ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) และการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยภายในปีนี้ และจะกระจายหุ้นของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อยู่แล้วให้ประชาชนทั่วไปเพิ่มขึ้น
2.2 มาตรการด้านการพัฒนาตลาดตราสารหนี้
(1) การออกกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ เพื่อสร้างความคล่องตัวและเพิ่มเครื่องมือในการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และสามารถออกตราสารหนี้ภาครัฐ ได้อย่างสม่ำเสมอ
(2) การแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ เพื่อแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องของการทำธุรกรรม Securitisation
2.3 มาตรการด้านการปรับโครงสร้างพื้นฐาน
(1) เพื่อเป็นการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ โดยการเพิ่มผู้ร่วมตลาด และทำให้เกิดการแข่งขันมากขึ้น กระทรวงการคลังจะแก้ไขกฎกระทรวงเพื่อผ่อนคลายคุณสมบัติของผู้รับใบอนุญาตค้าและจัดจำหน่ายตราสารหนี้เพื่อช่วยให้สถาบันการเงินที่ได้แก้ไขฐานะทางการเงินแล้ว สามารถขอใบอนุญาตค้าและจัดจำหน่ายตราสารหนี้ได้
(2) การออกกฎกระทรวงเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าตราสารหนี้ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการซื้อขายตราสารหนี้ และเพิ่มสภาพคล่องในการซื้อขายตราสารหนี้
(3) การออกกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (อนุพันธุ์) เพื่อช่วยผู้ลงทุนและผู้ค้ามีเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงเกี่ยวกับความผันผวนด้านราคาของหลักทรัพย์
(4) การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย ว่าด้วยหลักทรัพย์ฯ เพื่อการนำสื่ออิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการซื้อขายและส่งมอบตราสารหนี้ ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกในการซื้อขาย รวมทั้งช่วยในการบริหารการจัดเก็บภาษีจากการซื้อขายตราสารหนี้ด้วย
(5) การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์ฯ เพื่อเปิดโอกาสให้กองทุนรวมกู้ยืมเงินได้ ทั้งนี้เพื่อให้กองทุนรวมสามารถบริหารสภาพคล่องได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเปิดโอกาสให้กองทุนอสังหาริมทรัพย์ สามารถกู้ยืมเงินได้เพื่อกระตุ้นตลาดอสังหาริมทรัพย์ โดยอาจพิจารณาออกเป็นพระราชกำหนดต่อไป
(6) ให้ธนาคารพาณิชย์ซื้อขาย Interest rate derivatives ในตลาดหลักทรัพย์ได้ เพื่อช่วยให้การทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้านอกตลาดมีความคล่องตัวมากขึ้น
--ข่าวกระทรวงการคลัง กองกลาง สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 35/2544 25 พฤษภาคม 2544--
-อน-
ในวันนี้ (17 พฤษภาคม 2544) รัฐมนตรีว่ากระกระทรวงการคลังได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดมาสรุปผลความคืบหน้าการดำเนินการที่ได้รับมอบหมายไป เพื่อเร่งรัดดำเนินมาตรการต่างๆ ให้ออกมาและเกิดผลโดยเร็ว ซึ่งมีผลสรุป ดังนี้
1. มาตรการที่ได้พิจารณาเสร็จเรียบร้อยแล้วและจะนำเสนอรัฐมนตรีรับทราบและพิจารณาให้ความเห็นชอบ ในวันอังคารที่ 22 พฤษภาคม 2544 ประกอบด้วย
1.1 มาตรการด้านการพัฒนตลาดตราสารทุน
(1) ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล เพื่อจูงใจให้บริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ กระทรวงการคลังจะเสนอ พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร สำหรับ 3 กรณี
ก. บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อยู่ในปัจจุบัน : ลดอัตราภาษีจากร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 25 เฉพาะส่วนที่มีกำไรสุทธิไม่เกิน 300 ล้านบาท เป็นเวลา 5 รอบระยะเวลาบัญชี
ข. บริษัทใหม่ที่จะขอเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ : ลดอัตราภาษีจากร้อย 30 เป็นร้อยละ 25 เป็นเวลา 5 รอบระยะเวลาบัญชี
ค. บริษัทที่เข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ใหม่ (ตลาด MAI) : ลดอัตราภาษีจากร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 25 เป็นเวลา 5 รอบระยะเวลาบัญชี
ทั้งนี้ บริษัทใหม่ที่จะเข้ามาจดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์ฯ และบริษัทที่เข้าจดทะเบียน ในตลาด MAT จะต้องจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือ ตลาด MAI ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดทรัพย์ภายใน 3 ปี นับแต่วันที่พระราชกฤษฎาใช้บังคับ ซึ่งคาดว่าจะมีผลใช้บังคับตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชี 1 มกราคม 2545
(2) การออกหุ้นปันผล
กรมสรรพกรจะกำหนดวิธีการคำนวณราคาหุ้นปันผลในการเสียภาษี โดยให้ราคาหุ้นปันผลเท่ากับส่วนของกำไรสะสมที่จัดสรรเป็นหุ้นปันผลหารด้วยจำนวนหุ้นปันผล ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนให้บริษัทมีทางเลือกในการจ่ายผลตอบแทนให้แก่ผู้ถือหุ้นโดยการออกหุ้นปันผลแทนการจ่ายเงินปันผล ซึ่งจะส่งผลดีต่อสภาพคล่องของบริษัทในภาวะที่บริษัทมีปัญหาสภาพคล่องขณะเดียวกันผู้ถือหุ้นยังคงได้รับผลตอบแทนจากการลงทุน
(3) การแก้ไขหลักเกณฑ์ของการยกเว้นภาษีเงินได้กรณีกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
กรมสรรพกรจะออกประกาศอธิบดีกรมสรรพากรแก้ไขหลักเกณฑ์ใน 3 เรื่อง คือ
1) ให้ผู้ซื้อหน่วยลงทุนใน RMF สามารถโอนย้ายเงินจากกองทุนหนึ่งไปยังอีกกองทุนหนึ่งได้โดยยังคงได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเช่นเดิม
2) ผู้ถือหน่วยลงทุนมาแล้วไม่ต่ำกว่า 5 ปี เมื่อครบอายุ 55 ปี หรือทุพพลภาพ สามารถถือหน่วยลงทุนไปได้ โดยจะซื้อหน่วยลงทุนเพิ่มเติมบางส่วนหรือไม่ก็ได้
3) กรณีซื้อหน่วยลงทุนไม่ต่อเนื่องตามเงื่อนไข ให้คืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เคยได้รับเฉพาะในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยไม่มีภาระเบี้ยปรับ และหากได้มีการยื่นแบบแสดงรายการภาษีปรับปรุงการเสียภาษีช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ให้ถูกต้องภายในเดือนมีนาคม ก็จะได้รับสิทธิยกเว้นเพิ่มทั้งหมดด้วยและหากยังคงประสงค์จะปฏิบัติให้ถูกต้องต่อไป ก็ยังคงสามารถนับอายุถือหน่วยลงทุนต่อเนื่องไปได้และยังคงได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีด้วย
การจัดตั้ง RMF เป็นมาตรการจูงใจประชาชนทั่วไปเพิ่มการออมระยะยาว อันจะเป็นการส่งเสริมการระดมทุนและตลาดทุนอีกทางหนึ่ง
4) การลดภาระและค่าใช้จ่ายของบริษัทที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ใหม่ (MAI)
สำนักงาน ก.ล.ต. จะแก้ไขประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. เรื่องการขออนุญาตและการอนุญาตให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ และเรื่องการยื่นและการยกเว้นการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์เพื่อยกเลิกการมีที่ปรึกษาทางการเงินในการประเมินมูลค่าของสินทรัพย์ (Due Diligence) ทั้งนี้ เพื่อเป็นมาตรการเสริมในการจูงใจให้บริการขนาดกลางและขนาดเล็กเข้าจดทะเบียนในตลาด MAI
5) การจูงใจให้บริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ให้คณะทำงานนำโดยตลาดหลักทรัพย์กำหนดโครงสร้างให้เชื่อมโยงระหว่างการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจาก BOI และการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
6) การแก้ไขอุปสรรคในเรื่องการเปิดเผยข้อมูลและมาตรฐานบัญชี
คณะทำงานซึ่งมีศาสตราจารย์สังเวียน อินทรวิชัย ที่ปรึกษารัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธาน ได้มีหนังสือถึงคณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี(ก.บช.) เพื่อขอให้พิจารณาทบทวนมาตรฐานบัญชีที่ใช้อยู่ในปัจจุบันที่มีปัญหาในทางปฏิบัติ เช่น เรื่องการด้อยค่าของสินทรัพย์ เรื่องการบัญชีสำหรับการปรับโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหา และเรื่องงบการเงินและการบัญชี สำหรับเงินลงทุนในบริษัทย่อย เป็นต้น และขอให้ ก.บช.กำหนดแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน รวมทั้งผ่อนผันคุณสมบัติผู้สอบบัญชีบริษัทจดทะเบียน นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.จะปรับปรุงหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับชื่อลูกค้ารายใหญ่ และหลักเกณฑ์การประเมินทรัพย์สินให้สอดคล้องกับภาวการณ์ปัจจุบันและสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ โดยกำหนดจะนำเสนอหลักเกณฑ์ให้คณะกรรมการ ก.ล.ต.พิจารณาในการประชุมในวันที่ 25 พฤษภาคม 2544
1.2 มาตรการด้านการพัฒนาตลาดตราสารหนี้
(1) การแก้ไขปัญหาของการทำธุรกิจ Securititsation
กระทรวงการคลังจะดำเนินการใน 2 เรื่องคือ
1) เสนอออกกฎกระทรวงตามความในประมวลรัษฎากร ให้ลูกหนี้ที่จะต้องชำระดอกเบี้ยให้สถาบันการเงิน ถ้าหนี้นั้นโอนมาให้นิติบุคคลเฉพาะกิจ (Special Parpose Vehicle-SPV) เพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ให้ยังคงหักค่าลดหย่อนดอกเบี้ยการกู้ยืมเงินเพื่อที่อยู่อาศัยได้เช่นเดียวกับการชำระดอกเบี้ยให้สถาบันการเงินตามที่เคยมีสิทธิอยู่เดิม
2) อนุญาตให้ SPV นำสำรองมาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลได้แต่ SPV ยังคงต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนให้เกิดธุรกรรม Securitisation อันเป็นธุรกรรมที่ช่วยในการจำหน่ายสินเชื่อจากระบบธนาคารพาณิชย์ไปสู่ตลาดทุน ทำให้กลไกการทำงานของระบบการเงินมีความสมดุลยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันก็ช่วยให้ผู้ลงทุนมีตราสารที่มีคุณภาพดีได้เลือกลงทุนมากขึ้น
(2) การแก้ไขปัญหาของการทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนพันธบัตร
กระทรวงการคลังได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกายกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะแก่ผู้กู้ในการโอนหลักทรัพย์ไปเป็นประกันการกู้ยืม ในการทำธุรกิจในตลาดซื้อคืนพันธบัตร (Repo) เพื่อเพิ่มสภาพคล่องแก่สถาบันการเงินและเป็นการสร้างอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (Bench Mark) ในตลาด ซึ่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวจะเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเข้าคณะรัฐมนตรีในวันที่ 23 พฤษภาคม 2544
(3) การแก้ไขปัญหาการซื้อขายตราสารหนี้ใน 2 เรื่อง ได้แก่
1) กระทรวงการคลังจะเสนอร่างพระราชกฤษฎีกาให้จัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะของการซื้อขายตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ โดยธนาคาร ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และเครดิตฟองซิเอร์ และกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ บนฐานสุทธิ (net) ของแต่ละเดือนภาษีเพื่อส่งเสริมสภาพคล่องในตลาดรองตราสารหนี้และลดต้นทุนในการทำธุรกิจค้าตราสารหนี้
2) แก้ไขปัญหาความซ้ำซ้อนในการจัดเก็บภาษีจากดอกเบี้ย ส่วนลด และ Capital Gain โดยให้คงเก็บภาษี Capital Gain เมื่อมีการโอนเปลี่ยนมือตราสารหนี้และมีดอกเบี้ย เมื่อผู้ถือครองคนสุดท้ายได้รับดอกเบี้ย ให้เสียภาษีจากดอกเบี้ยที่ได้รับตามระยะเวลาที่ถือครองจริง
2. มาตรการที่ได้พิจารณาเรียบร้อยแล้วและจะต้องติดตามความคืบหน้า
2.1 มาตรการด้านตลาดตราสารทุน
(1) การนำรัฐวิสาหกิจเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
สำนักรัฐวิสาหกิจและหลักทรัพย์ของรัฐ กระทรวงการคลัง ได้กำหนดจะนำรัฐวิสาหกิจ 2 แห่ง ได้แก่ บริษัทอินเตอร์เน็ต ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) และการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยภายในปีนี้ และจะกระจายหุ้นของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อยู่แล้วให้ประชาชนทั่วไปเพิ่มขึ้น
2.2 มาตรการด้านการพัฒนาตลาดตราสารหนี้
(1) การออกกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ เพื่อสร้างความคล่องตัวและเพิ่มเครื่องมือในการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และสามารถออกตราสารหนี้ภาครัฐ ได้อย่างสม่ำเสมอ
(2) การแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ เพื่อแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องของการทำธุรกรรม Securitisation
2.3 มาตรการด้านการปรับโครงสร้างพื้นฐาน
(1) เพื่อเป็นการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ โดยการเพิ่มผู้ร่วมตลาด และทำให้เกิดการแข่งขันมากขึ้น กระทรวงการคลังจะแก้ไขกฎกระทรวงเพื่อผ่อนคลายคุณสมบัติของผู้รับใบอนุญาตค้าและจัดจำหน่ายตราสารหนี้เพื่อช่วยให้สถาบันการเงินที่ได้แก้ไขฐานะทางการเงินแล้ว สามารถขอใบอนุญาตค้าและจัดจำหน่ายตราสารหนี้ได้
(2) การออกกฎกระทรวงเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าตราสารหนี้ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการซื้อขายตราสารหนี้ และเพิ่มสภาพคล่องในการซื้อขายตราสารหนี้
(3) การออกกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (อนุพันธุ์) เพื่อช่วยผู้ลงทุนและผู้ค้ามีเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงเกี่ยวกับความผันผวนด้านราคาของหลักทรัพย์
(4) การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย ว่าด้วยหลักทรัพย์ฯ เพื่อการนำสื่ออิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการซื้อขายและส่งมอบตราสารหนี้ ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกในการซื้อขาย รวมทั้งช่วยในการบริหารการจัดเก็บภาษีจากการซื้อขายตราสารหนี้ด้วย
(5) การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์ฯ เพื่อเปิดโอกาสให้กองทุนรวมกู้ยืมเงินได้ ทั้งนี้เพื่อให้กองทุนรวมสามารถบริหารสภาพคล่องได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเปิดโอกาสให้กองทุนอสังหาริมทรัพย์ สามารถกู้ยืมเงินได้เพื่อกระตุ้นตลาดอสังหาริมทรัพย์ โดยอาจพิจารณาออกเป็นพระราชกำหนดต่อไป
(6) ให้ธนาคารพาณิชย์ซื้อขาย Interest rate derivatives ในตลาดหลักทรัพย์ได้ เพื่อช่วยให้การทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้านอกตลาดมีความคล่องตัวมากขึ้น
--ข่าวกระทรวงการคลัง กองกลาง สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 35/2544 25 พฤษภาคม 2544--
-อน-