พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรตั้งแต่ระหว่างวันที่ 7 - 13 ธ.ค. พ.ศ. 2548

ข่าวทั่วไป Wednesday December 7, 2005 14:14 —กรมอุตุนิยมวิทยา

          พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร  
วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ฉบับที่ 146/2548
คาดหมายลักษณะอากาศเพื่อการเกษตรใน 7 วันข้างหน้า
ตั้งแต่วันที่ 7-13 ธ.ค. 2548
ในช่วงวันที่ 7-8 ธ.ค. ความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงปกคลุมประเทศไทยตอนบน ส่งผลให้มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทยมีกำลังแรง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก มีอากาศหนาวเย็นโดยทั่วไป และอุณหภูมิลดลง 2-4 องศา สำหรับภาคใต้มีฝนหนาแน่นและมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ส่วนคลื่นใน อ่าวไทยมีกำลังแรง ในช่วงวันที่ 9-11 ธ.ค. ความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยจะอ่อนกำลังลงเล็กน้อย ทำให้มีหมอกหนาในหลายพื้นที่โดยเฉพาะในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับภาคใต้มีฝนลดลง ตั้งแต่วันที่ 12 ธ.ค. ความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยอีก ทำให้มีอุณหภูมิลดลง
ข้อควรระวัง
ในระยะนี้ภาคใต้ฝั่งตะวันออกตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วม ฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งในพื้นที่เสี่ยงภัย เกษตรกรควรป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ส่วนคลื่นลม ในอ่าวไทยมีกำลังแรง ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ เรือเล็กในอ่าวไทยตอนล่างควรงดออกจากฝั่ง
ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ ในระยะ 7 วันข้างหน้า มีดังนี้
เหนือ
ลักษณอากาศ
# ในช่วงวันที่ 7-8 ธ.ค. มีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศา ทำให้มีอากาศหนาวตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 13-15 องศา ส่วนทางตอนล่างของภาคอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 16-19 องศา สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-8 องศา ในช่วงวันที่ 9-11 ธ.ค. มีหมอกหนาในหลายพื้นที่ และอุณหภูมิจะสูงขึ้น เล็กน้อย ในช่วงวันที่ 12-13 ธ.ค. อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ผลกระทบต่อการเกษตร
# ในช่วงวันที่ 7-8 ธ.ค. มีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลง 3-5 องศา ทำให้มีอากาศหนาวตอนบนของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 13-15 องศา ส่วนทางตอนล่างของภาคอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 16-19 องศา สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-8 องศา ในช่วงวันที่ 9-11 ธ.ค. มีหมอกหนาในหลายพื้นที่ และอุณหภูมิจะสูงขึ้น เล็กน้อย ในช่วงวันที่ 12-13 ธ.ค. อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเอง และระวังโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจและโรคผิวหนัง นอกจากนี้ไม่ควรปล่อยผลผลิตการเกษตรทิ้งไว้กลางแจ้งข้ามคืนเพราะจะเปียกชื้นเสียหายเนื่องจากหมอกและน้ำค้างได้
ตะวันออกเฉียงเหนือ
ลักษณะอากาศ
# ในช่วงวันที่ 7-8 ธ.ค. มีหมอกในตอนเช้าและมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศา ทำให้มีอากาศหนาว อุณหภูมิ ต่ำสุด 10-16 องศา ส่วนทางตอนล่างของภาคอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 16-19 องศา สำหรับบริเวณยอดภูอากาศหนาวอุณหภูมิต่ำสุด 8-10 องศา ในช่วงวันที่ 9-11 ธ.ค. มีหมอกเพิ่มขึ้นในหลายพื้นที่ และอุณหภูมิจะสูงขึ้นเล็กน้อย ในช่วงวันที่ 12-13 ธ.ค. อุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม.
ผลกระทบต่อการเกษตร
# ในช่วงวันที่ 7-8 ธ.ค. มีหมอกในตอนเช้าและมีลมแรง อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศา ทำให้มีอากาศหนาว อุณหภูมิ ต่ำสุด 10-16 องศา ส่วนทางตอนล่างของภาคอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 16-19 องศา สำหรับบริเวณยอดภูอากาศหนาวอุณหภูมิต่ำสุด 8-10 องศา ในช่วงวันที่ 9-11 ธ.ค. มีหมอกเพิ่มขึ้นในหลายพื้นที่ และอุณหภูมิจะสูงขึ้นเล็กน้อย ในช่วงวันที่ 12-13 ธ.ค. อุณหภูมิจะลดลง 2-3 องศา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เนื่องจากอากาศหนาวเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือน นอกจากนี้ควรคลุมดินด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ฟางข้าว ใบไม้ และหญ้าแห้ง เพื่อรักษาความชื้นดิน
กลาง
ลักษณะอากาศ
#ในช่วงวันที่ 7 — 8 ธ.ค. อากาศเย็น อุณหภูมิลดลง 2-3 องศา และมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 18-21 องศา ในช่วงวันที่ 9-11 ธ.ค. อุณหภูมิจะสูงขึ้นเล็กน้อย และมีหมอกเพิ่มขึ้น ในช่วงวันที่ 12-13 ธ.ค. อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ผลกระทบต่อการเกษตร
# ในช่วงวันที่ 7 — 8 ธ.ค. อากาศเย็น อุณหภูมิลดลง 2-3 องศา และมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 18-21 องศา ในช่วงวันที่ 9-11 ธ.ค. อุณหภูมิจะสูงขึ้นเล็กน้อย และมีหมอกเพิ่มขึ้น ในช่วงวันที่ 12-13 ธ.ค. อุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.ในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลงเกษตรกรควรดูแลสุขภาพด้วย สำหรับสัตว์เลี้ยงควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่วนพื้นที่การเกษตรที่อยู่ นอกเขตชลประทานควรใช้น้ำอย่างประหยัดเนื่องจากระยะต่อไปปริมาณฝนจะมีน้อย
ตะวันออก
ลักษณะอากาศ
# ในช่วงวันที่ 7 — 8 ธ.ค. มีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิลดลง 2-3 องศา และอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 20 องศา ในช่วงวันที่ 9-11 ธ.ค. อุณหภูมิสูงขึ้นและมีหมอกเพิ่มขึ้นในหลายพื้นที่ ในช่วงวันที่ 12-13 ธ.ค.อุณหภูมิลดลง 1-2 องศา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม.
ผลกระทบต่อการเกษตร
# ในช่วงวันที่ 7 — 8 ธ.ค. มีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิลดลง 2-3 องศา และอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 20 องศา ในช่วงวันที่ 9-11 ธ.ค. อุณหภูมิสูงขึ้นและมีหมอกเพิ่มขึ้นในหลายพื้นที่ ในช่วงวันที่ 12-13 ธ.ค.อุณหภูมิลดลง 1-2 องศา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ระยะนี้มีฝนตกน้อย เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชและนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรคลุมบริเวณโคนต้นพืชสวนที่อยู่ในระยะเจริญเติบโต รวมทั้งควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรต่างๆ นอกจากนี้ควรวางแผนการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ตลอด ฤดูแล้ง
ใต้
ลักษณะอากาศ
# ฝั่งตะวันออกในช่วงวันที่ 7-8 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป 70-80 % ของพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป ในช่วงวันที่ 12-13 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป 70-80 % ของพื้นที่ และมี ฝนตกหนักบางพื้นที่ ตั้งแต่จังหวัดสงขลาลงไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม./ชม.ส่วนทางฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองกระจาย 40-60 % ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง โดยจะมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากในช่วงวันที่ 7-8 ธ.ค. ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
ผลกระทบต่อการเกษตร
# ฝั่งตะวันออกในช่วงวันที่ 7-8 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป 70-80 % ของพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป ในช่วงวันที่ 12-13 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป 70-80 % ของพื้นที่ และมี ฝนตกหนักบางพื้นที่ ตั้งแต่จังหวัดสงขลาลงไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม./ชม.ส่วนทางฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองกระจาย 40-60 % ของพื้นที่เกือบตลอดช่วง โดยจะมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากในช่วงวันที่ 7-8 ธ.ค. ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. เนื่องจากระยะนี้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ซึ่งอาจเกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งได้บางพื้นที่โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงภัย เกษตรกรควรป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวโดยขุดลอกคูคลองและทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูก เพื่อป้องกัน น้ำท่วมขังบริเวณโคนต้นทำให้รากขาดอากาศและตายได้ และระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราด้วย อนึ่ง ระยะนี้คลื่นลมในอ่าวไทยจะมีกำลังแรง ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ เรือเล็กในอ่าวไทยตอนล่างควรงดออกจากฝั่ง
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74
-สส-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ