นายเกริกไกร จีระแพทย์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศเปิดเผยว่า กรมการค้าต่างประเทศได้จัดให้มีการประมูลโควตากองกลางเครื่องนุ่งห่มปี 2543 สามครั้งแล้ว คือ โควตากองกลางเครื่องนุ่งห่มของเดือน มีนาคม พฤษภาคม และมิถุนายน 2543 ซึ่งได้ประมูลเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2543 ที่ผ่านมา ทั้งนี้การดำเนินการประมูลเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและสามารถประกาศผลการประมูลได้ภายในวันเดียว ผลการประมูลสรุปได้ดังนี้
1. ผู้เข้าร่วมยื่นประมูลมีมากขึ้น กล่าวคือ ผลการประมูลในเดือนมิถุนายน 2543เมื่อเปรียบเทียบกับการประมูลโควตาของเดือนพฤษภาคม 2543 และของเดือนมีนาคม 2543ปรากฏว่ามีผู้ส่งออกที่สนใจเข้ายื่นประมูลจำนวน 1,095 ราย เพิ่มขึ้นจากสองครั้งที่ผ่านมา คือ 924 ราย และ710 ราย ทั้งที่ปริมาณโควตาที่นำมาประมูลจะลดน้อยลงกว่าครั้งที่หนึ่งโดยมีผู้ชนะประมูลทั้งสิ้น 407 ราย เพิ่มขึ้นจากสองครั้งที่ผ่านมาเช่นกันคือ 338 รายและ 286 ราย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าวิธีประมูลเป็นการตอบสนองต่อผู้ส่งออกที่ต้องการใช้โควตาในการส่งออกที่แท้จริง
2. ราคาค่าตอบแทนโควตามีแนวโน้มลดลง กล่าวคือ ราคาค่าตอบแทนสูงสุดที่เสนอประมูลปรากฏว่า ระดับราคาของสินค้ารายการเดียวกันอยู่ในเกณฑ์ที่ลดลงจากการประมูลสองครั้งที่ผ่านมาโดยเฉพาะรายการที่มีความต้องการใช้โควตาสูง อาทิเช่น ประเทศสหรัฐอมริกา รายการ 347/348/847 (กางเกงผ้าฝ้าย) ราคาประมูลสูงสุดลดลงจาก 2,460 บาทต่อโหลและ 1,505 บาทต่อโหลเหลือเพียง 1,205 บาทต่อโหล รายการ 336/636 (ชุดสตรี) ราคาลดลงจาก 456 บาทต่อโหล และ 420 บาทต่อโหล เหลือเพียง 325 บาทต่อโหล และรายการ 438 (เสื้อเชิ้ตผ้าถัก) ราคาลดลง1,200 บาทต่อโหลเหลือเพียง 601 บาทต่อโหล แสดงให้เห็นว่าต้นทุนราคาที่เสนอประมูลของผู้ส่งออกมีแนวโน้มลดต่ำลงและมีแนวโน้มที่จะปรับตัวตามภาวะความต้องการใช้โควตา นอกจากนี้สินค้าบางรายการยังมีราคาที่ชนะประมูลแตกต่างกันมากและบางรายการราคาต่ำมาก แสดงว่าการประมูลโควตาเป็นไปอย่างเป็นธรรมและมีการแข่งขันอย่างสมบูรณ์
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยเพิ่มเติมว่า สำหรับผู้ส่งออกที่ได้รับจัดสรรโควตาโดยวิธีประมูลจะโอนโควตาในส่วนนี้ไม่ได้ และจะต้องส่งออกโควตาดังกล่าวด้วยตนเองให้แล้วเสร็จและขอหนังสือรับรองการส่งออกภายในสิ้นปีโควตา และเมื่อได้รับหนังสือรับรองการส่งออกแล้วจะต้องรายงานหลักฐาน ที่เกี่ยวกับการส่งออกต่อกรมการค้าต่างประเทศภายใน 90 วัน นับแต่วันออกหนังสือรับรองการส่งออก หลักฐานเกี่ยวกับการส่งออกที่ต้องรายงานมีดังนี้
สำเนาหนังสือรับรองการส่งออก
สำเนาคำร้องขอหนังสือรับรองการส่งออก (แบบ สท.6)
สำเนาใบขนสินค้าขาออกฉบับมุมน้ำเงินที่เจ้าหน้าที่ศุลการกรรับรองการรับบรรทุกสินค้าแล้ว
สำเนาใบตราส่งสินค้า (BILL OF LADDING / AIRWAY BILL)
สำเนาใบเข้าบัญชีของธนาคาร (CREDIT NOTE) ที่ให้ธนาคารรับรอง แล้วโดยมีใบเข้าบัญชีต้นฉบับมาแสดงด้วย
ทั้งนี้ ผู้ที่ไม่รายงานหลักฐานที่เกี่ยวกับการส่งออกภายในกำหนดข้างต้น หรือรายงานแต่พบว่าผู้ได้รับจัดสรรโควตาโดยวิธีประมูลไม่ได้เป็นผู้ส่งออกโควตานั้นด้วยตนเอง แต่นำโควตาที่ประมูลได้ดังกล่าวไปให้ผู้อื่นใช้ (สวมหัว) กรมการค้าต่างประเทศจะดำเนินการตามระเบียบที่กำหนดไว้ โดยการหักประวัติการส่งออก หรือยึดคืนโควตา หรือพักทะเบียน หรือเพิกถอนทะเบียนตามที่กำหนดไว้ในระเบียบต่อไป
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ สิงหาคม 2543--
-อน-
1. ผู้เข้าร่วมยื่นประมูลมีมากขึ้น กล่าวคือ ผลการประมูลในเดือนมิถุนายน 2543เมื่อเปรียบเทียบกับการประมูลโควตาของเดือนพฤษภาคม 2543 และของเดือนมีนาคม 2543ปรากฏว่ามีผู้ส่งออกที่สนใจเข้ายื่นประมูลจำนวน 1,095 ราย เพิ่มขึ้นจากสองครั้งที่ผ่านมา คือ 924 ราย และ710 ราย ทั้งที่ปริมาณโควตาที่นำมาประมูลจะลดน้อยลงกว่าครั้งที่หนึ่งโดยมีผู้ชนะประมูลทั้งสิ้น 407 ราย เพิ่มขึ้นจากสองครั้งที่ผ่านมาเช่นกันคือ 338 รายและ 286 ราย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าวิธีประมูลเป็นการตอบสนองต่อผู้ส่งออกที่ต้องการใช้โควตาในการส่งออกที่แท้จริง
2. ราคาค่าตอบแทนโควตามีแนวโน้มลดลง กล่าวคือ ราคาค่าตอบแทนสูงสุดที่เสนอประมูลปรากฏว่า ระดับราคาของสินค้ารายการเดียวกันอยู่ในเกณฑ์ที่ลดลงจากการประมูลสองครั้งที่ผ่านมาโดยเฉพาะรายการที่มีความต้องการใช้โควตาสูง อาทิเช่น ประเทศสหรัฐอมริกา รายการ 347/348/847 (กางเกงผ้าฝ้าย) ราคาประมูลสูงสุดลดลงจาก 2,460 บาทต่อโหลและ 1,505 บาทต่อโหลเหลือเพียง 1,205 บาทต่อโหล รายการ 336/636 (ชุดสตรี) ราคาลดลงจาก 456 บาทต่อโหล และ 420 บาทต่อโหล เหลือเพียง 325 บาทต่อโหล และรายการ 438 (เสื้อเชิ้ตผ้าถัก) ราคาลดลง1,200 บาทต่อโหลเหลือเพียง 601 บาทต่อโหล แสดงให้เห็นว่าต้นทุนราคาที่เสนอประมูลของผู้ส่งออกมีแนวโน้มลดต่ำลงและมีแนวโน้มที่จะปรับตัวตามภาวะความต้องการใช้โควตา นอกจากนี้สินค้าบางรายการยังมีราคาที่ชนะประมูลแตกต่างกันมากและบางรายการราคาต่ำมาก แสดงว่าการประมูลโควตาเป็นไปอย่างเป็นธรรมและมีการแข่งขันอย่างสมบูรณ์
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยเพิ่มเติมว่า สำหรับผู้ส่งออกที่ได้รับจัดสรรโควตาโดยวิธีประมูลจะโอนโควตาในส่วนนี้ไม่ได้ และจะต้องส่งออกโควตาดังกล่าวด้วยตนเองให้แล้วเสร็จและขอหนังสือรับรองการส่งออกภายในสิ้นปีโควตา และเมื่อได้รับหนังสือรับรองการส่งออกแล้วจะต้องรายงานหลักฐาน ที่เกี่ยวกับการส่งออกต่อกรมการค้าต่างประเทศภายใน 90 วัน นับแต่วันออกหนังสือรับรองการส่งออก หลักฐานเกี่ยวกับการส่งออกที่ต้องรายงานมีดังนี้
สำเนาหนังสือรับรองการส่งออก
สำเนาคำร้องขอหนังสือรับรองการส่งออก (แบบ สท.6)
สำเนาใบขนสินค้าขาออกฉบับมุมน้ำเงินที่เจ้าหน้าที่ศุลการกรรับรองการรับบรรทุกสินค้าแล้ว
สำเนาใบตราส่งสินค้า (BILL OF LADDING / AIRWAY BILL)
สำเนาใบเข้าบัญชีของธนาคาร (CREDIT NOTE) ที่ให้ธนาคารรับรอง แล้วโดยมีใบเข้าบัญชีต้นฉบับมาแสดงด้วย
ทั้งนี้ ผู้ที่ไม่รายงานหลักฐานที่เกี่ยวกับการส่งออกภายในกำหนดข้างต้น หรือรายงานแต่พบว่าผู้ได้รับจัดสรรโควตาโดยวิธีประมูลไม่ได้เป็นผู้ส่งออกโควตานั้นด้วยตนเอง แต่นำโควตาที่ประมูลได้ดังกล่าวไปให้ผู้อื่นใช้ (สวมหัว) กรมการค้าต่างประเทศจะดำเนินการตามระเบียบที่กำหนดไว้ โดยการหักประวัติการส่งออก หรือยึดคืนโควตา หรือพักทะเบียน หรือเพิกถอนทะเบียนตามที่กำหนดไว้ในระเบียบต่อไป
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ สิงหาคม 2543--
-อน-