ผลผลิตพืชผล ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2544 ลดลงร้อยละ 0.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว
และมันสำปะหลังลดลงร้อยละ 2.1 และ 5.7 ตามลำดับ เนื่องจากราคาที่เกษตรกรขายได้ลดลง จึงลดพื้นที่ปลูกหรือบางส่วนปรับ
เปลี่ยนพื้นที่ไปปลูกอ้อยแทน ขณะที่ผลผลิตอ้อยลดลงร้อยละ 16.4 เนื่องจากประสบกับการระบาดของหนอนกออ้อย และโรคใบขาว
ราคาสินค้าเกษตรสำคัญที่เกษตรกรขายได้ ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2544 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 จากระยะเดียวกัน
ของปีก่อนตามการเพิ่มขึ้นของราคาพืชผล และปศุสัตว์เป็นสำคัญ เนื่องจากการส่งออกมันสำปะหลัง และไก่เนื้ออยู่ในเกณฑ์ดี ขณะที่
ราคากุ้งกุลาดำลดลงถึงร้อยละ 22.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากอุปสงค์ในตลาดโลกที่ลดลงมาก ตามภาวะเศรษฐกิจโลก
ที่ถดถอย กอปรกับเกษตรกรเร่งจับกุ้งขาย เพราะคาดว่าราคากุ้งจะยังคงมีแนวโน้มลดลง
รายได้เกษตรกรที่ได้จากการขายพืชผลสำคัญในช่วง 9 เดือนแรกของปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคา
พืชผลเป็นสำคัญ ขณะที่ราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลก (เฉพาะ 12 ชนิดสินค้าที่มีผลกระทบต่อราคาสินค้าเกษตรของไทย) ปรับตัวลดลงร้อยละ
1.6 เป็นผลจากภาวะอุปสงค์ของสินค้าเกษตร ในตลาดโลกชะลอตัวลงจากภาวะเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะกุ้งที่ราคามีแนวโน้มลดลงมากในช่วง
2 เดือนสุดท้ายของไตรมาส 3
ปศุสัตว์ ผลผลิตในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2544 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน โดยเฉพาะไก่เนื้อ ตามการส่งออกที่ เพิ่มขึ้นมากจาก
ความต้องการบริโภค เพื่อทดแทนการบริโภคเนื้อวัวและสุกรที่ประสบปัญหาโรคระบาด ส่วนปริมาณผลผลิตสุกรและไข่ไก่ลดลงเมื่อเทียบกับช่วง
เดียวกันปีก่อน เนื่องจากผู้เลี้ยงมีการควบคุมปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาด เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาราคาตกต่ำ เช่นที่เกิดขึ้นในปี 2543
สำหรับปริมาณและมูลค่าการส่งออกเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์แปรรูปในช่วง 9 เดือนแรกของปี เพิ่มขึ้นถึง ร้อยละ 37.9 และ 39.4
เป็น 276,524 ตัน และ 23,493 ล้านบาท ตามลำดับ จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามความต้องการบริโภคจากสหภาพยุโรปและกลุ่มประเทศ
ในเอเชียเป็นหลัก ทั้งนี้ สมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย คาดว่าในปี 2544 ไทยจะสามารถส่งออกเนื้อไก่และ ผลิตภัณฑ์แปรรูปได้ปริมาณ
400,000 ตัน มูลค่า 34,640 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.2 และ 27 ตามลำดับ จากระยะเดียวกันปีก่อน
ดัชนีราคาปศุสัตว์ในช่วง 9 เดือนแรกของปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อนตามการเพิ่มขึ้นของราคาไก่เนื้อ
(+12.1%) สุกร (+6.6%) และไข่ไก่ (+9.9%) เนื่องจากปริมาณผลผลิตน้อยกว่าความต้องการบริโภคจากทั้งในและต่างประเทศ
ประมง ผลผลิตในช่วง 8 เดือนแรกของปีลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยปริมาณสัตว์น้ำขึ้นท่าในช่วง 8 เดือนแรกของปี
ลดลงร้อยละ 8.6 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากราคาน้ำมันยังคงอยู่ในระดับสูง กอปรกับชาวประมงประสบปัญหาการทำ
ประมงนอก น่านน้ำ เนื่องจากทางการอินโดนีเซียปรับระเบียบการทำประมงที่เข้มงวดมากขึ้น รวมทั้งรัฐยังไม่สามารถเจรจาเพื่อขอ
ให้ประเทศเมียนมาร์เปิดน่านน้ำให้เรือไทยเข้าไปทำประมงได้
สำหรับปริมาณการส่งออกอาหารทะเลแช่แข็ง ในช่วง 8 เดือนแรกของปี เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.5 เป็น 377,084 ตัน
จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยการ ส่งออกกุ้งสดและปลาสดแช่แข็งเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 และ 2.9 ตามลำดับจากระยะเดียวกันปีก่อน
แต่การ ส่งออกปลาหมึกสดแช่แข็งลดลงร้อยละ 1.7 จากระยะเดียวกันปีก่อน ขณะที่มูลค่าการส่งออกรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 จากช่วง
เดียวกันปีก่อน เป็น 55,947 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าการส่งออกปลา และปลาสดแช่แข็งเป็นสำคัญ เป็นที่น่าสังเกตว่า
มูลค่าการส่งออกกุ้งลดลงร้อยละ 1.9 จากระยะเดียวกันปีก่อน เป็นผลจากราคากุ้งในตลาดโลกโน้มต่ำลงมาก จากอุปสงค์ที่ลดลง
ตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก
ดัชนีราคาสินค้าสัตว์น้ำในช่วง 9 เดือนแรกของปี ลดลงร้อยละ 2.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน ตามการลดลงของราคา
กุ้งกุลาดำที่ลดลงร้อยละ 6.7 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน แม้ว่าราคาสัตว์น้ำอื่นๆ จะเพิ่มขึ้น
ราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ (หน่วย : บาท/ตัน)
2542 2543 2544
ทั้งปี ครึ่งแรก ของปี ครึ่งหลัง ของปี ทั้งปี ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ม.ค. - ก.ย.
ดัชนีราคารวม* 111.6 106.4 108.8 107.6 107.2 110.8 112 110
(2538 =100)
D% -15.4 -7.5 0.6 -3.5 1.3 3.6 2.7 2.5
ดัชนีราคาพืชผล* 105.6 98.8 100.4 99.6 98.1 102.3 104.1 101.5
D% -19.8 -9.6 -1.3 -5.6 -0.2 2.9 4 2.3
ข้าวเปลือกหอมมะลิ 6,892 7,073 7,626 7,349 6,243.60 5,739.70 5,166.30 5,716.50
D% -15.5 9.5 4.1 6.6 -8.3 -21.7 -36 -22.8
ข้าวเปลือกเจ้าชั้น 1 5,459 4,794 5,081 4,937 4,399.10 4,494.70 4,762.00 4,551.90
D% -18.2 -15.7 -2.9 -9.6 -7.5 -7 -9.4 -8
ยางพารา 17,930 21,010 21,960 21,480 21,400 23,390 21,120 21,970
D% -22.6 19.8 19.9 19.8 3.2 9.9 -2.1 3.7
ข้าวโพด 4,214 4,740 3,787 4,263 3,896.70 3,926.70 3,906.70 3,910.00
D% -7.8 14.6 -11.8 1.2 -18.4 -16.6 -6.5 -10.8
มันสำปะหลัง 770 640 610 620 670 840 1,010 840
D% -44.5 -24.6 -12.2 -19 10.4 24.9 69.7 34.4
ดัชนีราคาปศุสัตว์* 115.2 102.7 103.9 103.3 104.8 115.7 119.5 113.3
D% 2.4 -15.7 -4.4 -10.3 0.6 14.4 13.5 9.5
ดัชนีราคาปลาและสัตว์น้ำ* 127.1 134.3 140.5 137.4 138.2 133.1 129.4 133.6
D% -16.2 6.4 9.8 8.1 5.2 -3 -8.3 -2.2
ดัชนีราคาป่าไม้* 97.1 100.9 104.7 102.8 104.2 103.4 103.4 103.6
D% -6.3 -21.3 -17.4 -19.4 6 -0.1 -2.4 1.1
D% อัตราเพิ่มจากระยะเดียวกันปีก่อน
หมายเหตุ : * ปรับปีฐานจากปี 2527 เป็นปี 2538
ที่มา : ดัชนีราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ คำนวณจากข้อมูลราคาสินค้าเกษตรของกระทรวงเกษตรฯ,
กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์และองค์การสะพานปลา
ราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ (หน่วย : บาท/ตัน)
2540/41 2541/42 2542/43 2543/44 2544/45 %การเปลี่ยน
แปลงจากปีก่อน
ผลผลิตภาคเกษตรของไทย1/
ข้าวเปลือก 23.34 23.24 24.17 25.29 n.a. n.a.
นาปี 18.79 18.45 19.02 19.55 19.56 0.01
นาปรัง 4.55 4.79 5.16 5.74 n.a. n.a.
ยางพารา 2.07 2.16 2.35 2.42 2.44 0.8
ข้าวโพด 3.83 4.77 4.29 4.4 4.42 0.5
มันสำปะหลัง 15.59 16.51 19.06 18.27 17.81 -2.5
อ้อย 45.85 52.84 53.49 48.65 50 2.8
ถั่วเขียว 0.2 0.23 0.25 0.23 0.24 4.3
ถั่วเหลือง 0.34 0.32 0.32 0.33 0.33 --
ปาล์มน้ำมัน 2.68 2.46 3.51 3.26 3.73 14.4
กาแฟ 0.08 0.05 0.08 0.09 0.08 -11.1
ผลผลิตพืชผลสำคัญของโลก2/
ธัญพืชรวม
ผลผลิต 1,880.00 1,872.50 1,872.00 1,831.70 1,825.70 -0.3
การค้า 217.2 223.2 239.7 227.5 229.6 0.9
ข้าว
ผลผลิต 386.8 394 408.4 395.6 394.4 -0.3
การค้า 27.7 24.9 22.9 22.2 22.4 0.9
ข้าวโพด
ผลผลิต 575.4 605.7 606.9 586.4 579.2 -1.2
การค้า 62.9 68.6 73.2 74 73.4 -0.8
ถั่วเหลือง
ผลผลิต 158.1 159.8 159.9 172.1 175.4 1.9
การค้า 40.5 38.7 46.7 53.8 55.5 3.2
ยางพารา
ผลผลิต3/ 6.8 6.8 6.8 7.2 7.2 0.8
การค้า 6.5 6.7 7.3 7.3 7.5 3.4
หมายเหตุ : 1/ ตัวเลขประมาณการในเดือนกันยายน 2544
2/ ตัวเลขประมาณการในเดือนกันยายน 2544
3/ ผลผลิตยางเป็นปีปฏิทิน t+1 เช่นปี 2544/45 คือ ยางปี 2545 ผลิตช่วงเดือนมกราคม 2545 — ธันวาคม 2545
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร,สถาบันวิจัยยาง และสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย
World Agricultural Supply and Demand, USDA. Grain : World Markets and Trade, September 2001
Rubber Statistical Bulletin, August 2001
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
และมันสำปะหลังลดลงร้อยละ 2.1 และ 5.7 ตามลำดับ เนื่องจากราคาที่เกษตรกรขายได้ลดลง จึงลดพื้นที่ปลูกหรือบางส่วนปรับ
เปลี่ยนพื้นที่ไปปลูกอ้อยแทน ขณะที่ผลผลิตอ้อยลดลงร้อยละ 16.4 เนื่องจากประสบกับการระบาดของหนอนกออ้อย และโรคใบขาว
ราคาสินค้าเกษตรสำคัญที่เกษตรกรขายได้ ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2544 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 จากระยะเดียวกัน
ของปีก่อนตามการเพิ่มขึ้นของราคาพืชผล และปศุสัตว์เป็นสำคัญ เนื่องจากการส่งออกมันสำปะหลัง และไก่เนื้ออยู่ในเกณฑ์ดี ขณะที่
ราคากุ้งกุลาดำลดลงถึงร้อยละ 22.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากอุปสงค์ในตลาดโลกที่ลดลงมาก ตามภาวะเศรษฐกิจโลก
ที่ถดถอย กอปรกับเกษตรกรเร่งจับกุ้งขาย เพราะคาดว่าราคากุ้งจะยังคงมีแนวโน้มลดลง
รายได้เกษตรกรที่ได้จากการขายพืชผลสำคัญในช่วง 9 เดือนแรกของปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคา
พืชผลเป็นสำคัญ ขณะที่ราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลก (เฉพาะ 12 ชนิดสินค้าที่มีผลกระทบต่อราคาสินค้าเกษตรของไทย) ปรับตัวลดลงร้อยละ
1.6 เป็นผลจากภาวะอุปสงค์ของสินค้าเกษตร ในตลาดโลกชะลอตัวลงจากภาวะเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะกุ้งที่ราคามีแนวโน้มลดลงมากในช่วง
2 เดือนสุดท้ายของไตรมาส 3
ปศุสัตว์ ผลผลิตในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2544 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน โดยเฉพาะไก่เนื้อ ตามการส่งออกที่ เพิ่มขึ้นมากจาก
ความต้องการบริโภค เพื่อทดแทนการบริโภคเนื้อวัวและสุกรที่ประสบปัญหาโรคระบาด ส่วนปริมาณผลผลิตสุกรและไข่ไก่ลดลงเมื่อเทียบกับช่วง
เดียวกันปีก่อน เนื่องจากผู้เลี้ยงมีการควบคุมปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาด เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาราคาตกต่ำ เช่นที่เกิดขึ้นในปี 2543
สำหรับปริมาณและมูลค่าการส่งออกเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์แปรรูปในช่วง 9 เดือนแรกของปี เพิ่มขึ้นถึง ร้อยละ 37.9 และ 39.4
เป็น 276,524 ตัน และ 23,493 ล้านบาท ตามลำดับ จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามความต้องการบริโภคจากสหภาพยุโรปและกลุ่มประเทศ
ในเอเชียเป็นหลัก ทั้งนี้ สมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย คาดว่าในปี 2544 ไทยจะสามารถส่งออกเนื้อไก่และ ผลิตภัณฑ์แปรรูปได้ปริมาณ
400,000 ตัน มูลค่า 34,640 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.2 และ 27 ตามลำดับ จากระยะเดียวกันปีก่อน
ดัชนีราคาปศุสัตว์ในช่วง 9 เดือนแรกของปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 จากช่วงเดียวกันปีก่อนตามการเพิ่มขึ้นของราคาไก่เนื้อ
(+12.1%) สุกร (+6.6%) และไข่ไก่ (+9.9%) เนื่องจากปริมาณผลผลิตน้อยกว่าความต้องการบริโภคจากทั้งในและต่างประเทศ
ประมง ผลผลิตในช่วง 8 เดือนแรกของปีลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยปริมาณสัตว์น้ำขึ้นท่าในช่วง 8 เดือนแรกของปี
ลดลงร้อยละ 8.6 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน เนื่องจากราคาน้ำมันยังคงอยู่ในระดับสูง กอปรกับชาวประมงประสบปัญหาการทำ
ประมงนอก น่านน้ำ เนื่องจากทางการอินโดนีเซียปรับระเบียบการทำประมงที่เข้มงวดมากขึ้น รวมทั้งรัฐยังไม่สามารถเจรจาเพื่อขอ
ให้ประเทศเมียนมาร์เปิดน่านน้ำให้เรือไทยเข้าไปทำประมงได้
สำหรับปริมาณการส่งออกอาหารทะเลแช่แข็ง ในช่วง 8 เดือนแรกของปี เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.5 เป็น 377,084 ตัน
จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยการ ส่งออกกุ้งสดและปลาสดแช่แข็งเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 และ 2.9 ตามลำดับจากระยะเดียวกันปีก่อน
แต่การ ส่งออกปลาหมึกสดแช่แข็งลดลงร้อยละ 1.7 จากระยะเดียวกันปีก่อน ขณะที่มูลค่าการส่งออกรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 จากช่วง
เดียวกันปีก่อน เป็น 55,947 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าการส่งออกปลา และปลาสดแช่แข็งเป็นสำคัญ เป็นที่น่าสังเกตว่า
มูลค่าการส่งออกกุ้งลดลงร้อยละ 1.9 จากระยะเดียวกันปีก่อน เป็นผลจากราคากุ้งในตลาดโลกโน้มต่ำลงมาก จากอุปสงค์ที่ลดลง
ตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก
ดัชนีราคาสินค้าสัตว์น้ำในช่วง 9 เดือนแรกของปี ลดลงร้อยละ 2.2 จากระยะเดียวกันปีก่อน ตามการลดลงของราคา
กุ้งกุลาดำที่ลดลงร้อยละ 6.7 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน แม้ว่าราคาสัตว์น้ำอื่นๆ จะเพิ่มขึ้น
ราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ (หน่วย : บาท/ตัน)
2542 2543 2544
ทั้งปี ครึ่งแรก ของปี ครึ่งหลัง ของปี ทั้งปี ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ม.ค. - ก.ย.
ดัชนีราคารวม* 111.6 106.4 108.8 107.6 107.2 110.8 112 110
(2538 =100)
D% -15.4 -7.5 0.6 -3.5 1.3 3.6 2.7 2.5
ดัชนีราคาพืชผล* 105.6 98.8 100.4 99.6 98.1 102.3 104.1 101.5
D% -19.8 -9.6 -1.3 -5.6 -0.2 2.9 4 2.3
ข้าวเปลือกหอมมะลิ 6,892 7,073 7,626 7,349 6,243.60 5,739.70 5,166.30 5,716.50
D% -15.5 9.5 4.1 6.6 -8.3 -21.7 -36 -22.8
ข้าวเปลือกเจ้าชั้น 1 5,459 4,794 5,081 4,937 4,399.10 4,494.70 4,762.00 4,551.90
D% -18.2 -15.7 -2.9 -9.6 -7.5 -7 -9.4 -8
ยางพารา 17,930 21,010 21,960 21,480 21,400 23,390 21,120 21,970
D% -22.6 19.8 19.9 19.8 3.2 9.9 -2.1 3.7
ข้าวโพด 4,214 4,740 3,787 4,263 3,896.70 3,926.70 3,906.70 3,910.00
D% -7.8 14.6 -11.8 1.2 -18.4 -16.6 -6.5 -10.8
มันสำปะหลัง 770 640 610 620 670 840 1,010 840
D% -44.5 -24.6 -12.2 -19 10.4 24.9 69.7 34.4
ดัชนีราคาปศุสัตว์* 115.2 102.7 103.9 103.3 104.8 115.7 119.5 113.3
D% 2.4 -15.7 -4.4 -10.3 0.6 14.4 13.5 9.5
ดัชนีราคาปลาและสัตว์น้ำ* 127.1 134.3 140.5 137.4 138.2 133.1 129.4 133.6
D% -16.2 6.4 9.8 8.1 5.2 -3 -8.3 -2.2
ดัชนีราคาป่าไม้* 97.1 100.9 104.7 102.8 104.2 103.4 103.4 103.6
D% -6.3 -21.3 -17.4 -19.4 6 -0.1 -2.4 1.1
D% อัตราเพิ่มจากระยะเดียวกันปีก่อน
หมายเหตุ : * ปรับปีฐานจากปี 2527 เป็นปี 2538
ที่มา : ดัชนีราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ คำนวณจากข้อมูลราคาสินค้าเกษตรของกระทรวงเกษตรฯ,
กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์และองค์การสะพานปลา
ราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ (หน่วย : บาท/ตัน)
2540/41 2541/42 2542/43 2543/44 2544/45 %การเปลี่ยน
แปลงจากปีก่อน
ผลผลิตภาคเกษตรของไทย1/
ข้าวเปลือก 23.34 23.24 24.17 25.29 n.a. n.a.
นาปี 18.79 18.45 19.02 19.55 19.56 0.01
นาปรัง 4.55 4.79 5.16 5.74 n.a. n.a.
ยางพารา 2.07 2.16 2.35 2.42 2.44 0.8
ข้าวโพด 3.83 4.77 4.29 4.4 4.42 0.5
มันสำปะหลัง 15.59 16.51 19.06 18.27 17.81 -2.5
อ้อย 45.85 52.84 53.49 48.65 50 2.8
ถั่วเขียว 0.2 0.23 0.25 0.23 0.24 4.3
ถั่วเหลือง 0.34 0.32 0.32 0.33 0.33 --
ปาล์มน้ำมัน 2.68 2.46 3.51 3.26 3.73 14.4
กาแฟ 0.08 0.05 0.08 0.09 0.08 -11.1
ผลผลิตพืชผลสำคัญของโลก2/
ธัญพืชรวม
ผลผลิต 1,880.00 1,872.50 1,872.00 1,831.70 1,825.70 -0.3
การค้า 217.2 223.2 239.7 227.5 229.6 0.9
ข้าว
ผลผลิต 386.8 394 408.4 395.6 394.4 -0.3
การค้า 27.7 24.9 22.9 22.2 22.4 0.9
ข้าวโพด
ผลผลิต 575.4 605.7 606.9 586.4 579.2 -1.2
การค้า 62.9 68.6 73.2 74 73.4 -0.8
ถั่วเหลือง
ผลผลิต 158.1 159.8 159.9 172.1 175.4 1.9
การค้า 40.5 38.7 46.7 53.8 55.5 3.2
ยางพารา
ผลผลิต3/ 6.8 6.8 6.8 7.2 7.2 0.8
การค้า 6.5 6.7 7.3 7.3 7.5 3.4
หมายเหตุ : 1/ ตัวเลขประมาณการในเดือนกันยายน 2544
2/ ตัวเลขประมาณการในเดือนกันยายน 2544
3/ ผลผลิตยางเป็นปีปฏิทิน t+1 เช่นปี 2544/45 คือ ยางปี 2545 ผลิตช่วงเดือนมกราคม 2545 — ธันวาคม 2545
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร,สถาบันวิจัยยาง และสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย
World Agricultural Supply and Demand, USDA. Grain : World Markets and Trade, September 2001
Rubber Statistical Bulletin, August 2001
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-