กรุงเทพฯ--22 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ด้วยวันนี้ (22 มีนาคม 2543) นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า ตามที่กระทรวงจัดการทรัพยากรทางทะเลแห่งอินโดนีเซียมีนโยบายที่จะจัดระเบียบการประมงในน่านน้ำอินโดนีเซีย นั้นกระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงจาการ์ตาเพิ่มเติมว่า 1. รัฐบาลอินโดนีเซียเตรียมออกระเบียบใหม่เกี่ยวกับการออกใบอนุญาตทำประมงเพื่อป้องกันการลักลอบจับปลาของเรือประมงต่างชาติในน่านน้ำอินโดนีเซีย โดยคณะผู้เชี่ยวชาญ ภายใต้กระทรวงสำรวจทรัพยากรทางทะเลฯ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำลังเตรียมร่างกฎระเบียบ คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 4 เดือนข้างหน้า นอกจากนี้ อินโดนีเซียจะนำระบบ Monitoring Controlling Surveillance (MCS) มาใช้ในการปกป้องและรักษาความปลอดภัยในทรัพยากรทางทะเลของอินโดนีเซียด้วยโดยจะใช้เครือข่ายการควบคุมตรวจสอบด้วยระบบอิเลกโทรนิคและจัดเครื่องมืออุปกรณ์ให้กับหน่วยงานท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องด้วย2. สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงจาการ์ตาได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับสถานการณ์การทำประมงโดยผิดกฎหมายของเรือประมงไทยว่า ในระยะนี้ มีเรือประมงไทยถูกจับกุมอยู่เสมอในข้อหาทำประมงโดยมีใบอนุญาตปลอมบ้าง ทำประมงนอกเขตอนุญาต หรือใช้อวนลากซึ่งผิดกฎหมายอินโดนีเซียบ้าง การจับกุมแต่ละครั้งทำให้เสียชื่อเสียงของประเทศไทย ทั้งๆที่มีเรือประมงชาติอื่นที่มาทำธุรกิจประมงในอินโดนีเซียมากกว่าไทย แต่ไม่ปรากฎว่าทำผิดกฎหมาย นอกจากนี้ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงจาการ์ตาได้ตั้งข้อสังเกตด้วยว่า นับตั้งแต่เรือประมงไทย 56 ลำถูกจับกุมและควบคุม ตัวที่เกาะ ซาบัง เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2542เป็นต้นมา เรือประมงไทยที่ถูกทางการอินโดนีเซียจับกุม
ส่วนใหญ่จะเป็นเรือที่มาร่วมทุนกับบริษัทประมงของอินโดนีเซียและได้รับสัมปทานทำประมงในเขตเฉพาะที่ได้รับอนุญาตติดธงอินโดนีเซีย ปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องที่เรือประมงเหล่านี้จับปลานอกเขตที่ได้รับอนุญาตทั้งเจตนาหรือไม่มีเจตนาหรือใช้วิธีลากอวนที่กฎหมายอินโดนีเซียห้ามเด็ดขาด3. สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงจาการ์ตาได้ยืนยันด้วยว่า รัฐบาลอินโดนีเซียจะไม่มีการผ่อนปรนให้แก่ธุรกิจประมงไทยที่ละเมิดกฎหมายอินโดนีเซียอีก และจะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศจึงมีความห่วงกังวลว่า การกระทำความผิดซ้ำซากของเรือประมงไทยอาจจะสร้างความโกรธแค้นให้แก่ราษฎรอินโดนีเซียในท้องถิ่นซึ่งมีสิทธิ์ทำการประมงและจะมีผลกระทบต่อธุรกิจประมงไทยที่ปฏิบัติตามกฎหมายอินโดนีเซียอย่างถูกต้อง และขอเตือนเรือประมงไทยที่จะไปร่วมทุนทำประมงกับอินโดนีเซียเพิ่มเติมว่าอย่าติดต่อกับบริษัทประมงอินโดนีเซียที่เชื่อถือไม่ได้หรืออย่าหลงเชื่อเนื่องจากอาจถูกหลอกให้ใช้ใบอนุญาตปลอม--จบ--
ด้วยวันนี้ (22 มีนาคม 2543) นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า ตามที่กระทรวงจัดการทรัพยากรทางทะเลแห่งอินโดนีเซียมีนโยบายที่จะจัดระเบียบการประมงในน่านน้ำอินโดนีเซีย นั้นกระทรวงการต่างประเทศได้รับรายงานจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงจาการ์ตาเพิ่มเติมว่า 1. รัฐบาลอินโดนีเซียเตรียมออกระเบียบใหม่เกี่ยวกับการออกใบอนุญาตทำประมงเพื่อป้องกันการลักลอบจับปลาของเรือประมงต่างชาติในน่านน้ำอินโดนีเซีย โดยคณะผู้เชี่ยวชาญ ภายใต้กระทรวงสำรวจทรัพยากรทางทะเลฯ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำลังเตรียมร่างกฎระเบียบ คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 4 เดือนข้างหน้า นอกจากนี้ อินโดนีเซียจะนำระบบ Monitoring Controlling Surveillance (MCS) มาใช้ในการปกป้องและรักษาความปลอดภัยในทรัพยากรทางทะเลของอินโดนีเซียด้วยโดยจะใช้เครือข่ายการควบคุมตรวจสอบด้วยระบบอิเลกโทรนิคและจัดเครื่องมืออุปกรณ์ให้กับหน่วยงานท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องด้วย2. สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงจาการ์ตาได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับสถานการณ์การทำประมงโดยผิดกฎหมายของเรือประมงไทยว่า ในระยะนี้ มีเรือประมงไทยถูกจับกุมอยู่เสมอในข้อหาทำประมงโดยมีใบอนุญาตปลอมบ้าง ทำประมงนอกเขตอนุญาต หรือใช้อวนลากซึ่งผิดกฎหมายอินโดนีเซียบ้าง การจับกุมแต่ละครั้งทำให้เสียชื่อเสียงของประเทศไทย ทั้งๆที่มีเรือประมงชาติอื่นที่มาทำธุรกิจประมงในอินโดนีเซียมากกว่าไทย แต่ไม่ปรากฎว่าทำผิดกฎหมาย นอกจากนี้ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงจาการ์ตาได้ตั้งข้อสังเกตด้วยว่า นับตั้งแต่เรือประมงไทย 56 ลำถูกจับกุมและควบคุม ตัวที่เกาะ ซาบัง เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2542เป็นต้นมา เรือประมงไทยที่ถูกทางการอินโดนีเซียจับกุม
ส่วนใหญ่จะเป็นเรือที่มาร่วมทุนกับบริษัทประมงของอินโดนีเซียและได้รับสัมปทานทำประมงในเขตเฉพาะที่ได้รับอนุญาตติดธงอินโดนีเซีย ปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องที่เรือประมงเหล่านี้จับปลานอกเขตที่ได้รับอนุญาตทั้งเจตนาหรือไม่มีเจตนาหรือใช้วิธีลากอวนที่กฎหมายอินโดนีเซียห้ามเด็ดขาด3. สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงจาการ์ตาได้ยืนยันด้วยว่า รัฐบาลอินโดนีเซียจะไม่มีการผ่อนปรนให้แก่ธุรกิจประมงไทยที่ละเมิดกฎหมายอินโดนีเซียอีก และจะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศจึงมีความห่วงกังวลว่า การกระทำความผิดซ้ำซากของเรือประมงไทยอาจจะสร้างความโกรธแค้นให้แก่ราษฎรอินโดนีเซียในท้องถิ่นซึ่งมีสิทธิ์ทำการประมงและจะมีผลกระทบต่อธุรกิจประมงไทยที่ปฏิบัติตามกฎหมายอินโดนีเซียอย่างถูกต้อง และขอเตือนเรือประมงไทยที่จะไปร่วมทุนทำประมงกับอินโดนีเซียเพิ่มเติมว่าอย่าติดต่อกับบริษัทประมงอินโดนีเซียที่เชื่อถือไม่ได้หรืออย่าหลงเชื่อเนื่องจากอาจถูกหลอกให้ใช้ใบอนุญาตปลอม--จบ--