ธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) เริ่มมีบทบาทต่อสาขาเศรษฐกิจต่าง ๆ ของไทยเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้
การทำ E-Commerce สำหรับประเทศไทยนับว่าอยู่ในช่วงของการเริ่มต้น โดยมีจำนวนผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเพียง 8 แสนคน หรือคิดเป็นร้อยละ 1.3 ของประชากรในปัจจุบัน ทั้งนี้ สัดส่วนผู้ซื้อสินค้าและบริการออนไลน์ และมูลค่าตลาด E-Commerce ยังมีเพียง เล็กน้อยเมื่อเทียบกับตลาดโลก โดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกา ยุโรป ซึ่งเป็นผู้นำสำหรับตลาด E-Commerce
ประโยชน์ของการทำ E-Commerce ที่สำคัญ คือ ลดต้นทุนและค่าใช้จ่าย เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย ประหยัดเวลาและลดขั้นตอนทางการตลาด เปิดบริการได้ 24 ชั่วโมงและให้บริการได้ทั่วโลก รวมทั้งเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ตรงและรวดเร็ว
ธนาคารแห่งประเทศไทย เข้ามามีบทบาทและมีส่วนในการสนับสนุนการทำ E-Commerce เกี่ยวกับการพัฒนาระบบการหักบัญชีอิเล็กทรอนิกส์ เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมบนอินเตอร์เน็ต รวมทั้งการกำกับดูสถาบันการเงินในการทำ E-Commerce โดยอนุญาตให้สถาบันการเงินที่ให้บริการเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารในลักษณะโฆษณาและประชาสัมพันธ์ทางอินเตอร์เน็ตได้ แต่สำหรับการให้บริการที่เป็นลักษณะการทำธุรกิจจะต้องได้รับอนุญาตก่อนการดำเนินการ เพื่อให้เกิดความถูกต้องและปลอดภัยสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้อง
แนวโน้มการทำ E-Commerce คาดว่าจะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ตามจำนวนผู้ใช้อินเตอร์เน็ต จำนวนผู้ซื้อสินค้าและบริการออนไลน์ และมูลค่าการตลาด ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตามกระแสความนิยมใช้อินเตอร์เน็ตของโลก รวมทั้งการให้การสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐบาลและเอกชน
-ธนาคารแห่งประเทศไทย-
-สส-