1. บทนำ
การก่อตั้งองค์การการค้าโลก (WTO) มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดระเบียบทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศให้ชัดเจน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในระบบการค้าโลก ส่งเสริมนโยบายการค้าเสรี ซึ่ง 2 ปีที่ผ่านมา WTO ได้แสดงบทบาทที่ชัดเจนโดยเน้นความสำคัญภายใต้ระบบการค้าพหุภาคี
การประชุมระดับรัฐมนตรีองค์การการค้าโลก มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 9-13 ธันวาคม 2539 ณ ประเทศสิงคโปร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนและติดตามความคืบหน้าของการดำเนินการตามความตกลงการเจรจารอบอุรุกวัย นอกจากนั้น ยังมีการหยิบยกประเด็นใหม่ๆ ขึ้นหารือ ได้แก่ ประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อม(Environment) การลงทุน(Investment) นโยบายการแข่งขัน (Competition Policy) มาตรฐานแรงงาน (Labour Standard) และการคอรัปชั่น (Corruption) เป็นต้น
2. ระบบขององค์การการค้าโลก (The WTO System)
เน้นการเปิดตลาดและสร้างความแข็งแกร่งต่อระบบการค้าพหุภาคี (Market Openings and Strengthening of Multilateral System) โดยมีหน้าที่สำคัญ คือ
1. การเปิดตลาด2. การสร้างความเข้มแข็งในระบบการค้าพหุภาคี
1. การเปิดตลาด การดำเนินการเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ในการเปิดตลาด ได้แก่ การลดอัตราภาษีศุลกากรสินค้าอุตสาหกรรม ผลักดันให้มีการเจรจาเปิดเสรีสินค้าเกษตร การทำความตกลงเรื่องการค้าและบริการ ความตกลงว่าด้วยการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อการค้า เพิ่มความโปร่งใสภายใต้บทบัญญัติและกฎเกณฑ์ทางการค้า รวมทั้งสนับสนุนให้การค้ามีความเป็นธรรมยิ่งขึ้น
2. การสร้างความเข้มแข็งในระบบการค้าพหุภาคี โดยการจัดตั้งองค์กรยุติข้อพิพาททางการค้า รวมทั้งการกำกับดูแลการดำเนินนโยบายทางการค้าของประเทศสมาชิก (TPRM) รวมทั้งสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระหว่างองค์การระหว่างประเทศ ได้แก่ IMF ธนาคารโลก ภายใต้กรอบการค้าระหว่างประเทศ เพื่อให้นโยบายเศรษฐกิจโลกสอดคล้องกันยิ่งขึ้น
ปัจจุบันองค์การการค้าโลกซึ่งตั้งขึ้นแทนที่แกตต์ มีบทบาทสำคัญเรื่องการกำกับดูแลระบบการค้าโลกให้เสรีและเป็นธรรม ให้ประเทศสมาชิกดำเนินการให้เป็นไปตามผลการเจรจารอบอุรุกวัย และเสนอให้ประเทศสมาชิกจะต้องเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบภายในประเทศให้สอดคล้องกับความตกลงแกตต์ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและความเข้มแข็งในระบบการค้าพหุภาคี
3. แนวทางการค้าเสรีและความเป็นธรรมทางการค้า (Toward Freer and Fairer Trade)
วัตถุประสงค์หลักของการจัดตั้ง WTO เพื่อการค้าเสรีและให้เกิดความเป็นธรรมทางการค้า (fair trade)ในระบบเศรษฐกิจ โดยอยู่บนพื้นฐานของการแข่งขันที่เป็นธรรมของการค้าระหว่างประเทศ นอกจากนั้น WTO สร้างความเข้มแข็งให้กับขบวนการการยุติข้อพิพาททางการค้า รวมทั้งมีกลไกตรวจสอบและทบทวนนโยบายทางการค้า
ภายใต้ WTO การใช้มาตรการทางการค้าก่อให้เกิดความเป็นธรรม การดำเนินการภายใต้ความตกลงต่าง ๆ จึงมีความสำคัญมาก ประเด็นสำคัญของความเป็นธรรมทางการค้า คือ เรื่องการปฏิบัติเยี่ยงคนชาติและการไม่เลือกปฏิบัติ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของระบบการค้าพหุภาคี และกลายมาเป็นปัญหาพื้นฐานที่สำคัญของการตีความภายใต้ WTO ในประเด็นเรื่องความเป็นธรรมทางการค้า
4. บทบาทของเกาหลีในองค์การการค้าโลก (Korea's role in the WTO)
เกาหลีเป็นประเทศหนึ่งที่ได้รับประโยชน์จากการเปิดตลาดในระบบการค้าเสรี และเป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญในภูมิภาคแถบนี้ โดยเฉพาะในกลุ่ม APEC เนื่องจากความมีศักยภาพและเป็นประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจ โดยมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ขยายตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
นโยบายหลักของเกาหลี คือ การดำเนินการภายใต้การเจรจารอบอุรุกวัย และมีแนวโน้มการเปิดตลาดมากขึ้นในอนาคต ซึ่งเกาหลีเชื่อมั่นว่าการขยายตัวทางการค้าจะเกิดขึ้นได้เมื่อแต่ละ ประเทศมีแนวนโยบายการค้าเสรี
ในการสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบการค้า เกาหลีพยายามแก้ไขปัญหาความไม่เสมอภาคภายในภูมิภาคเพื่อไม่ให้เกิดการกีดกันทางการค้า และมีบทบาทสำคัญในเวทีการเจรจาการค้าระหว่างประเทศทั้งใน APEC และ ASEM โดยเน้นการเปิดเสรีในภูมิภาค APEC ให้เป็น "open regionalism" และการขยายตัวของ APEC จะต้องไม่เป็นการกีดกันทางการค้า ในขณะเดียวกัน ASEM ก็ต้องสร้างความร่วมมือและเพิ่มศักยภาพระหว่างประเทศสมาชิกในกลุ่มเศรษฐกิจต่างๆ ที่สำคัญ ได้แก่ EU NAFTA ASEAN และภูมิภาคอื่น ๆ
ประเด็นพื้นฐานสำคัญในการเปิดตลาดและสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบการค้าพหุภาคี
สร้างความเชื่อมั่นว่า การเปิดเสรีภายใต้ระบบการค้าพหุภาคีจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศสมาชิก ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก WTO ทั้งประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา ขยายความร่วมมือไปยังประเทศที่ไม่ใช่สมาชิกของ WTO เพื่อเพิ่มความหลากหลายภายใต้ระบบพหุภาคี ให้มีการรวมกลุ่มภูมิภาคเพื่อสนับสนุนระบบการค้าพหุภาคี5. ประเด็นการเจรจาที่เกาหลีให้ความสำคัญในการเจรจาใน WTO
(Korea's Priorities in the Future Agenda of the WTO)
เกาหลีได้มีการดำเนินการที่เหมาะสม (proper operation) ภายใต้ WTO โดยให้ความสำคัญและสนับสนุนกลไกการยุติข้อพิพาททางการค้าให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ภายใต้ WTO
ในการประชุมระดับรัฐมนตรีที่ประเทศสิงคโปร์เมื่อเดือนธันวาคม 2539 มีประเด็นการเจรจาครอบคลุมหลายเรื่อง เช่น กิจกรรมที่ได้มีการดำเนินการไปแล้ว เรื่องที่ยังค้างในการเจรจา (buil-in agenda) การค้าและสิ่งแวดล้อม การเปิดตลาดและประเด็นใหม่ ๆ โดยเกาหลีได้จัดความสำคัญของประเด็นเจรจา คือ
past issues : ประเด็นที่ได้เจรจาเสร็จสิ้นแล้ว present issues : ประเด็นที่อยู่ระหว่างการเจรจา future issues : ประเด็นใหม่ ๆ ในการเจรจาการปฏิบัติตามพันธกรณีภายใต้การเจรจารอบอุรุกวัย และเรื่องการเจรจาที่ค้างอยู่ (buit-in agenda) เป็นเรื่องที่ประเทศสมาชิกต้องให้ความร่วมมือ โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา และประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด การสนับสนุนการดำเนินการภายใต้ WTO เป็นการสร้างความแข็งแกร่งและความสัมพันธ์ระหว่างภูมิภาคในระบบการค้าพหุภาคี
นอกจากนี้ เกาหลีเห็นว่า สิ่งสำคัญที่จะทำให้ WTO เกิดความสมดุลในการเปิดตลาดและเป็นประโยชน์ต่อประเทศสมาชิก คือ เรื่องการลงทุน ซึ่งกลายเป็นประเด็นสำคัญในการเจรจาในอนาคต
6. ประเด็นการค้าใหม่ๆ (New Trade Issues)
6.1 การค้าและสิ่งแวดล้อม (Trade and Environment)
การเจรจาในเรื่องการค้าและสิ่งแวดล้อม เป็นการสร้างกฎเกณฑ์ในระบบการค้าพหุภาคี โดยการเจรจานำไปสู่การสรรหาความเหมาะสม (proper) ในการกำหนดกฎระเบียบภายใต้ WTO เนื่องจากมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมมีความสำคัญและส่งผลกระทบต่อการค้าและมาตรการทางการค้า ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้ง่ในรูปตัวสินค้าและการแข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศ ดังนั้น หลายๆ ประเทศพยายามหาแนวทางในการกำหนดกฎระเบียบที่เหมาะสมในเรื่องดังกล่าว และกลายเป็นประเด็นสำคัญในการเจรจาต่อไป
การเจรจาในเรื่องการค้าและสิ่งแวดล้อม ได้เริ่มเจรจามาอย่างต่อเนื่องและเข้มข้นยิ่งขึ้น ตั้งแต่มีการจัดตั้งคณะกรรมการทางการค้าและสิ่งแวดล้อม ซึ่งการเจรจาการค้าและสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องหนึ่งใน buit-in agenda ในการประชุมระดับรัฐมนตรีสิงคโปร์
ประเด็นสำคัญของการเจรจาการค้าและสิ่งแวดล้อม คือ มาตรการทางการค้าที่ใช้กับสินค้าที่มีความแตกต่างกันตามกรรมวิธีการผลิต (Process and Production Method : PPMs) ซึ่งมีลักษณะให้ความคุ้มครองที่เบี่ยงเบนขึ้นกับความต้องการที่จะคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ทำให้มีลักษณะเหมือนเลือกปฏิบัติ (discriminatory) ซึ่งการนำมาตรการทางการค้ามาใช้คุ้มครองสิ่งแวดล้อมตามกระบวนการผลิต จะส่งผลให้ประเทศกำลังพัฒนาไม่สามารถแข่งขันได้ รวมทั้งเกาหลีด้วย
ระบบเศรษฐกิจของเกาหลีมีลักษณะเป็นประเทศที่มีการเติบโตทางด้านการส่งออก และต้องพึ่งพาการค้าระหว่างประเทศมาก เกาหลีได้ร่างกฎระเบียบทางการค้าในระดับพหุภาคี เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเบี่ยงเบนในการใช้มาตรการทางการค้าเพื่อสิ่งแวดล้อม
6.2 การค้าและการลงทุน (Trade and Investment)
WTO และกลุ่มประเทศ OECD ได้พยายามจัดตั้งกฎระเบียบพหุภาคีด้านการลงทุน ถึงแม้ว่าการเจรจาภายใต้ WTO ยังไม่มีความคืบหน้ามากนัก หากกลุ่มประเทศ OECD ได้มีความคืบหน้าในการจัดทำตกลงพหุภาคีด้านการลงทุน (Multilateral Agreement on Investment : MAI) ซึ่งประเทศสมาชิกต่างอยู่ระหว่างการหารือทำข้อตกลงและคาดว่าจะมีการลงนามความตกลงในปีหน้า ซึ่งประเทศสมาชิก OECD ได้ตั้งมาตรฐานการเปิดเสรีด้านการลงทุนค่อนข้างสูง
ภายใต้สมมติฐานการพัฒนากฎระเบียบพหุภาคีด้านการลงทุนในอนาคต อยู่บนสมมติฐาน ดังนี้
1. มีการจัดทำความตกลงพหุภาคีด้านการลงทุน (MAI) ของประเทศสมาชิก OECD ซึ่งจะมีการเจรจาเรื่องดังกล่าวภายใต้กรอบ WTO ซึ่งประเทศสมาชิก WTO อาจศึกษารูปแบบความตกลงด้านการลงทุนจาก OECD
2. มีความเป็นไปได้ที่ความตกลง MAI จะได้รับการพิจารณาจาก WTO
3. มีการคัดค้านอย่างรุนแรงจากกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา แต่ประเทศที่พัฒนาแล้วมีท่าทีที่ชัดเจนที่สนับสนุนความตกลง MAI ดังนั้น ประเทศกำลังพัฒนาจำเป็นต้องมีการปรับตัวให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์การลงทุนระหว่างประเทศที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงในไม่ช้า
เกาหลีได้วางแนวทางการปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจโลก โดยเข้าร่วมเจรจาการเปิดเสรีด้านการลงทุนภายใต้กรอบพหุภาคี โดยการเข้าร่วมกับประเทศกลุ่ม OECD พัฒนาระเบียบและกฎเกณฑ์ด้านการลงทุน ซึ่งภายใต้ความตกลง MAI เกาหลีจะต้องเปิดเสรีด้านการลงทุนมากกว่าโครงการเปิดเสรีการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่เกาหลีดำเนินการอยู่
อย่างไรก็ตาม การที่เกาหลีเข้าร่วมเป็นสมาชิกความตกลงกลุ่ม OECD เกาหลีจะถูกผลักดันจากประเทศสมาชิกให้ปรับปรุงผ่อนคลาย และยกเลิกกฎระเบียบต่างๆ ด้านการค้า ดังนั้น เกาหลีพยายามผลักดันให้มีการจัดทำกฎระเบียบเรื่องการลงทุนภายใต้ WTO ซึ่งเกาหลีจะได้รับประโยชน์ เนื่องจากนำไปสู่การพัฒนาบรรยากาศการลงทุนในประเทศกำลังพัฒนาต่อไป
6.3 การค้าและนโยบายการแข่งขัน (Trade and Competition Policy)
เกาหลีสนับสนุนให้มีการเจรจาจัดทำกรอบพหุภาคีเรื่องนโยบายการแข่งขัน เพื่อให้เกิดความโปร่งใส และความแน่นอนในการทำการค้า และการลงทุนระหว่างประเทศ โดยอยู่บนหลักการพื้นฐานของการไม่เลือกปฏิบัติ
อย่างไรก็ตาม การเจรจาเรื่องกฎระเบียบด้านการแข่งขันจะต้องเปลี่ยนแปลงมากในเกาหลี เนื่องจากความเข้มงวดเรื่องกฎระเบียบของรัฐบาล ซึ่งปัจจุบันก่อให้เกิดปัญหาด้านการรวมอำนาจทางเศรษฐกิจที่เรียกว่า โครงสร้างอุตสาหกรรมแบบผูกขาด
บทบาทสำคัญการลงทุน คือ การรวมกลุ่มทางการค้าที่เข้มแข็งในระบบเศรษฐกิจ รวมทั้งขบวนการผลิต การจำหน่าย ซึ่งเกี่ยวโยงกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจในระบบโลก
การแข่งขัน ประกอบด้วยปัจจัยสำคัญหลายประการทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของกฎหมายการแข่งขันและนโยบายของประเทศสมาชิก
การที่ประเทศสมาชิกจะเห็นชอบกฎระเบียบด้านการแข่งขันจะต้องพิจารณาประเด็นสำคัญ ดังนี้
1) การส่งออกและนำเข้าโดยระบบ cartel
2) การควบคุมและกำกับการเปิดตลาดและการดำเนินธุรกิจของภาคเอกชน
3) Vertical restraints
4) Monopolies and the abuse of market dominance
5) Mergers
6) Subsidies in trade and anti competitive government actions
การเจรจาเรื่องกฎระเบียบด้านการแข่งขันจะต้องเปลี่ยนแปลงมากในเกาหลี เนื่องจากความเข้มงวดเรื่องกฎระเบียบของรัฐบาล ซึ่งปัจจุบันก่อให้เกิดปัญหาด้านการรวมอำนาจทางเศรษฐกิจที่เรียกว่า โครงสร้างอุตสาหกรรมแบบผูกขาด
6.4 การค้าและมาตรฐานแรงงาน (Trade and Labor Standards)
สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่เสนอให้มีการเจรจาเรื่องมาตรฐานแรงงานภายใต้ WTO ในปี 1994 Clinton ได้เสนอเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การเจรจาในกรอบ WTO แต่มีประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศไม่เห็นด้วย รวมทั้งอังกฤษ ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ อย่างไรก็ตาม เรื่องมาตรฐานแรงงานเป็นเรื่องที่สหรัฐอเมริกาให้ความสำคัญผลักดันเข้าสู่การเจรจา
ข้อคิดเห็นของเกาหลีในเรื่องมาตรฐานแรงงานค่อนข้างซับซ้อน ด้านหนึ่งเกาหลีก็สนับสนุนบทบาทการค้าเสรีภายใต้ระบบการค้าพหุภาคี แต่ความเชื่อมโยงระหว่างการค้าและมาตรฐานแรงงานยังไม่มีความชัดเจนในฐานะประเทศกำลังพัฒนา เกาหลีให้การสนับสนุนมาตรฐานแรงงานที่จะส่งเสริมและพัฒนาระบบเศรษฐกิจ โดยให้ความสำคัญกับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศซึ่งเชื่อมโยงระหว่างการค้าและมาตรฐานแรงงานว่า เป็นสิ่งจำเป็นในประเทศกำลังพัฒนา ปัจจุบันเกาหลีให้ความสำคัญในเรื่องแรงงานว่าเป็นขบวนการการพัฒนาเศรษฐกิจที่สำคัญ
6.5 Trade and Corruption
การติดสินบนและคอรัปชั่นเป็นประเด็นสำคัญประเด็นใหม่ในการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กลุ่มประเทศ OECD ให้ความสำคัญ และเห็นว่ามีผลกระทบอย่างมากต่อการดำเนินธุรกิจ และกลายเป็นอุปสรรคทางการค้าในที่สุด
เกาหลีกำลังอยู่ในขบวนการสุดท้ายของการเป็นสมาชิก OECD ซึ่งเมื่อเกาหลีเป็นสมาชิก OECD ก็จะต้องเข้าร่วมกำจัดการคอรัปชั่นในระบบธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งเกาหลีจะต้องมีกฎหมายบังคับใช้โดยตรงกับเจ้าหน้าที่ภายในประเทศ การแก้ปัญหาขั้นพื้นฐานอยู่ที่ประเทศเจ้าบ้าน (hosting country) จะต้องมีกฎหมายบังคับใช้ที่ก่อให้เกิดความเป็นธรรมในการแข่งขันภายในประเทศ
รวมทั้งความโปร่งใสและชัดเจนของบรรยากาศการลงทุนและการแข่งขันในระบบเศรษฐกิจเป็นสิ่งที่ทุกประเทศต้องการ เกาหลีเป็นประเทศหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการแก้ปัญหาคอรัปชั่นในระบบเศรษฐกิจโดยรวม
6.6 Regionalism
ตั้งแต่ปี 1990 เป็นต้นมา มีการรวมกลุ่มเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคเกิดขึ้นมากมายทั้งในแนวลึกและแนวกว้าง นับตั้งแต่มีการจัดตั้ง WTO ในปี 1995 มีการรวมกลุ่มเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคใหม่ ๆ เกิดขึ้น เพื่อสร้างอำนาจต่อรองทางการค้าและความเชื่อมั่นในระบบการค้าพหุภาคี กลุ่มเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคที่มีบทบาทสำคัญ ได้แก่ North America, Western Europe และ Asia Pacific ซึ่งเกาหลีให้ความสำคัญกับความร่วมมือใน APEC และ ASEM โดยเน้นว่ามีบทบาทสำคัญในการขยายความร่วมมือ และส่งเสริมการค้าระบบพหุภาคี
ก่อนหน้าที่เกาหลีจะหันมาให้ความสนใจร่วมมือกับประเทศกลุ่มอาเซียน เกาหลีมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น แต่จากการที่ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่ลดลงในกลุ่มดังกล่าว และถูกแทนที่ด้วยการขยายความสัมพันธ์ทางการค้ากับกลุ่มประเทศอาเซียน เนื่องจากเหตุผลสำคัญดังนี้
ตลาดในประเทศพัฒนาแล้วค่อนข้างคงที่ ในขณะที่ตลาดในอาเซียนเติบโตอย่างรวดเร็ว การแข่งขันในประเทศพัฒนาแล้วสูงมาก เมื่อเทียบกับประเทศอาเซียน ประเทศอาเซียน มีมาตรการดึงดูดการลงทุนที่น่าสนใจ อาทิ การให้การศึกษาแก่แรงงาน การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น การจัดตั้งเป็น เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) หรือ การลงทุนภายในอาเซียน (AIA) เป็นการส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ปัจจุบัน เกาหลีและอาเซียน พยายามขยายความร่วมมือระหว่างประเทศของประเทศสมาชิก เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในอนาคต ดังจะเห็นจากความร่วมมือในเวที APEC และ ASEM นอกจากนั้น ความร่วมมือระหว่างอาเซียน ด้าน ASEAN-Korea Dialogue และ ASEAN + three meeting ที่เป็นการชี้ให้เห็นถึงความสำคัญในการขยายความร่วมมือภายในภูมิภาค และโอกาสของการแบ่งปันผลประโยชน์ภายในภูมิภาคของประเทศสมาชิก
โครงการสำคัญภายใต้ APEC ที่ก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างเกาหลี-อาเซียน ได้แก่ Trade and Investment Liberlization and Facilitation (TILF) และ Economic and Technical Cooperation (Eco-Tech) ซึ่งทั้ง 2 ฝ่าย สนับสนุนแนวทางการเปิดเสรีอย่างค่อยเป็นค่อยไปมากกว่าการเติบโตอย่างรวดเร็ว (rapid pace) ตามข้อเสนอของสหรัฐฯ
Eco-Tech เป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างความร่วมมือเพื่อพัฒนาซึ่งทั้งเกาหลีและอาเซียน ต้องการความร่วมมือด้านนี้อย่างมาก โดยเฉพาะ การถ่ายทอดเทคโนโลยี เป็นประเด็นสำคัญภายใต้โครงการ Eco-Tech
บทสรุป
องค์การการค้าโลก (WTO) มีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจโลก เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งและความเป็นธรรมในระบบการค้า ลดการกีดกันและปกป้องทางการค้า
เกาหลีเป็นประเทศหนึ่ง ที่มีบทบาทสำคัญในเวทีการค้าโลก และได้รับประโยชน์จากการเป็นสมาชิก WTO เนื่องจากเกาหลีเป็นประเทศที่มีบทบาททั้งในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วและ
กำลังพัฒนา ซึ่งเกาหลีให้ความสำคัญประเด็นการลงทุนภายใต้ระบบ WTO
แนวโน้มวิสัยทัศน์ของ WTO ซึ่งต้องการทำให้ระบบเศรษฐกิจโลกเป็นตลาดเดียว "a single market economy" ภายใต้กฎระเบียบทางการค้าที่เป็นรูปแบบเดียวกัน "a single trade rule" โดยไม่มีอุปสรรคหรือข้อกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก
อย่างไรก็ตาม แนวความคิดดังกล่าวค่อนข้างจะอุดมคติ (idealistic) แต่เกาหลีก็ให้ความสนับสนุนการดำเนินการภายใต้กรอบ WTO อย่างเต็มที่ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศสมาชิก
ข้อคิดเห็น
เกาหลีเป็นประเทศหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในเวทีการค้าโลก ไม่ว่าจะเป็น APEC, ASEAN และ WTO จากเอกสารดังกล่าว จะเห็นว่า เกาหลีสนับสนุนการดำเนินนโยบายการค้าเสรี และให้ความสำคัญกับการเจรจาประเด็นใหม่ ๆ ภายใต้ WTO โดยเฉพาะการลงทุนโดยเสนอให้จัดทำกฎเกณฑ์พหุภาคีเรื่องการลงทุน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนต่างชาติ เนื่องจากเกาหลีเห็นว่าการลงทุนจากต่างชาติและการลงทุนระหว่างประเทศจะนำไปสู่การพัฒนาทางเศรษฐกิจต่อไป และเห็นว่าความสัมพันธ์ระหว่างการลงทุนและการค้าจะมีความเชื่อมโยงกันอย่างชัดเจน แต่ความตกลงว่าด้วยการลงทุนทั้งในระดับทวิภาคี และภูมิภาคในปัจจุบัน ยังมีข้อจำกัดต่อบรรยากาศการลงทุนที่มีเสถียรภาพ นอกจากนั้น ยังสนับสนุนการเจรจาประเด็นการค้าใหม่ ๆ ได้แก่ มาตรฐานแรงงาน นโยบายการแข่งขัน การค้าและการคอรัปชั่น เป็นต้น
ในส่วนของประเทศไทย สนับสนุนแนวคิดการเปิดเสรีทางการค้า โดยเห็นว่า การเจรจาควรครอบคลุมเรื่องต่าง ๆ และมีความสมดุล ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศสมาชิกมากที่สุด และเห็นว่า การลงทุนเป็นกลไกสำคัญที่ก่อให้เกิดการรวมกลุ่มเศรษฐกิจ และเป็นพลังขับเคลื่อนให้เกิดการแข่งขันที่มีประสิทธิภาพในตลาดโลก
สำหรับประเด็นการเจรจาใหม่ ๆ อาทิ การลงทุน นโยบายการแข่งขัน ควรศึกษาผลกระทบด้านบวกและด้านลบของการลงทุนจากต่างประเทศที่มีผลต่อดุลการค้าและดุลการชำระเงิน เป็นต้น
* สรุปและเรียบเรียงจาก Working Paper ของ Korea Institute Economic Policy โดย Chan-Hyuan,August 1996.
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-
การก่อตั้งองค์การการค้าโลก (WTO) มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดระเบียบทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศให้ชัดเจน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในระบบการค้าโลก ส่งเสริมนโยบายการค้าเสรี ซึ่ง 2 ปีที่ผ่านมา WTO ได้แสดงบทบาทที่ชัดเจนโดยเน้นความสำคัญภายใต้ระบบการค้าพหุภาคี
การประชุมระดับรัฐมนตรีองค์การการค้าโลก มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 9-13 ธันวาคม 2539 ณ ประเทศสิงคโปร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนและติดตามความคืบหน้าของการดำเนินการตามความตกลงการเจรจารอบอุรุกวัย นอกจากนั้น ยังมีการหยิบยกประเด็นใหม่ๆ ขึ้นหารือ ได้แก่ ประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อม(Environment) การลงทุน(Investment) นโยบายการแข่งขัน (Competition Policy) มาตรฐานแรงงาน (Labour Standard) และการคอรัปชั่น (Corruption) เป็นต้น
2. ระบบขององค์การการค้าโลก (The WTO System)
เน้นการเปิดตลาดและสร้างความแข็งแกร่งต่อระบบการค้าพหุภาคี (Market Openings and Strengthening of Multilateral System) โดยมีหน้าที่สำคัญ คือ
1. การเปิดตลาด2. การสร้างความเข้มแข็งในระบบการค้าพหุภาคี
1. การเปิดตลาด การดำเนินการเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ในการเปิดตลาด ได้แก่ การลดอัตราภาษีศุลกากรสินค้าอุตสาหกรรม ผลักดันให้มีการเจรจาเปิดเสรีสินค้าเกษตร การทำความตกลงเรื่องการค้าและบริการ ความตกลงว่าด้วยการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อการค้า เพิ่มความโปร่งใสภายใต้บทบัญญัติและกฎเกณฑ์ทางการค้า รวมทั้งสนับสนุนให้การค้ามีความเป็นธรรมยิ่งขึ้น
2. การสร้างความเข้มแข็งในระบบการค้าพหุภาคี โดยการจัดตั้งองค์กรยุติข้อพิพาททางการค้า รวมทั้งการกำกับดูแลการดำเนินนโยบายทางการค้าของประเทศสมาชิก (TPRM) รวมทั้งสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระหว่างองค์การระหว่างประเทศ ได้แก่ IMF ธนาคารโลก ภายใต้กรอบการค้าระหว่างประเทศ เพื่อให้นโยบายเศรษฐกิจโลกสอดคล้องกันยิ่งขึ้น
ปัจจุบันองค์การการค้าโลกซึ่งตั้งขึ้นแทนที่แกตต์ มีบทบาทสำคัญเรื่องการกำกับดูแลระบบการค้าโลกให้เสรีและเป็นธรรม ให้ประเทศสมาชิกดำเนินการให้เป็นไปตามผลการเจรจารอบอุรุกวัย และเสนอให้ประเทศสมาชิกจะต้องเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบภายในประเทศให้สอดคล้องกับความตกลงแกตต์ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและความเข้มแข็งในระบบการค้าพหุภาคี
3. แนวทางการค้าเสรีและความเป็นธรรมทางการค้า (Toward Freer and Fairer Trade)
วัตถุประสงค์หลักของการจัดตั้ง WTO เพื่อการค้าเสรีและให้เกิดความเป็นธรรมทางการค้า (fair trade)ในระบบเศรษฐกิจ โดยอยู่บนพื้นฐานของการแข่งขันที่เป็นธรรมของการค้าระหว่างประเทศ นอกจากนั้น WTO สร้างความเข้มแข็งให้กับขบวนการการยุติข้อพิพาททางการค้า รวมทั้งมีกลไกตรวจสอบและทบทวนนโยบายทางการค้า
ภายใต้ WTO การใช้มาตรการทางการค้าก่อให้เกิดความเป็นธรรม การดำเนินการภายใต้ความตกลงต่าง ๆ จึงมีความสำคัญมาก ประเด็นสำคัญของความเป็นธรรมทางการค้า คือ เรื่องการปฏิบัติเยี่ยงคนชาติและการไม่เลือกปฏิบัติ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของระบบการค้าพหุภาคี และกลายมาเป็นปัญหาพื้นฐานที่สำคัญของการตีความภายใต้ WTO ในประเด็นเรื่องความเป็นธรรมทางการค้า
4. บทบาทของเกาหลีในองค์การการค้าโลก (Korea's role in the WTO)
เกาหลีเป็นประเทศหนึ่งที่ได้รับประโยชน์จากการเปิดตลาดในระบบการค้าเสรี และเป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญในภูมิภาคแถบนี้ โดยเฉพาะในกลุ่ม APEC เนื่องจากความมีศักยภาพและเป็นประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจ โดยมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ขยายตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
นโยบายหลักของเกาหลี คือ การดำเนินการภายใต้การเจรจารอบอุรุกวัย และมีแนวโน้มการเปิดตลาดมากขึ้นในอนาคต ซึ่งเกาหลีเชื่อมั่นว่าการขยายตัวทางการค้าจะเกิดขึ้นได้เมื่อแต่ละ ประเทศมีแนวนโยบายการค้าเสรี
ในการสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบการค้า เกาหลีพยายามแก้ไขปัญหาความไม่เสมอภาคภายในภูมิภาคเพื่อไม่ให้เกิดการกีดกันทางการค้า และมีบทบาทสำคัญในเวทีการเจรจาการค้าระหว่างประเทศทั้งใน APEC และ ASEM โดยเน้นการเปิดเสรีในภูมิภาค APEC ให้เป็น "open regionalism" และการขยายตัวของ APEC จะต้องไม่เป็นการกีดกันทางการค้า ในขณะเดียวกัน ASEM ก็ต้องสร้างความร่วมมือและเพิ่มศักยภาพระหว่างประเทศสมาชิกในกลุ่มเศรษฐกิจต่างๆ ที่สำคัญ ได้แก่ EU NAFTA ASEAN และภูมิภาคอื่น ๆ
ประเด็นพื้นฐานสำคัญในการเปิดตลาดและสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบการค้าพหุภาคี
สร้างความเชื่อมั่นว่า การเปิดเสรีภายใต้ระบบการค้าพหุภาคีจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศสมาชิก ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก WTO ทั้งประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา ขยายความร่วมมือไปยังประเทศที่ไม่ใช่สมาชิกของ WTO เพื่อเพิ่มความหลากหลายภายใต้ระบบพหุภาคี ให้มีการรวมกลุ่มภูมิภาคเพื่อสนับสนุนระบบการค้าพหุภาคี5. ประเด็นการเจรจาที่เกาหลีให้ความสำคัญในการเจรจาใน WTO
(Korea's Priorities in the Future Agenda of the WTO)
เกาหลีได้มีการดำเนินการที่เหมาะสม (proper operation) ภายใต้ WTO โดยให้ความสำคัญและสนับสนุนกลไกการยุติข้อพิพาททางการค้าให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ภายใต้ WTO
ในการประชุมระดับรัฐมนตรีที่ประเทศสิงคโปร์เมื่อเดือนธันวาคม 2539 มีประเด็นการเจรจาครอบคลุมหลายเรื่อง เช่น กิจกรรมที่ได้มีการดำเนินการไปแล้ว เรื่องที่ยังค้างในการเจรจา (buil-in agenda) การค้าและสิ่งแวดล้อม การเปิดตลาดและประเด็นใหม่ ๆ โดยเกาหลีได้จัดความสำคัญของประเด็นเจรจา คือ
past issues : ประเด็นที่ได้เจรจาเสร็จสิ้นแล้ว present issues : ประเด็นที่อยู่ระหว่างการเจรจา future issues : ประเด็นใหม่ ๆ ในการเจรจาการปฏิบัติตามพันธกรณีภายใต้การเจรจารอบอุรุกวัย และเรื่องการเจรจาที่ค้างอยู่ (buit-in agenda) เป็นเรื่องที่ประเทศสมาชิกต้องให้ความร่วมมือ โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา และประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด การสนับสนุนการดำเนินการภายใต้ WTO เป็นการสร้างความแข็งแกร่งและความสัมพันธ์ระหว่างภูมิภาคในระบบการค้าพหุภาคี
นอกจากนี้ เกาหลีเห็นว่า สิ่งสำคัญที่จะทำให้ WTO เกิดความสมดุลในการเปิดตลาดและเป็นประโยชน์ต่อประเทศสมาชิก คือ เรื่องการลงทุน ซึ่งกลายเป็นประเด็นสำคัญในการเจรจาในอนาคต
6. ประเด็นการค้าใหม่ๆ (New Trade Issues)
6.1 การค้าและสิ่งแวดล้อม (Trade and Environment)
การเจรจาในเรื่องการค้าและสิ่งแวดล้อม เป็นการสร้างกฎเกณฑ์ในระบบการค้าพหุภาคี โดยการเจรจานำไปสู่การสรรหาความเหมาะสม (proper) ในการกำหนดกฎระเบียบภายใต้ WTO เนื่องจากมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมมีความสำคัญและส่งผลกระทบต่อการค้าและมาตรการทางการค้า ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้ง่ในรูปตัวสินค้าและการแข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศ ดังนั้น หลายๆ ประเทศพยายามหาแนวทางในการกำหนดกฎระเบียบที่เหมาะสมในเรื่องดังกล่าว และกลายเป็นประเด็นสำคัญในการเจรจาต่อไป
การเจรจาในเรื่องการค้าและสิ่งแวดล้อม ได้เริ่มเจรจามาอย่างต่อเนื่องและเข้มข้นยิ่งขึ้น ตั้งแต่มีการจัดตั้งคณะกรรมการทางการค้าและสิ่งแวดล้อม ซึ่งการเจรจาการค้าและสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องหนึ่งใน buit-in agenda ในการประชุมระดับรัฐมนตรีสิงคโปร์
ประเด็นสำคัญของการเจรจาการค้าและสิ่งแวดล้อม คือ มาตรการทางการค้าที่ใช้กับสินค้าที่มีความแตกต่างกันตามกรรมวิธีการผลิต (Process and Production Method : PPMs) ซึ่งมีลักษณะให้ความคุ้มครองที่เบี่ยงเบนขึ้นกับความต้องการที่จะคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ทำให้มีลักษณะเหมือนเลือกปฏิบัติ (discriminatory) ซึ่งการนำมาตรการทางการค้ามาใช้คุ้มครองสิ่งแวดล้อมตามกระบวนการผลิต จะส่งผลให้ประเทศกำลังพัฒนาไม่สามารถแข่งขันได้ รวมทั้งเกาหลีด้วย
ระบบเศรษฐกิจของเกาหลีมีลักษณะเป็นประเทศที่มีการเติบโตทางด้านการส่งออก และต้องพึ่งพาการค้าระหว่างประเทศมาก เกาหลีได้ร่างกฎระเบียบทางการค้าในระดับพหุภาคี เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเบี่ยงเบนในการใช้มาตรการทางการค้าเพื่อสิ่งแวดล้อม
6.2 การค้าและการลงทุน (Trade and Investment)
WTO และกลุ่มประเทศ OECD ได้พยายามจัดตั้งกฎระเบียบพหุภาคีด้านการลงทุน ถึงแม้ว่าการเจรจาภายใต้ WTO ยังไม่มีความคืบหน้ามากนัก หากกลุ่มประเทศ OECD ได้มีความคืบหน้าในการจัดทำตกลงพหุภาคีด้านการลงทุน (Multilateral Agreement on Investment : MAI) ซึ่งประเทศสมาชิกต่างอยู่ระหว่างการหารือทำข้อตกลงและคาดว่าจะมีการลงนามความตกลงในปีหน้า ซึ่งประเทศสมาชิก OECD ได้ตั้งมาตรฐานการเปิดเสรีด้านการลงทุนค่อนข้างสูง
ภายใต้สมมติฐานการพัฒนากฎระเบียบพหุภาคีด้านการลงทุนในอนาคต อยู่บนสมมติฐาน ดังนี้
1. มีการจัดทำความตกลงพหุภาคีด้านการลงทุน (MAI) ของประเทศสมาชิก OECD ซึ่งจะมีการเจรจาเรื่องดังกล่าวภายใต้กรอบ WTO ซึ่งประเทศสมาชิก WTO อาจศึกษารูปแบบความตกลงด้านการลงทุนจาก OECD
2. มีความเป็นไปได้ที่ความตกลง MAI จะได้รับการพิจารณาจาก WTO
3. มีการคัดค้านอย่างรุนแรงจากกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา แต่ประเทศที่พัฒนาแล้วมีท่าทีที่ชัดเจนที่สนับสนุนความตกลง MAI ดังนั้น ประเทศกำลังพัฒนาจำเป็นต้องมีการปรับตัวให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์การลงทุนระหว่างประเทศที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงในไม่ช้า
เกาหลีได้วางแนวทางการปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจโลก โดยเข้าร่วมเจรจาการเปิดเสรีด้านการลงทุนภายใต้กรอบพหุภาคี โดยการเข้าร่วมกับประเทศกลุ่ม OECD พัฒนาระเบียบและกฎเกณฑ์ด้านการลงทุน ซึ่งภายใต้ความตกลง MAI เกาหลีจะต้องเปิดเสรีด้านการลงทุนมากกว่าโครงการเปิดเสรีการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่เกาหลีดำเนินการอยู่
อย่างไรก็ตาม การที่เกาหลีเข้าร่วมเป็นสมาชิกความตกลงกลุ่ม OECD เกาหลีจะถูกผลักดันจากประเทศสมาชิกให้ปรับปรุงผ่อนคลาย และยกเลิกกฎระเบียบต่างๆ ด้านการค้า ดังนั้น เกาหลีพยายามผลักดันให้มีการจัดทำกฎระเบียบเรื่องการลงทุนภายใต้ WTO ซึ่งเกาหลีจะได้รับประโยชน์ เนื่องจากนำไปสู่การพัฒนาบรรยากาศการลงทุนในประเทศกำลังพัฒนาต่อไป
6.3 การค้าและนโยบายการแข่งขัน (Trade and Competition Policy)
เกาหลีสนับสนุนให้มีการเจรจาจัดทำกรอบพหุภาคีเรื่องนโยบายการแข่งขัน เพื่อให้เกิดความโปร่งใส และความแน่นอนในการทำการค้า และการลงทุนระหว่างประเทศ โดยอยู่บนหลักการพื้นฐานของการไม่เลือกปฏิบัติ
อย่างไรก็ตาม การเจรจาเรื่องกฎระเบียบด้านการแข่งขันจะต้องเปลี่ยนแปลงมากในเกาหลี เนื่องจากความเข้มงวดเรื่องกฎระเบียบของรัฐบาล ซึ่งปัจจุบันก่อให้เกิดปัญหาด้านการรวมอำนาจทางเศรษฐกิจที่เรียกว่า โครงสร้างอุตสาหกรรมแบบผูกขาด
บทบาทสำคัญการลงทุน คือ การรวมกลุ่มทางการค้าที่เข้มแข็งในระบบเศรษฐกิจ รวมทั้งขบวนการผลิต การจำหน่าย ซึ่งเกี่ยวโยงกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจในระบบโลก
การแข่งขัน ประกอบด้วยปัจจัยสำคัญหลายประการทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของกฎหมายการแข่งขันและนโยบายของประเทศสมาชิก
การที่ประเทศสมาชิกจะเห็นชอบกฎระเบียบด้านการแข่งขันจะต้องพิจารณาประเด็นสำคัญ ดังนี้
1) การส่งออกและนำเข้าโดยระบบ cartel
2) การควบคุมและกำกับการเปิดตลาดและการดำเนินธุรกิจของภาคเอกชน
3) Vertical restraints
4) Monopolies and the abuse of market dominance
5) Mergers
6) Subsidies in trade and anti competitive government actions
การเจรจาเรื่องกฎระเบียบด้านการแข่งขันจะต้องเปลี่ยนแปลงมากในเกาหลี เนื่องจากความเข้มงวดเรื่องกฎระเบียบของรัฐบาล ซึ่งปัจจุบันก่อให้เกิดปัญหาด้านการรวมอำนาจทางเศรษฐกิจที่เรียกว่า โครงสร้างอุตสาหกรรมแบบผูกขาด
6.4 การค้าและมาตรฐานแรงงาน (Trade and Labor Standards)
สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่เสนอให้มีการเจรจาเรื่องมาตรฐานแรงงานภายใต้ WTO ในปี 1994 Clinton ได้เสนอเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การเจรจาในกรอบ WTO แต่มีประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศไม่เห็นด้วย รวมทั้งอังกฤษ ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ อย่างไรก็ตาม เรื่องมาตรฐานแรงงานเป็นเรื่องที่สหรัฐอเมริกาให้ความสำคัญผลักดันเข้าสู่การเจรจา
ข้อคิดเห็นของเกาหลีในเรื่องมาตรฐานแรงงานค่อนข้างซับซ้อน ด้านหนึ่งเกาหลีก็สนับสนุนบทบาทการค้าเสรีภายใต้ระบบการค้าพหุภาคี แต่ความเชื่อมโยงระหว่างการค้าและมาตรฐานแรงงานยังไม่มีความชัดเจนในฐานะประเทศกำลังพัฒนา เกาหลีให้การสนับสนุนมาตรฐานแรงงานที่จะส่งเสริมและพัฒนาระบบเศรษฐกิจ โดยให้ความสำคัญกับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศซึ่งเชื่อมโยงระหว่างการค้าและมาตรฐานแรงงานว่า เป็นสิ่งจำเป็นในประเทศกำลังพัฒนา ปัจจุบันเกาหลีให้ความสำคัญในเรื่องแรงงานว่าเป็นขบวนการการพัฒนาเศรษฐกิจที่สำคัญ
6.5 Trade and Corruption
การติดสินบนและคอรัปชั่นเป็นประเด็นสำคัญประเด็นใหม่ในการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กลุ่มประเทศ OECD ให้ความสำคัญ และเห็นว่ามีผลกระทบอย่างมากต่อการดำเนินธุรกิจ และกลายเป็นอุปสรรคทางการค้าในที่สุด
เกาหลีกำลังอยู่ในขบวนการสุดท้ายของการเป็นสมาชิก OECD ซึ่งเมื่อเกาหลีเป็นสมาชิก OECD ก็จะต้องเข้าร่วมกำจัดการคอรัปชั่นในระบบธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งเกาหลีจะต้องมีกฎหมายบังคับใช้โดยตรงกับเจ้าหน้าที่ภายในประเทศ การแก้ปัญหาขั้นพื้นฐานอยู่ที่ประเทศเจ้าบ้าน (hosting country) จะต้องมีกฎหมายบังคับใช้ที่ก่อให้เกิดความเป็นธรรมในการแข่งขันภายในประเทศ
รวมทั้งความโปร่งใสและชัดเจนของบรรยากาศการลงทุนและการแข่งขันในระบบเศรษฐกิจเป็นสิ่งที่ทุกประเทศต้องการ เกาหลีเป็นประเทศหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการแก้ปัญหาคอรัปชั่นในระบบเศรษฐกิจโดยรวม
6.6 Regionalism
ตั้งแต่ปี 1990 เป็นต้นมา มีการรวมกลุ่มเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคเกิดขึ้นมากมายทั้งในแนวลึกและแนวกว้าง นับตั้งแต่มีการจัดตั้ง WTO ในปี 1995 มีการรวมกลุ่มเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคใหม่ ๆ เกิดขึ้น เพื่อสร้างอำนาจต่อรองทางการค้าและความเชื่อมั่นในระบบการค้าพหุภาคี กลุ่มเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคที่มีบทบาทสำคัญ ได้แก่ North America, Western Europe และ Asia Pacific ซึ่งเกาหลีให้ความสำคัญกับความร่วมมือใน APEC และ ASEM โดยเน้นว่ามีบทบาทสำคัญในการขยายความร่วมมือ และส่งเสริมการค้าระบบพหุภาคี
ก่อนหน้าที่เกาหลีจะหันมาให้ความสนใจร่วมมือกับประเทศกลุ่มอาเซียน เกาหลีมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น แต่จากการที่ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่ลดลงในกลุ่มดังกล่าว และถูกแทนที่ด้วยการขยายความสัมพันธ์ทางการค้ากับกลุ่มประเทศอาเซียน เนื่องจากเหตุผลสำคัญดังนี้
ตลาดในประเทศพัฒนาแล้วค่อนข้างคงที่ ในขณะที่ตลาดในอาเซียนเติบโตอย่างรวดเร็ว การแข่งขันในประเทศพัฒนาแล้วสูงมาก เมื่อเทียบกับประเทศอาเซียน ประเทศอาเซียน มีมาตรการดึงดูดการลงทุนที่น่าสนใจ อาทิ การให้การศึกษาแก่แรงงาน การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น การจัดตั้งเป็น เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) หรือ การลงทุนภายในอาเซียน (AIA) เป็นการส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ปัจจุบัน เกาหลีและอาเซียน พยายามขยายความร่วมมือระหว่างประเทศของประเทศสมาชิก เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในอนาคต ดังจะเห็นจากความร่วมมือในเวที APEC และ ASEM นอกจากนั้น ความร่วมมือระหว่างอาเซียน ด้าน ASEAN-Korea Dialogue และ ASEAN + three meeting ที่เป็นการชี้ให้เห็นถึงความสำคัญในการขยายความร่วมมือภายในภูมิภาค และโอกาสของการแบ่งปันผลประโยชน์ภายในภูมิภาคของประเทศสมาชิก
โครงการสำคัญภายใต้ APEC ที่ก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างเกาหลี-อาเซียน ได้แก่ Trade and Investment Liberlization and Facilitation (TILF) และ Economic and Technical Cooperation (Eco-Tech) ซึ่งทั้ง 2 ฝ่าย สนับสนุนแนวทางการเปิดเสรีอย่างค่อยเป็นค่อยไปมากกว่าการเติบโตอย่างรวดเร็ว (rapid pace) ตามข้อเสนอของสหรัฐฯ
Eco-Tech เป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างความร่วมมือเพื่อพัฒนาซึ่งทั้งเกาหลีและอาเซียน ต้องการความร่วมมือด้านนี้อย่างมาก โดยเฉพาะ การถ่ายทอดเทคโนโลยี เป็นประเด็นสำคัญภายใต้โครงการ Eco-Tech
บทสรุป
องค์การการค้าโลก (WTO) มีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจโลก เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งและความเป็นธรรมในระบบการค้า ลดการกีดกันและปกป้องทางการค้า
เกาหลีเป็นประเทศหนึ่ง ที่มีบทบาทสำคัญในเวทีการค้าโลก และได้รับประโยชน์จากการเป็นสมาชิก WTO เนื่องจากเกาหลีเป็นประเทศที่มีบทบาททั้งในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วและ
กำลังพัฒนา ซึ่งเกาหลีให้ความสำคัญประเด็นการลงทุนภายใต้ระบบ WTO
แนวโน้มวิสัยทัศน์ของ WTO ซึ่งต้องการทำให้ระบบเศรษฐกิจโลกเป็นตลาดเดียว "a single market economy" ภายใต้กฎระเบียบทางการค้าที่เป็นรูปแบบเดียวกัน "a single trade rule" โดยไม่มีอุปสรรคหรือข้อกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศสมาชิก
อย่างไรก็ตาม แนวความคิดดังกล่าวค่อนข้างจะอุดมคติ (idealistic) แต่เกาหลีก็ให้ความสนับสนุนการดำเนินการภายใต้กรอบ WTO อย่างเต็มที่ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศสมาชิก
ข้อคิดเห็น
เกาหลีเป็นประเทศหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในเวทีการค้าโลก ไม่ว่าจะเป็น APEC, ASEAN และ WTO จากเอกสารดังกล่าว จะเห็นว่า เกาหลีสนับสนุนการดำเนินนโยบายการค้าเสรี และให้ความสำคัญกับการเจรจาประเด็นใหม่ ๆ ภายใต้ WTO โดยเฉพาะการลงทุนโดยเสนอให้จัดทำกฎเกณฑ์พหุภาคีเรื่องการลงทุน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนต่างชาติ เนื่องจากเกาหลีเห็นว่าการลงทุนจากต่างชาติและการลงทุนระหว่างประเทศจะนำไปสู่การพัฒนาทางเศรษฐกิจต่อไป และเห็นว่าความสัมพันธ์ระหว่างการลงทุนและการค้าจะมีความเชื่อมโยงกันอย่างชัดเจน แต่ความตกลงว่าด้วยการลงทุนทั้งในระดับทวิภาคี และภูมิภาคในปัจจุบัน ยังมีข้อจำกัดต่อบรรยากาศการลงทุนที่มีเสถียรภาพ นอกจากนั้น ยังสนับสนุนการเจรจาประเด็นการค้าใหม่ ๆ ได้แก่ มาตรฐานแรงงาน นโยบายการแข่งขัน การค้าและการคอรัปชั่น เป็นต้น
ในส่วนของประเทศไทย สนับสนุนแนวคิดการเปิดเสรีทางการค้า โดยเห็นว่า การเจรจาควรครอบคลุมเรื่องต่าง ๆ และมีความสมดุล ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศสมาชิกมากที่สุด และเห็นว่า การลงทุนเป็นกลไกสำคัญที่ก่อให้เกิดการรวมกลุ่มเศรษฐกิจ และเป็นพลังขับเคลื่อนให้เกิดการแข่งขันที่มีประสิทธิภาพในตลาดโลก
สำหรับประเด็นการเจรจาใหม่ ๆ อาทิ การลงทุน นโยบายการแข่งขัน ควรศึกษาผลกระทบด้านบวกและด้านลบของการลงทุนจากต่างประเทศที่มีผลต่อดุลการค้าและดุลการชำระเงิน เป็นต้น
* สรุปและเรียบเรียงจาก Working Paper ของ Korea Institute Economic Policy โดย Chan-Hyuan,August 1996.
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-