แท็ก
ชิลี
ประเทศชิลีมีประชากร 15 ล้านคน อยู่ในวัยเด็กแรกเกิดถึง 15 ปี จำนวน 4.3 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 28.7 ของประชากรทั้งประเทศ ดังนั้น ความต้องการสินค้าของเล่นจึงมีค่อนข้างสูง ซึ่งผู้ผลิตในประเทศเองไม่สามารถสนองความต้องการของตลาดในประเทศได้อย่างเพียงพอ โดยผู้บริโภคนิยมของเล่นที่มีรูปแบบแปลกใหม่ หลากหลาย ไม่เป็นอันตราย และเนื่องจากประชากรส่วนใหญ่มีฐานะความเป็นอยู่ในระดับปานกลางและต่ำ ผู้บริโภคจึงมักคำนึงถึงราคาเป็นอันดับแรก ซึ่งจีนมีส่วนแบ่งการตลาดในชิลีถึงร้อยละ 70 รองลงมาได้แก่ สหรัฐอเมริกา สเปน ไต้หวัน ฮ่องกง ฯลฯ โดยไทยมีส่วนแบ่งตลาดในชิลีไม่ถึงร้อยละ 0.5การนำเข้า
มูลค่านำเข้า (2542) 64.7 ล้านเหรียญสหรัญฯ ลดลง 22.9% นำเข้าจากไทย 0.25 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 28.3% มูลค่านำเข้ามกราคม-พฤษภาคม 2542 11.35 ล้านเหรียญสหรัฐฯ, มกราคม-พฤษภาคม 2543 16.95 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 49.3% แหล่งนำเข้าที่สำคัญ คือ จีน สหรัฐอเมริกา สเปน ไต้หวัน ฮ่องกง สินค้าที่สำคัญ คือ ตุ๊กตารูปคน ของเล่นรูปสัตว์ยัดไส้ ของเล่นที่จัดทำเป็นชุด ของเล่นสำหรับฝึกสมอง
ระเบียบการนำเข้าและอัตราภาษี
การนำเข้าสินค้าสามารถทำได้อย่างเสรี มีอัตราภาษีขาเข้าแบบ Flat Rate เท่ากับสินค้าอื่น ๆ โดยในปี 2543 เรียกเก็บภาษีร้อยละ 9 และจะลดลงปีละ 1% จนถึงปี 2546 ซึ่งจะมีอัตราภาษีนำเข้าร้อยละ 6 นอกจากนี้ สินค้าทุกชนิดต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอีกร้อยละ 18ลู่ทางการขยายตลาดสินค้าของเล่นของไทยในชิลี
แม้ว่าในปี 2542 การนำเข้าของเล่นในภาพรวมของชิลีจะลดลงจากปี 2541 ประมาณร้อยละ 23 ซึ่งมีสาเหตุมาจากภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยลง แต่ปัจจุบันเริ่มฟื้นตัวขึ้น โดยในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2543 มีการนำเข้าสินค้าของเล่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 49.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2542 สำหรับประเทศไทยการนำเข้าในปี 2542 มีการขยายตัว แต่กลับหดตัวลงอย่างมากในปีนี้ สินค้าของเล่นที่สำคัญที่ส่งออกไปยังชิลี ได้แก่ ของเล่นอื่น ๆ ที่จัดทำขึ้นเป็นชุด ของเล่นที่มีล้อ และของเล่นรูปสัตว์ยัดไส้ และโดยไทยมีส่วนแบ่งตลาดรวมของสินค้านี้ในชิลีประมาณร้อยละ 0.4 ซึ่งเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก เนื่องจากการเข้าสู่ตลาดในชิลีซึ่งอยู่ในภูมิภาคลาตินอเมริกาต้องใช้ความพยายามและอดทนสูง เพราะอุปนิสัยคนแถบลาตินอเมริกาส่วนใหญ่ชอบแบบสบาย ๆ จนดูเหมือนขาดความกระตือรือร้นในการทำธุรกิจ การตอบรับทางการค้าค่อนข้างช้า ต้องติดตามเรื่องอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เกิดการสั่งซื้อ ซึ่งในแต่ละครั้งมีปริมาณการสั่งซื้อน้อย ประกอบกับปัญหาด้านภาษา เพราะส่วนใหญ่ใช้ภาษาสเปนในการติดต่อสื่อสาร และระยะทางห่างไกล ทำให้การค้าระหว่างประเทศไทยกับชิลีไม่ขยายตัวเท่าที่ควร
ดังนั้น การจัดคณะผู้แทนการค้าเดินทางไปศึกษา สำรวจตลาด และเจรจาการค้า การร่วมงานแสดงสินค้า หรือเดินทางไปหาตลาดด้วยตนเอง จะเป็นโอกาสให้ขยายตลาดสินค้าไปยังชิลี เพราะจะทำให้เข้าใจและรู้สภาพของตลาด รสนิยม และความต้องการของผู้บริโภคที่แท้จริง การพบปะทำความรู้จักคุ้นเคยสร้างความสนินสนมและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้นำเข้า การสร้างความสัมพันธ์ทางการค้าที่ดีต่อกันจะทำให้การติดต่อค้าขายกับนักธุรกิจแถบลาติน อเมริกาเป็นไปอย่างสะดวกมากขึ้น
(ที่มา : กรมการค้าต่างประเทศ)
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 17/2543 วันที่ 17 กันยายน 2543--
-อน-
มูลค่านำเข้า (2542) 64.7 ล้านเหรียญสหรัญฯ ลดลง 22.9% นำเข้าจากไทย 0.25 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 28.3% มูลค่านำเข้ามกราคม-พฤษภาคม 2542 11.35 ล้านเหรียญสหรัฐฯ, มกราคม-พฤษภาคม 2543 16.95 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 49.3% แหล่งนำเข้าที่สำคัญ คือ จีน สหรัฐอเมริกา สเปน ไต้หวัน ฮ่องกง สินค้าที่สำคัญ คือ ตุ๊กตารูปคน ของเล่นรูปสัตว์ยัดไส้ ของเล่นที่จัดทำเป็นชุด ของเล่นสำหรับฝึกสมอง
ระเบียบการนำเข้าและอัตราภาษี
การนำเข้าสินค้าสามารถทำได้อย่างเสรี มีอัตราภาษีขาเข้าแบบ Flat Rate เท่ากับสินค้าอื่น ๆ โดยในปี 2543 เรียกเก็บภาษีร้อยละ 9 และจะลดลงปีละ 1% จนถึงปี 2546 ซึ่งจะมีอัตราภาษีนำเข้าร้อยละ 6 นอกจากนี้ สินค้าทุกชนิดต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอีกร้อยละ 18ลู่ทางการขยายตลาดสินค้าของเล่นของไทยในชิลี
แม้ว่าในปี 2542 การนำเข้าของเล่นในภาพรวมของชิลีจะลดลงจากปี 2541 ประมาณร้อยละ 23 ซึ่งมีสาเหตุมาจากภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยลง แต่ปัจจุบันเริ่มฟื้นตัวขึ้น โดยในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2543 มีการนำเข้าสินค้าของเล่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 49.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2542 สำหรับประเทศไทยการนำเข้าในปี 2542 มีการขยายตัว แต่กลับหดตัวลงอย่างมากในปีนี้ สินค้าของเล่นที่สำคัญที่ส่งออกไปยังชิลี ได้แก่ ของเล่นอื่น ๆ ที่จัดทำขึ้นเป็นชุด ของเล่นที่มีล้อ และของเล่นรูปสัตว์ยัดไส้ และโดยไทยมีส่วนแบ่งตลาดรวมของสินค้านี้ในชิลีประมาณร้อยละ 0.4 ซึ่งเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก เนื่องจากการเข้าสู่ตลาดในชิลีซึ่งอยู่ในภูมิภาคลาตินอเมริกาต้องใช้ความพยายามและอดทนสูง เพราะอุปนิสัยคนแถบลาตินอเมริกาส่วนใหญ่ชอบแบบสบาย ๆ จนดูเหมือนขาดความกระตือรือร้นในการทำธุรกิจ การตอบรับทางการค้าค่อนข้างช้า ต้องติดตามเรื่องอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เกิดการสั่งซื้อ ซึ่งในแต่ละครั้งมีปริมาณการสั่งซื้อน้อย ประกอบกับปัญหาด้านภาษา เพราะส่วนใหญ่ใช้ภาษาสเปนในการติดต่อสื่อสาร และระยะทางห่างไกล ทำให้การค้าระหว่างประเทศไทยกับชิลีไม่ขยายตัวเท่าที่ควร
ดังนั้น การจัดคณะผู้แทนการค้าเดินทางไปศึกษา สำรวจตลาด และเจรจาการค้า การร่วมงานแสดงสินค้า หรือเดินทางไปหาตลาดด้วยตนเอง จะเป็นโอกาสให้ขยายตลาดสินค้าไปยังชิลี เพราะจะทำให้เข้าใจและรู้สภาพของตลาด รสนิยม และความต้องการของผู้บริโภคที่แท้จริง การพบปะทำความรู้จักคุ้นเคยสร้างความสนินสนมและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้นำเข้า การสร้างความสัมพันธ์ทางการค้าที่ดีต่อกันจะทำให้การติดต่อค้าขายกับนักธุรกิจแถบลาติน อเมริกาเป็นไปอย่างสะดวกมากขึ้น
(ที่มา : กรมการค้าต่างประเทศ)
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 17/2543 วันที่ 17 กันยายน 2543--
-อน-