ข่าวในประเทศ
1. รมว.คลังกล่าวว่านโยบายอัตราดอกเบี้ยของไทยไม่กระทบไอเอ็มเอฟ รมว.คลัง เปิดเผยถึงกรณีกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) แสดงความเห็นให้ไทยคงอัตราดอกเบี้ยในระดับปัจจุบันว่า ไอเอ็มเอฟคงต้องการความมั่นใจว่าไทยจะใช้อัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสม ซึ่งได้มีการหารือกับตัวแทนไอเอ็มเอฟในประเทศไทยไปแล้ว และยืนยันว่าไทยยังคงใช้นโยบายดอกเบี้ยต่ำ แต่ก็ต้องดูว่าต่ำระดับใดจึงจะเหมาะสม ทั้งนี้ การใช้นโยบายว่าจะอยู่ในระดับใดขึ้นอยู่กับผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งจะมีการหารือระหว่างเจ้าหน้าที่ไอเอ็มเอฟสำนักงานใหญ่กับผู้ว่าการ ธปท.ในระยะต่อไป (ไทยรัฐ 12)
2. ธปท.เปิดเผยว่าการปรับดอกเบี้ยอาร์พี 14 วันไม่ส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ยในตลาด นายเชษฐทวี เจริญพิทักษ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า หลังจาก ธปท.ปรับอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืน พธบ. (อาร์พี) ประเภท 14 วัน จากร้อยละ 1.5 เป็นร้อยละ 2.5 การเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ยในตลาดอาร์พียังคงอยู่ในภาวะปรกติ ทั้งนี้ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ ธปท.ครั้งนี้ ทำให้ดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดอาร์พีประเภท 1 วันและ 7 วัน เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นจากระดับร้อยละ 1.2 มาเป็นกว่าร้อยละ 2 ซึ่งจะมีผลกระทบต่อดอกเบี้ยเงินฝากบ้าง แต่คงไม่กระทบอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ สำหรับกรณีที่ตลาดต่างประเทศอาจจะเกิดความสับสนและไม่ชัดเจนในนโยบายดอกเบี้ยของ ธปท. คงต้องใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์เพื่อติดตามว่าจะมีการตอบรับมาตรการของ ธปท.อย่างไร (โลกวันนี้ 12)
3. ก.คลังยกเลิกการประมูลตั๋วเงินคลังลง 2 พัน ล.บาท แหล่งข่าวจาก ก.คลัง เปิดเผยว่า ก.คลังได้ประกาศยกเลิกการประมูลตั๋วเงินคลังเป็นครั้งแรกจำนวน 2 พัน ล.บาทเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา และยังได้ลดวงเงินประมูลตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้จาก 5 พัน ล.บาท เหลือ 3.5 พัน ล.บาท เนื่องจาก ก.คลังพิจารณาแล้วเห็นว่าสภาพตลาดยังมีความผันผวนอยู่มาก และสถาบันการเงินเสนออัตราดอกเบี้ยที่ค่อนข้างสูงซึ่งจะเป็นภาระแก่รัฐบาลมากเกินไป การยกเลิกการประมูลตั๋วเงินคลังและลดวงเงินประมูลตั๋วสัญญาใช้เงินในครั้งนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อกระแสเงินสดของทางการ เนื่องจากในช่วงเดือนมิถุนายนรัฐบาลจะมีรายได้จากการจัดเก็บภาษีเข้ามามากจึงยังไม่มีความจำเป็นต้องกู้เงินในขณะนี้ (ผู้จัดการรายวัน 12)
4. บอย.ร่วมมือกับตลาดหลักทรัพย์ใหม่ให้การสนับสนุนธุรกิจเอสเอ็มอี กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม (บอย.) เปิดเผยว่า ได้ร่วมมือกับตลาดหลักทรัพย์ใหม่ (เอ็มเอไอ) เพื่อสนับสนุนและพัฒนาธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ให้มีศักยภาพที่จะเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ต่อไปในอนาคต โดย บอย.จะให้การสนับสนุนเงินทุนแก่ธุรกิจที่เข้าจดทะเบียนในเอ็มเอไออัตราดอกเบี้ยต่ำ MLR หรือ MLR - ร้อยละ 1 ซึ่งขณะนี้ บอย.อยู่ระหว่างจัดทำลำดับความเสี่ยงของเอสเอ็มอีเพื่อพิจารณาว่ามีบริษัทใดที่มีศักยภาพพอเข้าจดทะเบียนได้ (ไทยโพสต์ 12)
ข่าวต่างประเทศ
1. ผลผลิตอุตสาหกรรมของจีนเติบโตชะลอลงในเดือน พ.ค. 44 รายงานจากปักกิ่งเมื่อ 11 มิ.ย. 44 สำนักงานสถิติของรัฐบาลเปิดเผยว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมของจีนในเดือน พ.ค. 44 เติบโตร้อยละ 10.2 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.5 ในเดือน เม.ย. 44 และต่ำกว่าผลการสำรวจของรอยเตอร์ที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่า ผลผลิตฯจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.4 เทียบต่อปี ผลผลิตฯที่ลดลง เนื่องจากอัตราการลดลงของการส่งออกได้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อภาคอุตสาหกรรมการผลิต โดยอัตราการส่งออกในเดือนดังกล่าวลดลงร้อยละ 2.7 จากเดือน เม.ย. 44 สำหรับในช่วง 4 เดือนแรกปี 44 การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.2 เทียบกับระยะเดียวกันปี 43 ที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 27.8 อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า การใช้จ่ายของรัฐบาลและการบริโภคที่เริ่มฟื้นตัวจะเป็นปัจจัยที่กระตุ้นภาคอุตสาหกรรมการผลิตและชดเชยคำสั่งซื้อที่ลดลง และคาดว่า การขยายตัวของผลผลิตอุตสาหกรรมในปี 44 จะยังคงเป็นตัวเลข 2 หลัก โดยไดัรับแรงเกื้อหนุนจากความต้องการในประเทศอย่างแข็งแกร่ง (รอยเตอร์11)
2. การขยายตัวของจีดีพีในไตรมาสที่ 1 ปี 44 และตัวเลขทางเศรษฐกิจที่สำคัญของมาเลเซียในเดือน เม.ย.44 รายงานจากกัวลาลัมเปอร์เมื่อ 12 มิ.ย.44 แหล่งข่าวทางการของมาเลเซีย เปิดเผยว่า ไตรมาสที่ 1 ปี 44 ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ขยายตัวร้อยละ 3.2 เทียบกับไตรมาสเดียวกันปี 43 ที่ขยายตัวร้อยละ 11.7 และคาดว่าปี 44 จีดีพีจะขยายตัวประมาณร้อยละ 5.0-6.0 เทียบกับปี 43 ที่ขยายตัวร้อยละ 8.5 สำหรับผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือน เม.ย.44 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 เทียบต่อปี ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 การส่งออกและนำเข้ามีมูลค่า 27.5 และ 22.8 พัน ล.ริงกิต ตามลำดับ (รอยเตอร์ 12)
3. ราคาผลผลิตของอังกฤษในเดือน พ.ค. 44 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 เทียบต่อเดือน รายงานจากลอนดอนเมื่อ 11 มิ.ย. 44 สำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษเปิดเผยว่า ราคาผลผลิตในเดือน พ.ค. 44 ที่ยังไม่ปรับฤดูกาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 จากเดือน เม.ย. 44 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 นับเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดตั้งแต่เดือน ต.ค. 43 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 เช่นกัน และเมื่อเทียบต่อปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ราคาผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาผลิตภัณฑ์น้ำมันเพิ่มขึ้น รวมทั้งราคาอาหารและเครื่องดื่มก็สูงขึ้น(รอยเตอร์11)
4. ดัชนีผลผลิตภาคเอกชนของอังกฤษอยู่ที่ระดับ 50.9 ในเดือน พ.ค.44 รายงานจากลอนดอนเมื่อ 11 มิ.ย.44 Institute of Management Services (IMS) เปิดเผยว่า เดือน พ.ค.44 ดัชนีผลผลิตภาคเอกชนหลังปรับฤดูกาล อยู่ที่ระดับ 50.9 ลดลงจากระดับ 51.8 ในเดือน เม.ย.44 ซึ่งต่ำที่สุดในรอบ 27 เดือน นับตั้งแต่เดือน ก.พ.42 ซึ่งสมาชิกของ IMS ระบุว่าตัวเลขดังกล่าวเป็นสิ่งท้าทายรัฐบาลที่กำลังจะเข้ามาบริหารต้องรับผิดชอบ (รอยเตอร์ 11)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 11 มิ.ย. 44 45.156 (45.086)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 11 มิ.ย. 44ซื้อ 44.9366 (44.9024) ขาย 45.2535 (45.2108)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,700 (5,650) ขาย 5,800 (5,750)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 26.88 (26.81)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 15.99 (15.99) ดีเซลหมุนเร็ว 14.14 (14.14)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. รมว.คลังกล่าวว่านโยบายอัตราดอกเบี้ยของไทยไม่กระทบไอเอ็มเอฟ รมว.คลัง เปิดเผยถึงกรณีกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) แสดงความเห็นให้ไทยคงอัตราดอกเบี้ยในระดับปัจจุบันว่า ไอเอ็มเอฟคงต้องการความมั่นใจว่าไทยจะใช้อัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสม ซึ่งได้มีการหารือกับตัวแทนไอเอ็มเอฟในประเทศไทยไปแล้ว และยืนยันว่าไทยยังคงใช้นโยบายดอกเบี้ยต่ำ แต่ก็ต้องดูว่าต่ำระดับใดจึงจะเหมาะสม ทั้งนี้ การใช้นโยบายว่าจะอยู่ในระดับใดขึ้นอยู่กับผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งจะมีการหารือระหว่างเจ้าหน้าที่ไอเอ็มเอฟสำนักงานใหญ่กับผู้ว่าการ ธปท.ในระยะต่อไป (ไทยรัฐ 12)
2. ธปท.เปิดเผยว่าการปรับดอกเบี้ยอาร์พี 14 วันไม่ส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ยในตลาด นายเชษฐทวี เจริญพิทักษ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า หลังจาก ธปท.ปรับอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืน พธบ. (อาร์พี) ประเภท 14 วัน จากร้อยละ 1.5 เป็นร้อยละ 2.5 การเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ยในตลาดอาร์พียังคงอยู่ในภาวะปรกติ ทั้งนี้ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ ธปท.ครั้งนี้ ทำให้ดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดอาร์พีประเภท 1 วันและ 7 วัน เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นจากระดับร้อยละ 1.2 มาเป็นกว่าร้อยละ 2 ซึ่งจะมีผลกระทบต่อดอกเบี้ยเงินฝากบ้าง แต่คงไม่กระทบอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ สำหรับกรณีที่ตลาดต่างประเทศอาจจะเกิดความสับสนและไม่ชัดเจนในนโยบายดอกเบี้ยของ ธปท. คงต้องใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์เพื่อติดตามว่าจะมีการตอบรับมาตรการของ ธปท.อย่างไร (โลกวันนี้ 12)
3. ก.คลังยกเลิกการประมูลตั๋วเงินคลังลง 2 พัน ล.บาท แหล่งข่าวจาก ก.คลัง เปิดเผยว่า ก.คลังได้ประกาศยกเลิกการประมูลตั๋วเงินคลังเป็นครั้งแรกจำนวน 2 พัน ล.บาทเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา และยังได้ลดวงเงินประมูลตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้จาก 5 พัน ล.บาท เหลือ 3.5 พัน ล.บาท เนื่องจาก ก.คลังพิจารณาแล้วเห็นว่าสภาพตลาดยังมีความผันผวนอยู่มาก และสถาบันการเงินเสนออัตราดอกเบี้ยที่ค่อนข้างสูงซึ่งจะเป็นภาระแก่รัฐบาลมากเกินไป การยกเลิกการประมูลตั๋วเงินคลังและลดวงเงินประมูลตั๋วสัญญาใช้เงินในครั้งนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อกระแสเงินสดของทางการ เนื่องจากในช่วงเดือนมิถุนายนรัฐบาลจะมีรายได้จากการจัดเก็บภาษีเข้ามามากจึงยังไม่มีความจำเป็นต้องกู้เงินในขณะนี้ (ผู้จัดการรายวัน 12)
4. บอย.ร่วมมือกับตลาดหลักทรัพย์ใหม่ให้การสนับสนุนธุรกิจเอสเอ็มอี กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม (บอย.) เปิดเผยว่า ได้ร่วมมือกับตลาดหลักทรัพย์ใหม่ (เอ็มเอไอ) เพื่อสนับสนุนและพัฒนาธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ให้มีศักยภาพที่จะเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ต่อไปในอนาคต โดย บอย.จะให้การสนับสนุนเงินทุนแก่ธุรกิจที่เข้าจดทะเบียนในเอ็มเอไออัตราดอกเบี้ยต่ำ MLR หรือ MLR - ร้อยละ 1 ซึ่งขณะนี้ บอย.อยู่ระหว่างจัดทำลำดับความเสี่ยงของเอสเอ็มอีเพื่อพิจารณาว่ามีบริษัทใดที่มีศักยภาพพอเข้าจดทะเบียนได้ (ไทยโพสต์ 12)
ข่าวต่างประเทศ
1. ผลผลิตอุตสาหกรรมของจีนเติบโตชะลอลงในเดือน พ.ค. 44 รายงานจากปักกิ่งเมื่อ 11 มิ.ย. 44 สำนักงานสถิติของรัฐบาลเปิดเผยว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมของจีนในเดือน พ.ค. 44 เติบโตร้อยละ 10.2 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.5 ในเดือน เม.ย. 44 และต่ำกว่าผลการสำรวจของรอยเตอร์ที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่า ผลผลิตฯจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.4 เทียบต่อปี ผลผลิตฯที่ลดลง เนื่องจากอัตราการลดลงของการส่งออกได้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อภาคอุตสาหกรรมการผลิต โดยอัตราการส่งออกในเดือนดังกล่าวลดลงร้อยละ 2.7 จากเดือน เม.ย. 44 สำหรับในช่วง 4 เดือนแรกปี 44 การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.2 เทียบกับระยะเดียวกันปี 43 ที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 27.8 อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า การใช้จ่ายของรัฐบาลและการบริโภคที่เริ่มฟื้นตัวจะเป็นปัจจัยที่กระตุ้นภาคอุตสาหกรรมการผลิตและชดเชยคำสั่งซื้อที่ลดลง และคาดว่า การขยายตัวของผลผลิตอุตสาหกรรมในปี 44 จะยังคงเป็นตัวเลข 2 หลัก โดยไดัรับแรงเกื้อหนุนจากความต้องการในประเทศอย่างแข็งแกร่ง (รอยเตอร์11)
2. การขยายตัวของจีดีพีในไตรมาสที่ 1 ปี 44 และตัวเลขทางเศรษฐกิจที่สำคัญของมาเลเซียในเดือน เม.ย.44 รายงานจากกัวลาลัมเปอร์เมื่อ 12 มิ.ย.44 แหล่งข่าวทางการของมาเลเซีย เปิดเผยว่า ไตรมาสที่ 1 ปี 44 ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ขยายตัวร้อยละ 3.2 เทียบกับไตรมาสเดียวกันปี 43 ที่ขยายตัวร้อยละ 11.7 และคาดว่าปี 44 จีดีพีจะขยายตัวประมาณร้อยละ 5.0-6.0 เทียบกับปี 43 ที่ขยายตัวร้อยละ 8.5 สำหรับผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือน เม.ย.44 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 เทียบต่อปี ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 การส่งออกและนำเข้ามีมูลค่า 27.5 และ 22.8 พัน ล.ริงกิต ตามลำดับ (รอยเตอร์ 12)
3. ราคาผลผลิตของอังกฤษในเดือน พ.ค. 44 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 เทียบต่อเดือน รายงานจากลอนดอนเมื่อ 11 มิ.ย. 44 สำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษเปิดเผยว่า ราคาผลผลิตในเดือน พ.ค. 44 ที่ยังไม่ปรับฤดูกาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 จากเดือน เม.ย. 44 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 นับเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดตั้งแต่เดือน ต.ค. 43 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 เช่นกัน และเมื่อเทียบต่อปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ราคาผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาผลิตภัณฑ์น้ำมันเพิ่มขึ้น รวมทั้งราคาอาหารและเครื่องดื่มก็สูงขึ้น(รอยเตอร์11)
4. ดัชนีผลผลิตภาคเอกชนของอังกฤษอยู่ที่ระดับ 50.9 ในเดือน พ.ค.44 รายงานจากลอนดอนเมื่อ 11 มิ.ย.44 Institute of Management Services (IMS) เปิดเผยว่า เดือน พ.ค.44 ดัชนีผลผลิตภาคเอกชนหลังปรับฤดูกาล อยู่ที่ระดับ 50.9 ลดลงจากระดับ 51.8 ในเดือน เม.ย.44 ซึ่งต่ำที่สุดในรอบ 27 เดือน นับตั้งแต่เดือน ก.พ.42 ซึ่งสมาชิกของ IMS ระบุว่าตัวเลขดังกล่าวเป็นสิ่งท้าทายรัฐบาลที่กำลังจะเข้ามาบริหารต้องรับผิดชอบ (รอยเตอร์ 11)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 11 มิ.ย. 44 45.156 (45.086)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 11 มิ.ย. 44ซื้อ 44.9366 (44.9024) ขาย 45.2535 (45.2108)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,700 (5,650) ขาย 5,800 (5,750)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 26.88 (26.81)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 15.99 (15.99) ดีเซลหมุนเร็ว 14.14 (14.14)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-