การผลิต : เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน
การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนมกราคมเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนในอัตราร้อยละ 3.6 (หากไม่รวมผลผลิตสุราการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5)
หมวดสินค้าที่ผลิตเพิ่มขึ้นที่สำคัญ ได้แก่ หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง (+15.9%) ยังคงขยายตัวดี โดยเฉพาะรถยนต์นั่งที่บริษัท GM ได้เพิ่มการผลิต เพื่อรองรับการขยายตัวของตลาดส่งออก หมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (+12.9%) ซึ่งขยายตัวเนื่องจากโรงกลั่นไทยออยล์ที่ประสบอัคคีภัยได้เปิดดำเนินการในช่วงครึ่งหลังของเดือนมกราคม 2543 ทำให้เดือนมกราคมปีก่อนผลิตได้ครึ่งเดือน หมวดอัญมณีและเครื่องประดับ (+8.2%) และหมวดผลิตภัณฑ์อื่นๆ (+8.2%) ที่ยังขยายตัวได้ตามการส่งออก
สำหรับ หมวดสินค้าที่ผลิตลดลงที่สำคัญ ได้แก่ หมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า (-13.1%) และหมวดวัสดุก่อสร้าง(-11.6%) ลดลงตามการส่งออกไปสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นตลาดสำคัญที่ประสบปัญหาเศรษฐกิจชะลอ
การใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมในเดือนมกราคม ลดลงจากเดือนธันวาคมมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 55.1 แต่หากไม่รวมสุรา การใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับร้อยละ 58.7
การใช้กำลังการผลิต : ลดลงจากเดือนก่อน
หมวดสินค้าที่ใช้กำลังการผลิตลดลงจากเดือนก่อนที่สำคัญ ได้แก่ หมวดเครื่องดื่ม (35.8%) เป็นการลดลงตามการผลิตทั้งเบียร์และสุรา เนื่องจากในเดือนที่แล้วได้เพิ่มการผลิต เพื่อรองรับความต้องการในช่วงเทศกาลปีใหม่ หมวดอิเล็กทรอนิคส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า (50.3%) ลดลงตามการส่งออกแผงวงจรไฟฟ้าเป็นสำคัญ และหมวดวัสดุก่อสร้าง (43.8%) ลดลงตามการส่งออกปูนซิเมนต์ที่ส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา
สำหรับหมวดที่มีการใช้กำลังผลิตเพิ่มขึ้นที่สำคัญ ได้แก่ หมวดอาหาร(72.1%) เพิ่มขึ้นตามการผลิตน้ำตาลทราย ที่มีวัตถุดิบอ้อยเข้าสู่โรงงานมาก เนื่องจากราคาอ้อยขั้นต้นในปีการผลิตนี้สูง ทำให้เกษตรกรส่งอ้อยเข้าโรงงานมาก และ หมวดยาสูบ (61.0%) ผลิตเพิ่มขึ้นเพื่อสะสมสต๊อกที่ลดลงมากจากการจำหน่ายในช่วงเทศกาลปีใหม่
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนมกราคมเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนในอัตราร้อยละ 3.6 (หากไม่รวมผลผลิตสุราการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5)
หมวดสินค้าที่ผลิตเพิ่มขึ้นที่สำคัญ ได้แก่ หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง (+15.9%) ยังคงขยายตัวดี โดยเฉพาะรถยนต์นั่งที่บริษัท GM ได้เพิ่มการผลิต เพื่อรองรับการขยายตัวของตลาดส่งออก หมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (+12.9%) ซึ่งขยายตัวเนื่องจากโรงกลั่นไทยออยล์ที่ประสบอัคคีภัยได้เปิดดำเนินการในช่วงครึ่งหลังของเดือนมกราคม 2543 ทำให้เดือนมกราคมปีก่อนผลิตได้ครึ่งเดือน หมวดอัญมณีและเครื่องประดับ (+8.2%) และหมวดผลิตภัณฑ์อื่นๆ (+8.2%) ที่ยังขยายตัวได้ตามการส่งออก
สำหรับ หมวดสินค้าที่ผลิตลดลงที่สำคัญ ได้แก่ หมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า (-13.1%) และหมวดวัสดุก่อสร้าง(-11.6%) ลดลงตามการส่งออกไปสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นตลาดสำคัญที่ประสบปัญหาเศรษฐกิจชะลอ
การใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมในเดือนมกราคม ลดลงจากเดือนธันวาคมมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 55.1 แต่หากไม่รวมสุรา การใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับร้อยละ 58.7
การใช้กำลังการผลิต : ลดลงจากเดือนก่อน
หมวดสินค้าที่ใช้กำลังการผลิตลดลงจากเดือนก่อนที่สำคัญ ได้แก่ หมวดเครื่องดื่ม (35.8%) เป็นการลดลงตามการผลิตทั้งเบียร์และสุรา เนื่องจากในเดือนที่แล้วได้เพิ่มการผลิต เพื่อรองรับความต้องการในช่วงเทศกาลปีใหม่ หมวดอิเล็กทรอนิคส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า (50.3%) ลดลงตามการส่งออกแผงวงจรไฟฟ้าเป็นสำคัญ และหมวดวัสดุก่อสร้าง (43.8%) ลดลงตามการส่งออกปูนซิเมนต์ที่ส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา
สำหรับหมวดที่มีการใช้กำลังผลิตเพิ่มขึ้นที่สำคัญ ได้แก่ หมวดอาหาร(72.1%) เพิ่มขึ้นตามการผลิตน้ำตาลทราย ที่มีวัตถุดิบอ้อยเข้าสู่โรงงานมาก เนื่องจากราคาอ้อยขั้นต้นในปีการผลิตนี้สูง ทำให้เกษตรกรส่งอ้อยเข้าโรงงานมาก และ หมวดยาสูบ (61.0%) ผลิตเพิ่มขึ้นเพื่อสะสมสต๊อกที่ลดลงมากจากการจำหน่ายในช่วงเทศกาลปีใหม่
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-