นายเกริกไกร จีระแพทย์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ แจ้งเตือนผู้ผลิตสินค้าส่งออกไปจำหน่ายยังสหภาพยุโรปทราบว่า ขณะนี้สหภาพยุโรปได้เพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบมาตรฐานสินค้านำเข้าทั้งสินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าเกษตร โดยเฉพาะมาตรฐานด้านสุขอนามัยของสินค้าอาหารมีการกำหนดมาตรการว่าด้วยความปลอดภัยในสินค้าอาหาร (Food Safety) อาทิเช่น
กรณีสารปนเปื้อน หลังจากเกิดเหตุการณ์ Dioxin ในเบลเยี่ยม สหภาพยุโรป ได้มีการตรวจสอบอาหารในหมวดต่าง ๆ มากขึ้น และมีมาตรการเพิ่มขั้นตอนการตรวจสอบไปถึงต้นเหตุของการเกิดเหตุ (Trace back) ซึ่งหมายถึง ตรวจสอบไปถึงวัตถุดิบเริ่มแรกและแหล่งวัตถุดิบด้วย
กรณีสารตกค้าง ได้มีการกำหนดสารตกค้างในอาหาร เนื้อสัตว์ และอาหารแปรรูปมากขึ้น และมาตรการ Automatic Detention ของสหภาพยุโรปก็ทำให้สินค้าไทยหลายรายการถูกกักกันเมื่อตรวจสอบพบว่ามีสารตกค้าง สารปนเปื้อน เกินอัตราที่สหภาพยุโรปกำหนดไว้
ดังนั้น ผู้ผลิตอาหารส่งออกจะต้องให้ความสำคัญมากยิ่งขึ้นในการติดตามและให้ความสนใจต่อกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่สหภาพยุโรปกำหนด โดยเฉพาะในเรื่อง Food Safety ตามหลักการของสมุดปกขาว (White Paper) ซึ่งอาหารจะต้องถูกสุขอนามัย From Farm to Table ซึ่งสหภาพยุโรปเริ่มใช้เป็นแนวทางในการตรวจสอบอย่างเข้มงวดแล้ว ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีการประกาศบังคับใช้อย่างเป็นทางการ โดยเริ่มกำหนดขั้นตอนปฏิบัติการตรวจสอบอย่างจริงจังตั้งแต่แหล่งทีมาของวัตถุดิบ โรงงานผลิตวัตถุดิบ จนถึงโรงงานผลิตอาหารสำเร็จรูป
ถึงเวลาแล้วที่ผู้ผลิตและหน่วยงานของรัฐทีรับผิดชอบในการตรวจสอบอาหารของไทยจะต้องร่วมมือกันอย่างจริงจังในการติดตาม ศึกษา ให้เข้าใจถึงรายละเอียด กฎ ระเบียบ ความปลอดภัยอาหารในสมุดปกขาวของสหภาพยุโรปอย่างถูกต้องชัดเจนและร่วมกันดำเนินการแก้ไขปรับปรุงการผลิตอาหารส่งออกให้เป็นไปตามแนวทางที่สหภาพยุโรปกำหนดได้ทันการณ์ มิฉะนั้นจะเกิดความเสียหายถึงขั้นการห้ามส่งออกส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ผลิต ต่อผู้ส่งออก ต่อเศรษฐกิจ และภาพพจน์โดยรวมของประเทศอย่างแน่นอน--จบ--
--กรมการค้าต่างประเทศ สิงหาคม 2543--
-อน-
กรณีสารปนเปื้อน หลังจากเกิดเหตุการณ์ Dioxin ในเบลเยี่ยม สหภาพยุโรป ได้มีการตรวจสอบอาหารในหมวดต่าง ๆ มากขึ้น และมีมาตรการเพิ่มขั้นตอนการตรวจสอบไปถึงต้นเหตุของการเกิดเหตุ (Trace back) ซึ่งหมายถึง ตรวจสอบไปถึงวัตถุดิบเริ่มแรกและแหล่งวัตถุดิบด้วย
กรณีสารตกค้าง ได้มีการกำหนดสารตกค้างในอาหาร เนื้อสัตว์ และอาหารแปรรูปมากขึ้น และมาตรการ Automatic Detention ของสหภาพยุโรปก็ทำให้สินค้าไทยหลายรายการถูกกักกันเมื่อตรวจสอบพบว่ามีสารตกค้าง สารปนเปื้อน เกินอัตราที่สหภาพยุโรปกำหนดไว้
ดังนั้น ผู้ผลิตอาหารส่งออกจะต้องให้ความสำคัญมากยิ่งขึ้นในการติดตามและให้ความสนใจต่อกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่สหภาพยุโรปกำหนด โดยเฉพาะในเรื่อง Food Safety ตามหลักการของสมุดปกขาว (White Paper) ซึ่งอาหารจะต้องถูกสุขอนามัย From Farm to Table ซึ่งสหภาพยุโรปเริ่มใช้เป็นแนวทางในการตรวจสอบอย่างเข้มงวดแล้ว ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีการประกาศบังคับใช้อย่างเป็นทางการ โดยเริ่มกำหนดขั้นตอนปฏิบัติการตรวจสอบอย่างจริงจังตั้งแต่แหล่งทีมาของวัตถุดิบ โรงงานผลิตวัตถุดิบ จนถึงโรงงานผลิตอาหารสำเร็จรูป
ถึงเวลาแล้วที่ผู้ผลิตและหน่วยงานของรัฐทีรับผิดชอบในการตรวจสอบอาหารของไทยจะต้องร่วมมือกันอย่างจริงจังในการติดตาม ศึกษา ให้เข้าใจถึงรายละเอียด กฎ ระเบียบ ความปลอดภัยอาหารในสมุดปกขาวของสหภาพยุโรปอย่างถูกต้องชัดเจนและร่วมกันดำเนินการแก้ไขปรับปรุงการผลิตอาหารส่งออกให้เป็นไปตามแนวทางที่สหภาพยุโรปกำหนดได้ทันการณ์ มิฉะนั้นจะเกิดความเสียหายถึงขั้นการห้ามส่งออกส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ผลิต ต่อผู้ส่งออก ต่อเศรษฐกิจ และภาพพจน์โดยรวมของประเทศอย่างแน่นอน--จบ--
--กรมการค้าต่างประเทศ สิงหาคม 2543--
-อน-