นายไพทูรย์ แก้วทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ลงนามในระเบียบกระทรวงพาณิชย์ว่าด้วยการออกหนังสือรับรองแสดงการได้รับสิทธิชำระภาษีตามพันธกรณีตามความตกลงการเกษตรภายใต้องค์การการค้าโลก(WTO)สำหรับสินค้านมผงขาดมันเนย ปี 2543 (ฉบับที่ 5) เมื่อต้นเดือนตุลาคม ที่ผ่านมา โดยได้เพิ่มปริมาณการจัดสรรให้แก่ กลุ่มนิติบุคคลผู้ประกอบการแปรรูปอาหารนมอื่น ปริมาณ 2,174 ตัน ทั้งนี้เป็นไปตามมติของคณะกรรมการนโยบายและพัฒนาการปศุสัตว์แห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงพาณิชย์ฯดังกล่าว กรมการค้าต่างประเทศ(คต.) จึงได้จัดสรรปริมาณสินค้านมผงขาดมันเนยให้แก่ กลุ่มนิติบุคคลผู้ประกอบการแปรรูปอาหารนมอื่น รวม 32 บริษัท ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิได้รับการออกหนังสือรับรองฯจำนวน 2,174 ตัน สำหรับผู้ได้รับจัดสรรสูงสุด 10 ลำดับแรกคือ บริษัทเนสเล่ ฟูดส์(ประเทศไทย) 1,059 ตัน ยูลินีเวอร์ไทย โฮลดิ้ง 108 ตัน เนสเล่ย์(ประเทศไทย) 143 ตัน เอฟแอนเอ็น ยูไนเต็ด 75 ตัน และบริสตอลไมเยอร์ สควิบบ์(ประเทศไทย) 70 ตัน อายิโนะโม๊ะโต๊ะ คาลพิส เบเวอเรจ(ประเทศไทย) 68 ตัน ไทยกูลิโกะ 57 ตัน โฟโมสต์ อาหารนม(กรุงเทพฯ) มาลีสามพราน และยูไนเต็ดฟูดส์ บริษัทละ 52 ตัน ส่วนบริษัทที่ได้รับจัดสรรน้อยที่สุดคือ เยนเนอรัล แคนดี้ และแดรี่เบลล์ บริษัทละ 2 ตัน
อนึ่ง สินค้านมผงขาดมันเนย เป็นสินค้าที่อยู่ภายใต้ข้อผูกพันที่ไทยทำไว้กับ WTO ซึ่งจะต้องเปิดตลาดให้แก่สมาชิก WTO โดยในปี 2543 กำหนดปริมาณโควตานำเข้า 55,600 ตัน อัตราภาษีในโควตาร้อยละ 5 และนอกโควตาร้อยละ 225.6 กำหนดการนำเข้าเป็น 2 งวด สำหรับงวดแรก(มกราคม-มิถุนายน)ได้จัดสรรไปแล้ว จำนวน 25,886 ตัน และงวดที่ 2 ได้จัดสรรไปแล้วเช่นกัน จำนวน 25,173 ตัน สินค้านมผงขาดมันเนยเป็น 1 ในสินค้าเกษตร 23 รายการ ซึ่งไทยผูกพันไว้กับ WTO ที่จะต้องเปิดตลาดให้แก่สมาชิกโดยเป็นไปตามปริมาณโควตาที่กำหนด
--กระทรวงพาณิชย์ พฤศจิกายน 2543--
-อน-
เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงพาณิชย์ฯดังกล่าว กรมการค้าต่างประเทศ(คต.) จึงได้จัดสรรปริมาณสินค้านมผงขาดมันเนยให้แก่ กลุ่มนิติบุคคลผู้ประกอบการแปรรูปอาหารนมอื่น รวม 32 บริษัท ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิได้รับการออกหนังสือรับรองฯจำนวน 2,174 ตัน สำหรับผู้ได้รับจัดสรรสูงสุด 10 ลำดับแรกคือ บริษัทเนสเล่ ฟูดส์(ประเทศไทย) 1,059 ตัน ยูลินีเวอร์ไทย โฮลดิ้ง 108 ตัน เนสเล่ย์(ประเทศไทย) 143 ตัน เอฟแอนเอ็น ยูไนเต็ด 75 ตัน และบริสตอลไมเยอร์ สควิบบ์(ประเทศไทย) 70 ตัน อายิโนะโม๊ะโต๊ะ คาลพิส เบเวอเรจ(ประเทศไทย) 68 ตัน ไทยกูลิโกะ 57 ตัน โฟโมสต์ อาหารนม(กรุงเทพฯ) มาลีสามพราน และยูไนเต็ดฟูดส์ บริษัทละ 52 ตัน ส่วนบริษัทที่ได้รับจัดสรรน้อยที่สุดคือ เยนเนอรัล แคนดี้ และแดรี่เบลล์ บริษัทละ 2 ตัน
อนึ่ง สินค้านมผงขาดมันเนย เป็นสินค้าที่อยู่ภายใต้ข้อผูกพันที่ไทยทำไว้กับ WTO ซึ่งจะต้องเปิดตลาดให้แก่สมาชิก WTO โดยในปี 2543 กำหนดปริมาณโควตานำเข้า 55,600 ตัน อัตราภาษีในโควตาร้อยละ 5 และนอกโควตาร้อยละ 225.6 กำหนดการนำเข้าเป็น 2 งวด สำหรับงวดแรก(มกราคม-มิถุนายน)ได้จัดสรรไปแล้ว จำนวน 25,886 ตัน และงวดที่ 2 ได้จัดสรรไปแล้วเช่นกัน จำนวน 25,173 ตัน สินค้านมผงขาดมันเนยเป็น 1 ในสินค้าเกษตร 23 รายการ ซึ่งไทยผูกพันไว้กับ WTO ที่จะต้องเปิดตลาดให้แก่สมาชิกโดยเป็นไปตามปริมาณโควตาที่กำหนด
--กระทรวงพาณิชย์ พฤศจิกายน 2543--
-อน-