สาธารณรัฐประชาชนจีนจะเป็นเจ้าภาพจัดประชุมรัฐมนตรีเอเปค ครั้งที่ 13 ระหว่างวันที่ 17-18 ตุลาคม ศกนี้ ณ นครเซี่ยงไฮ้ โดยเชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและรัฐมนตรีที่รับผิดชอบด้านการค้าของสมาชิกเอเปครวม 21 ประเทศเข้าร่วมประชุม สำหรับคณะผู้แทนไทยในส่วนของกระทรวงพาณิชย์จะมีนายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นหัวหน้าคณะ ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ จะเข้าร่วมในคณะผู้แทนไทยสำหรับการประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 9 ซึ่งจัดต่อเนื่องกัน ระหว่างวันที่ 20-21 ตุลาคม 2544 โดยมี ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร เข้าร่วมประชุมในฐานะผู้นำของไทย
หัวข้อหลัก (Theme) ของการประชุมเอเปคในปีนี้คือ "การเผชิญหน้ากับความท้าทายในศตวรรษหน้า : การนำมาซึ่งความมั่งคั่งผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วม และการให้ความร่วมมือ"ประกอบด้วยหัวข้อย่อย (Sub-theme) 3 ข้อได้แก่ การแบ่งปันผลประโยชน์ของโลกาภิวัฒน์และภาคเศรษฐกิจใหม่ การผลักดันความก้าวหน้าด้านการค้าและการลงทุน และการส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน
ประเด็นทางด้านการค้าและการลงทุนที่ไทยให้ความสำคัญในการประชุมรัฐมนตรีเอเปคครั้งนี้คือ บทบาทของเอเปคในการผลักดันการเปิดการเจรจาการค้ารอบใหม่ในกรอบองค์การการค้าโลกในปีนี้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อระบบการค้าพหุภาคี และกระตุ้นการค้าโลก โดยการเจรจารอบใหม่ควรมีวาระการเจรจาที่สมดุล ครอบคลุมเรื่องต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ทั้งของประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา ความร่วมมือของเอเปคในด้าน Capacity Building เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของสมาชิกกำลังพัฒนาในด้านต่างๆ เช่น การปฏิบัติตามพันธกรณีองค์การการค้าโลก และการยกระดับการดำเนินงานด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้าสู่สากล รวมทั้งความร่วมมือด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และภาคเศรษฐกิจใหม่
นอกจากนั้น จะมีการหารือในเรื่องเอกสาร Shanghai Accord ที่จะจัดทำเป็นเอกสารแนบปฏิญญาผู้นำ เอเปคปีนี้ เพื่อแสดงให้ประชาคมโลกเห็นว่าเอเปคยังคงยืนยันที่จะดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายโบกอร์ (การเปิดเสรีภายในปี ค.ศ. 2010/2020) รวมทั้งจะมีการพิจารณารายงานความคืบหน้าในเรื่องต่อเนื่อง อาทิเช่น
โครงการ e-IAP เกี่ยวกับการจัดทำแผนปฏิบัติการเปิดเสรีรายสมาชิกในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งสมาชิกเอเปคตกลงที่จะรายงานแผนปฏิบัติการเปิดเสรีรายสมาชิกของปีนี้ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-IAP) ในทุกสาขา
การปรับปรุงกระบวนการนำเสนอแผนปฏิบัติการเปิดเสรีรายสมาชิกให้สมาชิกอื่นซักถามปัญหาและให้ข้อคิดเห็น (IAP Peer Review) ให้เข้มแข็งขึ้น โดยคงหลักความสมัครใจ ซึ่งจะมีการพิจารณาหาข้อยุติต่อข้อเสนอของญี่ปุ่นที่ให้มีการดำเนินการในรูปแบบใหม่ โดยจัดตั้งคณะศึกษา (review mission) เดินทางไปศึกษาภาคสนามและหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศเจ้าของ IAP
พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อรายงานประจำปีของคณะกรรมการว่าด้วยการค้าและการลงทุน (CTI) เกี่ยวกับผลงานตามแผนปฏิบัติการเปิดเสรีร่วม (CAPs) ของสมาชิกเอเปคในปีนี้ ให้เกี่ยวข้องกับภาคเอกชนมากขึ้น
พิจารณาให้การรับรองผลการทบทวนแผนปฏิบัติการโอซาก้า (OSAKA Action Agenda : OAA) ซึ่งเป็นกรอบในการเปิดเสรีของเอเปค ที่ได้พิจารณาเสร็จสิ้นลงแล้ว โดยมีการปรับเพิ่มแนวทางที่ชัดเจนขึ้นในการดำเนินงานของสมาชิกให้บรรลุผลการเปิดเสรีภายในปี ค.ศ. 2010/2020 สำหรับสมาชิกที่พัฒนาแล้ว และสมาชิกกำลังพัฒนา ตามลำดับ
พิจารณาความคืบหน้าของแผนงานความร่วมมือด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ตามผลการ ทบทวนการดำเนินงานด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce Stocktake) ซึ่งแผนงานสำคัญเรื่องหนึ่งคือ การจัดทำแผนปฏิบัติการเปิดเสรีรายสมาชิกในเรื่องการค้าไร้กระดาษ (IAP Paperless Trading) โดยสมัครใจ
รับทราบความคืบหน้าของแผนงานต่างๆ ในการเสริมสร้างระบบตลาด เช่น (1) แผนงานเสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางกฎหมายเกี่ยวกับเศรษฐกิจ ซึ่งออสเตรเลียได้จัดทำโครงการให้ความช่วยเหลือด้านการฝึกอบรมแก่สมาชิกกำลังพัฒนาที่สนใจ และ (2) แผนงานความร่วมมือ APEC-OECD ในเรื่องการปฏิรูปกฎระเบียบ
รับทราบความคืบหน้าในการเตรียมการจัดประชุม Chemical Dialogue ซึ่งเป็นเวทีพบปะหารือระหว่างภาครัฐและเอกชนของสมาชิกเอเปค เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับ แนวโน้มของอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ของโลกและของภูมิภาค รวมทั้งความร่วมมือเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และความร่วมมืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมนี้ โดยจะมีการจัดการประชุมคณะทำงาน (Steering Group) เพื่อเตรียมการก่อนในปลายปีนี้ และเม็กซิโกรับจะเป็นเจ้าภาพจัดประชุม APEC Chemical Dialogue ครั้งแรกในปีหน้า
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (662)2826171-9 แฟกซ์ (662)280-0775--จบ--
-สส-
หัวข้อหลัก (Theme) ของการประชุมเอเปคในปีนี้คือ "การเผชิญหน้ากับความท้าทายในศตวรรษหน้า : การนำมาซึ่งความมั่งคั่งผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วม และการให้ความร่วมมือ"ประกอบด้วยหัวข้อย่อย (Sub-theme) 3 ข้อได้แก่ การแบ่งปันผลประโยชน์ของโลกาภิวัฒน์และภาคเศรษฐกิจใหม่ การผลักดันความก้าวหน้าด้านการค้าและการลงทุน และการส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน
ประเด็นทางด้านการค้าและการลงทุนที่ไทยให้ความสำคัญในการประชุมรัฐมนตรีเอเปคครั้งนี้คือ บทบาทของเอเปคในการผลักดันการเปิดการเจรจาการค้ารอบใหม่ในกรอบองค์การการค้าโลกในปีนี้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อระบบการค้าพหุภาคี และกระตุ้นการค้าโลก โดยการเจรจารอบใหม่ควรมีวาระการเจรจาที่สมดุล ครอบคลุมเรื่องต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ทั้งของประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา ความร่วมมือของเอเปคในด้าน Capacity Building เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของสมาชิกกำลังพัฒนาในด้านต่างๆ เช่น การปฏิบัติตามพันธกรณีองค์การการค้าโลก และการยกระดับการดำเนินงานด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้าสู่สากล รวมทั้งความร่วมมือด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และภาคเศรษฐกิจใหม่
นอกจากนั้น จะมีการหารือในเรื่องเอกสาร Shanghai Accord ที่จะจัดทำเป็นเอกสารแนบปฏิญญาผู้นำ เอเปคปีนี้ เพื่อแสดงให้ประชาคมโลกเห็นว่าเอเปคยังคงยืนยันที่จะดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายโบกอร์ (การเปิดเสรีภายในปี ค.ศ. 2010/2020) รวมทั้งจะมีการพิจารณารายงานความคืบหน้าในเรื่องต่อเนื่อง อาทิเช่น
โครงการ e-IAP เกี่ยวกับการจัดทำแผนปฏิบัติการเปิดเสรีรายสมาชิกในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งสมาชิกเอเปคตกลงที่จะรายงานแผนปฏิบัติการเปิดเสรีรายสมาชิกของปีนี้ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-IAP) ในทุกสาขา
การปรับปรุงกระบวนการนำเสนอแผนปฏิบัติการเปิดเสรีรายสมาชิกให้สมาชิกอื่นซักถามปัญหาและให้ข้อคิดเห็น (IAP Peer Review) ให้เข้มแข็งขึ้น โดยคงหลักความสมัครใจ ซึ่งจะมีการพิจารณาหาข้อยุติต่อข้อเสนอของญี่ปุ่นที่ให้มีการดำเนินการในรูปแบบใหม่ โดยจัดตั้งคณะศึกษา (review mission) เดินทางไปศึกษาภาคสนามและหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศเจ้าของ IAP
พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อรายงานประจำปีของคณะกรรมการว่าด้วยการค้าและการลงทุน (CTI) เกี่ยวกับผลงานตามแผนปฏิบัติการเปิดเสรีร่วม (CAPs) ของสมาชิกเอเปคในปีนี้ ให้เกี่ยวข้องกับภาคเอกชนมากขึ้น
พิจารณาให้การรับรองผลการทบทวนแผนปฏิบัติการโอซาก้า (OSAKA Action Agenda : OAA) ซึ่งเป็นกรอบในการเปิดเสรีของเอเปค ที่ได้พิจารณาเสร็จสิ้นลงแล้ว โดยมีการปรับเพิ่มแนวทางที่ชัดเจนขึ้นในการดำเนินงานของสมาชิกให้บรรลุผลการเปิดเสรีภายในปี ค.ศ. 2010/2020 สำหรับสมาชิกที่พัฒนาแล้ว และสมาชิกกำลังพัฒนา ตามลำดับ
พิจารณาความคืบหน้าของแผนงานความร่วมมือด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ตามผลการ ทบทวนการดำเนินงานด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce Stocktake) ซึ่งแผนงานสำคัญเรื่องหนึ่งคือ การจัดทำแผนปฏิบัติการเปิดเสรีรายสมาชิกในเรื่องการค้าไร้กระดาษ (IAP Paperless Trading) โดยสมัครใจ
รับทราบความคืบหน้าของแผนงานต่างๆ ในการเสริมสร้างระบบตลาด เช่น (1) แผนงานเสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางกฎหมายเกี่ยวกับเศรษฐกิจ ซึ่งออสเตรเลียได้จัดทำโครงการให้ความช่วยเหลือด้านการฝึกอบรมแก่สมาชิกกำลังพัฒนาที่สนใจ และ (2) แผนงานความร่วมมือ APEC-OECD ในเรื่องการปฏิรูปกฎระเบียบ
รับทราบความคืบหน้าในการเตรียมการจัดประชุม Chemical Dialogue ซึ่งเป็นเวทีพบปะหารือระหว่างภาครัฐและเอกชนของสมาชิกเอเปค เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับ แนวโน้มของอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ของโลกและของภูมิภาค รวมทั้งความร่วมมือเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และความร่วมมืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมนี้ โดยจะมีการจัดการประชุมคณะทำงาน (Steering Group) เพื่อเตรียมการก่อนในปลายปีนี้ และเม็กซิโกรับจะเป็นเจ้าภาพจัดประชุม APEC Chemical Dialogue ครั้งแรกในปีหน้า
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (662)2826171-9 แฟกซ์ (662)280-0775--จบ--
-สส-