บันทึกการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๑
ครั้งที่ ๒๐ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพุธที่ ๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๔
ณ ตึกรัฐสภา
------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๔๐ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทน
ราษฎร และนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง
ขึ้นบัลลังก์
ประธานสภาผู้แทนราษฎรกล่าวเปิดประชุมและได้แจ้งให้ที่ประชุม
รับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๑๘ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
เป็นพิเศษ วันจันทร์ที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๔๔ ครั้งที่ ๑๙ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพฤหัสบดีที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๔๔ และครั้งที่ ๒๐ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันศุกร์ที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๔๔ ได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติซึ่ง
สภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบแล้ว จำนวน ๔ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๔๕
(๒) ร่างพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(๓) ร่างพระราชบัญญัติโอนที่ราชพัสดุที่เป็นสาธารณสมบัติของ
แผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ ในท้องที่ตำบลเชียงบาน อำเภอ
เชียงคำ จังหวัดพะเยา ให้แก่นายสิงห์ ใจวังโลก พ.ศ. ….
(๔) ร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๒. เรื่องสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีแจ้งเหตุขัดข้องที่นายกรัฐมนตรี
ยังไม่ให้คำรับรองร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน เนื่องจากร่างพระราชบัญญัติ
อยู่ในระหว่างการพิจารณาของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง จำนวน ๒ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. …. ซึ่ง
นางสาวอรดี สุทธศรี กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๒) ร่างพระราชบัญญัติสภาการเกษตรแห่งชาติ พ.ศ. …. ซึ่ง
นายอำนวย คลังผา และนายเจริญ จรรย์โกมล เป็นผู้เสนอ
ที่ประชุมรับทราบ
๓. รับทราบเรื่องงดการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๑
ครั้งที่ ๒๑ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพฤหัสบดีที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๔๔ เนื่องจาก
จะมีการประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๒๑ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพฤหัสบดีที่ ๔
ตุลาคม ๒๕๔๔ เพื่อพิจารณาเลือกกรรมการการเลือกตั้ง
ที่ประชุมรับทราบ
จากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมรับรองรายงาน
การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๑ (สมัยสามัญทั่วไป) จำนวน ๓ ครั้ง
คือ
ครั้งที่ ๖ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพฤหัสบดีที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๔๔
ครั้งที่ ๗ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๔๔
ครั้งที่ ๘ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพฤหัสบดีที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๔๔
ที่ประชุมได้รับรองรายงานการประชุมทั้ง ๓ ครั้งดังกล่าว
ต่อจากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา
เรื่องที่เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อน ตามมติที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๑
ครั้งที่ ๑๘ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๔๔ ตามลำดับ คือ
๑. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติจัดหางาน
และคุ้มครองคนหางาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย (เรื่องที่เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อนเรื่องที่ ๑)
๒. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติ
ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. …. ตามมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราช
อาณาจักรไทย (เรื่องที่เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อนเรื่องที่ ๒)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๒ ฉบับ ทีละฉบับ
ตามลำดับและได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา จึงถือว่า
ร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๒ ฉบับดังกล่าว ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว
ตามมาตรา ๑๗๕ (๓) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
หลังจากนั้น ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม
โดยขอให้นำระเบียบวาระที่ ๗.๒ และ ๗.๓ ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
ประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระ
ตามที่ที่ประชุมมีมติ ตามลำดับ คือ
๑. ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภา ในคณะกรรมาธิการกิจการ
สภาผู้แทนราษฎร แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๑ ตำแหน่ง (ในระเบียบวาระที่ ๗.๒)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายพีระพงษ์ เฮงสวัสดิ์ เป็นกรรมาธิการแทน
นายธานี ยี่สาร
๒. ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภา ในคณะกรรมาธิการ
การแรงงาน แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๑ ตำแหน่ง (ในระเบียบวาระที่ ๗.๓)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล เป็นกรรมาธิการแทน
นายพรศักดิ์ เปี่ยมคล้า
จากนั้น ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม
โดยขอให้นำระเบียบวาระที่ ๔.๓ และ ๔.๒ ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
ประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระ
ตามที่ที่ประชุมมีมติ คือ
๑. การพิจารณาสรรหาบุคคลผู้สมควรเป็นผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
เพิ่มเติม ซึ่งคณะกรรมการสรรหาผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาพิจารณาเสร็จแล้ว
(ในระเบียบวาระที่ ๔.๓) ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
เนื่องจากการพิจารณาระเบียบวาระนี้จะมีการอภิปรายถึงประวัติของ
บุคคล ประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้ปรึกษาที่ประชุมเพื่อให้ดำเนินการประชุมลับ
ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
ต่อมา รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่ต่อ
และเมื่อการอภิปรายสิ้นสุดลง ที่ประชุมได้ลงมติเลือกบุคคลซึ่งสมควรเป็นผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
จำนวน ๔ คน เพื่อเสนอต่อวุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามพระราช
บัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๔๒
โดยมีรายชื่อตามลำดับอักษร ดังนี้
๑. นายพยนต์ พันธ์ศรี
๒. นายพูลทรัพย์ ปิยะอนันต์
๓. นายยรรยง ถนอมพิชัย
๔. นายศุภโชค เริงวรรณ
ต่อจากนั้น รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สองได้ปฏิบัติหน้าที่ต่อ
และได้ดำเนินการประชุมโดยเปิดเผยแล้วเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระ
ตามที่ที่ประชุมมีมติ ในลำดับถัดไป
๒. ร่างพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. …. ซึ่ง
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๒)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ในวาระที่ ๒
เริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ แล้วเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง และได้ลงมติ
เห็นชอบในวาระที่ ๓ เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจาณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ
เลิกประชุมเวลา ๑๗.๒๕ นาฬิกา
(นางศิริลักษณ์ ปั้นบำรุงกิจ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ฝ่ายรายงานการประชุม
กองการประชุม
โทร. ๐ ๒๓๕๗ ๓๑๐๐ ต่อ ๓๒๒๘, ๓๒๓๐-๓๑
โทรสาร ๐ ๒๓๕๗ ๓๒๑๑
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติม ตามมาตรา
๑๗๕ (๓) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จำนวน ๒ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๒. ร่างพระราชบัญญัติราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ….
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. ….
*************************
ครั้งที่ ๒๐ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพุธที่ ๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๔
ณ ตึกรัฐสภา
------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๔๐ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภาผู้แทน
ราษฎร และนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่ง
ขึ้นบัลลังก์
ประธานสภาผู้แทนราษฎรกล่าวเปิดประชุมและได้แจ้งให้ที่ประชุม
รับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๑๘ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
เป็นพิเศษ วันจันทร์ที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๔๔ ครั้งที่ ๑๙ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพฤหัสบดีที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๔๔ และครั้งที่ ๒๐ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันศุกร์ที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๔๔ ได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติซึ่ง
สภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบแล้ว จำนวน ๔ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๔๕
(๒) ร่างพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
(๓) ร่างพระราชบัญญัติโอนที่ราชพัสดุที่เป็นสาธารณสมบัติของ
แผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ ในท้องที่ตำบลเชียงบาน อำเภอ
เชียงคำ จังหวัดพะเยา ให้แก่นายสิงห์ ใจวังโลก พ.ศ. ….
(๔) ร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๒. เรื่องสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีแจ้งเหตุขัดข้องที่นายกรัฐมนตรี
ยังไม่ให้คำรับรองร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน เนื่องจากร่างพระราชบัญญัติ
อยู่ในระหว่างการพิจารณาของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง จำนวน ๒ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. …. ซึ่ง
นางสาวอรดี สุทธศรี กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(๒) ร่างพระราชบัญญัติสภาการเกษตรแห่งชาติ พ.ศ. …. ซึ่ง
นายอำนวย คลังผา และนายเจริญ จรรย์โกมล เป็นผู้เสนอ
ที่ประชุมรับทราบ
๓. รับทราบเรื่องงดการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๑
ครั้งที่ ๒๑ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพฤหัสบดีที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๔๔ เนื่องจาก
จะมีการประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๒๑ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพฤหัสบดีที่ ๔
ตุลาคม ๒๕๔๔ เพื่อพิจารณาเลือกกรรมการการเลือกตั้ง
ที่ประชุมรับทราบ
จากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมรับรองรายงาน
การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๑ (สมัยสามัญทั่วไป) จำนวน ๓ ครั้ง
คือ
ครั้งที่ ๖ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพฤหัสบดีที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๔๔
ครั้งที่ ๗ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๔๔
ครั้งที่ ๘ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพฤหัสบดีที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๔๔
ที่ประชุมได้รับรองรายงานการประชุมทั้ง ๓ ครั้งดังกล่าว
ต่อจากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา
เรื่องที่เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อน ตามมติที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๑
ครั้งที่ ๑๘ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๔๔ ตามลำดับ คือ
๑. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติจัดหางาน
และคุ้มครองคนหางาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ตามมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย (เรื่องที่เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อนเรื่องที่ ๑)
๒. พิจารณากรณีวุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติ
ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. …. ตามมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราช
อาณาจักรไทย (เรื่องที่เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อนเรื่องที่ ๒)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๒ ฉบับ ทีละฉบับ
ตามลำดับและได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมของวุฒิสภา จึงถือว่า
ร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๒ ฉบับดังกล่าว ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว
ตามมาตรา ๑๗๕ (๓) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
หลังจากนั้น ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม
โดยขอให้นำระเบียบวาระที่ ๗.๒ และ ๗.๓ ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
ประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระ
ตามที่ที่ประชุมมีมติ ตามลำดับ คือ
๑. ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภา ในคณะกรรมาธิการกิจการ
สภาผู้แทนราษฎร แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๑ ตำแหน่ง (ในระเบียบวาระที่ ๗.๒)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายพีระพงษ์ เฮงสวัสดิ์ เป็นกรรมาธิการแทน
นายธานี ยี่สาร
๒. ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภา ในคณะกรรมาธิการ
การแรงงาน แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๑ ตำแหน่ง (ในระเบียบวาระที่ ๗.๓)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล เป็นกรรมาธิการแทน
นายพรศักดิ์ เปี่ยมคล้า
จากนั้น ได้มีสมาชิกฯ เสนอญัตติขอเปลี่ยนระเบียบวาระการประชุม
โดยขอให้นำระเบียบวาระที่ ๔.๓ และ ๔.๒ ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
ประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระ
ตามที่ที่ประชุมมีมติ คือ
๑. การพิจารณาสรรหาบุคคลผู้สมควรเป็นผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
เพิ่มเติม ซึ่งคณะกรรมการสรรหาผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาพิจารณาเสร็จแล้ว
(ในระเบียบวาระที่ ๔.๓) ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
เนื่องจากการพิจารณาระเบียบวาระนี้จะมีการอภิปรายถึงประวัติของ
บุคคล ประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้ปรึกษาที่ประชุมเพื่อให้ดำเนินการประชุมลับ
ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
ต่อมา รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่หนึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่ต่อ
และเมื่อการอภิปรายสิ้นสุดลง ที่ประชุมได้ลงมติเลือกบุคคลซึ่งสมควรเป็นผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
จำนวน ๔ คน เพื่อเสนอต่อวุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามพระราช
บัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา พ.ศ. ๒๕๔๒
โดยมีรายชื่อตามลำดับอักษร ดังนี้
๑. นายพยนต์ พันธ์ศรี
๒. นายพูลทรัพย์ ปิยะอนันต์
๓. นายยรรยง ถนอมพิชัย
๔. นายศุภโชค เริงวรรณ
ต่อจากนั้น รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สองได้ปฏิบัติหน้าที่ต่อ
และได้ดำเนินการประชุมโดยเปิดเผยแล้วเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาระเบียบวาระ
ตามที่ที่ประชุมมีมติ ในลำดับถัดไป
๒. ร่างพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. …. ซึ่ง
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว (ในระเบียบวาระที่ ๔.๒)
ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ในวาระที่ ๒
เริ่มต้นด้วยชื่อร่าง คำปรารภ แล้วเรียงตามลำดับมาตราจนจบร่าง และได้ลงมติ
เห็นชอบในวาระที่ ๓ เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจาณาต่อไปตามรัฐธรรมนูญฯ
เลิกประชุมเวลา ๑๗.๒๕ นาฬิกา
(นางศิริลักษณ์ ปั้นบำรุงกิจ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ฝ่ายรายงานการประชุม
กองการประชุม
โทร. ๐ ๒๓๕๗ ๓๑๐๐ ต่อ ๓๒๒๘, ๓๒๓๐-๓๑
โทรสาร ๐ ๒๓๕๗ ๓๒๑๑
สรุปผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติม ตามมาตรา
๑๗๕ (๓) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จำนวน ๒ ฉบับ คือ
๑. ร่างพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
๒. ร่างพระราชบัญญัติราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ….
เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติ จำนวน ๑ ฉบับ คือ
- ร่างพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. ….
*************************