สรุปผลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน 2543
การสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนในปี 2543 นี้ ได้ทำการเลือกครัวเรือนส่วนบุคคลตัวอย่างทั่วประเทศจำนวนประมาณ
33,000 ครัวเรือน แล้วแบ่งเป็น 12 กลุ่ม ซึ่งในแต่ละกลุ่มจะมีครัวเรือนตัวอย่างกระจายอยู่ในทุกจังหวัด ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลกลุ่มละเดือน
เป็นเวลา 12 เดือน ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2543 - เดือนมกราคม 2544 ซึ่งสรุปผลจากการสำรวจได้ดังนี้
1. รายได้ของครัวเรือน
ครัวเรือนทั่วประเทศ มีรายได้ (เป็นรายได้ของครัวเรือนในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา แล้วนำมาเฉลี่ยต่อเดือน) โดยเฉลี่ยประมาณ
เดือนละ 12,150 บาทต่อครัวเรือน โดยรายได้ส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 42.4 ของรายได้ทั้งสิ้น หรือ 5,146 บาท มาจากค่าแรงและเงินเดือน
ร้อยละ 18.5 หรือ 2,243 บาท มาจากกำไรสุทธิจากการทำธุรกิจส่วนตัว ที่ไม่ใช่การเกษตร ร้อยละ 9.6 หรือ 1,166 บาท เป็นกำไรสุทธิ
จากการทำการเกษตร ส่วนรายได้ที่ไม่เป็นตัวเงิน คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 18.4 ของรายได้ทั้งหมด (รวมค่าประเมินค่าเช่าบ้านที่ครัวเรือน
เป็นเจ้าของ) ที่เหลืออีกร้อยละ 11.1 เป็นรายได้จากแหล่งอื่น ๆ เช่น รายได้จากทรัพย์สิน เงินที่ได้รับการช่วยเหลือ บำเหน็จ บำนาญ และ
รายรับที่เป็นตัวเงินอื่น ๆ
ครัวเรือนในกรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ มีรายได้เฉลี่ยประมาณเดือนละ 25,242 บาทต่อครัวเรือน โดยที่
รายได้ส่วนใหญ่กว่าครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 56.2) มาจากค่าแรงและเงินเดือน รองลง มาร้อยละ 20.9 เป็นกำไรจากการทำธุรกิจที่ไม่ใช่การเกษตร
ครัวเรือนในภาคกลางมีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือน เดือนละ 13,012 บาท ภาคใต้ มีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนเดือนละ 11,186 บาท ขณะที่ครัวเรือน
ในภาคเหนือและภาคตะวันออก เฉียงเหนือ มีรายได้เฉลี่ยประมาณเดือนละ 8,652 บาท และ 7,765 บาท ตามลำดับ โดยรายได้ส่วนใหญ่ของ
ครัวเรือนในทุกภาคมาจากค่าแรงและเงินเดือน รองลงมาเป็นรายได้จากการทำธุรกิจที่ไม่ใช่การเกษตร
2. ค่าใช้จ่ายของครัวเรือน
ครัวเรือนทั่วประเทศ มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยประมาณเดือนละ 9,848 บาทต่อครัวเรือน (ไม่รวมค่าใช้จ่ายที่เป็นการสะสมทุน เช่น
ค่าซื้อ/เช่าซื้อบ้าน ที่ดินและของมีค่าต่าง ๆ) ในจำนวนนี้เป็นค่าใช้จ่าย เพื่อการอุปโภคบริโภคประมาณร้อยละ 86.9 หรือ 8,558 บาท และเป็น
ค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวกับการอุปโภคบริโภคอีกร้อยละ 13.1 หรือ 1,290 บาท สำหรับค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคนั้น ส่วนใหญ่เป็นค่าอาหาร
เครื่องดื่ม และยาสูบประมาณเดือนละ 3,490 บาท หรือร้อยละ 35.4 ค่าที่อยู่อาศัยและเครื่องใช้ในบ้านประมาณเดือนละ 2,183 บาท หรือ
ร้อยละ 22.2 ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับยานพาหนะและค่าบริการสื่อสารประมาณเดือนละ 1,468 บาท หรือร้อยละ 14.9 นอกจากนี้ ครัวเรือนยังมี
ค่าใช้จ่ายที่เป็นค่ารักษาพยาบาลและรายจ่ายส่วนบุคคลอีกเดือนละ 529 บาท หรือร้อยละ 5.4 ค่าเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าเดือนละ 377 บาท
หรือร้อยละ 3.8 ที่เหลือเป็นค่าใช้จ่ายหมวด อื่น ๆ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการบันเทิงและการอ่าน การศึกษา และค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด สำหรับ
ค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวกับการอุปโภคบริโภคนั้น ได้แก่ ค่าภาษี ดอกเบี้ยจ่าย ค่าเบี้ยประกัน เงินบริจาคหรือเงินซื้อของขวัญ เงินซื้อสลากกินแบ่ง เป็นต้น
3. เปรียบเทียบรายได้
ค่าใช้จ่ายและหนี้สินของครัวเรือนปี 2543 กับปี 2541 ในการเสนอผลครั้งนี้ ได้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลสถิติที่ได้จากการสำรวจ
ครั้งนี้เปรียบเทียบกับข้อมูลสถิติของการสำรวจในปี 2541 (สำหรับข้อมูลจากการสำรวจรอบพิเศษในปี 2542 ไม่ได้นำมาเปรียบเทียบด้วย เนื่องจาก
ในการสำรวจครั้งนั้น ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลเพียง 4 เดือน คือ ในช่วงเดือนมิถุนายน - กันยายน เท่านั้น) พบว่า รายได้เฉลี่ยของครัวเรือน
โดยรวมทั่วประเทศ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาลดลง คิดเป็นอัตราร้อยละ 1.4 ต่อปี ในขณะที่ค่าใช้จ่ายของครัวเรือนลดลงในอัตราที่สูงกว่า คือ ประมาณ
ร้อยละ 2.6 ต่อปี และเมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า รายได้เฉลี่ยของครัวเรือนในหลายภาคลดลง ยกเว้น ครัวเรือนในภาคกลาง และครัวเรือน
ในกรุงเทพมหานคร และ 3 จังหวัดรอบกรุงเทพฯเท่านั้นที่มีรายได้เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ครัวเรือนในภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ มีรายได้เฉลี่ย
ลดลงในอัตราที่สูงกว่าภาคอื่น ๆ คือ ลดลงร้อยละ 5.9 และ 4.7 ต่อปี ตามลำดับ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการลดลงของรายได้จากการประกอบ
ธุรกิจส่วนตัวที่ไม่ใช่การเกษตรและรายได้จากการทำการเกษตร อันเนื่องมาจากราคาของผลผลิตตกต่ำ ครัวเรือนในภาคใต้ก็มีรายได้จากการทำ
การเกษตรลดลงมากด้วยเช่นกัน
ส่วนในด้านการใช้จ่ายนั้น จะเห็นได้ว่าครัวเรือนทุกภาคมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยลดลงในอัตราร้อยละ 1 - 6 ต่อปี เป็นที่น่าสังเกตว่า ครัวเรือน
ในกรุงเทพมหานครและ 3 จังหวัดรอบกรุงเทพฯ รวมทั้งครัวเรือนในภาคกลางซึ่งมีรายได้เพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่ก็มีการใช้จ่ายลดลงด้วยเช่นกัน ทั้งนี้
อาจเป็นเพราะครัวเรือนมีภาระของหนี้สินที่จะต้องผ่อนชำระ และเพื่อต้องการให้มีเงินเหลือสำหรับการเก็บออมมากขึ้นด้วย
สำหรับหนี้สินของครัวเรือนโดยรวมทั่วประเทศ ลดลงคิดเป็นอัตราร้อยละ 0.9 ต่อปี เมื่อเทียบกับปี 2541 โดยที่ครัวเรือนเกือบทุกภาค
มีหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนลดลง ยกเว้นครัวเรือนในภาคกลางและภาคใต ้ที่มีหนี้สินเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 3.6 และ 0.4 ต่อปี เมื่อพิจารณา
เปรียบเทียบสัดส่วนของหนี้สิน ต่อรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือน พบว่า ครัวเรือนเกือบทุกภาคมีสัดส่วนดังกล่าว ใกล้เคียงกับปี 2541 ยกเว้น
ครัวเรือนในภาคเหนือที่มีสัดส่วนของหนี้สินต่อรายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 6.0 เท่าในปี 2541 เป็น 6.5 เท่าในปี 2543
4. รายได้ ค่าใช้จ่าย และหนี้สินของครัวเรือน ตามกลุ่มสถานะทางเศรษฐสังคมเมื่อพิจารณารายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่อครัวเรือน ตามกลุ่ม
สถานะทางเศรษฐสังคม (กำหนดตามอาชีพและสถานภาพการทำงานของผู้มีรายได้สูงสุดในครัวเรือน) พบว่า ครัวเรือนเกือบทุกกลุ่ม มีรายได้เฉลี่ย
ต่อเดือนลดลง เมื่อเทียบกับปี 2541 ยกเว้น ครัวเรือนคนงานทั่วไป และครัวเรือนลูกจ้างผู้ปฏิบัติงานในกระบวนการผลิต ที่มีรายได้เพิ่มขึ้น ในอัตรา
ร้อยละ 2.3 และ 3.5 ต่อปี ตามลำดับ ครัวเรือนผู้ถือครองทำการเกษตร มีรายได้เฉลี่ยลดลงในอัตราที่มากกว่ากลุ่มอื่น คือ ลดลงประมาณร้อยละ
5 - 6 ต่อปี สำหรับการใช้จ่ายนั้น พบว่า ครัวเรือนเกือบทุกกลุ่มมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนในปี 2543 ลดลง เมื่อเทียบกับ ปี 2541 โดยใช้จ่าย
ลดลงในอัตราที่มากกว่าการลดลงของรายได้ในแต่ละกลุ่ม รวมทั้งครัวเรือนคนงานทั่วไปที่มีรายได้เพิ่มขึ้น ก็ยังมีค่าใช้จ่ายลดลงด้วยเช่นกัน ยกเว้น
เพียงครัวเรือนลูกจ้างที่ปฏิบัติงานในกระบวนการผลิต ที่มีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 1.8 ต่อปี
หากพิจารณาความพอเพียงของรายได้ที่ครัวเรือนนำมาใช้จ่าย พบว่า โดยส่วนใหญ่แล้ว ครัวเรือนมีรายได้เหลือจากการใช้จ่ายในปี 2543
มากกว่าปี 2541 ซึ่งสามารถเก็บออมได้มากขึ้น ยกเว้น ครัวเรือนคนงานเกษตรเท่านั้น ที่มีค่าใช้จ่ายมากกว่ารายได้
สำหรับหนี้สินของครัวเรือนนั้น พบว่าครัวเรือนผู้ถือครองทำการเกษตร ครัวเรือนคนงานเกษตร ครัวเรือนลูกจ้างผู้ปฏิบัติงานในกระบวนการ
ผลิต และครัวเรือนผู้ดำเนินธุรกิจของตนเองที่ไม่ใช่การเกษตร มีหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนในปี 2543 เพิ่มขึ้นจากปี 2541 โดยเฉพาะครัวเรือน
ผู้ถือครองทำการเกษตร ที่เป็นเจ้าของที่ดินและครัวเรือนคนงานเกษตร มีหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มอื่น คือ เพิ่มขึ้นคิดเป็นอัตรา
ร้อยละ 9.2 และ 11.3 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับครัวเรือนกลุ่มอื่น ๆ ต่างก็มีหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งครัวเรือนเสมียน
พนักงาน พนักงานขายและให้บริการ มีหนี้สินลดลงมากที่สุดถึงร้อยละ 14.0--จบ--
--สำนักงานสถิติแห่งชาติ--
การสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนในปี 2543 นี้ ได้ทำการเลือกครัวเรือนส่วนบุคคลตัวอย่างทั่วประเทศจำนวนประมาณ
33,000 ครัวเรือน แล้วแบ่งเป็น 12 กลุ่ม ซึ่งในแต่ละกลุ่มจะมีครัวเรือนตัวอย่างกระจายอยู่ในทุกจังหวัด ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลกลุ่มละเดือน
เป็นเวลา 12 เดือน ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2543 - เดือนมกราคม 2544 ซึ่งสรุปผลจากการสำรวจได้ดังนี้
1. รายได้ของครัวเรือน
ครัวเรือนทั่วประเทศ มีรายได้ (เป็นรายได้ของครัวเรือนในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา แล้วนำมาเฉลี่ยต่อเดือน) โดยเฉลี่ยประมาณ
เดือนละ 12,150 บาทต่อครัวเรือน โดยรายได้ส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 42.4 ของรายได้ทั้งสิ้น หรือ 5,146 บาท มาจากค่าแรงและเงินเดือน
ร้อยละ 18.5 หรือ 2,243 บาท มาจากกำไรสุทธิจากการทำธุรกิจส่วนตัว ที่ไม่ใช่การเกษตร ร้อยละ 9.6 หรือ 1,166 บาท เป็นกำไรสุทธิ
จากการทำการเกษตร ส่วนรายได้ที่ไม่เป็นตัวเงิน คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 18.4 ของรายได้ทั้งหมด (รวมค่าประเมินค่าเช่าบ้านที่ครัวเรือน
เป็นเจ้าของ) ที่เหลืออีกร้อยละ 11.1 เป็นรายได้จากแหล่งอื่น ๆ เช่น รายได้จากทรัพย์สิน เงินที่ได้รับการช่วยเหลือ บำเหน็จ บำนาญ และ
รายรับที่เป็นตัวเงินอื่น ๆ
ครัวเรือนในกรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ มีรายได้เฉลี่ยประมาณเดือนละ 25,242 บาทต่อครัวเรือน โดยที่
รายได้ส่วนใหญ่กว่าครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 56.2) มาจากค่าแรงและเงินเดือน รองลง มาร้อยละ 20.9 เป็นกำไรจากการทำธุรกิจที่ไม่ใช่การเกษตร
ครัวเรือนในภาคกลางมีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือน เดือนละ 13,012 บาท ภาคใต้ มีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนเดือนละ 11,186 บาท ขณะที่ครัวเรือน
ในภาคเหนือและภาคตะวันออก เฉียงเหนือ มีรายได้เฉลี่ยประมาณเดือนละ 8,652 บาท และ 7,765 บาท ตามลำดับ โดยรายได้ส่วนใหญ่ของ
ครัวเรือนในทุกภาคมาจากค่าแรงและเงินเดือน รองลงมาเป็นรายได้จากการทำธุรกิจที่ไม่ใช่การเกษตร
2. ค่าใช้จ่ายของครัวเรือน
ครัวเรือนทั่วประเทศ มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยประมาณเดือนละ 9,848 บาทต่อครัวเรือน (ไม่รวมค่าใช้จ่ายที่เป็นการสะสมทุน เช่น
ค่าซื้อ/เช่าซื้อบ้าน ที่ดินและของมีค่าต่าง ๆ) ในจำนวนนี้เป็นค่าใช้จ่าย เพื่อการอุปโภคบริโภคประมาณร้อยละ 86.9 หรือ 8,558 บาท และเป็น
ค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวกับการอุปโภคบริโภคอีกร้อยละ 13.1 หรือ 1,290 บาท สำหรับค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคนั้น ส่วนใหญ่เป็นค่าอาหาร
เครื่องดื่ม และยาสูบประมาณเดือนละ 3,490 บาท หรือร้อยละ 35.4 ค่าที่อยู่อาศัยและเครื่องใช้ในบ้านประมาณเดือนละ 2,183 บาท หรือ
ร้อยละ 22.2 ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับยานพาหนะและค่าบริการสื่อสารประมาณเดือนละ 1,468 บาท หรือร้อยละ 14.9 นอกจากนี้ ครัวเรือนยังมี
ค่าใช้จ่ายที่เป็นค่ารักษาพยาบาลและรายจ่ายส่วนบุคคลอีกเดือนละ 529 บาท หรือร้อยละ 5.4 ค่าเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าเดือนละ 377 บาท
หรือร้อยละ 3.8 ที่เหลือเป็นค่าใช้จ่ายหมวด อื่น ๆ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการบันเทิงและการอ่าน การศึกษา และค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด สำหรับ
ค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวกับการอุปโภคบริโภคนั้น ได้แก่ ค่าภาษี ดอกเบี้ยจ่าย ค่าเบี้ยประกัน เงินบริจาคหรือเงินซื้อของขวัญ เงินซื้อสลากกินแบ่ง เป็นต้น
3. เปรียบเทียบรายได้
ค่าใช้จ่ายและหนี้สินของครัวเรือนปี 2543 กับปี 2541 ในการเสนอผลครั้งนี้ ได้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลสถิติที่ได้จากการสำรวจ
ครั้งนี้เปรียบเทียบกับข้อมูลสถิติของการสำรวจในปี 2541 (สำหรับข้อมูลจากการสำรวจรอบพิเศษในปี 2542 ไม่ได้นำมาเปรียบเทียบด้วย เนื่องจาก
ในการสำรวจครั้งนั้น ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลเพียง 4 เดือน คือ ในช่วงเดือนมิถุนายน - กันยายน เท่านั้น) พบว่า รายได้เฉลี่ยของครัวเรือน
โดยรวมทั่วประเทศ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาลดลง คิดเป็นอัตราร้อยละ 1.4 ต่อปี ในขณะที่ค่าใช้จ่ายของครัวเรือนลดลงในอัตราที่สูงกว่า คือ ประมาณ
ร้อยละ 2.6 ต่อปี และเมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า รายได้เฉลี่ยของครัวเรือนในหลายภาคลดลง ยกเว้น ครัวเรือนในภาคกลาง และครัวเรือน
ในกรุงเทพมหานคร และ 3 จังหวัดรอบกรุงเทพฯเท่านั้นที่มีรายได้เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ครัวเรือนในภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ มีรายได้เฉลี่ย
ลดลงในอัตราที่สูงกว่าภาคอื่น ๆ คือ ลดลงร้อยละ 5.9 และ 4.7 ต่อปี ตามลำดับ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการลดลงของรายได้จากการประกอบ
ธุรกิจส่วนตัวที่ไม่ใช่การเกษตรและรายได้จากการทำการเกษตร อันเนื่องมาจากราคาของผลผลิตตกต่ำ ครัวเรือนในภาคใต้ก็มีรายได้จากการทำ
การเกษตรลดลงมากด้วยเช่นกัน
ส่วนในด้านการใช้จ่ายนั้น จะเห็นได้ว่าครัวเรือนทุกภาคมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยลดลงในอัตราร้อยละ 1 - 6 ต่อปี เป็นที่น่าสังเกตว่า ครัวเรือน
ในกรุงเทพมหานครและ 3 จังหวัดรอบกรุงเทพฯ รวมทั้งครัวเรือนในภาคกลางซึ่งมีรายได้เพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่ก็มีการใช้จ่ายลดลงด้วยเช่นกัน ทั้งนี้
อาจเป็นเพราะครัวเรือนมีภาระของหนี้สินที่จะต้องผ่อนชำระ และเพื่อต้องการให้มีเงินเหลือสำหรับการเก็บออมมากขึ้นด้วย
สำหรับหนี้สินของครัวเรือนโดยรวมทั่วประเทศ ลดลงคิดเป็นอัตราร้อยละ 0.9 ต่อปี เมื่อเทียบกับปี 2541 โดยที่ครัวเรือนเกือบทุกภาค
มีหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนลดลง ยกเว้นครัวเรือนในภาคกลางและภาคใต ้ที่มีหนี้สินเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 3.6 และ 0.4 ต่อปี เมื่อพิจารณา
เปรียบเทียบสัดส่วนของหนี้สิน ต่อรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือน พบว่า ครัวเรือนเกือบทุกภาคมีสัดส่วนดังกล่าว ใกล้เคียงกับปี 2541 ยกเว้น
ครัวเรือนในภาคเหนือที่มีสัดส่วนของหนี้สินต่อรายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 6.0 เท่าในปี 2541 เป็น 6.5 เท่าในปี 2543
4. รายได้ ค่าใช้จ่าย และหนี้สินของครัวเรือน ตามกลุ่มสถานะทางเศรษฐสังคมเมื่อพิจารณารายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่อครัวเรือน ตามกลุ่ม
สถานะทางเศรษฐสังคม (กำหนดตามอาชีพและสถานภาพการทำงานของผู้มีรายได้สูงสุดในครัวเรือน) พบว่า ครัวเรือนเกือบทุกกลุ่ม มีรายได้เฉลี่ย
ต่อเดือนลดลง เมื่อเทียบกับปี 2541 ยกเว้น ครัวเรือนคนงานทั่วไป และครัวเรือนลูกจ้างผู้ปฏิบัติงานในกระบวนการผลิต ที่มีรายได้เพิ่มขึ้น ในอัตรา
ร้อยละ 2.3 และ 3.5 ต่อปี ตามลำดับ ครัวเรือนผู้ถือครองทำการเกษตร มีรายได้เฉลี่ยลดลงในอัตราที่มากกว่ากลุ่มอื่น คือ ลดลงประมาณร้อยละ
5 - 6 ต่อปี สำหรับการใช้จ่ายนั้น พบว่า ครัวเรือนเกือบทุกกลุ่มมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนในปี 2543 ลดลง เมื่อเทียบกับ ปี 2541 โดยใช้จ่าย
ลดลงในอัตราที่มากกว่าการลดลงของรายได้ในแต่ละกลุ่ม รวมทั้งครัวเรือนคนงานทั่วไปที่มีรายได้เพิ่มขึ้น ก็ยังมีค่าใช้จ่ายลดลงด้วยเช่นกัน ยกเว้น
เพียงครัวเรือนลูกจ้างที่ปฏิบัติงานในกระบวนการผลิต ที่มีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 1.8 ต่อปี
หากพิจารณาความพอเพียงของรายได้ที่ครัวเรือนนำมาใช้จ่าย พบว่า โดยส่วนใหญ่แล้ว ครัวเรือนมีรายได้เหลือจากการใช้จ่ายในปี 2543
มากกว่าปี 2541 ซึ่งสามารถเก็บออมได้มากขึ้น ยกเว้น ครัวเรือนคนงานเกษตรเท่านั้น ที่มีค่าใช้จ่ายมากกว่ารายได้
สำหรับหนี้สินของครัวเรือนนั้น พบว่าครัวเรือนผู้ถือครองทำการเกษตร ครัวเรือนคนงานเกษตร ครัวเรือนลูกจ้างผู้ปฏิบัติงานในกระบวนการ
ผลิต และครัวเรือนผู้ดำเนินธุรกิจของตนเองที่ไม่ใช่การเกษตร มีหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนในปี 2543 เพิ่มขึ้นจากปี 2541 โดยเฉพาะครัวเรือน
ผู้ถือครองทำการเกษตร ที่เป็นเจ้าของที่ดินและครัวเรือนคนงานเกษตร มีหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มอื่น คือ เพิ่มขึ้นคิดเป็นอัตรา
ร้อยละ 9.2 และ 11.3 ต่อปี ตามลำดับ สำหรับครัวเรือนกลุ่มอื่น ๆ ต่างก็มีหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งครัวเรือนเสมียน
พนักงาน พนักงานขายและให้บริการ มีหนี้สินลดลงมากที่สุดถึงร้อยละ 14.0--จบ--
--สำนักงานสถิติแห่งชาติ--