ชาวแกมเบียนิยมบริโภคข้าวเป็นอาหารประจำวัน รวมทั้งอาหารประเภทอื่น เช่น ข้าวฟ่าง (Millet) ข้าวโพด แป้ง และขนมปัง แกมเบียผลิตข้าวได้ประมาณปีละ 16,690 เมตริกตัน ในบริเวณทางภาคใต้ของประเทศ แต่ไม่เพียงพอกับการบริโภคต้องนำเข้าข้าวจากต่างประเทศประมาณปีละ 60,000-90,000 ตัน หรือถึง 100,000 ตัน ขึ้นกับปริมาณการผลิตข้าวในประเทศ รูปแบบการค้าในปัจจุบันไม่มีบริษัทใดดำเนินการนำเข้าเป็นอิสระ เนื่องจากไม่มีเงินทุนเพียงพอและปัญหาขาดเงินอุดหนุน บริษัทที่นำเข้าข้าวในแกมเบียจึงจัดทำการค้าในรูปสหบริษัทฯ (Consortium) เพื่อการระดมทุน ประกอบด้วย
- George Banna + Co.
- Shyben & Madi + Sms Ltd.
- Boule + Co., Ltd.
บริษัทดังกล่าวระดมทุนร่วมกันเพื่อนำเข้าข้าวจากต่างประเทศตั้งแต่ปี ค.ศ. 1986 ซึ่งเป็นปีที่เปิดให้มีการนำเข้าข้าวโดยเสรี การรวมตัวกันในรูป Consortium เป็นการระดมเงินทุนและเป็นหลักประกันต่อผู้บริโภคข้าวว่าจะมีปริมาณข้าวเข้าสู่ท้องตลาดอย่างต่อเนื่องและเพื่อสามารถซื้อข้าวไปในปริมาณสูงและราคาที่ดี การดำเนินการดังกล่าวได้ต้องมีการสำรองข้าวไว้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจำเป็นต้องใช้เงินทุนสูง จากนั้นสหบริษัทจะจัดจำหน่ายข้าวต่อให้กับ Wholoslers และคลังข้าวเพื่อนำไปจัดจำหน่ายปลีกย่อยต่อไป
ภาวะการค้าข้าวของแกมเบียขึ้นอยู่กับฤดูกาลเก็บเกี่ยว ถ้ามีผลเก็บเกี่ยวออกมาดีประมาณเดือนพฤศจิกายนจนถึงกุมภาพันธ์ปีถัดไป ปริมาณการค้าข้าวก็จะลดลง และเมื่อข้าวที่สำรองถูกใช้หมดไปในราวพฤศจิกายน ราคาข้าวก็จะเพิ่มขึ้นในราวเดือนเมษายนเป็นเช่นนี้สลับกันไป
ปัญหาราคาข้าวสูงในพื้นที่นอกเขตเมืองหลวง Banjui เนื่องจากผู้ซื้อเหมาจากผู้นำเข้า ซื้อจาก Consortium ในราคาปกติ แต่จำเป็นต้องเพิ่มราคาค่าขนส่ง ค่ายานพาหนะ จนถึงปลายทาง ทำให้ราคาข้าวเพิ่มสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว
ราคาข้าวที่จำหน่ายในท้องตลาดในเขตตัวเมืองกำหนดราคาดังนี้ .-
-ข้าวไทย (ข้าวขาวชนิดหัก) ราคา 230 ดาลัสซี่/ถุง 50 กิโลกรัม
-ข้าวจีน (เมล็ดยาว) ราคา 180 ดาลัสซี่/ถุง 50 กิโลกรัม
-ข้าวพื้นเมือง (เมล็ดยาว) ราคา 180-230 ดาลัสซี่/ถุง 50 กิโลกรัม
ในอดีตพ่อค้าจากเซเนกัลและกินีบิสเซาเดินทางเข้าไปซื้อข้าวในแกมเบีย แต่ระยะ 4 ปีที่ผ่านมาเซเนกัลได้ปรับระบบค้าข้าวเป็นเสรี และมีขั้นตอนการเก็บภาษีที่แตกต่างตามคุณภาพข้าว ทำให้ราคาข้าวชนิดคุณภาพดีในเซเนกัลมีราคาถูกลง ขณะที่แกมเบียมีอัตราภาษีเดียว สำหรับข้าว 100% หรือข้าวขาวชนิดหักทำให้พ่อค้าหันไปซื้อข้าวจากเซเนกัลแทน ทั้งนี้เพราะเซเนกัลมีการพัฒนาท่าเรือสินค้าขนาดใหญ่ให้ทันสมัยขึ้นด้วย
ตลาดข้าวในแกมเบียยังเป็นโอกาสของสินค้าข้าวจากไทยต่อไป เนื่องจากแกมเบียผลิตข้าวไม่เพียงพอต่อการบริโภค และยังขาดปัจจัยอุดหนุนในด้านการผลิต จึงเป็นโอกาสที่สินค้าข้าวจากไทยยังจะเข้าสู่ตลาดในแอฟริกาตะวันตกแห่งนี้ไปได้อีกในอนาคต--จบ--
ที่มา : สถานเอกอัครราชฑูต ณ กรุงดาการ์
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 7/2543 วันที่ 15 เมษายน 2543--
-อน-
- George Banna + Co.
- Shyben & Madi + Sms Ltd.
- Boule + Co., Ltd.
บริษัทดังกล่าวระดมทุนร่วมกันเพื่อนำเข้าข้าวจากต่างประเทศตั้งแต่ปี ค.ศ. 1986 ซึ่งเป็นปีที่เปิดให้มีการนำเข้าข้าวโดยเสรี การรวมตัวกันในรูป Consortium เป็นการระดมเงินทุนและเป็นหลักประกันต่อผู้บริโภคข้าวว่าจะมีปริมาณข้าวเข้าสู่ท้องตลาดอย่างต่อเนื่องและเพื่อสามารถซื้อข้าวไปในปริมาณสูงและราคาที่ดี การดำเนินการดังกล่าวได้ต้องมีการสำรองข้าวไว้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจำเป็นต้องใช้เงินทุนสูง จากนั้นสหบริษัทจะจัดจำหน่ายข้าวต่อให้กับ Wholoslers และคลังข้าวเพื่อนำไปจัดจำหน่ายปลีกย่อยต่อไป
ภาวะการค้าข้าวของแกมเบียขึ้นอยู่กับฤดูกาลเก็บเกี่ยว ถ้ามีผลเก็บเกี่ยวออกมาดีประมาณเดือนพฤศจิกายนจนถึงกุมภาพันธ์ปีถัดไป ปริมาณการค้าข้าวก็จะลดลง และเมื่อข้าวที่สำรองถูกใช้หมดไปในราวพฤศจิกายน ราคาข้าวก็จะเพิ่มขึ้นในราวเดือนเมษายนเป็นเช่นนี้สลับกันไป
ปัญหาราคาข้าวสูงในพื้นที่นอกเขตเมืองหลวง Banjui เนื่องจากผู้ซื้อเหมาจากผู้นำเข้า ซื้อจาก Consortium ในราคาปกติ แต่จำเป็นต้องเพิ่มราคาค่าขนส่ง ค่ายานพาหนะ จนถึงปลายทาง ทำให้ราคาข้าวเพิ่มสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว
ราคาข้าวที่จำหน่ายในท้องตลาดในเขตตัวเมืองกำหนดราคาดังนี้ .-
-ข้าวไทย (ข้าวขาวชนิดหัก) ราคา 230 ดาลัสซี่/ถุง 50 กิโลกรัม
-ข้าวจีน (เมล็ดยาว) ราคา 180 ดาลัสซี่/ถุง 50 กิโลกรัม
-ข้าวพื้นเมือง (เมล็ดยาว) ราคา 180-230 ดาลัสซี่/ถุง 50 กิโลกรัม
ในอดีตพ่อค้าจากเซเนกัลและกินีบิสเซาเดินทางเข้าไปซื้อข้าวในแกมเบีย แต่ระยะ 4 ปีที่ผ่านมาเซเนกัลได้ปรับระบบค้าข้าวเป็นเสรี และมีขั้นตอนการเก็บภาษีที่แตกต่างตามคุณภาพข้าว ทำให้ราคาข้าวชนิดคุณภาพดีในเซเนกัลมีราคาถูกลง ขณะที่แกมเบียมีอัตราภาษีเดียว สำหรับข้าว 100% หรือข้าวขาวชนิดหักทำให้พ่อค้าหันไปซื้อข้าวจากเซเนกัลแทน ทั้งนี้เพราะเซเนกัลมีการพัฒนาท่าเรือสินค้าขนาดใหญ่ให้ทันสมัยขึ้นด้วย
ตลาดข้าวในแกมเบียยังเป็นโอกาสของสินค้าข้าวจากไทยต่อไป เนื่องจากแกมเบียผลิตข้าวไม่เพียงพอต่อการบริโภค และยังขาดปัจจัยอุดหนุนในด้านการผลิต จึงเป็นโอกาสที่สินค้าข้าวจากไทยยังจะเข้าสู่ตลาดในแอฟริกาตะวันตกแห่งนี้ไปได้อีกในอนาคต--จบ--
ที่มา : สถานเอกอัครราชฑูต ณ กรุงดาการ์
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 7/2543 วันที่ 15 เมษายน 2543--
-อน-