จากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ส่งผลให้หนี้สาธารณะของประเทศเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูง โดยยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2544 อยู่ในระดับ 2.886 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 56 ของ GDP ทั้งนี้ หนี้สาธารณะดังกล่าวรวมถึงหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลค้ำประกันและไม่ค้ำประกัน (แต่ไม่รวมหนี้ของสถาบันการเงินของรัฐ) และหนี้ของกองทุนฟื้นฟูฯ (FIDF) ซึ่งหนี้ดังกล่าว ส่งผลให้เกิดภาระการชำระหนี้จากเงินงบประมาณประจำปีอยู่ในระดับสูง และทำให้ภาระหนี้ที่รัฐบาลอาจต้องรับภาระในภายภาคหน้า (Contingent Liabilities) อยู่ในระดับที่สูงด้วย
กระทรวงการคลังได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการบริหารหนี้สาธารณะให้มีประสิทธิภาพจึงได้ดำเนินการแก้ไขอย่างต่อเนื่องเป็นระยะ ๆ โดยขั้นต้นได้รวมหน่วยงานที่กำกับดูแลเรื่องหนี้สาธารณะที่แยกกันอยู่ 2 หน่วยงาน คือ ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานเศรษฐกิจการคลังแห่งหนึ่ง และภายใต้กรมบัญชีกลางอีกแห่งหนึ่ง จัดเป็นสำนักบริหารหนี้สาธารณะภายใต้สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง ในขณะเดียวกันก็ได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขกรอบกฎหมายเกี่ยวกับหนี้สาธารณะ โดยรวมกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมาอยู่รวมในที่เดียวกันและเพิ่มเติมการดำเนินการที่เห็นว่าจำเป็น เพื่อให้การบริหารหนี้เป็นไปอย่างมีเอกภาพ
ในการยกร่างพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะนั้น สามารถสรุปเหตุผล ความจำเป็นและสาระสำคัญได้ดังนี้
- ระดับหนี้สาธารณะที่เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับเครื่องมือทางการเงินที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น จำเป็นต้องปรับปรุงวิธีการบริหารหนี้ เพื่อลดความเสี่ยงและภาระหนี้
- รวบรวมกฎหมายต่างๆที่ให้อำนาจกระทรวงการคลังในการบริหารจัดการหนี้ให้อยู่ในกฎหมายฉบับเดียวเพื่อความคล่องตัว
- เพิ่มความคล่องตัวในการบริหารหนี้ในประเทศ ที่เกิดจากการออกพันธบัตรเพื่อชดเชย การขาดดุลงบประมาณ
- ควบคุมและบริหารการค้ำประกันของรัฐบาล โดยการเก็บค่าธรรมเนียมการค้ำประกันและจัดตั้งกองทุนเพื่อบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากการค้ำประกัน
- ให้สามารถกำกับดูแลและพัฒนาการออกตราสารหนี้เพื่อพัฒนาตลาดตราสารหนี้ เพื่อเพิ่มทางเลือกในการระดมทุน อันจะส่งผลให้มีการพัฒนาตลาดทุนในระยะยาว
- ควบคุมดูแลการก่อหนี้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การมหาชน และองค์การของรัฐ ฯลฯ
- จัดตั้งคณะกรรมการบริหารหนี้สาธารณะเพื่อกำกับดูแลด้านนโยบาย และจัดตั้งสำนักบริหารหนี้สาธารณะให้เป็นหน่วยงานระดับกรมเพื่อดำเนินการด้านปฏิบัติ
การออกกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะดังกล่าว เชื่อว่าจะช่วยให้การบริหารหนี้สาธารณะที่เกิดขึ้นมีประสิทธิภาพ ควบคุมดูแลการก่อหนี้ใหม่ให้อยู่ในแผน สามารถควบคุมและเพิ่มประสิทธิภาพของการค้ำประกัน สามารถกำกับดูแลและพัฒนาตลาดตราสารหนี้ให้ก้าวหน้าและมีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน
รวมทั้งเปิดช่องทางให้มีการควบคุมดูแลการก่อหนี้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรมหาชน และองค์การของรัฐต่างๆ ได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ที่สำคัญที่สุด เชื่อว่า พรบ.การบริหารหนี้สาธารณะฉบับนี้ จะมีส่วนช่วยเสริมสร้างความน่าเชื่อถือทางด้านการเงินของประเทศไทยในสายตาของสถาบันการเงินและนักลงทุนต่างประเทศได้เป็นอย่างมาก--จบ--
-อน-
กระทรวงการคลังได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการบริหารหนี้สาธารณะให้มีประสิทธิภาพจึงได้ดำเนินการแก้ไขอย่างต่อเนื่องเป็นระยะ ๆ โดยขั้นต้นได้รวมหน่วยงานที่กำกับดูแลเรื่องหนี้สาธารณะที่แยกกันอยู่ 2 หน่วยงาน คือ ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานเศรษฐกิจการคลังแห่งหนึ่ง และภายใต้กรมบัญชีกลางอีกแห่งหนึ่ง จัดเป็นสำนักบริหารหนี้สาธารณะภายใต้สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง ในขณะเดียวกันก็ได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขกรอบกฎหมายเกี่ยวกับหนี้สาธารณะ โดยรวมกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมาอยู่รวมในที่เดียวกันและเพิ่มเติมการดำเนินการที่เห็นว่าจำเป็น เพื่อให้การบริหารหนี้เป็นไปอย่างมีเอกภาพ
ในการยกร่างพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะนั้น สามารถสรุปเหตุผล ความจำเป็นและสาระสำคัญได้ดังนี้
- ระดับหนี้สาธารณะที่เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับเครื่องมือทางการเงินที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น จำเป็นต้องปรับปรุงวิธีการบริหารหนี้ เพื่อลดความเสี่ยงและภาระหนี้
- รวบรวมกฎหมายต่างๆที่ให้อำนาจกระทรวงการคลังในการบริหารจัดการหนี้ให้อยู่ในกฎหมายฉบับเดียวเพื่อความคล่องตัว
- เพิ่มความคล่องตัวในการบริหารหนี้ในประเทศ ที่เกิดจากการออกพันธบัตรเพื่อชดเชย การขาดดุลงบประมาณ
- ควบคุมและบริหารการค้ำประกันของรัฐบาล โดยการเก็บค่าธรรมเนียมการค้ำประกันและจัดตั้งกองทุนเพื่อบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากการค้ำประกัน
- ให้สามารถกำกับดูแลและพัฒนาการออกตราสารหนี้เพื่อพัฒนาตลาดตราสารหนี้ เพื่อเพิ่มทางเลือกในการระดมทุน อันจะส่งผลให้มีการพัฒนาตลาดทุนในระยะยาว
- ควบคุมดูแลการก่อหนี้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การมหาชน และองค์การของรัฐ ฯลฯ
- จัดตั้งคณะกรรมการบริหารหนี้สาธารณะเพื่อกำกับดูแลด้านนโยบาย และจัดตั้งสำนักบริหารหนี้สาธารณะให้เป็นหน่วยงานระดับกรมเพื่อดำเนินการด้านปฏิบัติ
การออกกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะดังกล่าว เชื่อว่าจะช่วยให้การบริหารหนี้สาธารณะที่เกิดขึ้นมีประสิทธิภาพ ควบคุมดูแลการก่อหนี้ใหม่ให้อยู่ในแผน สามารถควบคุมและเพิ่มประสิทธิภาพของการค้ำประกัน สามารถกำกับดูแลและพัฒนาตลาดตราสารหนี้ให้ก้าวหน้าและมีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน
รวมทั้งเปิดช่องทางให้มีการควบคุมดูแลการก่อหนี้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรมหาชน และองค์การของรัฐต่างๆ ได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ที่สำคัญที่สุด เชื่อว่า พรบ.การบริหารหนี้สาธารณะฉบับนี้ จะมีส่วนช่วยเสริมสร้างความน่าเชื่อถือทางด้านการเงินของประเทศไทยในสายตาของสถาบันการเงินและนักลงทุนต่างประเทศได้เป็นอย่างมาก--จบ--
-อน-